ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว


องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

                                                        ภาพที่ 1 แผนที่หมู่บ้านในตำบลคูบัว

 

1.ข้อมูลสะท้อนคุณลักษณะตำบล

      1.1ประวัติความเป็นมา

      ในอดีต ในราวปีพุทธศักราช 2347 ซึ่งเป็นรัชกาลที่ 1 คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะนั้น เมืองเชียงแสนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพม่า พม่าอาศัยเชียงแสนเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหาร และกำลังพล สำหรับจะตีเมืองทางฝ่ายเหนือของไทยเพื่อจะกำจัดอิทธิพลของพม่า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระ เจ้าหลานเธอกรมหลวงเทพหริรักษ์ ร่วมกับเจ้าพระยายมราช จัดกองทัพจากกรุงเทพฯ ขึ้นไปตีเมืองเชียงแสน ได้แล้วได้เคลื่อนย้ายผู้คนเอาชาวเมืองเชียงแสนทั้งชายแลหญิงที่อยู่ในวัยฉกรรจ์เพื่อมิให้เป็นที่ซ่องสุ่มกำลังพล ดังปรากฏตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ กล่าวไว้ว่า“กองทัพ ได้ครอบครัว 23,000 คนเศษ ก็รื้อกำแพงเผาบ้านเมืองเสียแล้วแบ่งปันครอบครัวปันเป็น 5 ส่วน ให้ไปเมืองเชียงใหม่ ส่วน 1 เมืองนครลำปาง ส่วน 1 เมืองน่าน ส่วน 1 เมืองเวียงจันทร์ ส่วน 1 อีกส่วน 1 ถวายลงมาที่กรุงเทพฯ โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ เมืองสระบุรีบ้าง แบ่งไปอยู่เมืองราชบุรีบ้าง”ชาวเมืองเชียงแสนที่เคลื่อนย้ายมาจากเมืองเชียงแสนในครั้งนั้น ก็คือ ชาวไทยวนที่เดินทางไกลมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเมืองต่างๆส่วนที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองราชบุรีได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บริเวณริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งขวา เรียกว่า บ้านไร่นที ต่อมาเมื่อชุมชนขยายตัวมากขึ้น จึงมองหาที่ดินทำกินใหม่ โดยได้ขยายครัวเรือนปลูกบ้านแปลงเมืองจากที่เดิมกระจัดกระจายกันออกไปตามส่วนต่างๆ หลายพื้นที่ เช่น ที่ตำบลคูบัวได้ตั้งอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่มาจนทุกวันนี้ในปัจจุบันชาวไท-ยวน กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ จังหวัดราชบุรีในอำเภอต่างๆ เช่น ในเขตอำเภอเมืองราชบุรีที่ตำบลดอนแร่ ตำบลห้วยไผ่ ตำบลดอนตะโก ตำบลหินกอง ตำบลเจดีย์หัก ในเขตอำเภอบ้านโป่ง ที่ตำบลหนองปลาหมอ ตำบลหนองอ้อ ตำบลหนองกบ ในเขตอำเภอโพธาราม ที่ตำบลหนองโพ ตำบลบ้านสิงห์ตำบลดอนกระเบื้อง ในเขตอำเภอจอมบึง ที่ตำบลรางบัว ในเขตอำเภอบางแพ ที่ตำบลวัดแก้ว ในเขตอำเภอปากท่อ ที่ตำบลอ่างหิน ตำบลทุ่งหลวง และในเขตอำเภอสวนผึ้ง ที่ตำบลท่าเคย ตำบลป่าหวาย ตำบลคูบัว ได้นามชื่อมาจากสมัยก่อน คู คลอง ในพื้นที่มีบัวขึ้นอยู่จำนวนมากพบเห็นตามแหล่งน้ำต่างๆ ซึ่งในสมัยก่อนเรื่องการก่อตั้งตำบลเพื่อการปกครอง การบริหารจัดการพื้นที่ของหน่วยราชการ ได้นำชื่อภูมินาม คูบัว มาตั้งเป็นชื่อตำบล เพื่อให้เชื่อมโยงกับสิ่งที่มีอยู่ในตำบล อันเป็นที่มาของตราสัญลักษณ์รูปภาพ ดอกบัว ความหมายของตราสัญญาลักษณ์ ประจำองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ดอกบัวสามดอกอยู่ในคูน้ำ หมายถึง ในสมัยก่อนตำบลคูบัว มีคูน้ำล้อมรอบตำบลเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและ ใน คูน้ำก็มีบัวขึ้นอยู่มากมายตลอดสายจึง เป็นที่มาของดอกบัวสามดอกในคูน้ำ กำแพงอิฐแดงที่อยู่ด้านหลังของดอกบัวสามดอกนั้น หมายถึง เมืองโบราณสมัยทาราวดี ซึ่งเป็นปัจจุบันเป็น สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของตำบลคูบัว ปัจจุบันซากเมืองโบราณนี้ตั้งอยู่ ณ วัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

     1.2 ลักษณะทางกายภาพ

           องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัวตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ไปทางทิศใต้ระยะทาง 5 กิโลเมตร ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 29 ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 99 องศา 55 ลิปดาตะวันตก มีเนื้อที่ประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 15,625 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบล ต่างๆ ดังนี้ 

     ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลดอนตะโก และตำบลบ้านไร่อำเภอเมืองราชบุรี

     ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ่อกระดาน อำเภอปากท่อ

     ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านไร่ อำเภอเมืองราชบุรี และตำบลเกาะศาลพระอำเภอวัดเพลง 

     ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลอ่างทอง และตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ

         ลักษณะภูมิประเทศของตำบลคูบัว เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีลำห้วยธรรมชาติไหลผ่านจากทิศตะวันตกไปยัง ทิศตะวันออกจำนวน 2 สาย มีน้ำตลอดปี รวมทั้งมีคลองชลประทาน 2 สายใหญ่ พื้นที่เหมาะแก่การ ประกอบอาชีพทางการเกษตร การปศุสัตว์และเป็นที่อยู่อาศัย  

     ลักษณะภูมิ

          อากาศภูมิอากาศของตำบลคูบัว จัดอยู่ในประเภทฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู โดยสภาพภูมิอากาศทั่วไปขึ้นอยู่กับอิทธิพล ของมรสุมพัดผ่าน เฉลี่ยแล้วอุณหภูมิทั้งปี ประมาณ 28.3 องศาเซลเซียส

     ลักษณะของดิน

            ลักษณะดินในตำบลคูบัว ส่วนใหญ่สภาพดินเป็นดินเหนียว เหมาะแก่การปลูกข้าว ไม้ผล และพืชผักจำแนกลักษณะความเหมาะสมและข้อจำกัดของดินตำบลคูบัว แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ดังนี้

            1. กลุ่มชุดดินที่ 2 เนื้อดินเป็นดินเหนียว การระบายน้ำเลว ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำขังอยู่ที่ผิวดินระหว่าง 4-6 เดือน มีศักยภาพเหมาะสมที่จะใช้ทำนาในช่วงฤดูฝน แต่สามารถปลูกพืชผักพืชไร่ พืชผักหรือพืชอื่นที่มีอายุสั้นได้ในช่วงฤดูแล้ง

            2. กลุ่มชุดดินที่ 3 เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวดินบนเป็นสีเทาเข้ม สีน้ำตาลปนเทาเข้ม ดินล่าง

เป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน มีศักยภาพเหมาะสมในการทำนา อย่างไรก็ตามดินชุดนี้สามารถเปลี่ยนสภาพ

การใช้ประโยชน์จากนาข้าวเป็นปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักได้ ถ้าได้มีการพัฒนาที่ดิน

           3. กลุ่มชุดดินที่ 6 เนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีเทาแก่ ดินล่างมีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีเทามีศักยภาพเหมาะสมที่จะใช้ทำนาในช่วงฤดูฝนและในช่วงฤดูแล้งสามารถปลูกพืชผัก หรือพืชอื่นที่มีอายุสั้นได้

            4. กลุ่มชุดดินที่ 7 เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว สีดินมีสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลปนเทา มีศักยภาพความเหมาะสมในการทำนามากกว่าปลูกไร่ ไม้ผล และพืชผัก

            5. กลุ่มชุดดินที่ 16 เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง สีดินมีสีน้ำตาลอ่อน หรือสีน้ำตาลปนเทามีศักยภาพที่จะใช้ทำนามากกว่าปลูกพืชไร่ ไม้ผลและพืชผัก

           6. กลุ่มชุดดินที่ 18 เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหยาบ มีศักยภาพเหมาะสมในการทำนามากกว่าการปลูกพืชไร่ พืชผักและผลไม้ ยกเว้นถ้าได้มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาน้ำขังและการระบายน้ำของดิน

           7. กลุ่มชุดดินที่ 33 เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้ง สีดินมีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลปนแดงบางแห่งมีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชหลายชนิด ทั้งพืชไร่ พืชผัก ไม้ผล และทำนาข้าว

           8. กลุ่มชุดดินที่ 36 เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น และปลูกผักบางชนิดไม่เหมาะสมในการทำนา

   

 1.3 บริบททางเศรษฐกิจ

          ภาคเกษตรกรรม

          ภาคเกษตรกรรมตำบลคูบัว ส่วนใหญ่ประชากรประกอบอาชีพหลัก ได้แก่ การทำนาข้าว การทำสวนผักและผลไม้การทำนา เป็นการเช่าที่ดินทำนา 50-60 % ของเกษตรกรที่ทำนา ทำนาแบบหว่านน้ำตมได้ผลผลิตเฉลี่ย 70-75 ถัง/ไร่ การทำสวนผัก เป็นการทำสวนผักโดยซื้อเมล็ดพันธุ์จากผู้ค้า ปลูกพืชซ้าๆ ที่เดิมๆผลตอบแทนจากการทำนาและทำสวนผักในปัจจุบัน เมื่อหักค่าใช้จ่าย และค่าแรงแล้วได้กำไรน้อยถ้าเป็นช่วงราคาผลผลิตตกต่ำหรือเกิดภัยธรรมชาติจะเกิดการขาดทุน ขนาดพื้นที่ใช้สำหรับการเกษตร (หน่วย : ไร่)

          

           ภาคท่องเที่ยว 

          ภาคการท่องเที่ยวภายในตำบลคูบัว มีโบราณสถานที่น่าสนใจและมีคุณค่าควรแก่การศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ โบราณสถานหมายเลข 1 (โคกนายใหญ่) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านระหนอง โบราณสถานหมายเลข 18 (วัดโขลงสุวรรณคีรี) ตั้งอยู่ในวัดโขลงสุวรรณคีรีโบราณสถานหมายเลข 24 และ 25 (โคกนายพวง) ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านสระโบสถ์ โบราณสถานหมายเลข 8 (วัดคูบัว) ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านตะโก และยังมีศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช จิปาถะภัณฑ์สถาน บ้านคูบัว เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลคูบัวที่น่าสนใจ อีกแห่งหนึ่ง มีกาดวิถีชุมชน ตั้งอยู่ภายในวัดโขลงสุวรรณคีรี เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไท-ยวน ซึ่งได้รับความสนใจเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวหลักของตำบลคูบัว และมีหน่วยงานราชการให้การส่งเสริมตาม แนวทางขับเคลื่อนตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนวัฒนธรรม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวได้มา เที่ยวชมและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน อันจะนำมาซึ่งรายได้และการพัฒนาด้านต่างๆ ให้ดีขึ้น

 

                                                   ภาพที่ 2 แผนที่ตำแหน่งสถานที่ท่องเที่ยว

      

        การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

            ระบบพาณิชย์ของตำบลคูบัวส่วนใหญ่ประกอบด้วยร้านค้าประเภทจำนวน การค้าสิ่งทอ 4 ร้าน รองลงมาคือร้านอาหาร 4 ร้าน รองลงมาคือตลาดนัด 2 ร้าน รองลงมาบริการที่พัก,ร้านขายของชำ,ร้านเสริมสวย,ร้านซ่อมรถยนต์ อย่างละ 1 ร้าน มีร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งตั้งอยู่ตามหมู่บ้าน 

                                    ภาพที่ 3 แผนที่ตำแหน่งสถานที่สำคัญ(การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ)

 

      วิสาหกิจชุมชน

          ประกอบไปด้วยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 4 แห่ง ได้แก่ 1. วิสาหกิจชุมชนศิริวรรณ ขายจำพวกเสื้อผ้าเด็ก 

2. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอนุรักษ์ผ้าจก บ้านคูบัว เป็นศูนย์จำหน่ายและรับสั่งทอผ้าจก 

3. กลุ่มทอผ้าจกบ้านตะโก เป็นศูนย์การเรียนทอผ้า ใครสนใจสามารถเข้าไปลองเรียนได้

4. ศูนย์ส่งเสริมอาชีพการทอผ้าจกบ้านใต้ เป็นศูนย์แห่งการอนุรักษ์การทอผ้า ส่งเสริมด้านการทอผ้าและมีการขายผ้าจกสำหรับผู้ที่ต้องการจะซื้อเป็นของฝากหรือซื้อไปสวมใส่

          กลุ่ม OTOP จำนวน 2 แห่ง

  1. OTOP นวัตวิถี บ้านคูบัว เป็นชุมชนส่งเสริมการท่องเที่ยว
  2. สหกรณ์ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไม้ตาล ไม้มะพร้าว ทำผลิตภัณฑ์จากไม้ตาล

                                                                                         ภาพที่4 

                                                                             แผนที่วิสาหกิจชุมชน

     ภาคอุตสาหกรรม

          อุตสาหกรรม ภาคอุตสาหกรรมในตำบลคูบัว มีสถานประกอบการโรงงานสิ่งทอ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงงานทอผ้าขาวม้ายิ่งเจริญ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 โรงงานราชบุรีการทอ หมู่ที่ 3 และ โรงงานพงษ์เจริญการทอ หมู่ที่ 8 ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่เดิม ตำบลคูบัวทั้งตำบลอยู่ในเขตบังคับใช้ผังเมืองรวมจังหวัดราชบุรีที่กำหนดไว้เป็น ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)จึงมีข้อห้ามโรงงานตามประเภทชนิดและจำพวกที่กำหนดให้ดำเนินการ ได้ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงผังเมืองรวมจังหวัดราชบุรีพ.ศ. 2555 เพื่อเป็นแนวทางพัฒนา และการดำรงรักษาเมือง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ใน

                                                                    ภาพที่ 5 แผนที่อุตสาหกรรม

      ด้านการเมือง/การปกครอง 

          เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว มีพื้นที่เขตการปกครองทั้งหมด 15 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านตากแดด มีบ้านจำนวน 670 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 228 ครัวเรือน

หมู่ที่ 2 บ้านระหนอง มีบ้านจำนวน 126 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 90 ครัวเรือน

หมู่ที่ 3 บ้านหนองขันธ์ มีบ้านจำนวน 258 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 137 ครัวเรือน

หมู่ที่ 4 บ้านใต้ มีบ้านจำนวน 166 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 111 ครัวเรือน

หมู่ที่ 5 บ้านตะโก มีบ้านจำนวน 126 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 76 ครัวเรือน

หมู่ที่ 6 บ้านสระโบสถ์ มีบ้านจำนวน 258 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 157 ครัวเรือน

หมู่ที่ 7 บ้านใหม่ มีบ้านจำนวน 189 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 141 ครัวเรือน

หมู่ที่ 8 บ้านหนองยายแก้ว มีบ้านจำนวน 130 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 55 ครัวเรือน

หมู่ที่ 9 บ้านฟากห้วย มีบ้านจำนวน 394 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 246 ครัวเรือน

หมู่ที่ 10 บ้านท่าช้าง มีบ้านจำนวน 207 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 93 ครัวเรือน

หมู่ที่ 11 บ้านโพธิ์ มีบ้านจำนวน 233 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 184 ครัวเรือน

หมู่ที่ 12 บ้านหัวนา มีบ้านจำนวน 126 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 105 ครัวเรือน

หมู่ที่ 13 บ้านต้นแหน มีบ้านจำนวน 182 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 94 ครัวเรือน

หมู่ที่ 14 บ้านหนามพุงดอ มีบ้านจำนวน 207 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 105 ครัวเรือน

หมู่ที่ 15 บ้านไร่ต้นมะม่วง มีบ้านจำนวน 294 หลัง มีครัวเรือนจำนวน 127 ครัวเรือน

รวม มีบ้าน (ปกติ) 3,566 หลัง มีครัวเรือน (จปฐ.) 1,949 ครัวเรือน

ข้อมูลจำนวนบ้าน จากสำนักบริหารการทะเบียน อำเภอเมืองราชบุรี ณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ข้อมูลจำนวนครัวเรือน จาก ฐานข้อมูล จปฐ. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองราชบุรี ระดับตำบล ปี 2562

ประชากร

          ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

          จำนวนประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว ปี พ.ศ. 2562 ทั้งสิ้น 10,951 คน

(ข้อมูลสถิติประชากรจากสำนักบริหารการทะเบียน อำเภอเมืองราชบุรีณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2562)

แยกเป็น ชาย 5,179 คน หญิง 5,772 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 438.04 ต่อตารางกิโลเมตร

 (ข้อมูลจำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ จากสำนักบริหารการทะเบียน อำเภอเมืองราชบุรี ณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2562)

       ไฟฟ้า

          ระบบจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ตำบลคูบัว อยู่ในเขตพื้นที่บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดราชบุรี สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน และทั่วถึงทุกหลังคาเรือน และองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว ได้ดำเนินการขยายเขตไฟฟ้าแสงสว่าง

      การประปา

          ระบบประปาในพื้นที่ตำบลคูบัว ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน โดยใช้แหล่งน้ำจากคลองชลประทานผลิตประปา เป็นประปาผิวดินขนาดใหญ่ของท้องถิ่น และของหมู่บ้าน และมีหมู่บ้านบางส่วนใช้น้ำประปาของเทศบาล เมืองราชบุรี

    การคมนาคมขนส่ง

       1.มีเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางถนน สายหลัก 4 เส้นทาง

       2.มีเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางรถไฟ โดยมีสถานีรถไฟบ้านคูบัว

        3.ระบบขนส่งสาธารณะตำบลคูบัว เป็นทางสายหลักในการเชื่อมต่อระหว่างตำบล สู่จังหวัดราชบุรี

1.4 บริบททางสังคม

        สาธารณสุข

           ตำบลคูบัว มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2 แห่งคือ 

1. สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีตำบลคูบัว ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสาธารณสุข ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1-7 มีจำนวนบุคลากร 6 คน 

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคูบัว ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 8 รับผิดชอบเกี่ยวกับงานสาธารณสุข ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 8-15 มีบุคลากรจำนวน 5 คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งสองแห่งมีระบบความพร้อมสำหรับการดำเนินงานสาธารณสุขประจำพื้นที่ให้ประชาชนในเขตตำบลคูบัวมีสุขภาพอนามัยที่ดีมีการเฝ้าระวังป้องกันโรคต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ อย่างทั่วถึงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน

                                  

 

                           ภาพที่ 6

                    แผนที่โรงพยาบาล

 

                                                     

 

 

         พื้นที่สาธารณะหรือป่าไม้ชุมชน

          พื้นที่สาธารณะของตำบลคูบัว ส่วนใหญ่ประกอบด้วยที่ออกกำลังกายและสนามเด็กเล่น จะมีจุดที่ตั้งอยู่ 2 ที่ในหมู่ที่ 15 ได้แก่ 1.สนามเด็กเล่นและที่ออกกำลังกาย 2.ที่ออกกำลังและพื้นที่ว่างเปล่า ซึ่งนำมาตั้งไว้เพื่อให้คนในหมู่บ้านได้มีสุขภาพที่ดี เหมาะแก่การออกกำลังกาย พาลูกหลานๆไปผ่อนคลาย 

                                                           ภาพที่ 7 แผนที่พื้นที่สาธารณะ

 

      ประเภทแหล่งน้ำ

          แหล่งน้ำของตำบลคูบัว ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 2 แห่ง คือ คลองชลประทานและคลองน้ำทิ้งชลประทาน ระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่ 1 แห่ง แหล่งน้ำให้ประชาชนได้ใช้ในเรื่องของการทำนา ใช้น้ำในหลายๆด้าน เพื่อความเป็นอยู่ของประชาชนในตำบล

 

 

 

 

                             ภาพที่ 8 แผนที่คลอง

 

 

 

                                                                  

 

1.5 บริบททางการศึกษาและวัฒนธรรม

        การศึกษา

           ตำบลคูบัว มีความพร้อมสำหรับให้บริการทางการศึกษา ดังนี้

1) มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา (ม.1-ม.3) จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนแคทรายวิทยา ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 12

2) มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา มีจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนชุมชนวัดคูบัว ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 3

โรงเรียนวัดบ้านโพธิ์ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 11 โรงเรียนวัดแคทราย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 12

และโรงเรียนวัดหนามพุงดอ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 14

3) มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว จำนวน 3 แห่ง คือ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดหนามพุงดอ ตั้งอยู่ในโรงเรียนวัดหนามพุงดอ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดแคทราย ตั้งอยู่ในโรงเรียนวัดแคทราย

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.คูบัว ตั้งอยู่ในโรงเรียนชุมชนวัดคูบัว

4) มีศูนย์การเรียนชุมชน (การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำตำบลคูบัว)

จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรี หมู่ที่ 6

 

 

                                                                  ภาพที่ 9 แผนที่ โรงเรียน

     ด้านศาสนา

          ประชากรของตำบลคูบัว ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99.93 และศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.07 และมีศาสนสถานและสถานที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ 1.วัดคูบัว 2.วัดทุ่งราษฏศรัทธาธรรม (ตากแดด)

3.วัดบ้านโพธิ์ 4.วัดหนามพุงดอ 5.วัดแคทราย 6.วัดโขลงสุวรรณคีรี 7.วัดท่าช้าง 8.ศาลเจ้า โรงเจเปาเก็งเต็ง

 

                                                                         ภาพที่ 10 แผนที่วัด

       ด้านประเพณี วัฒนธรรม

          ตำบลคูบัว มีประเพณีและงานประจำปีของทุกปี ที่ประชาชนมีส่วนร่วม ดังนี้

เดือน มกราคม             งานสืบสานวัฒนธรรม ไท-ยวน ตำบลคูบัว

เดือน เมษายน             งานประจำปีปิดทองนมัสการองค์หลวงพ่อแดง-หลวงพ่อดำ ณ วัดคูบัว

                                  งานสรงน้ำผู้สูงอายุ และสรงน้ำพระ

เดือน กรกฎาคม           งานแห่เทียนพรรษา

เดือน พฤศจิกายน         งานลอยกระทง

 

          ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และภาษาถิ่น

          ตำบลคูบัว มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น คือ หัตถกรรมการทอผ้าด้วยกี่กระตุก ประเภทผ้าซิ่นตีนจก รองลงมา เป็นผ้าซิ่นตา นับเป็นภูมิปัญญาการทอผ้าที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษชาวไท-ยวน ลักษณะลายผ้าโบราณ เช่น ลายดอกเซีย ลายหักนกคู่ ลายโก้งเก้ง ลายหน้าหมอน และลายนกคู่กินน้ำฮ่วมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นงานหัตถกรรมที่ประชาชนตำบลคูบัวมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษในการอนุรักษ์ด้านการทอผ้าตีนจก ให้คงอยู่สืบไป

ภาษาถิ่น คือ ภาษาไท-ยวน ประชาชนส่วนใหญ่มักจะพูดสำเนียงภาษา ไท-ยวน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางภาษาถิ่น

หากว่าความเจริญทางสังคม ในเด็กและเยาวชนตำบลคูบัว ไม่ค่อยพูดภาษาถิ่น ไท-ยวน เนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองมักจะพูดภาษากลาง กับบุตรหลานมากกว่า

1.6 บริบททางการเมือง

     ความเป็นมาและการก่อตั้ง

          องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล เดิมเรียกว่า สภาตำบลคูบัว จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องให้ใช้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ในการบริหารราชการตำบล ประกาศ  ณ วันที่ 18 กันยายน 2518 บังคับในการบริหารราชการตำบลทุกตำบล ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่  2  มีนาคม 2538  และสภาตำบลคูบัว ก็ได้รับการประกาศให้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่่ 19 มกราคม 2539 และได้ประกาศราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 113 ตอนที่ 9 ง ลงวันที่ 30 มกราคม 2539  ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว ได้ปรับขนาดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ ตามมติคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดราชบุรี มีมติการประชุมครั้งที่ 3/2558 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2558

 

 2.ข้อมูลสะท้อนคุณลักษณะองค์กร

          องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000

 

 

 

ตราสัญลักษณ์ 

          หมายถึง ดอกบัวสามดอกอยู่ในคูน้ำ หมายถึง ในสมัยก่อนตำบลคูบัวมีคูน้ำล้อมรอบตำบลเป็นรูสี่เหลี่ยมผืนผ้าและในคูน้ำก็ มีบัวขึ้นอยู่มากมายตลอดสาย จึงเป็นที่มาของดอกบัวสามดอกในคูน้ำ

กำแพงอิฐแดงที่อยู่ด้านหลังของดอกบัวสามดอกนั้น หมายถึง เมืองโบราณสมัยทาราวดี ซึ่งเป็นปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของตำบลคูบัว ปัจจุบันซากเมืองโบราณนี้ตั้งอยู่ ณ วัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

2.1 คณะผู้บริหาร

นายประยง พิมเพราะ

      ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว

                      นายประยง พิมเพราะ

                         นายกอบต.คูบัว

                                      

                             นายไชยนต์ รุจจารี

                                รองนายกอบต.

                          นางธัญญรัตน์ มาตกฤษ

                                 รองนายกอบต.

 

                     นางสาวสุรีรัตน์ จันทร์แพง

                        เลขานุการนายก อบต.

2.2 โครงสร้างหน่วยงาน

 

 

 

 

2.3 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และยุทธศาสตร์องค์กร

องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อแสดงสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งเป็น

จุดมุ่งหมายความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า ซึ่งจะสามารถสะท้อนถึงสภาพการณ์ของท้องถิ่นในอนาคตอย่างรอบด้าน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ คาดหวังที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้

“ยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจครัวเรือนให้มั่นคง มุ่งสู่ตำบลน่าอยู่

เชิดชูวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นการศึกษาก้าวไกล ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

น้อมน้าเศรษฐกิจพอเพียง บริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล”

พันธกิจ

1) พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภค

2) ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสังคมมีความสงบสุข

3) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

4) ส่งเสริมการท่องเที่ยว และกีฬา

5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมภายในตำบล

6) ส่งเสริมการบริหารงานและการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร

 

เป้าประสงค์

1) ประชาชนมีความรู้ด้านวิชาการในการประกอบอาชีพและเพิ่มมูลค่าสินค้า

2) เด็ก สตรี คนชรา คนพิการ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการสงเคราะห์และส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

3) การความรู้และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและเยาวชนให้รู้ถึงโทษภัยยาเสพติด

4) การป้องกันและควบคุมโรคระบาดต่างๆที่เกิดขึ้นภายในตำบล

5) ประชาชนมีความรักใครสามัคคีกัน มีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาท้องถิ่นตนเอง

6) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เน้นการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก

7) เด็กนักเรียนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนด้านการศึกษาที่เพียงพอ

8) ผู้บริหาร สมาชิกสภาฯ และประชาชนมีความรู้เข้าใจในด้านการเมือง การบริหาร และการ

ปกครอง

9) บุคลากรมีศักยภาพการทำงานตามหลักธรรมาภิบาล ในการให้บริการประชาชน

10) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความอุดมสมบูรณ์ ชุมชนสะอาด ปราศจากขยะและ

มลพิษ

11) การคมนาคมขนส่งมีความพร้อมสามารถรองรับการคมนาคมขนส่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ระบบไฟฟ้า ประปา มีความเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 : ด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ

แนวทางการพัฒนา

1) พัฒนาระบบการคมนาคม

2) พัฒนาระบบระบายน้ำ

3) พัฒนาระบบประปา

4) พัฒนาระบบไฟฟ้าสาธารณะ และไฟฟ้าส่องสว่าง

5) พัฒนาสิ่งก่อสร้างชุมชน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 : ด้านคุณภาพชีวิตและสังคม

แนวทางการพัฒนา

1) ส่งเสริมและสนับสนุนสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์

2) ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

3) ส่งเสริมและสนับสนุนการสาธารณสุข

4) ส่งเสริมการรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของ

ประชาชน

          ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 : ด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และกีฬา

แนวทางการพัฒนา

1) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทุกระดับ

2) ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อเด็กและเยาวชน

3) ส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

4) ส่งเสริมการกีฬา และนันทนาการ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 : ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แนวทางการพัฒนา

1) การจัดการขยะมูลฝอยภายในตำบลคูบัว

2) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ

3) การบำรุงรักษาแหล่งน้ำภายในตำบลคูบัว

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5 : ด้านการบริหารงาน และการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร

แนวทางการพัฒนา

1) ส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

2) ส่งเสริมการบริหารงานองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

3) ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในองค์กร

2.4 รางวัลที่ได้รับ/การได้รับการเชิดชู

          1) องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ได้รับมอบเกียรติบัตรจาก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทยเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น ด้านส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พุทธศักราช 2562 ให้ไว้ ณ วันที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2563

            2) องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี รับโล่รางวัล วัฒนคุณาธร ผู้ทำคุณประโยชน์ ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประเภทกลุ่มบุคคล ประจำปี พ.ศ. 2559

          3) ได้รับมอบใบประกาศเกียรติคุณ จากสถาบันพระปกเกล้า ในโครงการรางวัลประปกเกล้า ประจำปี

 พ.ศ. 2559 ประเภท อปท.ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

          

          2.5 ประเด็นอื่น ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ที่โดดเด่น

          การวางแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) ขององค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว ในภาพรวม

ทุกประเด็นยุทธศาสตร์ที่กำหนดขึ้นได้กำหนดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนจังหวัดราชบุรีเป็นการวางวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้เป็นไปตามทิศทาง ภารกิจ วัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ในการ

ดำเนินงานที่จะทำให้การดำเนินงานของแผนงาน/โครงการที่ต้องปฏิบัติ สามารถเชื่อมโยงแผนผังความเชื่อมโยง

 

 

3.ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน 

 

 

                                        ประวัติความเป็นมาของหมู่ 15 บ้านไร่ต้นมะม่วง

                                                 โดยการบอกเล่าของคนที่มีอายุเยอะ

 

ชื่อ : นาย ทา ใสยจิตร์ อายุ 85 ปี

สิ่งที่สัมภาษณ์ : เดิมชื่อหมู่บ้านไร่ต้นมะม่วง มีมะม่วงเยอะ หลายสายพันธุ์ มะม่วงป่าต้นใหญ่มากในสมัยก่อน 3 คนโอบ มีมะม่วงแก้มแดงเล็ก มะม่วงแก้มแดงใหญ่ มีต้นมะม่วงกับต้นมะขามเยอะแต่ส่วนใหญ่จะเป็นมะม่วง ในเมื่อก่อนมะม่วงล้นมาก จึงเป็นที่มาของคำที่เรียกว่า บ้านไร่ต้นมะม่วง แต่พอผู้ใหญ่ขำได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ช่วงนั้นมีการสร้างโรงเจ ในปี พ.ศ.2500 ผู้ใหญ่ขำจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านไร่โรงเจ

 

                                                     ประวัติความเป็นมาของหมู่ 15 บ้านไร่ต้นมะม่วง

                                                              โดยการบอกเล่าของคนที่มีอายุเยอะ

ชื่อ : ดร.อุดม สมพร อายุ 81 ปี

ชื่อ ตอนแรกเกิด : ชื่อเด็กชายเหี่ยว สมพร (อยู่ในโรงเรียนชั้น ป.ขี้หมา-ป.๔ ชื่ออุดม สมพร)

ตอนอายุ ๑๗ ปี ชื่อนายอุดม สมพร (ม.๑-ม.๔ชื่อเหี่ยว สมพร ม.๕ถึงปัจจุบัน ชื่อ อุดม สมพร)

ที่เกิด          :  หมู่ ๑๓ บ้านไร่ต้นมะม่วง ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

เวลาตาย    : ยังไม่ทราบเวลาตายที่แน่นอน สุดแท้แต่กรรมเวรในอดีตและปัจจุบันจะเป็นผู้กำหนด

สายเลือดโคตรเหง้า

เด็กชายเหี่ยว สมพร สืบสายเลือดมาจากชาวไท-ฮวน โอนกเชียงแสน บรรพชนไท-ฮวนไต้เคลื่อนย้ายจากเมืองเชียงแสนมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านคูบัวเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๗ด้วยเหตุที่กองทัพไทยได้เตาบ้านรื้อกำแพงเมือง ไล่พม่าออกจากเมืองแล้วแบ่งชาวเมืองเชียงแสนให้ไปอยู่ที่ต่างๆ เด็กชายเหี่ยว สมพร เป็นผู้สืบสาเลือดเชียงแสนรุ่นที่ ๕ นับตั้งแต่บรรพชนรุ่นแรกที่มาตั้งถิ่นฐาน ณ บ้านคูบัว

การศึกษา

เนื่องจากคุณตาเงิน สุขนา เป็นผู้รับการศึกษา ก่อนตายท่านสั่งไว้ให้ส่งเด็กชายเหี่ยว สมพร ไปเรียนในเมือง เมื่ออายุได้ ๔ ขวบจึงได้เข้าเรียนชั้น ป.ขึ้นมาจากนั้นก็ได้เรียนตามลำดับดังนี้

๑.ป.ขี้หมา(ป.มูล)ถึง ป.๔โรงเรียนวัดแคทราย พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๗

๒.ม.๑ถึง ม.๖ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๐๓

๓.ประกาศนีย์บัตรวิชาการศึกษาชั้นต้น(ป.กศ.ต้น)โรงเรียนฝึกหัดครูเพชรบุรี พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๕

๔.ประกาศนีย์บัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง(ป.กศ.สูง)วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๐๗

๕.ครุศาสตรบันฑิต(ค.บ) คณะครูศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๑๗

๖.อักษรศาตรมหาบัณฑิต (อ.ม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๑๕-๒๕๑๗

๗.ศิลปศาสตรดุษฎีบันฑิตกิตติมศักดิ์ (ศศ.ด) มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง พ.ศ.๒๕๔๗

 

สิ่งที่สัมภาษณ์ : สมัยผมเป็นเด็กๆ อายุประมาณ 4-5 ขวบ พอจำความได้ จำได้ว่าผมนอนบนไม้กระดานสามแผ่นนี้ปูเป็นพื้นเรือนชาน จึงอนุมานได้ว่ากระดานนี้ต้องมีมาก่อน ( ผมเกิดพุทธศักราช 2485 ที่บ้านไร่ต้นมะม่วง )

บริเวณชุมชนบ้านเกิดของผมเป็นพื้นที่ดอน เป็นดง เป็นไร่ มีต้นมะม่วงน้อยใหญ่อยู่มากมาย โดยเฉพาะมะม่วงแก้มแดงน้อย มะม่วงแก่นล่อน อยู่เป็นดงๆ หมู่บ้านนี้จึงมีชื่อว่า บ้านไร่ต้นมะม่วง

 

                                                            กลุ่มพัฒนาอาชีพทอผ้าจก

                                                หมู่ 4 บ้านใต้ ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี

ชื่อ : นางปราณี บัวทวน ประธานกลุ่ม อายุ 68 ปี 

รายละเอียด : กลุ่มพัฒนาอาชีพทอผ้าจก หมู่ที่ 4 บ้านใต้ เกิดจากการประสานหลายฝ่ายด้วยกัน ทั้งส่วนราชการภายนอกส่งเสริมให้มีการตั้งกลุ่ม การอุดหนุนงบประมาณเพื่อเป็นทุนหมุนเวียน การสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตการส่งเสริมด้านการตลาด และการออกร้านในงานแสดงสินค้าต่างๆ รวมทั้งได้รับการอบรมในการบริหารจัดการการศึกษาดูงานเพื่อนำความรู้มาใช้ดำเนินกิจกรรมกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ และได้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมบทบาทสตรีอาสาพัฒนาในการฟื้นฟูภูมิปัญญาการทอผ้าจกในรูปของกิจกรรมต่างๆมีการนำเสนอโครงการแผนงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนในเรื่องของการเริ่มต้นกระบวนการตั้งกลุ่มการประสานงานจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนนำสู่การจัดตั้งกลุ่มอาชีพทอผ้าจก หมู่ที่ 4 บ้านใต้ ตำบลคูบัว ขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2542 โดยครั้งแรก มีสมาชิก 20 คน ใช้อาคารเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน ซึ่งเดิมเป็นสภาตำบลคูบัว เป็นที่ทำการกลุ่ม และต่อมาได้รับการสนับสนุนปัจจัยสิ่งที่เป็นประโยชน์หลายอย่าง จากหน่วยงานราชการและองค์กรเอกชน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว กศน. สโมสรโรตารี่ราชบุรีและสำนักงานพัฒนาชุมชน ทำให้กลุ่มมีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน คือ ได้รวมกลุ่มสตรีแม่บ้านในหมู่บ้านที่มีความสนใจ ต้องการมีอาชีพเสริมหลังจากฤดูทำนาข้าวและบางส่วนที่ว่างงานเข้ามาร่วมกันทอผ้าเพื่อผลิต และหาตลาดจัดจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ ตัดปัญหาแม่ค้าคนกลาง โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทางราชการ ในด้านต่างๆ เช่น การฝึกอบรม ข้อมูลข่าวสาร และแหล่งเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น 

ปัจจุบันกลุ่มพัฒนาอาชีพทอผ้าจก หมู่ที่ 4 บ้านใต้ได้เปิดสอนทอผ้าจก และเผยแพร่ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอผ้าจก ไท-ยวน ตำบลคูบัว ให้กับผู้ที่สนใจ และนักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว

อุปกรณ์ที่ใช้ 

                    1.กี่ทอผ้า                                                          2. ด้ายยืน

1.กี่ทอผ้า
2.ด้ายยืน

ระยะเวลาในการทำผ้าทอ : ถ้าลวดลายเยอะจะใช้เวลาเป็นเดือน ถ้าน้อยจะใช้เวลา 1 วัน

          ราคาต่อผืน : ลวดลายเยอะก็จะแพงขึ้น ประมาณ 4000 ขึ้นไป

ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของคูบัว : ปลานก ลายเซีย ลายกาบ ลายกูด ปลานกอีแวด ลายเอื้อ ลายหัก 

 

                                                      1.ลายผ้าซิ่นตีนจก (ลายเก่าโบราณ)

 

                                                    2.ลายผ้าจกคูบัว ในผ้าจะมีลวดลาย 3 อย่าง

 

 

 

                                   ลายเอื้อ            

 

 

                                   ลายเซีย 

 

 

                                   ลายหัก

 

 

 

3.ลายไม้เครือหรือเครือวัลย์                          4.ปลานก                                     5.ลายกูด

          

               3.ลายไม้เครือหรือเครือวัลย์        

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                              4.ปลานก

 

 

 

 

 

 

                              5.ลายกูด

 

 

 

 

 

                               6.ลายกาบ

 

 

 

 

 

 

 

                              7.ขอเหลียว

 

 

 

 

 

                                                     การทำครก-สากไม้จากไม้มะพร้าว

ชื่อ : นายวิโรจน์ ยิ่งงามแก้ว อายุ 57 ปี

รายละเอียด : เริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ.2540 ทำครกไม้เริ่มมาจากคนในครอบครัว ทำพวกผลิตภัณฑ์จากไม้ในเมื่อก่อนจะใช้ไม้ของต้นตาลในการทำ เพราะมีต้นตาลเยอะในเมื่อก่อน แต่เนื่องปัจจุบันไม้ต้นตาลนั้นมีอยู่น้อยจึงเปลี่ยนมาใช้ไม้มะพร้าวแทน

อุปกรณ์ : 1.เครื่องกลึงครก 2.ใบมีดกลึง 3.แท่นกลึงสาก

 

วิธีทำ  ขั้นที่ 1 หาไม้มะพร้าว นำมาผ่าเป็นท่อน ผ่าให้มีขนาด 3 นิ้วครึ่ง 4 นิ้ว 5 นิ้ว

          ขั้นที่ 2 เข้าเครื่องกลึง กลึงจนเป็นรูปครก

          ขั้นที่ 3 นำมาขัดให้เรียบเนียน และทาแชล็คเคลือบเงาโชว์เนื้อไม้ที่สวยงาม

ราคา : ขนาดเล็กแบบไม่ได้ทาแชล็ค 20 บาท ขนาดกลาง 25 บาท ขนาดใหญ่ 30 บาท ถ้าทาแชล็คก็คิดแล้วแต่คนขายได้เลย (ครกกับสากขายคู่กัน)

ระยะเวลาในการทำครกและสาก : ทำ 30-40 ใบต่อวัน

ข้อเสนอแนะในการเลือกไม้มาทำ : ไม้มะพร้าวต้องเป็นมะพร้าวแก่ เพราะจะมีความแข็งแรง ถ้าไม้มะพร้าวอ่อน กลึงแล้วจะไม่ได้รูป พอแห้งแล้วจะยุบตัวลง

 

 

                                                                      การทำแคน

 

ชื่อ : นายเรืองศักดิ์ สุขเฟื่องแสง อายุ 68 ปี

รายละเอียด : เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ทำมารุ่นพ่อสู่รุ่นลูก พ่อและช่างช่วยกันสอนจนพ่อเสียก็เลยได้วิชาการทำแคนมาจาก 2 รุ่นนั้นเอง การเรียนรู้ในตอนนั้นใช้สมุดบันทึกในการช่วยจดจำ ค่อยจดไว้ว่าตรงไหนเทียบเสียงของแคนยังไง

 อุปกรณ์ : 1.ไม้ไผ่ 2.เงินหรือเหรียญ 2 บาท 3.สิ่ว

 

วิธีทำ  ขั้นที่ 1 นำไม้ไผ่ปล้องยาวๆ มาตากแดดให้แห้ง ไว้ 2 เดือน

          ขั้นที่ 2 ตัดเป็นชุดๆ ขนาดยาวสั้นไม่เท่ากัน

          ขั้นที่ 3 ทำลิ้นคือที่ทำให้ช่วยเกิดเสียง นำเหรียญ 2 บาทหรือว่าเงิน ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ มาทุบให้บาง

          ขั้นที่ 4 การเจาะทำช่องลม ทำช่องลม 2 ช่อง ระยะห่างของช่องเสียงยิ่งห่างเสียงจะทุ้ม แต่ถ้าใกล้ช่องเสียงจะเล็กแหลม และช่องลิ้นตรงกลางตรงสีขาวๆจะเป็นช่วงที่ลิ้นต้องใส่ลงไป

          ขั้นที่ 5 เอาซิ่วมาขูดให้ลมมันดิ้นได้ แข็งไปก็ไม่ดีอ่อนไปก็ไม่ดี

          ขั้นที่ 6 นำมาติดกัน เต้า 1 อัน ใช้เวลา 3 วัน ทั้งกลึงเต้าทั้งอะไรคือ รวม 1 อัน

ขนาดแคน : มี 4 ขนาด 1.ขนาดสั้น 70 ซม. 

                                    2.ขนาดกลาง 1 ม.                                                                                                                                               3.ขนาดยาว 1.20 ม.                                                                                                                                           4.ขนาดใหญ่ที่สุด 1.50 ม.

ราคา : ทุกขนาดอยู่ที่ 1000 บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 701140เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2022 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2022 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท