ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด


ข้อมูลเพื่อการพัฒนา

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด

1 ข้อมูลคุณลักษณะตำบลท่าตลาด

1.1 ประวัติความเป็นมาของตำบลตำบลท่าตลาดมีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2439พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องถิ่นรศ.116ขึ้นโดยตั้งเป็นที่ตั้งอำเภอและพระยาสุนทรศรีพิชัยสงครามรามภักดีสุริยพาหะ(อี้กรรณสูต)ให้ชื่อว่า“ตลาดใหม่”ขึ้นกับมณฑลนครชัยศรีพระประทีปประชาชน(โป๊ะกรรณสูต)ได้สร้างตลาดขึ้น และในปี พ.ศ. 2458 พระยาสุนทรบุรีศรีฯ จึงสร้างตลาดขึ้นมาใหม่เป็นลักษณะตลาดถาวร ฝากระดานไม้ มุงหลังคาด้วยกระเบื้องและในปีพ.ศ.2458นั้นเองพระยาสุนทรบุรีศรีฯจึงได้ย้ายที่ทำการอำเภอไปอยู่ที่ตำบลสามพรานจังหวัดนครปฐมที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันเนื่องจากสถานที่เดิมคับแคบเกินไปที่ตั้งอำเภอก็เลยเปลี่ยนเป็นตำบลตลาดใหม่และได้มีการเปลี่ยนชื่อตำบลอีกครั้งเป็น”ตำบลท่าตลาด” แล้วได้ใช้ชื่อนี้จนถึงทุกวันนี้

1.2 พื้นที่และขอบเขต

ตำบลท่าตลาดเป็นที่ลุ่มมีพื้นที่อยู่2ฝั่งของถนนเพชรเกษมและแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านจึงเหมาะแก่การทำเกษตรเป็นพื้นที่เกษตรกรรม3,548ไร่พื้นที่อุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย3,038ไร่เป็นชุมชนเมืองสภาพโดยรวมไม่ต่างจากชานเมืองของกรุงเทพเท่าไรนัก มีอาคารพาณิชย์ และหมู่บ้านจัดสรรตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลหอมเกร็ด และ ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

 พื้นที่และขอบเขตปรากฏดังแผนที่ ดังนี้

1.2.1 ลักษณะภูมิประเทศ

          พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดเป็นที่ราบลุ่มมีพื้นที่อยู่สองฝั่งของถนน

เพชรเกษมและแม่น้ำท่าจีน โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อ อบต.ตำบลหอมเกร็ด และ อบต.ทรงคนอง

ทิศใต้ ติดต่อ อบต.ยายชา

ทิศตะวันออก ติดต่อ เทศบาลเมืองไร่ขิง

ทิศตะวันตก ติดต่อ เทศบาลเมืองสามพราน และ อบต.คลองใหม่

                   1.2.2 ลักษณะภูมิอากาศ

          ลักษณะภูมิอากาศส่วนใหญ่ในเขตตำบลท่าตลาดมีลักษณะร้อนชื้น มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งที่

เห็นเด่นชัด ฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในช่วงเดือนตุลาคม ส่วนฤดูหนาวอยู่ในช่วงเดือน

ตุลาคมถึงมกราคมได้รับอิทธิพลความเย็นมาจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือน

พฤษภาคมมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด  

                   1.2.3 ลักษณะดิน

          ตำบลท่าตลาดเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนในระดับและอายุต่างๆ กัน โดย

เกิดขึ้นจากอิทธิพลของตะกอนลำน้ำและตะกอนน้ำกร่อย ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึง

ค่อนข้างสูงและมีความเหมาะสมต่อการเกษตรกรรม

 

1.3 การปกครองระดับหมู่บ้าน

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน ได้แก่

          1. บ้านคลองสรรเพชญ มีจำนวน 83 ครัวเรือน

2. บ้านคลองบางหลวง มีจำนวน 1,446 ครัวเรือน

          3. บ้านท่าตลาด มีจำนวน 415 ครัวเรือน

          4. บ้านท่าตลาด มีจำนวน 1,569 ครัวเรือน

5. บ้านคลองหนองจอก มีจำนวน 426 ครัวเรือน

          6. บ้านโรงเหล็ก มีจำนวน 590 ครัวเรือน

          7. บ้านท่าตลาด มีจำนวน 76 ครัวเรือน

          8. บ้านคลองลัดนางแท่น มีจำนวน 272 ครัวเรือน

          9. บ้านตลาดใหม่ มีจำนวน 415 ครัวเรือน

          10. บ้านศาลเจ้าคู่ มีจำนวน 1,774 ครัวเรือน

รวมจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 7,066 ครัวเรือน

- จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดเต็มทั้งหมู่บ้านมี 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 3 , หมู่ที่ 4 , หมู่ที่ 5 , หมู่ที่ 6 , หมู่ที่ 7 , หมู่ที่ 8 , หมู่ที่ 9 , หมู่ที่ 10

- จำนวนหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดเพียงบางส่วนมี 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2

1.4 จำนวนประชากร

จำนวนประชากร จำนวนประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด สามารถแยกเป็นหมู่บ้านได้ดังนี้ 

หมู่บ้าน           ชาย               หญิง              รวม

หมู่ที่ 1           111               119               230

หมู่ที่ 2           809               911               1,720

หมู่ที่ 3           240               250               490

หมู่ที่ 4           1,389            1,629            3,018

หมู่ที่ 5           473               463               936

หมู่ที่ 6           502               561               1,063

หมู่ที่ 7           148               155               303

หมู่ที่ 8           366               442               808

หมู่ที่ 9           395               409               804

หมู่ที่ 10          860               944               1,084

รวม               5,293            5,883            11,176

หมายเหตุข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียนอำเภอสามพราน ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2564

1.5 ระบบการศึกษา

          ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดมีสถานศึกษาในพื้นที่ ดังนี้ 

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด 

พิกัด @13.6557809,100.2343328,13z

2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด (เอื้ออาทร) 

พิกัด @13.8861025,100.3914103,10z

3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพระเทพศาสนาภิบาล (หมู่บ้านศรีสามพราน ) 

พิกัด @13.6970095,100.0056864,10z

- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง 

- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านท่าตลาด 

พิกัด @13.7514975,100.242947,17z

- ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมาร

พิกัด @13.7318281,100.1647246,11z

1.6 ระบบสาธารณสุข

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดมีสถานบริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่ ดังนี้ 

- โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) 

พิกัด @13.6966943,100.0056832,10z

1.7 ระบบเศรษฐกิจ

1.การเกษตร   ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดบางส่วนประกอบอาชีพเกษตรกรรม

เช่น การทำสวนผลไม้ การทำนา เป็นต้น

2.การประมง  เนื่องจากมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านในพื้นที่และมีคูคลองสาขาเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนใน

เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดจึงมีการจับปลาตามธรรมชาติเพื่อการบริโภคในครัวเรือน

3.การปศุสัตว์  การปศุสัตว์ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดเป็นการประกอบการในลักษณะ

เลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด เพื่อจำหน่ายและบริโภคเองในครัวเรือน

4.การท่องเที่ยว   องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น การ

จัดงานประเพณีต่างๆ และการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของวัดไร่ขิง

5.อุตสาหกรรม  ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดมีกิจการด้านอุตสาหกรรมในพื้นที่ จำนวน

ประมาณ 40 แห่ง

1.8 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา

          การนับถือศาสนา ประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก สินค้าและของฝากส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาดจะเป็นผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตร เช่น มะพร้าวน้ำหอม ส้มโอ ขนมทองม้วน ขนมไทย เป็นต้น

 

2.ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด

          2.1 ความเป็นมาและการก่อตั้ง

ตำบลท่าตลาดมีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องถิ่น รศ.116 ขึ้น โดยตั้งเป็นที่ตั้งอำเภอและพระยาสุนทรศรีพิชัยสงครามรามภักดีสุริยพาหะ (อี้ กรรณสูต) ให้ชื่อว่า “ ตลาดใหม่” ขึ้นกับมณฑลนครชัยศรี พระประทีปประชาชน (โป๊ะ กรรณสูต) ได้สร้างตลาดขึ้น และในปี พ.ศ. 2458 พระยาสุนทรบุรีศรีฯ จึงสร้างตลาดขึ้นมาใหม่เป็นลักษณะตลาดถาวร ฝากระดานไม้ มุงหลังคาด้วยกระเบื้อง และในปี พ.ศ. 2458 นั้นเอง พระยาสุนทรบุรีศรีฯ จึงได้ย้ายที่ทำการอำเภอไปอยู่ที่ตำบลสามพราน จังหวัดนครปฐม ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากสถานที่เดิมคับแคบเกินไปที่ตั้งอำเภอก็เลยเปลี่ยนเป็นตำบลตลาดใหม่และได้มีการเปลี่ยนชื่อตำบลอีกครั้งเป็น”ตำบลท่าตลาด” แล้วได้ใช้ชื่อนี้จนถึงทุกวันนี้

ตราสัญลักษณ์องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด

2.2 คณะผู้บริหาร

นาย นิวัติ หิรัญ

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด

2.3 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และยุทธศาสตร์องค์กร

          วิลัยทัศน์

                การคมนาคมสะดวก ส่งเสริมคุณภาพชีวิต คืนธรรมชาติให้สิ่งแวดล้อม พร้อมเป็น แหล่งผลิตสินค้าเกษตร สร้างภูมิประเทศให้เป็นเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศน์

          พันธกิจ

          พันธกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าตลาด มีดังนี้ 

๑)การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็งโดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้าง พื้นฐานที่เป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ 

๒) การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 

๓) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง

๔) การก้าจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน 

๕) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

ภาพที่ 1 แผนที่หมู่บ้านตำบลท่าตลาด

ภาพที่ 2 แผนที่สถานที่ราชการตำบลท่าตลาด

ภาพที่ 3 แผนที่สาธารณสุขตำบลท่าตลาด

คำสำคัญ (Tags): #-
หมายเลขบันทึก: 701458เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2022 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2022 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท