ข้อมูลเพื่อการพัฒนาองค์กรบริหารส่วนตำบลลำพยา อำเภอ เมือง จังหวัด นครปฐม


องค์กรบริหารส่วนตำบลลำพยา อำเภอ เมือง จังหวัด นครปฐม

ภาพที่ 1 แผนที่ตำบลลำพยา อำเภอ เมือง จังหวัด นครปฐม

1.) ข้อมูลสะท้อนคุณลักษณะตำบล

            1.1 ประวัติความเป็นมาของตำบล

ในสมัยรัชกาลที่6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มาตั้งกองลูกเสือที่พระราชวังสนามจันทร์เดิมตำบลำพยามีพื้นที่เป็นลำรางคล้ายคลอง และพระองค์เสด็จผ่านไปคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และมีหนองน้ำาซึ่งเชื่อกันว่าหนองประพาสจนทุกวันนี้ปัจจุบันเรียกว่าทุ่งประพาส เดิมตำบลลำพยาเขียนว่า ''ลำพญา'' สมัยจมพลแปลกได้ตัดพยัญชนะไทยต่างๆลงเหลือ "ย" ตัวเดียวจึงเป็น "ลำพยา" และที่เรียกว่าลำพยา เพราะเจ้าขุนมูลนายต่างๆเสด็จผ่านลำราง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลอง ชาวบ้านจึงเรียกตำบลนี้ว่าลำพยา มาถึงทุกวันนี้

            1.2 ลักษณะทางกายภาพ

ตำบลลำพยาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองนครปฐม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐมระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตรตั้งอยู่ที่ 58/2 หมู่ที่ 4 ต.ลำพยา อ.เมืองนครปฐม   จ.นครปฐมองค์การบริหารส่วนตำบลลำพยามีเนื้อที่ในเขตความรับผิดชอบทั้งหมด 2,917 ไร่ หรือ 4.76ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเทศบาล และตำบลข้างเคียง ดังนี้

 

 

ที่ตั้ง

ทิศเหนือ                        ติดต่อกับ                        ตำบลหนองปากโลง

ทิศใต้                            ติดต่อกับ                        ตำบลบางแขม และตำบลวังเย็น

ทิศตะวันออก                  ติดต่อกับ                        เทศบาลนครนครปฐม

ทิศตะวันตก                    ติดต่อกับ                        เทศบาลตำบลโพรงมะเดื่อ และตำบลหนองดินแดง

            1.3 ลักษณะภูมิประเทศ

            องค์การบริหารส่วนตำบลลำพยา มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มภาคกลาง ไม่มีป่าไม้ และภูเขา

            1.4 ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศตำบลสามควายเผือก แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ

1. ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม อากาศร้อนจัดในเดือนเมษายนอุณหภูมิสูงสุด

2. ฤดูฝน อยู่ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุก ในเดือนพฤษภาคม และ

เดือนกันยายนปริมาณน้ำฝนบางแห่งอยู่ในเกณฑ์ดี

3. ฤดูหนาวอยู่ในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศจะหนาวในเดือนธันวาคม

            1.5 ลักษณะของที่ดิน 

ลักษณะดินในพื้นที่ตำบลลำพยาเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำค่อนข้างดีสำหรับเหมาะแก่การเกษตรปลูกพืชผักต่างๆ และดินเหนียวที่มีการระบายน้ำได้น้อยกว่า

            1.6 การปกครองระดับหมู่บ้าน

ตำบลลำพยาแบ่งการปกครองในเขตอบต. 

 

            

            1.7 ครัวเรือนและประชากร

ตำบลลำพยาแบ่งออกเป็น 8 หมู่บ้าน ซึ่งมีประชากรในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วน

ตำบลลำพยาทั้งสิ้น 8,249 คน แยกเป็นชาย 3,899 คน หญิง 4,350 คน จำนวน 4,155 ครัวเรือน ดังนี้

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน

ชาย

(คน)

หญิง

(คน)

จำนวนประชากร

ครัวเรือน

(ครัวเรือน)

2 บ้านลำพยา 308 350 658 437
3 บ้านลำพยา 185 239 424 194
4 บ้านลำพยา 1,036 1,198 2,234 1,323
5 บ้านหนองหิน 670 777 1,447 889
6 บ้านพลับ 409 455 864 274
7 บ้านรางยอ 247 250 497 223
8 บ้านหนองจอก 562 570 1,132 350
9 บ้านเจริญดี 482 511 993 465
รวม 3,899 4,350 8,249 4,155

 

            1.8 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

ช่วงอายุในตำบลลำพยาที่มากที่สุด 41-50 ปี จำนวน 1421 คน รองลงมา 31-40 ปี จำนวน 1388 คน ส่วนช่วงอายุที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ ช่วงอายุ แรกเกิด-10 ปี จำนวน 956 คน มีรายละเอียดดังตารางดีงนี้

1.9   ระบบการศึกษา

โรงเรียนในพื้นที่ คือโรงเรียนบ้านหนองหิน (ระดับชั้นอนุบาล-ประถมศึกษา)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1

            1.10 ระบบสาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 1 แห่ง คือ อนามัยลำพยา

1.11 ระบบเศรษฐกิจ

ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้าง และประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น รับราชการค้าขาย

หมู่ที่ พื้นทั้งหมด (ไร่) พื้นที่การเกษตร(ไร่)
หมู่ที่ 2 300 30
หมู่ที่ 3 211 30
หมู่ที่ 4 400 70
หมู่ที่ 5 414 20
หมู่ที่ 6 315 5
หมู่ที่ 7 300 20
หมู่ที่ 8 576 20
หมู่ที่ 9 400 50
รวม 2,917 245

 

            1.12 ระบบพานิชย์และกลุ่มอาชีพ

ระบบพานิชย์ตำบลลำพยา ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย ร้านขายอาหาร รองลงมาคือขายของชำ และ เสริมความงาม รายละเอียดดังนี้ 

            1.13 ระบบอุตสาหกรรม

ระบบอุตสาหกรรมของตำบลลำพยา ระบบอุตสาหกรรมจะมีหลากหลายประเภทเช่น โรงงาน สำนักงาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บริษัท มีรายละเอียดดังนี้

            1.14 ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสถานที่ท่องเที่ยวชุมชน

มีคลองชลประธาน 3 แห่ง

1.15 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา

การนับถือศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีวัดลำพยาสุทธาราม หมู่ที่ 5 รวมทั้งศาลเจ้าต่างๆ ในตำบล จำนวน 6 แห่ง ดังนี้

1ศาลเจ้าเทียงซี่เนี้ยว หมู่ 4

2.ศาลเจ้าแปะกง หมู่ 4

3.ศาลเจ้าส่องแสงฟ้าดิน หมู่ 5

4.ศาลเจ้าพ่อสิงห์หารสายฟ้าแลบ หมู่ 6

5.ศาลเจ้าพ่อหลักตอ หมู่ 8

6.ศาลเจ้าซำอ้วง หมู่ 9

1.16 ด้านประเพณี วัฒนธรรม

มีการจัดกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ

1.17 ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และภาษาถิ่น

มีการทำการเกษตรมีการปลูกผัก ภาษาถิ่น ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยและมีภาษาพม่าเป็นบางส่วน

2.) ข้อมูนสะท้อนคุณลักษณะองค์กรบริหารส่วนตำบลลำพยา อำเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม

            2.2 ความเป็นมาและการก่อตั้ง

ตามกระทรวงมหาดไทย จัดตั้งองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2538 โดยประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนพิเศษ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2538 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ประวัติความมเป็นมา ตำบลลำพยาในสมัยรัชกาลที่6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มาตั้งกองลูกเสือที่พระราชวังสนามจันทร์เดิมตำบลำพยามีพื้นที่เป็นลำรางคล้ายคลอง และพระองค์เสด็จผ่านไปคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และมีหนองน้ำาซึ่งเชื่อกันว่าหนองประพาสจนทุกวันนี้ปัจจุบันเรียกว่าทุ่งประพาส เดิมตำบลลำพยาเขียนว่า ''ลำพญา'' สมัยจมพลแปลกได้ตัดพยัญชนะไทยต่างๆลงเหลือ "ย" ตัวเดียวจึงเป็น "ลำพยา" และที่เรียกว่าลำพยา เพราะเจ้าขุนมูลนายต่างๆเสด็จผ่านลำราง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลอง ชาวบ้านจึงเรียกตำบลนี้ว่าลำพยา มาถึงทุกวันนี้

 

ภาพที่ 2 ตราสัญลักษณ์องค์กรบริหารส่วนตำบลลำพยา อำเภอ เมือง จังหวัดนครปฐม

            

            2.2 คณะผู้บริหาร

     นาย นิพนธ์ ณัฐวุฒิ                             นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำพยา

     นาย วรสิทธิ์ เปล่งเจริญศิริชัย                รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำพยา

     นาย สุเนตร ทิมทับ                             รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำพยา

     นาย โชติ จารุทิกร                               เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำพยา

            2.3 โครงสร้างหน่วยงาน

นาย นิพนธ์ ณัฐวุฒิ                      นายก อบต.ลำพยา

นาย วรสิทธิ์ เปล่งเจริญศิริชัย        รองนายก อบต.ลำพยา

นาย สุเนตร ทิมทับ                      รองนายก อบต.ลำพยา

นาย โชติ จารุทิกร                       เลขานุการนายก อบต.ลำพยา

นาย ศักดิ์ศิลป์ กิตติวงศ์ภักดี          ปลัด อบต.ลำพยา

นาย อนุกูล พรวรรณะศิริเวช         หัวหน้าสำนักปลัดฯ

น.ส. สมใจ เสรีรัตนเกียรต            ผู้อำนวยการกองคลัง

นาย ศิริรัตน์ ชูอำนาจ                   ผู้อำนวยการกองช่าง

นาย อนุกูล พรวรรณะศิริเวช         หัวหน้าสำนักปลัดฯรักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและ                              สิ่งแวดล้อม   

            2.4   วิสัยทัศน์

  ตำบลน่าอยู่                               ประชาชนน่ารัก                          การคมนาคมสะดวก

  สิ่งแวดล้อมสดใส                      ใส่ใจคุณภาพชีวิต                        เศรษฐกิจดี 

โดยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์

1. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

วิสัยทัศน์ประเทศคือ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่นคง ยั่งยืน  เป็นประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประเทศชาติมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติ เก่งและมีคุณภาพสร้างโอกาสและความเสมอภาค สร้างความเติบโตคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวมโดยการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติประกอบด้วย

  1) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย

  2) ขีดความสามารถในการแข่งขันการพัฒนาเศรษฐกิจและกระจายรายได้

  3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

  4) ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคง

  5) ความหลากหลายทางชีวภาพคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ

  6) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ

2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่งคง

มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสิ่งที่สำคัญ คือ ประเทศมั่งคง ประชาชนมีความสุขเน้นการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของประเทศให้มั่นคง ปลอดภัย เอกราช อธิปไตร และมีความสงบเรียบร้อยในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติ สังคม ชุมชน เน้นการพัฒนาคน เครืองมือเทคโนโลยี และระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้มีความพร้อมสามารถรับมีกับภัยพิบัติได้ทุกรูปแบบ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ประกบอด้วย 5 ประเด็นได้แก่

  1) การรักษาความสงบในประเทศเพื่อเริมสร้างความสงบเรียบร้อยและสันติสุขให้เกิดขึ้น

  2 )การป้องกันและแก่ไขปัญหาที่มีผลต่อความมั่นคง เพื่อแก่ไขปัญหาเดิมและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใหม่

  3) การพัฒนาศักยภาพของประเทศให้พร้อมเผชิญกับภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

  4) การบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนและนานาชาติรวมถึงองค์กรภาครัฐและที่ไม่ใช้ ภาครัฐเพื่อสร้างความสงบสุขสันติสุขความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติภูมิภาคและโลกอย่างยั่งยืน

  5) การพัฒนากลไกลการบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม เพื่อให้กลไกลสำคัญต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการใช้หลักธรรมาภิบาลและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

3.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นด้านศักยภาพของประเทศในหลายมิติบนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่

  1) การต่อยอดอดีต โดยมองกับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ ประเพณี วิถีชีวิต มาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่

  2) ปรับปรุงปัจจุบัน เพื่อปูทางสู่อนาคตผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่างๆทั้งระบบขนส่งและขมนาคมโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและดิจิทัลและปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการในอนาคต

  3) สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต ด้วนการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการพัฒนาคนรุ่นใหม่รวมถึงปรับปรุงรูปแบบธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดผสมผสานกับยุทธศาสตร์ที่รองรับอนาคตบนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปัจจุบันพร้อมส่งเสริมภาครัฐให้สามารถสร้างรายได้และจ้างงานใหม่ขยายโอกาศทางการค้าและการลงทุน

 

ความสามารถในการแช่งขันมี 5 ประเด็นได้แก่

  1) การเกษตรสร้างคุณค่า

  2) อุตสาหกรรมและการบริการแห่งอนาคต

  3) สร้างความหลากหลายทางการท่องเที่ยว

  4) โครงสร้างพื้นฐานเชื่อไทยเชื่อโลก

  5) พัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่

4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนทุกมิติและในช่วงวัยให้เป็นคนดีคนเก่งและมีคุณภาพโดยมีความพร้อมทั้งการใจสติปัญญามีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่นเป็นพลเมืองดีของชาติมีหลักคิดที่ถูกต้องยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย 7 ประเด็นดังนี้

  1) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม

  2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต

  3) ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบตนองต่อการเปลี่ยนแปลงใน ศตวรรษที่ 21

  4) การตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย

  5) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีคลอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ สติปัญญา และสังคม

  6) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

  7) การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ

 

หมายเลขบันทึก: 700557เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2022 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2022 04:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท