"นิทานก้อม"


 “นิทานก้อม” คิออะไร ?

     “นิทานก้อม” เป็นการเล่าเรื่องแบบพื้นบ้านสไตล์อิสานนิช,,, ท่านสมบัติ ศรีสิงห์ ได้ให้นิยามของ นิทานก้อม ในแบบอิสานนิเคชั่น(Isannication) ดังนี้

    "นิทานก้อม คือ นิทานขนาดสั้น นิทานที่บ่ยาว แล้วกะมักสิเป็นเรื่องสนุกสนาน ฟังแล้วเป็นตาอยากหัว เรื่องราวส่วนใหญ่ กะมักสิเป็นเรื่องล้อเลียนคนผู้ลังคน ที่เฮ็ดโตบ่ปกติ หรือเฮ็ดอีหยังผิดๆ พลาดๆ เซ่อๆ ซ่าๆ เรื่องราวหน้าแตก ประเภทนี้ล่ะ... เรื่องหน้าแตก เรื่องเปิ่นๆ ป่วงๆ ของผู้นั้นผู้นี้หรือว่าของผู้อื่น คนเฮามักฟัง ฟังแล้วกะขบขันอยากหัว เป็นการคลายเครียด ไปนำนั่นล่ะ..

   นิทาน ซุมนี้ เว้าบ่ดน กะถึงจุดอยากหัว พอพากันหัวแล้วๆ นิทานกะจบ เว้าสั้นๆ เว้าเหี้ยนๆ เว้าก้อมๆ กะเข้าใจ พอเข้าใจ นิทานกะจบพอดี กะเลยได้ซื่อว่า นิทานก้อม นั่นล่ะ"

**แปลไทยเป็นไทยได้ว่า

   "นิทานก้อม คือ นิทานสั้น นิทานที่ไม่ยาว แล้วมักจะเป็นเรื่องสนุกสนาน ฟังแล้วขำขัน เรื่องราวส่วนใหญ่ ก็มักจะเป็นเรื่องล้อเลียนคนบางคน ที่ทำตัวไม่ปกติ หรือทำอะไรผิดๆ พลาดๆ เซ่อๆ ซ่าๆ เรื่องราวหน้าแตก ประเภทนี้ล่ะ... เรื่องหน้าแตก เปิ่นๆ บ๊องๆ ของคนนั้นคนนี้หรือว่าของคนอื่น คนเราชอบฟัง ฟังแล้วก็ขบขันอยากหัวเราะ เป็นการคลายเครียดไปด้วยนั่นแหละ…

   นิทานพวกนี้ เล่าไม่นาน ก็ถึงจุดขำขัน เมื่อหัวเราะกันแล้ว นิทานก็จบ เล่าสั้นๆ ก็เข้าใจ พอเข้าใจ นิทานก็จบพอดี ก็เลยได้ชื่อว่า นิทานก้อม(นิทานสั้น) นั่นแหละ"

**ตัวอย่าง นิทานก้อม

**"นิทานก้อม น้องเมียพี่อ้าย ตอนเข้าใจผิด.."

 

หมายเลขบันทึก: 702781เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2022 08:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2022 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท