ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระยา


ตำบลท่าพระยา

อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

1.ข้อมูลคุณลักษณะตำบล

ตำบลท่าพระยา เดิมชื่อตำบลบ้านกวย เนื่องจากประชากรดั้งเดิมของตำบลท่าพระยานั้น เป็นชาวภาคอีสาน ซึ่งนำโดยนายกวย ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณแห่งนี้เนื่องจากเห็นว่าเป็นที่ราบลุ่ม มีป่าอุดมสมบูรณ์ และต่อมานายกวย ได้กลายเป็นบุคคลสำคัญของชุมชน เพราะเป็นผู้มีความรู้เป็นหมอกลางบ้านและได้ให้การรักษาโรคต่าง ๆ แก่คนในหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือ และพร้อมใจกันเรียกชื่อท้องถิ่นแห่งนี้ว่า "ตำบลบ้านกวย" ต่อมาทางราชการเห็นว่า จากสภาพเดิมทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของตำบลซึ่งเดิมตั้งอยู่ชายทะเล มีอ่าวใหญ่เรียกว่า "อ่าวท่าพระยา" และมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้นั่งเรือมาขึ้นบกที่อ่าวท่าพระยานี้  เพื่อสร้างพลับพลาและเพนียดคล้องช้าง ทางราชการจึงเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อของตำบล ให้เหมาะสมกับสภาพทางภูมิศาสตร์และความเป็นมา โดยให้เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลท่าพระยาจนถึงปัจจุบัน และจากประวัติความเป็นมาที่มีเจ้าพระยานั่งเรือมาขึ้นบกที่อ่าวท่าพระยา ณ บ้านท่าพระยานี้ ได้กลายเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระยาในปัจจุบัน

1.1 ลักษณะทางกายภาพ

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระยา ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลจัดตั้งเป็นองค์การการบริหารส่วนตำบลโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ตามประกาศเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ตั้งอยู่เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าพระยา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์ 73120 โทรศัพท์. 034 331904 โทรสาร. 034 333896 มีเนื้อที่ในเขตรับผิดชอบประมาณ 10.62 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 6,637.50 ไร่ 

  ทิศเหนือ              ติดกับ     ต.ศีรษะทอง อ.นครชัยศรี  จ.นครปฐม

  ทิศใต้  ติดกับ     ต.บางระกำ อ.นครชัยศรี  จ.นครปฐม

  ทิศตะวันออก     ติดกับ     ต.บางแก้ว ต.ท่ากระชับ อ.นครชัยศรี  จ.นครปฐม

  ทิศตะวันตก       ติดกับ     ต.บางระกำ ต.พะเนียด อ.นครชัยศรี  จ.นครปฐม

1.2 การปกครอง

การบริหารส่วนตำบลท่าพระยามีพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 5 หมู่ประกอบด้วย

หมู่ที่1 บ้านวัดท่าใน  ผู้รับผิดชอบ นายอภินันท์ เหลียวตระกูล

หมู่ที่2 บ้านคลองวัว  ผู้รับผิดชอบ นายอนุศักดิ์ ตัณฑ์ไพบูลย์

หมุ่ที่3 บ้านกลาง      ผู้รับผิดชอบ นายชัยสิทธิ์  ภู่ระหงษ์

หมู่ที่4 บ้านวัดน้อย   ผู้รับผิดชอบ นายอนุชา  เนียมเอี่ยม

หมู่ที่5 บ้านหัวโต่ง   ผู้รับผิดชอบ นายเสกสรร โห้พึ่งจู

ข้อมูลประชากรปี พ.ศ.2561 จำนวนประชากรทั้งสิ้น 3841 คน แยกเป็นชาย 1795 คน หญิง 2046 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ361 คน/ตารางกิโลเมตร สามารถสรุปได้ตารางที่1และตารางที่2ดังต่อไปนี้

ตารางที่1 ข้อมูลทางด้านประชากรขององค์การส่วนบริหารตำบลท่าพระยาจำแนกตามเพศและจำนวนครัวเรือน

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม
1 บ้านวัดท่าใน 508 552 626 1178
2 บ้านคลองวัว 183 314 372 686
3 บ้านกลาง 124 210 262 472
4 บ้านวัดน้อย 232 434 472 906
5 บ้านหัวโต่ง 193 285 314 599

ตารางที่2 ข้อมูลทางด้านประชากรของตำบลท่าพระยา จำแนกตามช่วงอายุและเพศ

ช่วงอายุประชากร จำนวนชาย (คน) จำนวนหญิง (คน) รวม (คน)
น้อยกว่า1ปี 14 26 40
1-5 ปี 107 89 196
6-14 ปี 183 171 354
15-25 ปี 287 308 595
26-49 ปี 620 722 1342
50-60 ปี 268 358 626
รวม 1795 2046 3841

1.3 บริบททางเศรษฐกิจ

ในตำบลท่าพระยาด้านการเกษตรในเขตตำบลท่าพระยา ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตรและปศุสัตว์ การลงทุนจึงเป็นด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและการปศุสัตว์ ด้านการปศุสัตว์เขตตำบลท่าพระยา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงสุกรและเลี้ยงปลาเลี้ยงกุ้งและทำดอกไม้จันทน์มีโรงงานอุตสาหกรรม 12 แห่ง

1.4 บริบททางสังคม

ในตำบลท่าพระยาไม่มีเหตุอาชญากรรมมีการป้องกันอุบัติเหตุ โดยติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นที่สาธารณะ และจุดเสี่ยงต่างๆ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยก มีสัญญาณไฟ เตือนในเขตชุมชน รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน มีการป้องกันด้านโรคระบาดต่างๆ มีการกำจัดยุงลายโดยมีหน่วยงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระยามาฉีดพ่นยุ่งตามบ้านเรือนและยังมี อสม. ประจำตำบลมาแนะนำวิธีการกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยแจกทรายอะเบทตามบ้านมีหน่วยค่อยเฝ้าระวังเหตุเพลิงไหม้

1.5 บริบททางการศึกษาและวัฒนธรรม

การตั้งถิ่นของตำบทท่าพระยาเป็นชุมชนชนบทประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาและทำสวนทำไร่มีการกระจายบ้านเรือนไปตามถนนสายหลักมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดเหมือนเครือญาติเดียวกัน โดยมีวัดจำนวน 3 แห่งคือ 

1.วัดท่าใน ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1

2.วัดหลวงประชาบูรณะ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 

3.วัดน้อยเจริญสุข ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4  

เป็นศูนย์กลางการรวมกลุ่มของประชาชนในการทำบุญในวันสำคัญต่างๆทางศาสนาประกอบพิธีกรรมสวดมนต์ตักบาตรการอุปสมบทการฌาปนกิจศพ

จากนั้นยังมีโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอีก 2 แห่งคือ 

1.โรงเรียนพลอยจาตุรจินดา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 2.โรงเรียนวัดน้อย                  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่4 

 

1.6 บริบททางการเมือง

นายกองค์การส่วนบริหารส่วนตำบทท่าพระยา คือ นายนิกร ระวังงาน มีวาระในการดำรงตำแหน่ง4 ปี มีเขตการปกครองในตำบลท่าพระยาแบ่งออกเป็น 5 หมู่บ้านผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่บ้านประกอบไปด้วย

หมู่ที่1 บ้านวัดท่าใน  ผู้รับผิดชอบ นายอภินันท์ เหลียวตระกูล

หมู่ที่2 บ้านคลองวัว  ผู้รับผิดชอบ นายอนุศักดิ์ ตัณฑ์ไพบูลย์

หมุ่ที่3 บ้านกลาง      ผู้รับผิดชอบ นายชัยสิทธิ์  ภู่ระหงษ์

หมู่ที่4 บ้านวัดน้อย   ผู้รับผิดชอบ นายอนุชา  เนียมเอี่ยม

หมู่ที่5 บ้านหัวโต่ง   ผู้รับผิดชอบ นายเสกสรร โห้พึ่งจู

1.7 ภูมิปัญญา

1.การทำดอกไม้จันทน์

คุณยายเย อายุ 62 ปี ที่อยู่ 76/5 ม.4 ต.ท่าพระยา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีความรู้ด้านการทำดอกไม้จันทน์

การวางดอกไม้จันทน์ในงานศพ นับเป็นการแสดงความอาลัยครั้งสุดท้ายต่อผู้วายชนม์ เชื่อกันว่า เป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี ทั้งยังเป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้มีชีวิตจะทำเพื่อบุคคลที่ตนรัก ซึ่งล่วงลับไปแล้วได้ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ประวัติความเป็นมา วันนี้เราจึงนำที่มาของการใช้ดอกไม้จันทน์มานำเสนอให้ทุกท่านทราบกัน ในอดีต การใช้ไม้จันทน์ในงานศพ จะไม่ใช้เพียงส่วนของดอกอย่างเช่นทุกวันนี้ แต่เป็นการนำไม้จันทน์มาทำหีบศพ ใช้เป็นฟืนในการ ฌาปนกิจศพเพื่อกลบกลิ่น และยังมีการนำไม้จันทน์มาสร้างเป็นโกศสำหรับบรรจุศพของเจ้านายชั้นสูงอีกด้วย

2.เลี้ยงกุ้ง

นาย วธัญญู พวงทอง อายุ 23 ที่อยู่ 76/2 ม.4 ต.ท่าพระยา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีความรู้ด้านการเลี้ยงกุ้งขาว 

การเลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่น้ำจืดและในพื้นที่ภาคกลาง ส่วนใหญ่จะเลี้ยงโดยใช้น้ำความเค็มต่ำ ภิญโญ (2545) อธิบายถึงรายละเอียดวิธีการเลี้ยงกุ้งขาว ตั้งแต่การเตรียมบ่อ การให้อาหาร ตลอดจนการจัดการในระหว่างการเลี้ยง โดยใช้น้ำความเค็มต่ำมากจนเกือบจะเป็นระดับที่ถือว่าเป็นน้ำจืด โดยทั่วไปเกษตรกรจะซื้อน้ำเค็มความเข้มข้นสูงจากนาเกลือใส่รถบรรทุกน้ำคันละประมาณ 12-13 ตัน ความเค็ม 100-200 พีพีที มาเติมในน้ำจืดเพื่อให้ได้ความเค็มประมาณ 3-4 พีพีที ส่วนใหญ่จะกั้นคอกก่อน มีการกั้นคอกโดยใช้ผ้าพลาสติกพื้นที่ประมาณ 150 ตารางเมตร ความลึกประมาณ 80 เซนติเมตร แล้วมีเติมน้ำจากนาเกลือเข้าไปในคอกจนได้ความเค็มประมาณ 8-10 พีพีที หลังจากนั้นก็จะใช้ลูกกุ้งซึ่งปรับความเค็มจากโรงเพาะฟักมาแล้วโดยลูกกุ้งขาวระยะโพสลาร์วา 10-12 (พี 10-12) มาปล่อยในคอก อนุบาลในคอกประมาณ 3-4 วันก็เปิดคอกออกมา จะอนุบาลในคอกไม่นาน เนื่องจากกุ้งขาวจะกินอาหารเก่ง และว่ายน้ำตลอดเวลาเพราะฉะนั้นจะไม่นิยมอนุบาลนานเกินไป เพราะอาจจะมีการกินกันเอง

3.การทำขนมจีน

ขนมจีนแม่อุดม โรง 1 วัดน้อยเจริญสุข ตำบลท่าพระยา  อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม

ขนมจีน เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่แปรรูปมาจากแป้งธรรมชาติในรูปของเส้นแป้งสุก สีขาว ขนาดเล็ก มีความนุ่ม ลื่น นิยมใช้รับประทานแทนข้าวคู่กับน้ำยาขนมจีนชนิดต่างๆหรือรับประทานคู่กับอาหารอื่นๆ เช่น ส้มตำ และเมนูยำต่างๆการแปรรูปขนมจีน ถือเป็นภูมิปัญญาในการแปรรูปแป้งของคนไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยก่อนนิยมใช้เป็นอาหารต้อนรับแขกในงานบุญต่างๆที่ขาดเสียมิได้ จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังใช้เป็นอาหารอย่างหนึ่งสำหรับทุกเทศกาลงานบุญต่างๆ รวมถึงกลายเป็นอาหารที่นิยมรับประทานแทนข้าวได้ทุกเมื่อ

4.บายศรี

นายนิวัติ ชื่นชมน้อย อายุ 23 ปี ที่อยู่ 42/9 ม.4 ต.ท่าพระยา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีความรู้การทำบายศรี 

บายศรี เป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าของคนไทย ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่เกิดจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่างๆ ซึ่งจะต้อง มีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้นๆ ซึ่งเป็นศาสนาพิธีของพราหมณ์ คำว่า บาย ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับ ภาษาบาลี ว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ คำว่า “ บายศรี ” แปลว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่ น่าสัมผัสกับความดีงาม (ความหมายของชาวอีสาน)

5.การเลี้ยงกบ

นายศรายุธร นาแก้ว ที่อยู่ 55/7 ม.4 ต.ท่าพระยา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีความรู้ด้านการเลี้ยงและเพาะกบ 
 

กบนา เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ใช้เวลา น้อย ดูแลรักษาค่อนข้างง่าย และจ้าหน่ายได้ราคากบนาจึง เป็นผลผลิตที่เกษตรกรของไทยควรพิจารณาเลี้ยงเพื่อจำหน่ายให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันกบนาในธรรมชาติมีปริมาณลดน้อยลงอย่างมาก เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยถูกเปลี่ยนแปลงจากมนุษย์กบนาถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการจะใช้เวลา เลี้ยงเพียง 4 – 5 เดือน จะได้กบขนาด 4 – 5 ตัว/กิโลกรัม


 

2. ข้อมูลสะท้อนคุณลักษณะองค์กร 

ภาพที่1 สำนักงานตำบลท่าพระยา

ตำบลท่าพระยา เดิมชื่อตำบลบ้านกวย เนื่องจากประชากรดั้งเดิมของตำบลท่าพระยานั้น เป็นชาวภาคอีสาน ซึ่งนำโดยนายกวย ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณแห่งนี้เนื่องจากเห็นว่าเป็นที่ราบลุ่ม มีป่าอุดมสมบูรณ์ และต่อมานายกวย ได้กลายเป็นบุคคลสำคัญของชุมชน เพราะเป็นผู้มีความรู้เป็นหมอกลางบ้านและได้ให้การรักษาโรคต่าง ๆ แก่คนในหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือ และพร้อมใจกันเรียกชื่อท้องถิ่นแห่งนี้ว่า "ตำบลบ้านกวย" ต่อมาทางราชการเห็นว่า จากสภาพเดิมทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของตำบลซึ่งเดิมตั้งอยู่ชายทะเล มีอ่าวใหญ่เรียกว่า "อ่าวท่าพระยา" และมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้นั่งเรือมาขึ้นบกที่อ่าวท่าพระยานี้  เพื่อสร้างพลับพลาและเพนียดคล้องช้าง ทางราชการจึงเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อของตำบล ให้เหมาะสมกับสภาพทางภูมิศาสตร์และความเป็นมา โดยให้เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลท่าพระยาจนถึงปัจจุบัน และจากประวัติความเป็นมาที่มีเจ้าพระยานั่งเรือมาขึ้นบกที่อ่าวท่าพระยา ณ บ้านท่าพระยานี้ ได้กลายเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระยาในปัจจุบัน

ตราสัญลักษณ์ ตำบลท่าพระยา

 

2.1 ผู้บริหารและคณะทำงาน 

นายนิกร ระวังงาน

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระยา

นายอานัน นาคจีนวงษ์

รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระยา คนที่1 

นายองอาจ หว่างตาล

รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระยา คนที่2

โครงสร้างหน่วยงาน โครงสร้างการบริหารส่วนตำบลท่าพระยา รายละเอียดดังรูปภาพ

2.2 วิสัยทัศน์

“ให้บริการด้วยใจ ใส่ใจการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ

1. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. พัฒนาและส่งเสริมการมีรายได้ของประชาชน

3. ส่งเสริมการสาธารณสุข กีฬา นันทนาการ สวัสดิการสังคม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

4. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

5. พัฒนาการบริหารจัดการที่ดีและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

6. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

3. แผนที่สถานที่สำคัญของตำบทท่าพระยา

รูปภาพที่ 1 แผนที่ตำแหน่งตำบทท่าพระยา

รูปภาพที่ 2 แผนที่ระบบการศึกษาในตำบลท่าพระยา

รูปภาพที่ 3 แผนที่ระบบทรัพยากรธรรมชาติแหล่งน้ำในตำบลท่าพระยา

รูปภาพที่ 4 แผนที่ระบบพาณิชย์ด้านกลุ่มอาชีพและร้านค้าในตำบลท่าพระยา

รูปภาพที่ 5 แผนที่ระบบศาสนาในตำบทท่าพระยา

รูปภาพที่ 6 แผนที่ระบบสาธารณสุขในตำบลท่าพระยา

รูปภาพที่ 7 แผนที่ระบบอุตสาหกรรมในตำบลท่าพระยา

รูปภาพที่ 8 แผนที่สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนในตำบลท่าพระยา

4. ความโดดเด่นของตำบทท่าพระยา

1. เพื่อส่งเสริมการศึกษา ศาสนาควบคู่กับการมีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณี วัฒนธรรม

2. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการมีรายได้ของประชาชน

3. เพื่อส่งเสริมการสาธารณสุข กีฬา นันทนาการ สวัสดิการสังคม และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

4. เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการท่องเที่ยว

5. เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม

6.เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐาน

อ้างอิง

http://www.thaphraya.go.th/site/index.php?option=com_content&view=article&id=15&Itemid=67

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 700940เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2022 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2022 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท