ผู้นำ และ PDCA


มีบทความมากมายเกี่ยวกับภาวะผู้นำและเวลาในการไตร่ตรอง ผู้ประพันธ์เชื่อว่า ASPAR ให้แนวทางเชิงตรรกะในการไตร่ตรองที่ดี เพราะในความเป็นระบบของ ArSrPARr คือกรอบในการมุ่งเน้น และการสร้างขึ้นมาใหม่

ผู้นำ และ PDCA

Leaders & PDCA

 

พลตรี มารวย  ส่งทานินทร์

[email protected]

27 กรกฎาคม 2565

บทความเรื่อง ผู้นำ และ PDCA (Leaders & PDCA) นำมาจากบทความเรื่องIs PDCA the Right Tool for Leaders in 2022? ประพันธ์โดย Harry Hertz (The Baldrige Cheermudgeon) เมื่อ July 26, 2022

ผู้ต้องการดูเอกสารนี้ในรูปแบบ PowerPoint สามาถดูได้ที่ Leaders & PDCA.pptx (slideshare.net)

เกริ่นนำ

  • ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1950 การใช้ PDCA ได้รับการยอมรับว่า เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการปรับปรุง 
  • อย่างไรก็ตาม ผู้ประพันธ์ยืนยันว่า เครื่องมือนี้ไม่สมบูรณ์สำหรับความท้าทายของผู้นำ (และองค์กร) ที่ต้องเผชิญในปี ค.ศ. 2022
  • ตามที่ระบุไว้ในบล็อกล่าสุด เกี่ยวกับความท้าทายของ CEO สำหรับปี ค.ศ. 2022 นั้น CEO จะต้องให้ความสำคัญกับองค์กรและสร้างองค์กรใหม่ในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโอกาสและความท้าทายที่ผู้นำระดับสูงต้องเผชิญ ในการมุ่งเน้นไปที่ประเด็นสำคัญสองสามด้านที่จะสร้างผลกระทบ ในขณะเดียวกันก็คอยจับตาดูการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างและบรรลุผลในเชิงบวกต่อไป
  • ด้วยความต้องการที่จะมุ่งเน้นไปที่ส่วนสำคัญสองสามอย่างและการสร้างใหม่ในอนาคต ผู้ประพันธ์เสนอว่า "PDCA" ควรมีความซับซ้อนมากขึ้น ข้อเสนอใหม่คือ ArSrPARr
  • ASPAR คือ Analyze-Synthesize-Prioritize-Act-Review ซึ่ง rหมายถึง การไตร่ตรอง (reflect) 
  • วัฏจักรทั้งหมดจะสำเร็จด้วย ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีเวลาสำหรับการไตร่ตรอง

ASPAR and r

  • การวิเคราะห์ (Analyze) คือการวิเคราะห์แผนในปัจจุบัน ลำดับความสำคัญ ความท้าทาย ข้อได้เปรียบ และสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์กร อย่าลืมพิจารณาความเสี่ยง สภาพแวดล้อมในการแข่งขันของอุตสาหกรรม และสิ่งที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่อยู่ชิดกัน
  • การสังเคราะห์ (Synthesize) คือการพัฒนาภาพที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งอธิบายสถานการณ์หนึ่งหรือหลายสถานการณ์ จากการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของคุณ
  • การจัดลำดับความสำคัญ (Prioritize) คือจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการในระยะสั้นของคุณ โดยพิจารณาจากข้อมูลที่สังเคราะห์ขึ้นหรือสถานการณ์ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด (หากมีความเป็นไปได้หลายประการ) และให้พัฒนาการจัดลำดับความสำคัญในระยะยาว ตามเส้นทางที่คุณเลือก
  • การลงมือทำ (Act) ให้ทำอย่างมั่นใจ จัดสรรทรัพยากร (การเงิน ผู้คน สิ่งอำนวยความสะดวก...) กำหนดจุดวัดความสำเร็จระหว่างทาง และพัฒนาตัวชี้วัด
  • การทบทวน (Review) วัดความก้าวหน้า ตรวจสอบว่า คุณบรรลุจุดวัดความสำเร็จระหว่างทาง และเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
  • การไตร่ตรอง (reflect) เมื่อถึงแต่ละจุดให้ "ไตร่ตรอง" โดยพิจารณาว่า คุณกำลังสรุปผลอย่างมีเหตุผลและสามารถป้องกันความคิดนั้นได้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังเป็นเวลาที่จะดูว่ามี การเปลี่ยนแปลงที่ก่อกวนทางธุรกิจ (disruptive changes) ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนจากการมุ่งเน้น ไปสู่การคิดค้นใหม่เพิ่มเติมหรือไม่ ตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณจัดตารางเวลาอย่างตั้งใจเพื่อทบทวนไตร่ตรองสิ่งเหล่านี้ เพราะการไตร่ตรองต้องใช้เวลาคิดอย่างทุ่มเท โดยให้พิจารณาไตร่ตรองเพียงผู้เดียว และกับสมาชิกในทีมหลักของคุณ

มุมมองการนำองค์กร ในเกณฑ์ Baldrige และการไตร่ตรอง

  • Baldrige Excellence Framework® มีองค์ประกอบสำหรับการพิจารณาการไตร่ตรองของผู้นำคือ ค่านิยมหลักของBaldrige เรื่อง ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (visionary leadership
  • ค่านิยมหลักระบุว่า ผู้นำมีหน้าที่รับผิดชอบต่อความสำเร็จขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการสร้างกลยุทธ์ การกระตุ้นนวัตกรรม การจัดการความเสี่ยง และมีความยืดหยุ่น
  • ความรับผิดชอบทั้งหมดที่ฝังอยู่ในสิ่งเหล่านี้คือ ความจำเป็นในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดลำดับความสำคัญ ดำเนินการ ทบทวน และการไตร่ตรอง 
  • ในการแก้ไขเกณฑ์ที่กำลังจะมีขึ้น อาจมีการกล่าวถึงความจำเป็นในการไตร่ตรองเป็นการเฉพาะ
  • ในหัวข้อ 1.1 ของเกณฑ์ Baldrige for Performance Excellence® ประเด็นสุดท้ายคือ การมุ่งเน้นที่การดำเนินการ รวมถึงข้อกำหนดในการระบุการดำเนินการที่จำเป็น การดำเนินการเหล่านั้น และแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบส่วนบุคคลสำหรับการกระทำเหล่านั้น
  • ในบันทึกย่อ ให้รายละเอียดข้อควรพิจารณาบางประการสำหรับการมุ่งเน้นที่การดำเนินการ และอาจได้รับประโยชน์จากการกล่าวถึงความจำเป็นในการไตร่ตรองโดยเฉพาะ
  • เกณฑ์ Baldrige มาพร้อมกับหลักเกณฑ์การให้คะแนน โดยมีช่วงที่สะท้อนถึงวุฒิภาวะขององค์กรในการตอบคำถามเกี่ยวกับเกณฑ์ ผู้ประพันธ์คิดว่า การไตร่ตรอง เป็นการแสดงถึงวุฒิภาวะ 
  • และผู้ประพันธ์เชื่อว่า การไตร่ตรองเป็นสิ่งจำเป็นในทุกระดับของวุฒิภาวะ แต่ผู้ประพันธ์ไม่เชื่อว่า การไตร่ตรองจะอยู่ในหลักเกณฑ์การให้คะแนน

ข้อคิดสุดท้าย

  • มีบทความมากมายเกี่ยวกับภาวะผู้นำและเวลาในการไตร่ตรอง ผู้ประพันธ์เชื่อว่า ASPAR ให้แนวทางเชิงตรรกะในการไตร่ตรองที่ดี เพราะในความเป็นระบบของ ArSrPARr คือกรอบในการมุ่งเน้น และการสร้างขึ้นมาใหม่

****************************

 

คำสำคัญ (Tags): #leadership#pdca#ผู้นำ#ASPAR
หมายเลขบันทึก: 704536เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2022 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2022 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท