การจัดทำแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์มันคืออะไร...จำเป็นแค่ไหนหรอ?


คำถามที่นักกลยุทธ์ถูกถามเป็นประจำคือ 

“ตกลงการจัดทำแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ รูปแบบควรจะต้องเป็นอย่างไรกันแน่ คือ ลงรายละเอียดเป็นเล่มๆ ในแต่ละ function งาน หรือไม่ควรเป็นรูปแบบที่มีลักษณะเป็นเล่ม แค่เป็นการถ่ายทอดประเด็นสำคัญๆ ที่วัตถุประสงค์องค์กรต้องบรรลุ เพื่อให้ผู้บริหารระดับถัดไปจากผู้บริหารสูงสุด ใช้เป็นแนวทางในการไปปฏิบัติ”

รูปแบบของการจัดทำแผนและจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic management)  ไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของธุรกิจ ตลอดจนความพร้อมของผู้บริหาร รวมถึงสภาวการณ์จากผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ณ ช่วงขณะนั้นๆ ขึ้นกับการอยู่ในช่วงใดของ business life cycle  โดยเฉพาะช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไปในอีก 3-4 ปีข้างหน้า การเกิดขึ้นของ disruption กอปรกับการเกิดขึ้นของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ยิ่งทำให้พวกเราได้เห็นถึงการบริหารจัดการหรือทำแผนเชิงกลยุทธ์ ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ ยกตัวอย่างอาทิ ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม ร้านอาหารขนาดใหญ่ หรือที่มีสาขาเป็นจำนวนมาก 

จะเห็นได้ว่า กลยุทธ์หลักอาจจะใช้การถ่ายทอดหรือเขียนสรุปเพียงพันธกิจ         ( mission) , คุณค่า (value) , วัตถุประสงค์ (objective) หรือ ประเด็นสำคัญของกลยุทธ์ให้แก่ผู้บริหารระดับสูง โดยสรุปออกมาในลักษณะลายลักษณ์อักษร (in written form) ปริมาณไม่มาก เพื่อถ่ายทอดให้เข้าใจร่วมกัน เพียงกำหนดตัวชี้วัด (KPIs) ที่สำคัญ ผู้บริหารถัดไปต้องจัดทำแผนปฏิบัติการ (operating plan) แบบค่อนข้างละเอียด เนื่องจากคุณภาพของพนักงานในส่วนหน้างาน (frontier) ตลอดจนต้องการให้เกิดความเป็นมาตรฐาน หรือมาตรการสำคัญๆ ที่พลาดไม่ได้ มีความเป็นระบบระเบียบสูง เป็นต้น หากเป็นธุรกิจ Startup จะเน้นแต่เพียงวัตถุประสงค์ (objective) แนวทางสำคัญๆ ด้านกลยุทธ์และการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ ที่มักเรียกกันว่า OKR (Objective Key Result) เป็นต้น 

โดยสรุปการทำแผนและจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ในนิยามของผมสรุปได้ดังนี้

เป็นวิทยาศาสตร์ : การใช้ความรู้ ทฤษฎี แนวคิด การสร้างความเข้าใจแบบลึกซึ้งและเป็นตรรกะ เพื่อให้สามารถรู้วิธีการเข้าถึงความจริง สามารถคิดหาวิธีในการบริหารและวางแผนจัดการสภาวะแวดล้อมภายนอกให้กลมกลืนกับภายในเพื่อบรรลุเป้าหมาย กล่าวคือ ตระหนักว่าปัจจัยสภาวะแวดล้อมที่สำคัญอะไรบ้างที่จะส่งผลและเป็นประเด็นต่อการจัดทำกลยุทธ์ ค้นหาและใช้ประโยชน์จากโอกาสทางการตลาด การค้นพบตลาดใหม่ คำนึงถึงความสามารถและฐานทรัพยากรขององค์กร นำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรองค์กรเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ให้บรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวัง 

เป็นศิลป์ : การใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ใช้จินตนาการเพื่อมองภาพสู่อนาคตที่เชื่อมต่อกับปัจจุบันอันโยงใยมาจากในอดีต มีความสามารถในการคิดแบบองค์รวม (The whole is greater than the sum of its parts) มีลีลา และความสุนทรียศาสตร์ในการถ่ายทอดภาพอนาคตเพื่อถ่ายทอดให้พนักงานทั่วทั้งองค์กร 

ดร. สสรณ์ โสรัตน์
 

 

หมายเลขบันทึก: 702440เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2022 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2022 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท