ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนา เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ


                                                             เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ 

                                                    อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

                                                         

1.ข้อมูลสะท้อนคุณลักษณะตำบล

 ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ มีประวัติเริ่มก่อตั้งชุมชนในปลายรัชสมัยรัชกาล ที่ 2 มีหลักฐานว่าชุมชนตั้งอยู่ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 5 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 7 ตำบลลำพยา (อดีตเรียกว่าทุ่งวัด) ต่อมาวัดดังกล่าวได้ย้ายไปตั้งบริเวณบ้านหนองฉิม (เดิมเรียกว่า หนองสิม) ชุมชนได้ย้ายวัดไปจากนั้นวัดได้ย้ายที่ตั้งอีกครั้งซึ่งเป็นที่อยู่ของวัดในปัจจุบัน คือ วัดโพรงมะเดื่อ และมีเรื่องเล่าบอกต่อกันมาว่า เดิมชุมชนตั้งชื่อว่าบ้านหัวเข้ เนื่องจากมีซากของหัวจระเข้อยู่ในโพรงของต้นมะเดื่อ สภาพทั่วไปของเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มทั่วทั้งบริเวณเป็นแผ่นดินผืนใหญ่ถูกแบ่งย่อยโดยคลองธรรมชาติพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม

  ชาวบ้านได้สืบทอด วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตชุมชนโดยประชากรชาติพันธุ์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายลาวหรือที่เรียกว่าลาวครั่ง นักวิชาการชุมชน(เอมอร ชาวสวน) ศึกษาว่า ได้อพยพมาจากแขวงบ่อแก้ว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่า ชาวลาวครั่งตั้งบ้านเรือนอยู่ใน

หมู่ 1, 2, 3, 5, 6, 10, 15 ตำบลโพรงมะเดื่อส่วนหมู่อื่นๆจะเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนประเพณีวัฒนธรรมที่โดดเด่นในพื้นที่จะเป็นวัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อที่แสดงออกในรูปของวิถีชีวิต

 ปัจจุบันเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มคนในตำบลเพื่อตอบสนอง ความต้องการที่จะสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมนี้ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิถีชีวิตจนเกิดเป็นรูปธรรมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เข้ามาสนับสนุนจัดการปัญหาในการดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อจัดการกับปัญหาของประชาชนในทุกด้าน ประกอบด้วยการดำเนินการด้านเศรษฐกิจ การดำเนินการด้านความรู้การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม การดำเนินการด้านการดูแลสุขภาพ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ มีประสบการณ์ในการจัดการตนเองมีความพร้อมในการเข้าสู่ตำบลสุขภาวะ โดยใช้แนวคิดที่จะพัฒนาชุมชนโดยการขับเคลื่อนชุมชนโดยชุมชนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมมุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นอยู่โดยใช้ชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงดังวิสัยทัศน์ในแผนพัฒนาเทศบาลที่ว่า บริหารจัดการโปร่งใส ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า ประชาชนมีส่วนร่วม สาธารณสุขบริโภคได้มาตรฐาน เศรษฐกิจและสังคมพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นประโยชน์สุขของประชาชน โดยนำหลักของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) มาใช้ในการบริหารองค์กร เน้นการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยสร้างการมีส่วนร่วม การเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้วยการหนุนการทำงานของกลุ่มและแหล่งเรียนรู้ และเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ การพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการบูรณาการงานร่วมกัน อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

                                            

1.1ลักษณะทางกายภาพ

 

1.1.1ที่ตั้ง

 เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อตั้งอยู่ที่ 243 หมู่ที่ 5 ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองและติดต่อกับเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 10 กิโลเมตร เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542

1.1.2มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆดังนี้

ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดกับ หมู่ที่ 2 ตำบลโพรงมะเดื่อเขต อบต.โพรงมะเดื่อ
  ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดกับ หมู่ที่ 5 ตำบลลำพยาเขต อบต.ลำพยา
 ทิศใต้ มีอาณาเขตติดกับ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองดินแดงเขต อบต.หนองดินแดง
 ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดกับ หมู่ที่ 1 บ้านบางตาล ต.หนองกบ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

              พื้นที่เขตการปกครองเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ มีทั้งหมด 14.8 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน ดังนี้

                ตำบลหนองดินแดง หมู่ที่ 1 และ 2
                ตำบลโพรงมะเดื่อ หมู่ที่ 1,5,8,10,12 และ 13

               1.1.3ลักษณะภูมิประเทศ 

เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มทั่วทั้งบริเวณ เป็นแผ่นดินผืนใหญ่ถูกแบ่งย่อยโดยคลองธรรมชาติ ลำรางธรรมชาติและคลองชลประทาน พื้นที่ทั้งหมดเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม พื้นที่มีลักษณะลาดเอียงโดยลาดเอียงจากทางด้านทิศเหนือลงไปทางทิศใต้ และทางด้านทิศใต้มีทางรถไฟสายใต้ และถนนเพชรเกษมเป็นทางแนวขนานไปทางทิศใต้

 ลักษณะภูมิอากาศภูมิอากาศของเทศบาลโพรงมะเดื่อ มีลักษณะคล้ายคลึงกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลาง คือ

     ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
     ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน
     ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20 องศาเซลเซียส ในเดือน     มกราคม

 

1.1.4ลักษณะทางธรณีวิทยา

ตำบลโพรงมะเดื่อมีลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นดินที่ลุ่มเช่นเดียวกับบริเวณใกล้เคียง เช่น จังหวัดราชบุรี หรือกรุงเทพมหานคร ความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับปานกลางเหมาะแก่การทำการเกษตร แต่ก็ยังมีความจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อปรับปรุงดินบ้าง ลักษณะสีของดินมีลักษณะเป็นสีดำ คล้ายดินเลนและดินเหนียวสามารถอุ้มน้ำได้ดี

 

1.2.ด้านการเมือง / การปกครอง 

1.2.1. เขตการปกครอง

เขตการปกครองเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ มีพื้นที่ทั้งหมด 14.8 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 

พื้นที่ 2 ตำบล 8 หมู่บ้าน ดังนี้ 

 

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน ชื่อผู้นำปกครองท้องที่
(กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน)
ชาย หญิง รวม
  ตำบลโพรงมะเดื่อ 3,411 3,660 7,071 2,504 กำนันไพศาล จิรธนานันท์
1 บ้านนา 854 907 1,761 690 นายขจรเดช คิ้มแหน
5 บ้านโพรงมะเดื่อ 888 1,001 1,889 632 กำนันไพศาล จิรธนานันท์
8 บ้านไร่เก่า 614 653 1,267 386 นายสุนทร แซ่ลี้
10 บ้านไร่ 531 574 1,105 365 นายนิติพัฒน์ ไกรวชิรสิทธิ์
12 บ้านกาเลี้ยงลูก 169 185 354 150 นายภคิน เซียงหว่อง
13 บ้านหนองหิน 299 297 596 278 นายชูเกียรติ คิ้มแหน
  ตำบลหนองดินแดง 1,651 1,880 3,531 1,171 กำนันณรงค์ ปิยะพันธ์
1 บ้านคลองขุด 513 542 1,055 267 นายสมนึก คอมนันท์
2 ตลาดหนองดินแดง 1,138 1,338 2,476 904 กำนันณรงค์ ปิยะพันธ์
รวม 5,062 5,540 10,602 3,675  

 

 

 

 

1.2.2. การเลือกตั้ง 

การเลือกตั้ง มีจำนวน 2 เขต เลือกตั้ง คือ 

  • เขต 1 มีจำนวน 6 หมู่ 
    • หมู่ที่ 1 บ้านนา
    • หมู่ที่ 5 โพรงมะเดื่อ
    • หมู่ที่ 8 บ้านไร่เก่า 
    • หมู่ที่ 10 บ้านไร่
    • หมู่ที่ 12 กาเลี้ยงลูก
    • หมู่ที่ 13 หนองหิน
  • เขต 2 มีจำนวน 2 หมู่ 
    • หมู่ที่ 1 หนองดินแดง
    • หมู่ที่ 2 หนองดินแดง

 

1.3บริบททางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจในตำบลโพรงมะเดื่อมีอัตราการเพิ่มขึ้น เนื่องจากการตั้งถิ่นฐานประชากรส่วนใหญ่เป็นประชากรดั้งเดิมในท้องถิ่น ตั้งบ้านเรือนรวมกันเป็นกลุ่มๆประมาณร้อยละ 50 และประชากรอีกส่วนหนึ่งเป็นประชากรที่อพยพมาเพื่อประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและการปศุสัตว์

อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ผลผลิตส่วนใหญ่ของชุมชนขึ้นอยู่กับจำนวนผลผลิตทางด้านเกษตรกรรม และรองลงมาคือการประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขายและอื่นๆ ตามลำดับ ของประชากรคิดเป็นร้อยละได้ ดังนี้

    - อาชีพเกษตรกร จำนวน 2,860 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด
     - อาชีพรับจ้าง จำนวน 438 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 12 ของครัวเรือนทั้งหมด
     - อาชีพค้าขาย จำนวน 179 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 5 ของครัวเรือนทั้งหมด
     - อาชีพอื่น ๆ จำนวน 107 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 3 ของครัวเรือนทั้งหมด

 

หน่วยธุรกิจในเขต อบต.

ปั๊มน้ำมันและก๊าซ         6      แห่ง

โรงงานอุตสาหกรรม     3      แห่ง

โรงสีข้าว                       1     แห่ง

ร้านค้า                         149     แห่ง

 

1.4บริบททางสังคม

               สภาพทางสังคมของตำบลโพรงมะเดื่อ สามารถบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ ชุมชนดั้งเดิม และ ชุมชนที่เป็นบ้านจัดสรร 

               ชุมชนดั้งเดิม มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายตามการดำรงชีวิตของชุมชนชาวบ้านตามปกติมีการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายในท้องถิ่น มีระบบเครือญาติและการนับถือผู้อาวุโส มีความสนิทสนมกันจึงช่วยมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและลดความขัดแย้งต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ชุมชนที่เป็นบ้านจัดสรร ปัจจุบันมีการเข้ามาของโครงการบ้านจัดสรรประมาณราวๆ 10 กว่าหมู่บ้านซึ่งถ้านับเป็นครัวเรือนถือว่าเป็นจำนวนที่มากขึ้นพอสมควรเพราะฉะนั้นจะมีความจเป็นอย่างมากที่จะต้องให้ผู้อาศัยที่เข้ามาใหม่จะต้องทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยกับผู้อยู่อาศัยเดิมเพื่อความเข้าใจกันและคุ้นเคยกันเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันในชุมชน

กลุ่มทางสังคม

    - กลุ่มอาชีพ จำนวน 19 กลุ่ม
     - กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ จำนวน 1 กลุ่ม
     - กลุ่มอาสาสมัครพัฒนาสตรีเทศบาลฯ จำนวน 1 กลุ่ม
     - กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 8 กลุ่ม
     -กองทุนสวัสดิการชุมชน จำนวน 1 กลุ่ม
     -กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จำนวน 1 กลุ่ม
     -กลุ่มอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนเทศบาลฯ(อปพร.)จำนวน 1 กลุ่ม

 

สาธารณสุข

 เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 180 คน และมีโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 2 แห่ง คือ

 -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพรงมะเดื่อ

-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองดินแดง

 

อาชญากรรม

 -สถานีตำรวจภูธรโพรงมะเดื่อย่อย จำนวน 1 แห่ง 

-เจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) จำนวน 50 คน 

-เจ้าหน้าที่กู้ชีพกู้ภัย จำนวน 6 คน 

 

การสังคมสงเคราะห์

               ผู้สูงอายุในเขตตำบลสระสี่มุมที่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 1,259 ราย

               ผู้พิการในเขตตำบลสระสี่มุมที่ได้รับเบี้ยยังชีพ   จำนวน 161    ราย

               ผู้ป่วยเอดส์ในเขตตำบลสระสี่มุมที่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 3 ราย

 

1.5บริบททางการศึกษาและวัฒนะธรรม

การศึกษา

มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ 2 แห่ง คือ 

มีโรงเรียนในเขตเทศบาล จำนวน 4 แห่ง คือ

ที่ สถานบริการด้านการศึกษา จำนวน
ครู นักเรียน
1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพรงมะเดื่อ 3 47
2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ 4 52
3 โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ 31 578
4 โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม 41 720
5 โรงเรียนวัดหว้าเอน 8 50
6 โรงเรียนบอสโกพิทักษ์ 117 1,960

 

ลำดับ ชื่อสถานศึกษา ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการที่ได้รับมอบหมายให้สอน ข้าราชการครูที่สอน พนักงานราชการที่สอน ครูอัตราจ้างที่สอน รวม
1 โรงเรียนวัดโพรงมะเดื่อ 1 1 24 - 5 31
2 โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม 1 1 36 - 3 41
3 โรงเรียนวัดหว้าเอน 1 - 7 - - 8
4 โรงเรียนบอสโกพิทักษ์ 1 6 62 - 48 117

 

ศาสนา

- ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อนับถือศาสนาพุทธ (90 %)รองลงมาจะนับถือศาสนาคริสต์ (8 % ) และศาสนาอิสลาม (2%) ตามลำดับ
     - วัดในเขตเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ มีจำนวน 2 แห่ง

     - วัดโพรงมะเดื่อตั้งอยู่ ม.5 มีพระภิกษุสงฆ์ 32 รูป สามเณร 5 รูป
     - วัดหว้าเอนตั้งอยู่ ม.10 มีพระภิกษุสงฆ์ 12 รูป สามเณร – รูป

 

 

1.6บริบททางการเมือง

แผนผังโดยรวมขององค์กร

 

2.ข้อมูลสะท้อนคุณักษณะองค์กร

 

ภาพที่1 คือภาพสำนกงานเทศบาลโพรงมะเดื่อและวัดโพรงมะเดื่อ ซึ่งสนง.เทศบาลโพรงมะเดื่อตั้งอยู่ที่ 243 หมู่ที่ 5 ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองและติดต่อกับเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 10 กิโลเมตร เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542

               

2.1ผู้บริหารและคณะทำงาน

              ปัจจุบันผู้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลโพรงมะเดื่อคือ นายนายพิทักษ์พล ตันกิตติวัฒน์ดำรงตำแหน่เป็นสมัยที่สาม โดยมีนางอนงค์ลักษณ์ ตันกิตติวัฒน์ และนายณภัทร ตันกิตติวัฒน์เป็นรองนายกเทศมตรี แผนผังโดยรวมขององค์กร

 

 


           คณะผู้บริหาร

                                                                            

                                                                   นายพิทักษ์พล ตันกิตติวัฒน์
                                                               นายกเทศมนตรีตำบลโพรงมะเดื่อ

           

                                                                                                  
นางอนงค์ลักษณ์ ตันกิตติวัฒน์                                                                                        นายณภัทร ตันกิตติวัฒน์
        รองนายกเทศมนตรี                                                                                                    รองนายกเทศมนตรี  

                                                                         

                                                                         นายวิชัย ทองโชติ
                                                                     ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี

 

 

2.2 วิสัยทัศน์

สารจากนายกเทศมนตรี

ภารกิจ อำนาจหน้าที่ของเทศบาล การจัดทำแผนอัตราก าลังและการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ ได้พิจารณาสรุป รูปแบบและกำหนดแนวทางการจัดทำแผนอัตรากำลัง ตามแผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี ประจำปี 2561 – 2564 ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ตามวิสัยทัศน์ของเทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ คือ “ท้องถิ่นเป็น ของท่าน บริการเป็นของเรา” ประกอบนโยบายการพัฒนาของผู้บริหาร มุ่งเน้นให้มีการพัฒนาคุณภาพ

หมายเลขบันทึก: 701535เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2022 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2022 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท