ICD-10 การจัดกลุ่ม และจำแนกโรค ขององค์การอนามัยโลก


องค์การอนามัยโลก เริ่มพัฒนารหัส ICD-10 (International Classification of Diseases ฉบับที่ 10) ในปี 2526

ประกาศใช้ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ในปี 2533 และเริ่มใช้ในประเทศสมาชิกตั้งแต่ปี 2537

https://en.wikipedia.org/wiki/ICD-10 

ประเทศไทยเป็น 3 ประเทศแรกในโลก (เดนมาร์ก เชคโกสโลวาเกีย และไทย) ที่มีการเปลี่ยนจาก รหัส ICD-9 เป็นรหัส ICD-10

ประเทศไทยเปลี่ยนเป็นรหัส ICD-10 ในยุคที่ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นผู้อำนวยการกองสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข 

ICD-10 มี 22บท แต่ละบท มีรหัสอักษร A-Z นำหน้า ได้แก่

บทที่ 1 Certain infectious and parasitic diseases  โรคติดเชื้อ รหัสนำหน้าด้วย A B

บทที่ 2 Neoplasms  เนื้องอก รหัสนำหน้าด้วย C D

บทที่ 3 Diseases of the blood and blood-forming organs and certain disorders involving the immune mechanism  โรคระบบโลหิต และระบบภูมิคุ้มกัน รหัสนำหน้าด้วย D

บทที่ 4 Endocrine, nutritional and metabolic diseases  โรคระบบต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตาบอลิค รหัสนำหน้าด้วย E

บทที่ 5 Mental and behavioural disorders  โรคจิต พฤติกรรม รหัสนำหน้าด้วย F 

บทที่ 6 Diseases of the nervous system  โรคระบบประสาท รหัสนำหน้าด้วย G

บทที่ 7 Diseases of the eye and adnexa  โรคตา รหัสนำหน้าด้วย H

บทที่ 8 Diseases of the ear and mastoid process  โรคหู รหัสนำหน้าด้วย H

บทที่ 9 Diseases of the circulatory system  โรคระบบไหลเวียนโลหิต รหัสนำหน้าด้วย I

บทที่ 10 Diseases of the respiratory system  โรคระบบทางเดินหายใจ รหัสนำหน้าด้วย J

บทที่ 11 Diseases of the digestive system  โรคระบบย่อยอาหาร รหัสนำหน้าด้วย K

บทที่ 12 Diseases of the skin and subcutaneous tissue  โรคผิวหนัง รหัสนำหน้าด้วย L

บทที่ 13 Diseases of the musculoskeletal system and connective tissue โรคระบบกล้ามเนื้อ กระดูก รหัสนำหน้าด้วย M

บทที่ 14 Diseases of the genitourinary system  โรคระบบปัสสาวะ และระบบสืบพันธ์ รหัสนำหน้าด้วย N

บทที่ 15 Pregnancy, childbirth and the puerperium  การตั้งครรภ์ คลอดบุตร และภาวะหลังคลอด รหัสนำหน้าด้วย O

บทที่ 16 Certain conditions originating in the perinatal period  ภาวะที่เกิดขึ้นในช่วงปริกำเนิด รหัสนำหน้าด้วย P

บทที่ 17 Congenital malformations, deformations and chromosomal abnormalities  ความผิดปกติที่เป็นแต่กำเนิด รหัสนำหน้าด้วย Q

บทที่ 18 Symptoms, signs and abnormal clinical and laboratory findings, not elsewhere classified  อาการ อาการแสดง ต่างๆ รหัสนำหน้าด้วย R

บทที่ 19 Injury, poisoning and certain other consequences of external causes  การบาดเจ็บ ได้รับสารพิษ รหัสนำหน้าด้วย S T 

บทที่ 20 External causes of morbidity and mortality เหตุปัจจัยภายนอก ของการป่วยและการตาย รหัสนำหน้าด้วย V W X Y

บทที่ 21 Factors influencing health status and contact with health services  ปัจจัยเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ และการเข้ารับบริการ รหัสนำหน้าด้วย Z

บทที่ 22 Codes for special purposes รหัสใช้กับวัตถุประสงค์จำเพาะ รหัสนำหน้าด้วย U

 

ได้มีการอบรมการใช้ ICD-10 ให้บุคลากรทางการแพทย์ ได้รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในยุคที่ประเทศไทยเริ่มมีการบันทึกข้อมูล เปลี่ยนจากระบบลงรหัสในกระดาษบันทึก มาเป็นระบบคอมพิวเตอร์

และเป็นข้อมูลสำคัญ ในระบบการเบิกจ่ายงบประมาณผู้ป่วยใน จากกองทุนประกันสุขภาพ โดยแปลงเป็นการจัดกลุ่มโรคร่วม DRG ที่มีการวิจัยหาต้นทุนของแต่ละกลุ่มโรค ในสถานบริการระดับต่างๆ

การค้นหารหัส ICD-10 อาจใช้เครื่องมือ ICD-10 Browser ซึ่งสะดวกกว่าการเปิดค้นหาจากหนังสือ

https://icd.who.int/browse10/2019/en

** ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

ICD-11 การจัดกลุ่ม และจำแนกโรค ขององค์การอนามัยโลก

https://www.gotoknow.org/posts/703825

รู้จัก SNOMED CT Browser

https://www.gotoknow.org/posts/703838

SNOMED CT Browser เครื่องมือค้นหารหัสข้อมูลสุขภาพ

https://www.gotoknow.org/posts/703842

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 703832เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2022 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2022 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท