ปัตตานีในประวัติศาสตร์สมัยใหม่: การก่อความไม่สงบในศตวรรษที่ 20


เมื่อถึงคราวศตวรรษที่ 20 มาเลย์มุสลิมแห่งปาตานีได้สร้างขบวนการต่อต้านที่มีชื่อเสียงขึ้นมา กระบวนการต่อต้านเกิดขึ้นในปี 1909 และ 1911 ซึ่งนำโดยพวกฮัจยี หรือก็คือครูผู้สอนศาสนาที่ได้เดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเมกกะ พวกมุสลิมแตกตื่นและเผาสำนักงานรัฐบาล หนึ่งในผู้นำในการประท้วงในปี 1909 ถูกจับ แต่ผู้นำในปี 1911 ไม่โดนจับ ถึงแม้ว่าแรงจูงใจในการประท้วงจะไม่ชัดแจ้ง แต่เหตุการณ์ทั้งสองเป็นการปฏิวัติ เพราะผู้นำในเหตุการณ์กลับไม่ใช่ชนชั้นผู้นำอย่างในอดีต

การประท้วงครั้งต่อมา เรียกกันว่าวิกฤตการณ์ปาตานีในปี 1922 ซึ่งถูกกดดันโดยกองกำลังทหารของรัฐบาล ที่ต้องห้ามชาวบ้านเป็นร้อยๆคนในโจมตีสถานีตำรวจ ครั้งนี้เป็นครั้งที่รัฐบาลรู้ถึงสาเหตุของการประท้วง หัวหน้าของพวกเขาจะเป็นคนเก็บภาษี ครูประชาบาล กรรมกร และระบบศาลไทยที่ไม่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลจับคนประท้วงได้ 150 คน แต่ตัดสินว่าผิดในฐานกบฏและปฏิวัติแค่ 15 คน สาเหตุหลักในวิกฤตปี 1922 เนื่องมาจากนโยบายของรัฐในการบังคับการศึกษาระดับประถม ที่ไม่เหมาะกับจังหวัดที่มาเลย์มุสลิมอยู่เป็นส่วนใหญ่ ในการปฏิบัติจริง นี่คือการบังคับให้มาเลย์มุสลิมจะต้องเรียนภาษาไทยและหลักสูตรไทยในโรงเรียน การปฏิบัติทางศาสนาดังกล่าวได้ดับฝันที่จะเรียนปนโดะก์  หรือปอเนาะ (โรงเรียนดั้งเดิมของอิสลาม) และภาษามาเลย์ มีความเชื่อกันว่าผู้นำในการประท้วงครั้งนี้คือฮัจยีปาตานี ชื่อ Jamaiyatul Fathanmiya มีจุดมุ่งหมายในการปลดปล่อยมุสลิมจากอาณานิคม และเจ้าอาณานิคมในทุกชาติ จุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสร้างรัฐอิสลามที่มีความเป็นหนึ่งเดียวในแหลมมลายูตอนเหนือ ซึ่งรวมทั้งปาตานี, กลันตัน,และ ตรังกานู เหตุการณ์ปี 1922 แสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจของชาวมาเลย์มุสลิมต่อรัฐบาลสยาม รวมทั้งนโยบาย และการปฏิบัติในภูมิภาคนี้ด้วย

หมายเลขบันทึก: 704128เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2022 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2022 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท