ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้


 

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจระเข้ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

 

ภาพที่ 1 แผนที่ตำบลห้วยจรเข้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลคุณลักษณะตำบลห้วยจระเข้

          1.1 ประวัติความเป็นมาของตำบลห้วยจรเข้

            แต่ดั่งเดิมมาตำบลห้วยจรเข้มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาคนพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและทำสวนซึ่งตำบลห้วยจรเข้จะมีคลองน้ำไหลผ่านโดยมีต้นน้ำไหลมาจากจังหวัดกาญจนบุรีจึงทำให้พื้นที่ตำบลห้วยจรเข้อุดมสมบูรณ์มีสัตว์น้ำตามธรรมชาติจำนวนมาก รวมถึงมีจรเข้ชุกชุมจนมีการตั้งชื่อคลองน้ำดังกล่าวว่าคลองจรเข้น้อย ต่อมามีการแบ่งเขตการปกครองและปัจจุบันได้ตั้งชื่อคลองน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่ตำบลห้วยจรเข้ขึ้นใหม่โดยใช้ชื่อ คลองชัยพฤกษ์  ซึ่งจะเชื่อมต่อกับคลองจรเข้น้อย โดยตำบลห้วยจรเข้ในอดีตมี 7 หมู่บ้าน แต่หมู่ที่ 2 เข้าเขตเทศบาลจึงทำให้ในปัจจุบันเหลือเพียง6หมู่บ้านได้แก่หมู่บ้านไผ่เตยหมู่บ้านทุ่งอีซ่วย หมู่บ้านสวนผักหมู่บ้านสวนใหม่ หมู่บ้านโคกมะขาม หมู่บ้านหลังวัดใหญ่

1.2พื้นที่และขอบเขต

            องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่เลขที่ 99/1 หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อยู่ทิศใต้ของอำเภอเมืองนครปฐม ห่างจากตัวอำเภอนครปฐม 3 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลาง 5 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทาง 64 กิโลเมตร พื้นที่ 4.40 ตารางกิโลเมตร หรือ 2750 ไร่        

ทิศเหนือ            ติดต่อกับ          เทศบาลนครปฐม

ทิศใต้                ติดต่อกับ          ตำบลถนนขาดและตำบลสนามจันทร์

ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ           ตำบลพระประโทนและตำบลถนนขาด

ทิศตะวันตก       ติดต่อกับ           ตำบลสนามจันทร์

1.3 ลักษณะทางกายภายและภูมิอากาศ

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้ มีสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบกลุ่ม มีคลองชลประทานไหลผ่านหมู่บ้านมีแหล่งน้ำธรรมชาติเหมาะกับการทำการเกษตร เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งการค้า มี 3 ฤดูกาล (ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว)

ลักษณะอากาศของพื้นที่จังหวัดนครปฐมขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพามวลอากาศกาศเย็นและแห้ง จากประเทศจีนมาปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ทำให้จังหวัดนครปฐมมีอากาสหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไปกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะพัดพามวลอากาศขึ้นจากทะเลและมหาสมุทรปกครองประเทศไทยในช่วงฤดูฝน ทำให้จังหวัดนครปฐมมีฝนตกทั่วไป

ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่มีคุณสมบัติเย็นและแห้งจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยในช่วงนี้แต่เนื่องจากจังหวัดนครปฐมอยู่ในภาคกลางอิทธิพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมในช่วงฤดูหนาวจะช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีอากาศหนาวเย็นช้ากว่าสองภาคดังกล่าว โดยเริ่มมีอากาศหนาวประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป

ฤดูร้อนเริ่มเมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือสิ้นสุดลงคือประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมในระยะนี้จะมีหย่อมกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไปโดยเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมากที่สุดในรอบปี จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 – 39.9 องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ 40องศาเซลเซียสขึ้นไป

ฤดูฝนเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคกลางและภาคเหนือเป็นลำดับในระยะนี้ทำให้มีฝนตกชุกขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเดือนที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในรอบปีและเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง คือ เดือนกันยายน

1.4 ลักษณะดิน

            ลักษณะของที่ดินในพื้นที่ตำบลห้วยจรเข้เป็นลักษณะตะกอนน้ำพามาทับถมบนที่ราบตะกอนน้ำพา หรือ ตะพักลำน้ำ เป็นดินลึก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนี่ยวปนทรายแป้ง หรือ ดินร่วนปนดินเหนี่ยว มีสีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาลเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย (PH 5.0.-6.5) ดินตอนล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนี่ยวหรือดินร่วนปนดินเหนียว สีน้ำตาลปนเทาเข้ม มีจุดสีน้ำตาลแก่ หรือ สีน้ำตาลปนเหลืองในดินบนและดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง (PH 6.5-8.0) ดินล่างตอนล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลปนเทาเข้มถึงน้ำตาลเข้ม มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง และจะพบมวลก้อนกลมของเหล็กและแมงกานีสปะปนอยู่ พบมวลก้อนกลมของเหล็กและแมงกานีสปะปนอยู่ พบมวลก้อนกลมของปูนในดินร่างในระดับความลึก 80 ซม. จากผิวดินลงไป ปฏิกิริยาดินเป็นด่างปานกลาง (pH8.0)

1.5 การเมือง/การปกครอง

         องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดตั้งหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีทั้งหมด 6 หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านมีกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหมู่บ้าน ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ปัญหาคือการแข่งขันทางการเมืองค่อนข้างสูง มีจุดที่น่าสังเกตคือ มีการย้ายเข้า ย้ายออกช่วงที่จะมีการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกผู้ใหญ่บ้านสมาชิกสภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะการคัดเลือกผู้ใหญ่บ้าน การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบล คือ ขอความร่วมมือ ผู้นำ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ระมัดระวัง สอดส่องพฤติกรรมและให้รายงานอำเภอทราบ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับข้อกฎหมายของการเลือกตั้งที่กระทำได้และทำไม่ได้ให้ประชาชนได้รับทราบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลก็ได้พยายามแก้ไข โดยเรื่องจากการประชุมประชาคมท้องถิ่นทุกชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล จากผลการประชุมทุกครั้งที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดขึ้นมีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินงานตามความต้องการของประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดโครงการอบรมศึกษาดูงานของคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล กลุ่มสตรีและโครงการอื่นๆ สำหรับประชาชนอีกหลายโครงการ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลให้เจริญเท่าเทียมกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นๆ และองค์การบริหารส่วนตำบลมีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โครงการบางโครงการต้องระงับไว้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ มีอัตรากำลังพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลจำกัด ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านบริการ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งเขตการปกครอง ดังนี้

1.6 การปกครองระดับหมู่บ้าน

          ตำบลห้วยจรเข้ แบ่งเขตการปกครองระดับหมู่บ้านเป็น 6 หมู่บ้าน และมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่บ้านต่างๆดังนี้

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน
1 บ้านไผ่เตย นายณัฐ วิบุลศิลป์ (กำนัน)
3 บ้านทุ่งอีซ่วย นายธีรพงศ์  ชาวนาฟาง
4 บ้านสวนผัก นายพรเชษฐ์   สันติภาพชัย
5 บ้านสวนใหม่ นางสาวพรทวี ค้าทวี
6 บ้านโคกมะขาม นายนพฤทธิ์ นิมิตโภคานันท์
7 บ้านหลังวัดใหญ่ นางทิพวรรณ ใจดี

1.7 ครัวเรือนและประชากร

หมู่บ้านในตำบลห้วยจระเข้มีทั้งสิ้น1090ครัวเรือน โดยมีรายละเอียดดังตารางดังนี้

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ประชากร รวม
ชาย หญิง
1 บ้านไผ่เตย 0 246 251 497
3 บ้านทุ่งอีซ่วย 0 1007 1117 2124
4 บ้านสวนผัก 0 161 169 330
5 บ้านสวนใหม่ 0 238 268 506
6 บ้านโคกมะขาม 0 562 570 1132
7 บ้านหลังวัดใหญ่ 0 197 215 412
  รวมทั้งสิ้น 1,090 2411 2590 5001

1.8 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

            ช่วงอายุในตำบลห้วยจรเข้ที่มากที่สุด 18-60 ปี จำนวน 3193 คน รองลงมา 0-18 ปี จำนวน 1038 คน ส่วนช่วงอายุที่มีประชากรน้อยที่สุดคือ ช่วงอายุ 60 ปี จำนวน 770 คน มีรายละเอียดดังตารางดีงนี้

ช่วงอายุ ชาย(คน) หญิง(คน) รวม หมายเหตุ
0-18 ปี 552 486 1038 อายุต่ำกว่า18 ปี
18-60 ปี 1553 1640 3193 อายุ18-60 ปี
60 ปี 306 2590 770 อายุมากกว่า 60 ปี
รวมทั้งสิ้น 2411 2590 5001  

1.9 ระบบการศึกษา

            ระบบการศึกษาของตำบลห้วยจรเข้ ประกอบด้วย 1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) โรงเรียนช่างสำรวจนครปฐมเทคโนโลยี 3)โรงเรียนเทศบาล5 รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง มีรายละเอียดดังนี้

1.10 ระบบสาธารณสุข

            ระบบสาธารณสุขของตำบลห้วยจรเข้ ประกอบด้วย 1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 1 แห่ง 2)สมาคมผู้สูงอายุตำบลห้วยจระเข้ 1 แห่ง  รายละเอียดดังนี้

1.11 ระบบเศรษฐกิจ

            ระบบเศรษฐกิจของตำบลสามเรือน ประกอบด้วย

ประเภท/อาชีพ ร้อยละ/ของพื้นที่
อาชีพเกษตรกรรม 5%
อาชีพรับจ้าง 70%
อาชีพค้าขาย 20%
อาชีพเลี้ยงสัตว์ 5%

1.12 ระบบพานิชย์และกลุ่มอาชีพ

            ระบบพาณิชย์ตำบลห้วยจรเข้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยร้านค้า ร้านประเภทอาหารจำนวน 36 ร้าน รองลงมาคือร้านกาแฟ 9 ร้านและร้านค้า 5 ร้าน รองลงมาบริการที่พัก ร้านขายขิงชำ ร้านเบเกอรี่ ร้านเสริมสวย ร้านนวดแผนไทย ตลาดนัด ร้านรองเท้า รายละเอียดดังตาราง

1.13 ระบบอุตสาหกรรม

            ระบบอุตสาหกรรมของตำบลห้วยจรเข้ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโรงงานประเภท ส่งออก-และผลิต จำนวนทั้งหมด 25 แห่ง รองลงมาคือโรงงานประเภท โรงน้ำแข็ง โรงกลึ่ง ตัดผ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รายละเอียดดังตาราง

1.14 ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสถานที่ท่องเที่ยวชุมชน

     ประเภทแหล่งน้ำ

          แหล่งน้ำของตำบลห้วยจรเข้ ส่วนใหญ่ประกอบ คลองชลประทาน จำนวน 1 สาย รายละเอียดดังตาราง

1.15 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา 

ด้านศาสนา    

          ประชากรของตำบลห้วยจรเข้ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 100 (ไม่มีวัด)

แห่งที่ ศาสนาสถาน/สถานที่สำคัญ ตั้งอยู่หมู่บ้าน พิกัด(GPS)
1 วัดพุทธ - -

1.16 การท่องเที่ยว

            ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ การจัดสร้างสวนสาธารณะสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ

1.17 ด้านประเพณี วัฒนธรรม

1.ประเพณีสงกราน เดือนเมษายน ของทุกปี

2.ประเพณีถวายเทียนเข้าพรรษา ประมานเดือนกรกฎาคม ของทุกปี

3.ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี

1.18ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และภาษาถิ่น

มีการทำการเกษตรมีการปลูกข้าว ภาษาถิ่น  ส่วนมากร้อยละ 99% พูดภาษาไทย

ส่วนที่ 2 ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้

          2.1 ความเป็นมาและการก่อตั้ง

            ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโดยที่มาตรา 40 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 บัญญัติให้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลและให้โอนบรรดางบประมาณทรัพย์สินสิทธิสิทธิเรียกร้องหนี้และเจ้าหน้าที่ของสภาตำบลไปเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงให้สภาตำบลต่อไปนี้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโดยให้มีชื่อตามตำบลที่องค์การบริหารส่วนตำบลนั้นตั้งอยู่คือ (453) สภาตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้  ตั้งอยู่เลขที่ 99/1 หมู่ที่ 3ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณี 73000

ตราสัญลักษณ์ หมายถึง มีจระเข้ชุกชุมจนมีการตั้งชื่อว่าห้วยจรเข้

2.2 คณะผู้บริหาร

1.นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้

2.รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้

3.ช่องทางการติดต่อผู้บริหาร

2.3 โครงสร้างหน่วยงาน

1.โครงสร้างการบริหารส่วนราชการอบต.ห้วยจรเข้

2.ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยจรเข้

3.หัวหน้าสำนักปลัด

4.ผู้อำนวยการกองคลัง

5.ผู้อำนวยการกองช่าง

6.ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

2.4 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และยุทธศาสตร์องค์กร

            ตำบลหน้าอยู่ เทคโนโลยีก้าวหน้า การศึกษาดี มีคุณธรรม นำพัฒนาท้องถิ่นยังยื่น

เป้าประสงค์

1.ประชาชนและชุมชนมีความเข้มแข็งมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความยังยื่น

2.ประชาชนมีความรู้และบำรุงรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม

3.ประชาชนมีศักยภาพมีรายได้เพียงพอสามารถพึ่งตนเองได้

4.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและพลังมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

5.การบริหารจัดการจากภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่าวทุกภาคส่วน

6.ด้านการจัดระเบียบสังคมและการรักษาความสงบทำให้ชุมชนหน้าอย่างสงบทุก

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านบริการสาธารณะ

1.พัฒนาเส้นทางคมนาคมโดยจำกัดทำถนน พร้อมท่อระบายน้ำ ภายในตำบลให้ครบทุกที่หมู่บ้านเพื่อให้ราษฎรได้สัญจรไปมาอย่างสะดวก

2.ติดตั้งและซ่อมระบบไฟฟ้าสาธารณะภายในตำบล

3.พัฒนาแหล่งน้ำ ระบบประปาหมู่บ้านและบำรุงรักษา แหล่งน้ำให้ประชาชนได้ใช้ในการอุปโภคและการใช้งานในการเกษตร

2.5 พื้นที่ทำโครงการ

1. โครงการก่อสร้างถนน คสล.และว่างท่อระบบน้ำ คสล.ขนาด 0.60 เมตรหมู่ที่6

2. โครงการปรับปรุง-ซ่อมแซม ถนน คสล. หมู่ที่7

3. โครงการปรับถนน คสล. พร้อมว่างท่อระบบน้ำในถนนสายโคกมะขาม-บ้านคันลำ หมู่ที่6

4. โครงการเปลี่ยนท่อเมนประปา PVC ในเขตตำบลห้วยจระเข้

5. โครงการปรับปรุงท่อระบบน้ำ คสล. หมู่ที่ 5

6. โครงการก่อสร้างถนนหินคลุก-ลูกรังพร้อมบดอัด หมู่ที่6

7. โครงการถมดินทางเข้าออก

8. โครงการงานขุดเจาะบ่อบาดาลท่อเหล็ก

2.6 สถานการณ์ปัญหา 

           เนื่องจากถนนบางที่ยังมีการพัฒนาเข้าไปไม่ถึง ถนนพังหรือยังเป็นถนนดินมีหลุมมีน้ำขังในบ้างพื้นที่อาจทำให้ลำบากในการดินทางได้ จึงมีโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาถนนพังให้ดีกว่าเดิมและเดินทางปลอดภัย

อ้างอิง

(อ้างอิง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 9 ง ลงวันที่ 30 มกราคม 2539)
http://huaichorakhe.go.th/about

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 700555เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2022 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2022 04:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท