ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย


                              องค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

1.ข้อมูลคุณลักษณะของตำบล

          1.1ประวัติความเป็นมา

            ชื่อ “ตำบลลำเหย” ทั้งนี้สืบเนื่องมาจาก เดิมภายในตำบลสำเหยมีสำรางเป็นลำน้ำ และน้ำในลำรางได้เกิดการระเหยเดือดแห้งไป ทำให้ชาวบ้านตั้งชื่อตำบลนี้ว่า “ลำเหย”ตำบลลำเหย เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม โดยมีระยะทางห่างจาก อำเภอดอนตูม ประมาณ ๗ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครปฐม ๒๖ กิโลเมตร มีพื้นที่ ๒๒,๐๖๘ ไร่ หรือ ประมาณ๓๕ ตารางกิโลเมตร ตำบลลำเหย มีครัวเรือน ๒,๕๐๙ ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ ๕๐ รองลงมาอาชีพค้าขาย ร้อยละ ๒๕ อาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ ๒๐ และอาชีพอื่นๆ ร้อยละ ๕องค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘โดยตามมาตรา ๔๐ และมาตรา ๙๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๕๘เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีอิสระในการบริหารกิจการของตนเองตามบทบัญญัติของกฎหมาย

          1.2 พื้นที่และขอบเขตการปกครอง ที่ตั้งของตำบลที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ตั้งอยู่เลขที่ ๔๔/๔ หมู่ที่ ๕ บ้านป่าแก ตำบลลำเหยอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม มีระยะทางห่างจากอำเภอดอนตูม ประมาณ ๗ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครปฐมประมาณ ๒๖ กิโลเมตร

อาณาเขต

          ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสนเทศบาลตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

          ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

          ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

          ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

         1.3 ลักษณะภูมิประเทศ องค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่พื้นที่ภาคกลางของประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีป่าไม้และภูเขา ระดับความแตกต่างของความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง ๑ - ๒ เมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๒ - ๔ เมตร สภาพพื้นที่ลาดจากทิศใต้สู่ทิศเหนือ ทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก การระบายน้ำผ่านคลองธรรมชาติ พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตร มีคลองชลประทานผ่านพื้นที่ของตำบลลำเหย ทั้ง ๑๕ หมู่บ้าน

         1.4 ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศ โดยทั่วไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม มีฝนตกชุกในฤดูฝน ในฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด ส่วนในฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อน จากสถิติของสถานีอุตุนิยมวิทยานครปฐม ในปี พ.ศ.๒๕๕๖ ปริมาณน้ำฝนวัดได้โดยเฉลี่ย ๔๕๗.๔ มิลลิเมตร โดยฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงที่สุด ๔๐.๑ องศาเซลเซียส ส่วนฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์โดยจะมีอากาศหนาวเย็นเป็นช่วงๆ มีอุณหภูมิต่ำที่สุด ๑๒ องศาเซลเซียสอุณหภูมิ เขตตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๒๗.๔ องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด ๓๓.๔ องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด ๒๒.๓ องศาเซลเซียสฤดูร้อน อากาศจะร้อนและแห้ง เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมอุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคมฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนทิ้งช่วงในระยะเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งในระยะเดือนที่ฝนทิ้งช่วงนี้ จะยังคงมีฝนตก แต่ปริมาณของน้ำฝน อาจไม่เพียงพอต่อการเกษตรฤดูหนาว อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยจะมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนและมองโกเลียแผ่ลงมาเป็นช่วงๆ ทำให้อากาศของจังหวัดหนาวเย็นเป็นระยะๆ ช่วงที่อากาศหนาวที่สุดอยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม

         1.5 ลักษณะของดิน ดินในตำบลลำเหย เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนในระดับและอายุต่างๆ กัน โดยเกิดขึ้นจากอิทธิพลของตะกอนลำน้ำ และตะกอนน้ำกร่อย ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง และมีความเหมาะสมต่อการกสิกรรม มีการระบายน้ำของดินดี มีศักยภาพเหมาะสมต่อการปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น

         1.6 ลักษณะของน้ำ ตำบลลำเหยมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ แหล่งน้ำชลประทานจากแม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำนครชัยศรี) คลอง ท่าสาร - บางปลา คลองธรรมชาติ ระบบคลองชลประทาน โครงการส่งน้ำและระบายน้ำครอบคลุมทั้ง ๑๕ หมู่บ้าน

         1.7 ลักษณะของไม้และป่าไม้ – ไม่มีป่าไม้ในพื้นที่

2.ด้านการเมืองการปกครอง

         2.1 เขตการปกครอง จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย มี 15 หมู่โดยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหยทุกหมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่1 ชื่อบ้านทุ่งสีหลง หมู่2 ชื่อบ้านลำเหยหมู่ที่3 ชื่อบ้านใหม่ หมู่ที่4 ชื่อบ้านลำเหย หมู่ที่5 ชื่อบ้านป่าแก หมู่ที่6 ชื่อบ้านภูมิ หมู่ที่7 ชื่อบ้านสระน้ำส้ม หมู่ที่8 ชื่อบ้านนิคม หมู่ที่9 ชื่อบ้านภูมิ หมู่ที่10 ชื่อบ้านรางมูก หมู่ที่11 ชื่อบ้านทุ่งสีหลง หมู่ที่12 ชื่อบ้านภูมิ หมู่ที่13 ชื่อบ้านทุ่งสีหลง หมู่ที่14 ชื่อบ้านสุขสบาย หมู่ที่15 ชื่อบ้านหนองบอนพัฒนา

                                                      ภาพแสดงตำแหน่งหมู่บ้านตำบลลำเหย

           บริบททางสังคม

              ด้านการคมนาคม ตำบลลำเหยมีถนนสายหนองปลาไหล - ดอนตูม ตัดผ่านกลางตำบล ๑ สาย เป็นถนนสายหลัก ซึ่งเป็นทางเข้าสู่ตัวอำเภอดอนตูม ภายในตำบลลำเหย มีถนนสายรองเชื่อมต่อกับถนนสายหลักถนนภายในหมู่บ้านประกอบด้วยถนนลูกรัง ถนนลาดยางแอสฟัลส์ติกคอนกรีต ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนสายรองหลายสาย ทำให้การคมนาคม ไป-มา สะดวกและมีรถโดยสารประจำทางสาย นครปฐม - บางเลน สัญจรผ่านตำบลลำเหยมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ แหล่งน้ำชลประทานจากแม่น้ำท่าจีน(แม่น้ำนครชัยศรี)คลอง ท่าสาร - บางปลา คลองธรรมชาติ ระบบคลองชลประทานโครงการส่งน้ำและระบายน้ำครอบคลุมทั้ง 15หมู่บ้าน

              ด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลลำเหย หมู่ที่ 4 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านภูมิลำเหย หมู่ที่ 9 ร้านขายยาแผนปัจจุบัน2แห่งสถานพยาบาลเอกชน 1 แห่ง

              ด้านอาชญากรรม  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่พักสายตรวจตำรวจชุมชน 1แห่ง รถดับเพลิง1คันสมาชิกอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 24 คน

              ด้านยาเสพติด  กีฬาและนันทนาการ / พักผ่อนสนามกีฬาเอนกประสงค์1แห่งสนามฟุตบอล4แห่งสนามบาสเก็ตบอล3แห่งสนามตะกร้อ4แห่ง

            บริบททางเศรษฐกิจ

              การเกษตรการเกษตรกรรมเป็นสาขาการผลิตที่สำคัญของตำบลลำเหย ซึ่งมีพื้นที่เกษตรกรรมจำนวนทั้งสิ้น12,800 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 88.00 ของพื้นที่ทั้งตำบล ประชากรในเขตตำบลลำเหย ปัจจุบันส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำสวนผัก สวนผลไม้ สวนกล้วยไม้ กระชาย เลี้ยงสัตว์ ที่เหลือประกอบอาชีพหัตถกรรม ปั้นเต่าอั้งโล่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย และรับจ้างทั่วไประบบการเกษตรในตำบลลำเหย มีระบบชลประทานที่ดี โดยอาศัยแหล่งน้ำจากลุ่มแม่น้ำท่าจีน คลองท่าสาร - บางปลา ประกอบกับเกษตรกรมีศักยภาพสูงมีทักษะด้านการเกษตรที่ดี และภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถเรียนรู้วิทยาการแบบใหม่ๆ และมีการใช้เทคโนโลยีในภาคการเกษตรที่พัฒนามากขึ้นระดับหนึ่ง พืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกร ได้แก่ ข้าว พืชผักต่างๆ อ้อย ไม้ผล และไม้ดอกไม้ประดับ การเกษตรกรรมของตำบลลำเหยมีความเป็นไปได้สูงต่อการวางแผนจัดการระบบการผลิตเพื่อเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดนครปฐม ด้านการพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า

              การเกษตรประมง ประชากรตำบลลำเหยประกอบอาชีพประมงน้ำจืด สัตว์น้ำที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ ปลาน้ำจืด กุ้งขาว ปลาสวยงาม จระเข้ และสัตว์น้ำอื่นๆ

              ปศุสัตว์เกษตรกร ส่วนใหญ่มักทำการเกษตรแบบผสมผสาน มีการเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปกับการปลูกพืช หรือเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ กล่าวคือ เลี้ยงโคนม โคเนื้อ ควบคู่กับการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน, เลี้ยงสุกรควบคู่กับการปลูกพืชผัก, เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ควบคู่กับการเลี้ยงปลา ซึ่งเป็นประโยชน์ที่เกื้อกูลกันค่อนข้างครบวงจร สัตว์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่ ไก่, เป็ด, สุกร และโคเนื้อ

            บริบททางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

               การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น 1 แห่งโรงเรียนวัดลำเหย หมู่ที่ 4 โรงเรียนระดับประถมศึกษา 3 แห่ง โรงเรียนบ้านใหม่ หมู่ที่3 โรงเรียนบ้านร่างมูก หมู่ที่10 และโรงเรียนวัดทุ่งสีหลง หมู่ที่ 13 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดนครปฐม 1 แห่ง ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 7 แห่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลำเหย 2 แห่ง ศูนย์วัฒนธรรมตำบลลำเหย 1แห่ง หอกระจายข่าว 15 แห่ง

              ศาสนา ประชากรตำบลลำเหยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดลำเหย หมู่ที่4วัดลำเหยเริ่มสร้างวัดวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2347 เดิมมีชื่อว่า วัดโพธิ์ชายนา สร้างอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้านหนองบอนเดี๋ยวนี้ ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่บอกว่าเหตุที่วัดเดิม มีชื่อว่าวัดโพธิ์ชายนานั้น เพราะบริเวณรอบ ๆ ที่สร้างวัดมีแต่ที่นาล้อมรอบและที่เป็นนานั้นมีแต่ต้นโพธิ์ ขึ้นอยู่ตามชายนามาก จึงได้ชื่อนี้มา ต่อมาได้มีการย้ายที่ตั้งวัดมายังที่ตั้งปัจจุบัน ไม่ทราบว่าย้ายมาสถานที่ใหม่ในสมัยเจ้าอาวาสรูปใด สาเหตุที่ย้ายวัด เนื่องจากที่ตั้งเดิมเป็นทุ่งนาเป็นที่ราบต่ำเมื่อถึงหน้าน้ำป่าหรือน้ำปีก็จะไหลหลากท่วมทุกปีจึงย้ายวัดมาสร้างในสถานที่ใหม่ มายังที่ดอน แล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็น "วัดลำเหย" เหตุที่เปลี่ยนชื่อ เพราะ ในสมัยก่อนนั้นเมื่อถึงหน้าน้ำปีมา น้ำจะไหลหลากเจิ่งนองท่วมท้องนา ไหลไปตามลำคลองใหญ่ชื่อว่า คลองวังไทรแล้วไหลเข้าสู่คลองตำลึง ไหลผ่านไปตามทุ่งนา และตามลำรางเรื่อยมาจนถึงข้างหลังโรงเรียนวัดลำเหย พอมีน้ำปีก็จะไหลเอ่อขึ้นไปยังทุ่งหนองบอนเป็นที่สุดไม่ได้ไหลไปที่ไหนได้อีกแล้วน้ำจะขังอยู่ทุ่งหนองบอน ไม่นานเพราะทุ่งหนองบอน เป็นเขตสุดของไหลน้ำนี้ ก็จะย้อนกลับมาอยู่ที่ลำรางข้างโรงเรียน เพราะลำรางนี้เป็นที่ต่ำมาก น้ำก็ขังอยู่ที่ลำรางนี้น้ำจะไม่ไหลไปไหนได้อีกแล้วน้ำที่ลำรางนี้ก็จะถูกธรรมชาติจากแดดบ้าง ลมบ้าง แผดเผาพัดพาให้น้ำในลำรางให้ค่อย ๆ แห้งระเหยหมดไปในที่สุด จึงเป็นเหตุให้ชื่อว่า "วัดลำเหย" โดยคำว่า "เหย" มาจากคำว่า น้ำระเหย และ วัดทุ่งสีหลงหมู่ที่ 11วัดทุ่งสีหลง เดิมชื่อว่า วัดทุ่งตาสีหลง แต่เดิมบริเวณนี้เป็นทุ่งนากับป่าไม้ มีชายแก่คนหนึ่งชื่อตาสี ได้มาต่อนกในทุ่งจนพลบค่ำ แต่หลงทางกลับบ้านไม่ได้ ทุ่งนี้จึงได้ชื่อว่า ทุ่งตาสีหลง ต่อมาพูดสั้นลงเหลือ ทุ่งสีหลง ต่อมาได้นำชื่อนี้มาตั้งชื่อวัด วัดทุ่งสีหลงสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2460 

                ประเพณีและวัฒนธรรม  ประชาชนตำบลลำเหย มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีลาวครั่ง ที่สืบทอดกันมารวมทั้งพิธีกรรมเช่นไหว้ ประจำปีงานบุญประเพณีต่างๆ คือบุญเดือนสาม บุญสงกรานต์ บุญเข้าพรรษา งานแห่ธงประเพณีสงกรานต์และงานประเพณีตามวันสำคัญต่างๆ

            บริบททางการเมือง

                นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ปัจจุบันคือ นาย มงคล โสภาพ ดำรงตำแหน่งสมัยแรกตั้งแต่ปี2565ได้รับการดำรงตำแหน่งจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ของตำบลลำเหย

 

2. ข้อมูลและสะท้อนคุณลักษณะองค์กร

          องค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหยเมื่อพ.ศ.๒๕๔๘โดยตามมาตรา ๔๐ และมาตรา ๙๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๕๘เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีอิสระในการบริหารกิจการของตนเองตามบทบัญญัติของกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม : รายละเอียดสถานที่ :  ลองดู

               2.1 ผู้บริหารและคณะทำงาน

                 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ปัจจุบันคือ นาย มงคล โสภาพ ดำรงตำแหน่งสมัยแรกตั้งแต่ปี2565 ได้รับการดำรงตำแหน่งจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่ของตำบลลำเหย

โครงสร้างการปกครองและการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย  ประกอบด้วย

               1.การเมืองการปกครองสภาองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ประกอบด้วย สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวน ๑๕ หมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๒ คนรวมทั้งสิ้น ๓๐ คน มีหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติและควบคุมตรวจสอบการบริหารงานของฝ่ายบริหารมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี

              2.การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลสำเหย ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน๑ คน และมีผู้ช่วยผู้บริหาร คือ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๒ คน และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๑ คน มีหน้าที่บริหารกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยมีรายนามดังนี้

 

              2.2 ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                วิสัยทัศน์ “ตำบลลำเหยน่าอยู่ มีสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐาน สืบสานวัฒนธรรมประเพณีส่งเสริมการศึกษา การพัฒนากลุ่มอาชีพ มีแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ประชาคมอาเซียน”

             ยุทธศาสตร์การพัฒา

              ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

              ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และโครงสร้างพื้นฐาน

              ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

              ยุทธศาสตร์ที่ 4 เศรษฐกิจชุมชนและแก้ไขปัญหาความยากจน

              ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภายในองค์กรและการให้บริการประชาชน 

              ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างสุขภาพอนามัย                                             

            เป้าประสงค์

              1.ประชาชนมีศักยภาพในการเรียนรู้ มีความรักความสามัคคี

              2.การทำนุบำรุงรักษาศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาของท้องถิ่น

              3.เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้

              4.การจัดการด้านสาธารณสุข นันทนาการ สวัสดิการสังคม / การสังคมสงเคราะห์ มีประสิทธิภาพ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

              5.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้รับการดูแลรักษาให้เกิดความสมดุลประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

              6.การบริหารจัดการภายในขององค์กรมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนในการพัฒนาท้องถิ่น

              7.ระบบโครงสร้างพื้นฐานได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

3.ข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชน(พื้นที่ทำโครงการ)

   3.1ความเป็นมาของหมู่ที่11เดิมเป็นป่าหนาทึบ มีสัตว์ป่ามากมาย มีชาวบ้านคนหนึ่งชื่อว่า “ตาสี” มาล่าสัตว์ในป่า แล้วเกิดหลงป่ากลับบ้านไม่ได้เป็นเวลาอยู่ 3 วัน 3 คืน จนญาติพี่น้องต้องออกตามหาจนพบ จึงพากันกลับบ้าน เลยเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ตาสีหลง ต่อมาชื่อเพี้ยนเปลี่ยนเป็น บ้านทุ่งสีหลง มาจนถึงปัจจุบัน ได้แบ่งออกเป็น 3 หมู่บ้าน คือ ม. 1 , ม. 11 และ ม. 13 อาณาเขตห่างจากที่ว่าการอำเภอดอนตูม ประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ประมาณ 6 กิโลเมตร มีพื้นที่ 667 ไร่ทิศเหนือ ติดกับตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมทิศใต้ ติดกับตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมทิศตะวันตก ติดกับม. 13 ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมทิศตะวันออก ติดกับตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

3.1.1 ที่ตั้งของหมู่ที่11บ้านทุ่งสีหลง

ห่างจากที่ว่าการอำเภอดอนตูม ประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ประมาณ 6 กิโลเมตร มีพื้นที่ 667 ไร่ทิศเหนือ ติดกับตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมทิศใต้ ติดกับตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมทิศตะวันตก ติดกับม. 13 ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมทิศตะวันออก ติดกับตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

3.1.2 จำนวนประชากร

ประชากร ชาย 548 คน หญิง 465 คน รวม 922 คน ผู้สูงอายุ ชาย 33 คน หญิง 64 คน รวม 97 คน ผู้พากร ชาย 4 คน หญิง 6 คน รวม 10 คน ผู้ด้อยโอกาส จำนวน 5 คน

3.1.3 สาธารณูปโภค

มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน มีการสื่อสารด้วยโทรศัพท์และเครื่องขยายเสียง มีน้ำใช้ทุก

3.2ปราชญ์ชาวบ้าน

 

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางมะลิ ปราตรี  รายละเอียด เริ่มปลูกขมิ้นเมื่อพ.ศ. 2538 ได้มีกลุ่มชาวบ้านมาช่วยลงแขกในการปลูกขมิ้นสลับกันไปในแต่ละ บ้านเป็นการสร้างความสามัคคีของในชุมชนและยังเปิดผู้คนมาศึกษาวิธีการปลูกขมิ้นอีกด้วย วิธีปลูกขั้นตอนทำมี ดังนี้ใช้เหง้า หรือหัว อายุ 10-12 เดือน ทำพันธุ์ ถ้าเป็นเหง้าควรยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร หรือมีตา 6-7 ตา ปลูกลงแปลง กลบดินหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 30-70 วัน หลังปลูกควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10 เดือน จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้

ชื่อ นาย บุญมี เจ็กสุวรรณ  รายละเอียด เริ่มทำตั้งแต่พศ. 2530 เป็นอาชีพเผาถ่านด้วยวิธีสมัยก่อนอนุรักษ์วัฒนธรรมในชุมชนที่สืบสานต่อกัน รุ่นสู่รุ่นและยังให้ความรู้แก่คนรุ่นหลังและนำไม้ที่ไม่ได้ใช้แล้วนำมาเผาถ่านให้เกิดประโยชน์เป็นรายได้แก่ตนเองวิธี เผาถ่านมีดังนี้ขั้นตอนแรกจะกองไม้ที่เราต้องการทำให้เป็นถ่านมากองไว้รวมกัน จากนั้นชาวบ้านก็จะเอาฟางข้าว จากนาข้าวที่เราเก็บเกี่ยวเอาเม็ดออกแล้วมากลบทับกองไม้อีกทีนึง จากนั้นจุดไฟเผาให้ไฟไหม้ไปถึงตัวไม้ที่เรากอง ไว้จากนั้นเผาทิ้งไว้เลยจ้า เผาทิ้งไว้จนไม้ที่กองไว้ไหม้จนเป็นสีดำเลย พอไหม้หมดดีแล้ว ส่วนที่ไหม้ดีแล้วชาวบ้าน จะใช้คาดหรือจอบ งัดไม้ท่อนที่ไหม้เป็นถ่านออกจากกัน ให้แตกเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน เขี่ยถ่านให้กระจายออกมาเพื่อตากทิ้งไว้เลยจากนั้นนำบัวรดน้ำ หรือถัง หรือจะใช้สายยางก็ได้เช่นกัน นำถังใส่น้ำ มารดใส่ถ่านที่เราเขี่ยออกมาตากไว้ ให้ไฟที่ถ่านมอดดับไปแล้วตากทิ้งไว้ผึ่งตากแดดไว้ให้แห้งพอถ่านที่เราเผาไหม้ใส่น้ำผึ่งแดดผึ่งลมเสร็จ ถ่านหายร้อน แห้งดีแล้วก็นำไปใช้ได้เลย

ชื่อ นางเบญจวรรณ นราแก้ว รายละเอียด เริ่มทำตั้งแต่พ.ศ.2546เป็นการลอกหอมหรือเรียกเป็นภาษาชาวบ้านก็คือการเต๊าะหอมตามหลัก ในสถานการณ์ปกติก่อนช่วงโควิล19คุณป้าแทนนี้จะมีกลุ่มชาวมาช่วยกันลอกหอมหรือเต๊าะหอมเพื่อจะแพ็กส่ง โรงงานหรือส่งต่างประเทศ หอมที่ได้นั้นมาจากการปลูกกันของคนในกลุ่มและคนในชุมชนวิธีการทำก็คือมื่อเราได้ ต้นหอมมาแล้วเราก็ทำการแกะเอาเปลือกหรือใบที่เสียตกออกให้เหลือแต่เนื้อขาวๆพอแกะเสร็จแล้วก็มาแพคใส่ถุงใส่ตะกร้าแล้วยกขึ้นรถเป็นอันเสร็จ

ชื่อ นายสำเนียง หนูบ้านเกาะ รายละเอียด เริ่มทำอาชีพนี้เมื่อพ.ศ.2538เป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประกอบอาชีพการปั้นเตาและเป็นที่ เรียนรู้แก่คนในชุมชนและคนที่อยากมาศึกษาการปั้นเตาทำให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างมากโดยมีวิธีทำดังนี้ ขั้นตอนการผลิตเตาอั้งโล่นั้นเริ่มจากการหาดินเหนียวตามท้องนาเนื่องจากเป็นดินที่มีคุณภาพ ง่ายต่อการขึ้นรูป ไม่ แตกร้าวหลังการเผา จากนั้นนำมาตากแดดให้แห้งประมาณ 2 วัน แล้วจึงนำดินเหนียวไปหมักในบ่อดินเพื่อให้ดิน ผสมผสานเข้าเป็นเนื้อเดียวกันและคัดแยกเศษไม้เศษหินออกมาไม่ให้ปะปนในเนื้อดิน แช่ดินทิ้งไว้ในบ่อประมาณ 1 คืน หลังจากนั้นนำดินขึ้นมาสะเด็ดน้ำให้แห้งพอหมาดๆ ผสมขี้เถ้า แกลบดำ ในอัตราขี้เถ้าแกลบดำ 1 ส่วน ดิน 2 ส่วน ใช้เท้าย่ำให้เข้ากันประมาณ 3 ชั่วโมง แกลบดำจะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันไม่ให้ความร้อนกระจายออกจากตัว เตา หลังจากนั้นนำดินไปปั้นขึ้นรูปเป็นเตาสู่แม่พิมพ์ตามขนาดที่เตรียมไว้ ใช้มือตบปั้นดินให้ขึ้นรูปเป็นท รงเตา ตกแต่งผิวดินด้านในที่ใช้เป็นห้องสำหรับวางรังผึ้งหลังจากนั้นอัดทับด้วยแม่พิมภายใน เพื่อขึ้นรูปเป็นปากเตาและ นมเตาเมื่อได้เตาตามขนาดที่ต้องการแล้วจึงคว่ำเอาเตาออกมาจาแม่พิมพ์แล้วนำไปผึ่งลมให้แห้งประมาณ 1-2 วัน ก่อนจะนำกลับมาตกแต่งปากเตาและนมเตา พร้อมกับเจาะช่องลมแล้วจึงนำไปผึ่งลมและตากแดดจนเตาแห้งสนิท ใช้เวลาประมาณ 2 วัน จากนั้นจึงนำมาเรียงในชั้นเตาเผาใช้เวลาในการเผา 10 ชั่วโมงรอให้เตาเย็นแล้วจึงนำ ออกมาบรรจุลงในถังสังกะสีเฉพาะที่ใช้ทำเตา ใช้ดินเหนียวผสมขี้เถ้าแกลบยาขอบเตาให้แน่นในอัตราดิน 1 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 10 ส่วนเพื่อไม่ให้เตาเสียหายง่ายเวลาใช้งาน ส่วนรังผึ้งนั้นทำจากดินเหนียวที่ใช้ท ำเตำมำนวดผสมกับ ข้ีเถำ้แกลบดำ มำกกว่ำส่วนผสมที่ใช้ทำ เตำ เมื่อนวดจนไดท้ ี่แลว้ก็นำ ดินใส่ลงไปในพิมพ์กดดินให้เต็มแม่พิมพ์ปาดเอาดินส่วนเกินออกจากแม่พิมพ์ทิ้งไว้จนแห้งประมาณ 2-3 วัน แล้วนำแม่แบบมาเจาะรูก่อนที่จะผึ่งลมทิ้งไว้อีก 2-3 วัน จึงนำไปเผาจนสุก แล้วจึงนำไปใส่ในเตาตรงระดับที่กำหนดไว้ ใช้ดินเหนียวผสมขี้เถ้าแกลบในอัตราดิน 1 ส่วน ขี้เถ้า 5 ส่วน ยาภายในเตารอบบริเวณที่รังผึ้งสัมผัสกับผนังเตา ทำทั้งด้านบนและด้านล่างก็จะได้เตาอั้งโล่พร้อมใช้งาน

 

 

ชื่อ นาย ปรีชา ศรีวัฒน์ธนรัตน์ รายละเอียด เริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ.2542 เป็นการทำกระสอบอหารสัตว์ที่ใช้แล้วนำกับมารีไซเคิลนำมาชำระล้าง ให้สะอาดแล้วนำกับมาใช้ประโยชน์ใหม่และยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับคนในหมู่บ้านที่ไม่มีงานทำเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของการทำงานการนำถุงอาหารสัตว์มารีไซเคิล ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นในการนำถุงอหารสัตว์มารีไซเคิลแล้วนำกับมาใช้ใหม่
 

อ้างอิง

http://www.lumhoei.go.th/th/

http://www.lumhoei.go.th/th/%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b9%8c%e0%b8%81%e0%b8%a3/%e0%b8%84%e0%b8%93%e0%b8%b0%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3/

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2_(%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0

 

 

หมายเลขบันทึก: 701048เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2022 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2022 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท