ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบางแค


องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

1.ข้อมูลสะท้อนคุณลักษณะตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค เดิมจัดตั้งเป็นสภาตำบลบางแค ต่อมาได้รับการยกฐานะตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบางแค เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2540 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีโครงสร้างการบริหารงานครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแค ทั้งตำบล

1.1 ลักษณะทางกายภาพ

องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีลำคลองหลายสายไหลผ่าน พื้นดินอุดมสมบูรณ์สภาพพื้นที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตรและกสิกรรม มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คลอง 1  สาย ลำปะโดง12  สาย1.2 การปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีระยะทางห่างจากอำเภออัมพวา ประมาณ 3.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 4.30 ตารางกิโลเมตร หรือ 2687.50 ไร่ โดยมีอาณาเขตดังนี้ 

ทิศเหนือ ติดต่อตำบลแควอ้อม อำเภออัมพวา 

ทิศใต้ ติดต่อตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา

ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา

ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวาตำบลบางแค 

ประชากรในเขต อบต.บางแค มีจำนวนทั้งสิ้น 3,849 คน แยกเป็นชาย 1,877 คน หญิง 1,972 คน มีจำนวนครัวเรือน 965 ครัวเรือน จำนวนหมู่บ้านในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค มีจำนวนทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน มีตัวแทนแต่ละหมู่เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

1.3 บริบททางเศรษฐกิจ

อาชีพของชาวบ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางแค มีอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำสวนผลไม้ เช่น สวนมะพร้าว ,สวนส้มโอ,สวนลิ้นจี่ อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงปลา อาชีพค้าขาย ได้แก่ ขายของชำ น้ำมัน อาหาร อาชีพรับจ้าง รับจ้างทั่วไป รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม

1.4 บริบททางสังคม

การตั้งบ้านเรือนของชาวบ้านที่นี่ไม่กระจุกตัวหนาแน่นอย่างชุมชนเมืองหรือชุมชนที่อาศัยการสัญจรทางน้ำเป็นหลัก  แต่จะตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างๆ กระจายตามที่ทำกินของตนเอง  ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนดั้งเดิมในพื้นที่

ด้านการคมนาคม มีทางหลวงชนบท สส. หมายเลข 4013 สาย สาธุ – บางยี่รงค์ตัดผ่านพื้นที่

ในตำบลและมีถนนในหมู่บ้านเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านถนนลาดยาง 12  สาย  ถนนคสล.9 สาย ถนนลูกรัง11  สาย

ด้านการไฟฟ้า ไฟฟ้าสาธารณะ  7 หมู่บ้าน ชาวบ้านมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน

1.5 บริบททางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ตำบลบางแคมีสถานศึกษาอยู่ในความดูแลของตำบลบางแคได้แก่ โรงเรียนวัดบางแคกลาง  โรงเรียนวัดปรกสุธรรมาราม โรงเรียนวัดสาธุชนาราม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวัดปรก  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวัดสาธุ อบต.มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการต่างๆของโรงเรียน

ในด้านศิลปวัฒนธรรม นับถือศาสนาพุทธ มีวัดอยู่ในตำบลบางแค 3 แห่ง คือวัดสาธุชนาราม วัดปรกสุธรรมราม วัดบางแคกลาง มีงานประเพณีสงกรานต์ งานประเพณีแห่เทียนพรรษา งานพิธีทางศาสนา  ได้แก่ วันอาสาฬบูชา  วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา และตำบลบางแคได้สำรวจภูมิปัญญาและทุนทางสังคมของท้องถิ่นและได้พบว่ามีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น ด้านการจักสานหมวกเจ็ก  ด้านการทำไม้กวาดทางมะพร้าว  ด้านการแพทย์แผนไทย  ด้านการทำว่าวจุฬา

1.6 บริบททางการเมือง

คณะทำงานชุดนี้ได้รับเลือกตั้ง 2 สมัยเพราะการมีผลงานดี เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของอบต.ที่เคยเป็นอบต.ที่มีกลิ่นอายไม่น่าไว้วางใจด้านการเงินในยุคก่อนมาสู่อบต.ที่มีความโปร่งใสในการทำงาน

2.ข้อมูลสะท้อนคุณลักษณะองค์กร

องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลบางแค อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีระยะทางห่างจากอำเภออัมพวา ประมาณ 3.5 กิโลเมตร มีหมู่บ้านในความดูแลรับผิดชอบจำนวน 7 หมู่ ได้แก่ หมู่ 1 บ้านคลองตาตั๋น หมู่ 2 บ้านวัดบางแคกลาง หมู่ 3 บ้านปากคลองวัว หมู่ 4 บ้านคลองบุญนาค หมู่ 5 บ้านคลองอ้อม หมุ่ 6 บ้านวัดปรก หมู่ 7 บ้านปลายคลองบางแค 

ภาพที่1  สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบางแค

2.1 โครงสร้างองค์กร ผู้บริหารและคณะทำงาน

ภาพแสดงโครงสร้างองค์กร องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค

ผู้บริหารและคณะทำงานองค์การบริหารส่วนตำบลบางแค มีดังนี้

ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง
นายสมศักดิ์  แย้มปิ๋ว นายก อบต.บางแค
นายมงคล  จักรกลัด รองนายก อบต.บางแค
นายเกรียงไกร  น้อยกาญจนะ รองนายก อบต.บางแค
นางระพี  ช่วงแย้ม เลขานุการนายกอบต. 
นางสาวสุภีรัตน์  ปลั่งเจริญผล  ปลัดอบต.บางแค
นางสาวรัชนีย์ ทองพันธ์  หัวหน้าสำนักปลัดอบต. 
นายนิติกร ล้อไชยพร  นิติกร 
นางสาวกิจชยา โพธเดชขจร  นักพัฒนาชุมชน 
นางสาวนงลักษณ์ สกุลอินทร์  นักวิเคราะห์นโยบายและแผน 
นายมนตรี อิ่มอาดูร  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์นโยบายและแผน
นางสาวศิริพร  แตงอ่อน            ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ
นายสงกรานต์  กลั่นภูมิศรี  พนักงานขับรถยนต์
นางบุษกร เช้าวรรโณ  คนงานทั่วไป 

2.2 วิสัยทัศน์

“ การคมนาคมสะดวก เศรษฐกิจชุมชนเขม้แขง็ สืบสานวัฒนธรรมไทย สิ่งแวดล้อมปราศ

จากมลพิษ มีสำนึกทางการเมือง ทุกชีวติปลอดภัยก้าวไปสู่อาเซียน”

ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านสาธารณสุขการส่งเสริมคุณภาพชีวติ การศึกษาศิลปะการกีฬาวัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม การรักษาความสงบเรียบร้อย

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาและการส่งเสริมเกษตรกรรม การลงทุน พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านการบริหารจดัการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

เป้าประสงค์

1.ระบบโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่งและสาธารณูปโภคต่างๆ ได้มาตรฐานมีประสิทธิภาพ

และครอบคลุมทั่ว ทั้งพื้นที่

2.ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี การสาธารณสุขการศึกษา ศิลปะ การกีฬา วัฒนธรรม ประเพณี

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริม

3.ชุมชนมีความปลอดภัย ปราศจากยาเสพติด ประชาชนมีความรักและสามัคคีกัน

4.ส่งเสริมพัฒนาการเกษตรกรรม พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียง

5.มีการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

6.การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและสถาบันชาติ

ศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้รับการเทิดทูนและปกป้องให้คงอยู่ตลอดไป

7.การบริหารจดัการหน่วยงานและบุคลากรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้หลักธรรมาภิบาล

และมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน

2.3 ภาพรวมของสภาพปัญหาของพื้นที่

ด้านการศึกษา

บุคลากรทางการศึกษาไม่เพียงพอ ขาดสื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน 

ด้านเศรษฐกิจ 

ปัญหาความยากจน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ต้นทุนการผลิตสูงแต่ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 

ด้านสังคม

ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ปัญหาครอบครัว สังคมไม่เข้มแข็ง ผู้สูงอายุจากรัฐยังไม่ทั่วถึง

ด้านสิ่งแวดล้อม

ประชาชนขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปัญหาผักตบชวา สภาพคลองตื้นเขิน ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการขยะ

ด้านการบริหารจัดการที่ดี 

ประชาชนไม่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น การประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและการให้บริการประชาชนยังไม่ทั่วถึงและขาดการให้บริการเชิงรุก

ด้านการบริการสาธารณะ

ถนนชำรุดเสียหาย เป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ถนนไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากเป็นถนนลูกรังและแคบไม่มีไหล่ทาง ขาดงบประมาณในการขยายเขตไฟฟ้า น้ำหรับอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอ ไฟฟ้าสาธารณะไม่เพียงพอ ระบบเสียงตามสายใช้งานไม่ได้

บรรณานุกรม

บริหารส่วนตำบลบางแค. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2565 จากเว็บไซต์ http://www.bangkae.go.th/site/index.php?option=com_content&view=category&id=65&Itemid=85

หมายเลขบันทึก: 701190เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2022 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2022 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท