ข้อมูพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเทศบาลตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม


                                           เทศบาลตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

1. ข้อมูลสะท้อนคุณลักษณตำบล

          เทศบาลเมืองนครปฐมเดิมมีฐานะเป็น สภาตำบลนครปฐม ภายหลังที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สภาตำบลนครปฐมจึงได้รับการจัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

          1.1 ลักษณะทางกายภาพ

          สภาพทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองนครปฐม เป็นพื้นที่ราบลุ่มดินดำเหมาะแก่การเกษตรกรรม เป็นพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท เหมาะแก่การปลูกสร้างที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ทำการเกษตรเพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทานโดยอาศัยแหล่งน้ำในคลองชลประทานที่ไหลผ่านในการทำการเกษตรได้ตลอดปี มีสภาพภูมิอากาศเหมือนกับจังหวัดทั่วไปในภาคกลาง แบ่งเป็น  3  ฤดู  ได้แก่ ฤดูร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน  ฤดูฝนตั้งแต่เดือน พฤษภาคมถึงเดือนกันยายน  และฤดูหนาวตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม พื้นที่เทศบาลตําบลนครปฐมเป็นพื้นที่ราบลุ่มดินดําเหมาะแก่การเกษตรกรรม

          1.2 การปกครอง

          เทศบาลเมืองนครปฐม  ตั้งอยู่ที่เลขที่  117 หมู่ที่ 2  ตำบลนครปฐม   อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม   มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลนครปฐมทั้งตำบล  จำนวน 8  หมู่บ้าน ตำบลนครปฐมมีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน 22.2  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ   13,875  ไร่  มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ทิศเหนือติดต่อกับตำบลตาก้อง และตำบลทัพหลวง ทิศใต้ติดต่อกับเทศบาลนครนครปฐม จังหวัดนครปฐม ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลบ่อพลับ และตำบลมาบแค ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลวังตะกู และตำบลหนองปากโลง ประชากรเทศบาลตำบลนครปฐม มีจำนวนทั้งสิ้น 12,088 คน แยกเป็นประชากรชายจำนวน 5,698 คน ประชากรหญิงจำนวน 6,390 คน มีจำนวนครัวเรือน 5,899 ครัวเรือน แบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน โดยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนครปฐมทุกหมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1      บ้านหุบชบา หมู่ที่ 2 บ้านนาสร้าง หมู่ที่ 3 บ้านปิ่นเกลียว หมู่ที่ 4 บ้านนาข้าวสุก หมู่ที่ 5 บ้านนาขุม หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งเผาเต่า หมู่ที่ 9 บ้านทุ่งน้อย หมู่ที่ 10 บ้านนาหุบ และมีตัวแทนแต่ละหมู่เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลนครปฐม

       

ภาพที่ 1 แผนที่ตำแหน่งหมู่บ้านตำบลนครปฐม

          1.3 บริบททางเศรษฐกิจ

          สภาพเศรษฐกิจของเทศบาลตำบลนครปฐม ในปัจจุบันจะประกอบอาชีพ การเกษตร การประมงน้ำจืด การปศุสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นอาชีพหลักของตำบล 

ภาพที่ 2 แผนที่ตำแหน่งอุตสาหกรรมตำบลนครปฐม

         1.4 บริบททางสังคม

          สังคมในเทศบาลตำบลนครปฐมส่วนใหญ่ เป็นชุมชนดั้งเดิมและชุมชนบ้านจัดสรร ชุมชนดั้งเดิมยังมีระบบเครือญาติที่ช่วยให้วิถีชีวิตของผู้คนและสังคมดำเนินไปอย่างราบรื่นและลดความขัดแย้งด้านต่างๆ  รวมถุงเทศบาลตำบลนครปฐมมีระบบพานิชย์ชุมชนที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน

          ในเทศบาลตำบลนครปฐมไม่มีเหตุอาชญากรรม การลักขโมย และทำลายทรัพย์สินของราชการ การป้องกันอุบัติเหตุโดยติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดที่เป็นสาธารณะ และจุดเสี่ยงต่างๆ สัญญาณไฟ ทางม้าลายหน้าโรงเรียน ป้ายบอกชื่อทางและชื่อซอยในตำบล รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ

ภาพที่ 3 แผนที่ตำแหน่งพานิชย์ชุมชนตำบลนครปฐม

         1.5 บริบททางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

          เทศบาลตำบลนครปฐมมีสถานศึกษาที่อยู่ในความดูแลของ อบต. 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนาสร้าง และโรงเรียนอนุบาลประปานคร อบต.มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนโครงการต่างๆ ของโรงเรียนทั้งทุนทรัพย์ บุคลากร และการเป็นพื้นที่ให้โรงเรียนได้มีโอกาสประชาสัมพันธ์กิจกรรมของนักเรียน 

          ในด้านศาสนา    ประชากรเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ มีวัดในพื้นที่ความดูแลของ อบต. เพียงแห่งเดียวคือวัดปิ่นเกลียว ตามประวัติเล่าว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2396 สร้างโดยเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ในสมัยที่ท่านเป็นนายช่างใหญ่ควบคุมดำเนินการก่อสร้างพระปฐมเจดีย์องค์ใหญ่ ได้สร้างวัดขึ้นในเนื้อที่ดินของท่านแล้วมอบให้เป็นสมบัติของคุณหญิงหนูซึ่งเป็นภริยาของท่านดูแล ต่อมาหม่อมเจ้าหญิงจงกลนีเป็นผู้ดูแลวัดนี้เรื่อยมา จากนั้นวัดอยู่ในความดูแลของชาวบ้านละแวกนั้นเรื่อยมา

ภาพที่ 4 แผนที่ตำแหน่งสถานที่ราชการตำบลนครปฐม

         1.6 บริบทางการเมือง

          นายกอบต.คือ นายณัทพงศ์ ถ้ำเพชร มีวาระการดำรงตำแหน่ง สมัยที่ 2 จำนวนรวม 12 ปี

2.ข้อมูลสะท้อนคุณลักษณะองค์กร

          เทศบาลเมือนนครปฐม เป็นหน่วยงานราชการบริหารงานส่วนท้องถิ่น ที่ยกฐานะการบริหารส่วนตำบลนครปฐม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นเทศบาลเมืองนครปฐม ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2556 ปัจจุบันนายกเทศมนตรีเมืองนครปฐมมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนภานในตำบลนครปฐม ตามมาตรา 48 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และแก้ไขเพิ่มเติม(ถึงฉบับที่13) พ.ศ. 2552

ภาพที่ 5  เทศบาลตำบลนครปฐม

          2.1 ผู้บริหารและคณะทำงาน

          นายกอบต.คือ นายณัทพงศ์ ถ้ำเพชร มีวาระการดำรงตำแหน่ง สมัยที่ 2 จำนวนรวม 12 ปี          

          โครงสร้างการปกครองและการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลลำพยา ประกอบด้วย

          1. สภาเทศบาลตำบล เป็นฝ่ายนิติบัญญัติและควบคุมฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้ง 8 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

          2. คณะผู้บริหาร ทำหน้าที่บริหารกิจการเทศบาลตามกฎหมาย ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน

          3. ส่วนบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย 1) สำนักปลัด 2) กองคลัง  3) กองช่าง  4) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสังกัดอยู่ในสำนักปลัด

          2.2 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา 

          วิสัยทัศน์

          "ชุมชนเมืองน่าอยู่ สาธารณูปโภคพร้อมพลัน สุขภาพดีกันถ้วนหน้า"

          พันธกิจ

          1. พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและ  โครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ

          2. พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาและคุณภาพชีวิต

          3. พัฒนาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

          ยุทธศาสตร์

          ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง

          ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

          ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน

          ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม

          ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

          ยุทธศาสตร์ที่ 6 ได้กับปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

3.ข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชน

      3.1 ความเป็นมาของหมู่บ้าน/ชุมชน

          เทศบาลเมืองนครปฐมเดิมมีฐานะเป็น สภาตำบลนครปฐม ภายหลังที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว สภาตำบลนครปฐมจึงได้รับการจัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

          ต่อมากระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐมมีสภาพเหมาะสม สมควรให้จัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองได้โดยไม่ต้องผ่านการเป็นเทศบาลตำบล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็น เทศบาลเมืองนครปฐม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป

      3.2 ภูมิปัญญา 

         กลุ่มจักรสานพลาสติก

          การจักสานเป็นอาชีพที่ชาวบ้านพรานหารายได้ช่วยจุนเจือครอบครัวในยามที่เสร็จสิ้นจากการทำนา คนในชุมชนรู้จักและมีภูมิปัญญาด้านการจักสานเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ รู้จักการนำหวาย ไม้ไผ่ ก้านลานมาทำตะกร้า กระบุง ชะลอม ผลิตใช้สอยในครัวเรือน สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใช้เอง การจักสานสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในถิ่นฐานเดิม มีผู้ทรงภูมิปัญญาถ่ายทอดองค์ความรู้แบบดั่งเดิม ซึ่งยังไม่มีการพัฒนารูปแบบแต่อย่างใด

          จักสานเป็นผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรือง ประเพณี วัฒนธรรมของพื้นบ้าน มีการสืบทอดเทคนิควิธีการมาหลายช่วงอายุคน ซึ่งมีพื้นฐานการพัฒนาลวดลายในแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นฐานในการออกแบบจากสภาพการดำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา และธรรมชาติที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย 

4.นักปราชญ์ชาวบ้าน / ภูมิปัญญาชาวบ้าน

      1.ภูมิปัญญาชาวบ้านการเลี้ยงวัว

          นายกรกฎ บุญอารีย์ อายุ 30 ปี ประวัติ เริ่มเลี้ยงวัวตั้งแต่อายุ 17 ปี อยู่ที่หมู่6บ้านทุ่งเผาเต่า เริ่มจากการที่พ่อแม่เลี้ยงมาแล้วชอบเลยเลี้ยงมาตลอดจนถึงปัจจุบัน มีประโยชน์หลายอย่าง ขี้วัวเอาไปทำปุ๋ย และยังขายเป็นรายได้หลักและเสริมได้ เลี้ยงไว้พออ้วนถามีลูกค้าชอบ ก็ขายในราคาที่ลูกค้าเสนอมา ประมานเริ่มที่ 40,000-60,000แล้วต่ความพอใจของลูกค้า เลี้ยงด้วยอาหารทั่วไป ส่วนมากจะตัดหญ้าบริเวรตอกวัวรอบๆให้เลี้ยงง่ายๆ เลี้ยงด้วยความรักแล้วจะมีความสุข คุณนายกรกฎ บุญอารีย์ กล่าวไว้

      2.ภูมิปัญญาชาวบ้านการเลี้ยงวัว

          นายผ่อง อายุ 45 ปี เดิมคือชอบวัวตั้งแต่เด็ก ที่บ้านเลี้ยงมาใช้ขี้ทำปุ๋ย กินหญ้าเลี้ยงไว้แก้เหงา และยังเพิ่มรายได้จากการขายขี้วัว “สมัยแรกๆ ที่ผมเริ่มเลี้ยงวัวขุนผมซื้อวัวตัวละ 3,000-4,000 บาท มาเข้าขุน ตอนนั้น วัวยังราคาถูกมาก ไม่เหมือนตอนนี้ ที่ราคาตัวละเกือบ 20,000 บาท สมัยก่อนผมขุนครั้งละประมาณ 30 ตัว เพราะยังมีเรี่ยวแรง มีช่องทางหาทุนก็ขุนได้ครั้งละหลายตัว” นายผ่องเล่าว่า

จากวันนั้นจนวันนี้ที่นายผ่องเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทำวัวขุนมาค่อนชีวิตวันนี้ นายผ่องจึงมีวัวเลี้ยงเอาไว้แค่ 8 ตัว “ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี ที่ผ่านมาไม่ว่าจะอย่างไรก็ไม่เคยเลิกเลี้ยงวัวแม้ว่าแม่บ้านผมจะขอให้เลิกเลี้ยงหลายครั้งผมก็ยังดื้อ” พันธุ์ที่เลี้ยงคือชาร์โรเล่ส์มีวัวขุนอยู่ 4 ตัว ที่เน้นวัวลูกผสมชาร์โรเล่ส์เป็นหลัก หลักการเลือกวัวมาเข้าขุนของนายผ่อง คือ จับวัวเล็ก วัวรุ่นมาเข้าขุนโดยดูที่ราคาด้วยหากราคาอยู่ในช่วง 10,000 ต้นๆ ไม่เกิน 20,000 บาท ก็พิจารณาไว้ก่อน หลังจากนั้นก็มาดูในเรื่องของโครงร่างประกอบกัน เลือกวัวที่มีสันหลังยาว กล้ามเนื้อคอยาว สะโพกใหญ่ เป็นหลักเพราะวัวโครงร่างแบบนี้สามารถเพิ่มน้ำหนักได้ดีเมื่อมาเข้าขุน

      3.ภูมิปัญญาชาวบ้านการเลี้ยงไก่ชน

         นางนันทวรรณ เปี่ยมคล้า อายุ 50 ปี ประวัติ เริ่มจากการลูกชายชอบไก่ออกตีและไก่เป็นที่รู้จักกันขว้างขวางเลยทำให้เกิดอาชีพเลี้ยงไก่ชน ขายลูกเพาะมานาน 10 กว่าปี สร้างรายได้หลักของครอบครัว นางนันนทวรรณเล่าต่ออีกว่า การเลี้ยงไก่ชน สามารถทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักได้  ซึ่งไก่ชนบางสายพันธุ์ที่มีคุณสมบัติพร้อมสามารถขายได้ตั้งแต่ราคา 5,000 บาท ไปจนถึงราคาสูงถึงตัวละ 2.5 แสนบาท  แต่ต้องอาศัยความที่มีใจรักในการเลี้ยงไก่ชน โดยอาจจะเริ่มต้นจากไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ไก่ชนที่นิยมเลี้ยงค่อนข้างแพร่หลายคือ ไก่ชนพันธุ์สีเทาหมาบ้า ซึ่งถือเป็นสายพันธุ์โหด  เวลาไปตีกันคู่ต่อสู้ถึงขั้นตายคาเวทีอย่างเดียว นอกจากนี้ก็ยังมีไก่ชนสายพันธุ์เดือดนิ่ง ที่ชอบจิกหัว จิกตัวจนเป็นแผลลึก ถือเป็นพันธุ์ไก่ชนที่คนไทยนิยมเลี้ยงมากเช่นกัน เพราะเป็นไก่พื้นเมืองของไทยแท้ มีพื้นที่ปล่อยให้ไก่ได้เดิน อย่างน้อยควรมีความกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ไก่ชนต้องฝึกและออกกำลังกายการออกกำลังกายสำหรับไก่ชนมีความจำเป็นมาก และต้องแบ่งแยกตามลักษณะสายพันธุ์ของไก่ ยกตัวอย่าง เช่น

-สายพันธุ์ไก่ไทยหรือไก่ลูกผสมที่มีลีลาชั้นเชิงเป็นไก่เชิงหรือไก่บุกเพื่อที่จะทำร้ายคู่ต่อสู้ การออกกำลังกายจะเน้นการปล้ำนวม โดยการสวมปากไม่ให้จิกกันจะเน้นการเอากำลังเป็นหลัก

-ไก่สายพันธุ์พม่า ด้วยลีลาชั้นเชิงเป็นไม่เดินเข้าหาคู่ต่อสู้ การออกกำลังกายจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมุ้งกั้น หรือเรียกกันว่าเตะมุ้ง การเตะมุ้งควรจะพันเดือยไก่ให้ดี ป้องกันเดือยโค่นหรือเดือยหักได้ 

      4.ภูมิปัญญาชาวบ้านการเลี้ยงไก่สามสาย

          นายภาคิน แซ่ลิ้ม ปัจจุบันอายุ 43 ที่เริ่มจากการเลี้ยงไก่สามสายมานานเป็น 10 กว่าปีเลี้ยงตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อแม่เป็นอาชีพหลักที่เลี้ยงครอบครัวมาตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ส่งขายให้พ่อค้าคนกลางมาจับที่บ้าน  ประโยชย์จากการเลี้ยงไก่พันธ์นี้คือขายขี้ได้จะมีชาวบ้านจากที่อื่นมาขอซื้อขี้ไปทำปุ๋ย ใส่ต้นไม้ ให้ปลากิน เพิ่มรายได้ให้เราด้วย นายภาคินเล่าว่า ต้นทุนการผลิตลูกไก่แรกเกิด และต้นทุนขุนไก่เนื้อพื้นเมืองโดยประมาณแสดงไว้ใน ตารางที่ 8 ต้นทุนการผลิตลูกไก่แรกเกิดเฉลี่ยตัวละ 5.00 บาท เป็นต้นทุนที่ไม่ได้บวกกำไร และค่าขนส่ง แต่ได้รวมค่าแรงงานของตนเองไว้แล้ว โดยคำนวณมาจากค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 180 บาทเลี้ยงไก่ 365 วัน คนหนึ่งๆ เลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ 1000 ตัว เฉลี่ยตัวละ 65 บาท นอกนั้นเป็นค่าใช้จ่ายหลักๆ จะมีเพิ่มเติมจากนี้ก็เฉพาะราคาอาหารสัตว์เปลี่ยนไปเท่านั้น ดังนั้นถ้าผลิตลูกไก่ไว้เลี้ยงเองน่าจะลดต้นทุนค่าพันธุ์ได้เพราะถ้าซื้อจากท้องตลาดราคาประมาณ 10-15 บาท เป็นอย่างต่ำ เกษตรกรเพียงแต่ฝึกวิธีเลี้ยงเพาะพ่อแม่พันธุ์ 3 สาย วิธีฟักไข่และการสร้างตู้ฟักไข่ขึ้นมาใช้เอง โดยใช้เทคนิกของกรมปศุสัตว์ สำหรับต้นทุนการผลิตไก่เนื้อ 3 สายส่งตลาด เฉลี่ยต้นทุนต่อตัวเท่ากับ 51.33 บาท เฉลี่ยต่อกิโลกรัมน้ำหนักไก่เท่ากับ 28.52 บาท ดังนั้นการขายไก่มีชีวิตราคาจึงไม่ควรต่ำกว่า 28.52 บาท/ก.ก. แต่ปัจจุบันราคาไก่ 3 สายอยู่ระหว่าง กิโลกรัมละ 40-45 บาท จุดขายของไก่พันธุ์นี้คือ เนื้อไก่ที่มีรสชาดอร่อย และกลิ่นไม่ต่างกับไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ เจริญเติบโตเร็วและสามารถผลิตลูกไก่ได้เองด้วยต้นทุนที่ไม่สูงเกินไป แสดงต้นทุนการผลิตไก่เนื้อพื้นเมือง 3 สาย และต้นทุนการเลี้ยงแต่แรกเกิด ถึง อายุ 16 สัปดาห์

      5.ภูมิปัญญาชาวบ้านการเลี้ยงปลาดุก

 

          นายมาลัย นกดารา ปัจจุบันอายุ 60 ปี เริ่มจากหลังบ้านมีที่ว่างไม่รู้จะทำอะไร เลยขุดบ่อเลี่ยงปลา ทำสสวนเล็กๆข้างบ่อเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ระยะเวลาเลี้ยง 4-5 เดือน เป็นกลไกการตลาดเพราะมีตลาดปลาน้อย จะขายพ่วงไปกับพ่อค้าแม่ค้าที่มาจับ เนื่องจากปลาดุกบิ๊กอุยมี่ราคาที่แพงกว่าพันธุ์อื่น ส่วนใหญ่จะขายเป็นปลาสด ไม่ได้นำไปแปรรูปเป็นปลาที่เกิดจากผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่ารัสเซียกับอุย อุยจะโตช้ากว่ารัสเซียเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายทนทานต่อโรค รสชาติอร่อย นำไปทำย่าง ปลาดุกร้า 4-5 ตัวต่อกิโลกรัม ถ้าใหญ่กว่านี้ต้องขายปลาดุกสด สีของปลามีผลต่อการขาย เพราะสภาพดินในบ่อทำให้ปลามีสีดำคล้ายปลาดุกรัสเซีย  ตลาดปลาสดไม่นิยมต้องสีเหลืองๆ จะขายง่าย ราคาในท้องตลาด 60-90 บาทต่อ กิโลกรัม

      6.ภูมิปัญญาชาวบ้านการเลี้ยงวัว

          นายสุจิตต์ บุญเรือน ปัจจุบัน อายุ  42 ปี เกิดจากที่ตอนเด็กเห็นพ่อเม่เลี้ยง คนแถวบ้านเลี้ยงกันแทบทุกบ้าน แล้วชอบ ก็เลี้ยงมาตลอด มีวัวนม บรามัน วัวลาน ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงมีทั้งอาหารหยาบและหญ้าขนสลับกันไป ซึ่งหญ้าจะเป็นที่ปลูกเองบริเวณฟาร์มสลับกับฟางโดยจะให้กินตลอดทั้งวัน ส่วนอาหารข้น ให้กินวันละ  2-3 กิโลกรัมต่อตัวเป็นอาหารที่มี 16 เปอเซ็นต์ ส่งขายคือจะมีคนที่ชอบวัวมาดูแล้วถ้าชอบจะซื้อต่อไปเพื่อเลี้ยงต่อ ไม่ค่อยให้รับไปเชือด เลี้ยงด้วยความชอบและเกิดจากความรัก ลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อไปทำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ลูกค้าจะจองตั้งแต่ตัวเล็กๆ 6 เดือน ราคาก็ประมาณ150,000-250,000 บาท

      7.ภูมิปัญญาชาวบ้านการทำหมูแผ่น

         นายสาคร แตงอ่อน ปัจจุบันอายุ 32  ปี เริ่มจากการที่พ่อแม่ เป็นลูกจ้างเขาอีกที่แล้วทำมานานกว่า 10 ปี นายจ้างเลยรักให้สูตรกับพ่อแม่ เห็นที่มีความพยายามมีความขยันที่สู้ชีวิต ปัจจุบันเลยทำกิจการแทนพ่อแม่เป็นอาชีพที่เงินดีมั่นคง เป็นเสาหลักของครอบครัว ส่งทั่งประเทศราคาไม่แพง เป็นที่ชื่นชอบของลูกที่อุดหนุนไป ลูกค้าได้ของที่มีคุณภาพทุกห่อ รับประกันคุณภาพ ชื่อที่รู้จักกันคือ “ หมูแผ่นปฐมทอง ”

      8.ภูมิปัญญาชาวบ้านการทำยาไก่

          นายสัญญา พรมโต ปัจจุบัน อายุ 43 ปี เริ่มจากการที่ตัวเองชอบกิจกรรมตีไก่ เลี้ยงไก่ชน มีประสบการณ์จากการที่เห็นคนนั้นคนนี้ ศึกษาตลอดว่าทำยังไงให้ไก่แข็งแรง สู้คู่ต่อสู้ พยายามคิด ผสมสวนผสมสมุนไรต่างๆ ขมิ้น มะเขือเทศ อีกมากมายมารวมกันแล้วได้ผลแต่เป็นสูตรลับจนตอนนี้มีประสบการณ์ทำให้ยาที่ตัวเองทำมีชื่อเสียงเป็นที่ต้องการของกลุ่มคนเลี้ยงไก่ชน เวลาออกตีไก่จะมีคนมาขอสูตรยาเลี้ยง เป็นที่ภูมิใจของซุ้มไก่ที่ตัวเองทำอยู่ในปัจจุบัน ทำมาแล้วกว่า 28 ปี

      9.ภูมิปัญญาชาวบ้านการทำโต๊ะจีน

         นางสุจิตตรา นกดารา ปัจจุบันอายุ 63 ปี เติมโตมาจากครอบครัวคนจีนที่ฐานะไม่ค่อยดีแต่เริ่มมจากการที่ลำบากมาก่อนพยามเรียนจบเป็นครู แต่ได้แยกออกจากบ้านมามีครอบครัวครัวครัวบ้านสามีทำกิจการโต๊ะจีนเลยออกจากครูมาทำกิจการโต๊ะจีนอย่างจริงจัง ตอนยุคนายกทักษิณกำลังบูม ทำให้กิจการโต๊ะจีนมีงานเยอะเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง ถึงปัจจุบันนี้ก็ผ่านมา 20 กว่าปี เป็นการทำไม่ได้หวังกำไรมากนัก หวังให้ลูกค้ามีความสุขกับงานจัดเลี้ยง อาหารที่มีคุณภาพและอร่อยถูกใจลูกค้า และเป็นที่ติดปาก สร้างความทรงจำดีๆให้กัน 

      10.ภูมิปัญญาชาวบ้านการทำโต๊ะจีน

   

          วิสูตร จันทร์ประเสริฐ อายุ 64 ปี เติบโตมาจากครอบครัวใหญ่ เชื้อสายจีน ที่จังหวัดนครปฐม เริ่มต้นทำงานตั้งแต่วัยเด็ก จนกระทั่งอายุ 17 ปี ได้เข้าทำงานที่ร้านโต๊ะจีนชื่อดังแห่งหนึ่งของจังหวัดนครปฐม ตามคำแนะนำของพี่ชาย ด้วยคำพูดที่ว่า “ ทำไปเถอะ เดี๋ยววันหนึ่งก็ได้เป็นเถ้าแก่ ” ซึ่งตอนนั้นคุณวิสูตรก็ได้แต่คิดว่า จะเป็นไปได้อย่างไร เพราะตำแหน่งที่ทำอยู่ ณ ขณะนั้น คือเด็กล้างจาน แต่ด้วยความมุ่งมั่นและมีใจรักในการทำอาหาร ส่งผลให้ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเด็กเสริฟ ผู้ช่วยพ่อครัว และพ่อครัว ตามลำดับ ซึ่งหลังจากทำงานเก็บเกี่ยวประสบการณ์เป็นระยะเวลา 10 ปี ในที่สุด ปี 2529 ได้เปิดร้านโต๊ะจีนเป็นของตัวเอง ภายใต้ชื่อ วิสูตรโภชนาการ ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการมาแล้วกว่า 30 ปี

          “ผมเริ่มต้นเดินทางสายอาชีพนี้มาจากการได้รับโอกาสที่ดี มุ่งมั่นทำงานด้วยความตั้งใจ ผมใช้ประสบการณ์ที่ผมทำงานมาทั้งหมด ในการดูแลลูกค้าทุกๆท่าน เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ขอขอบคุณครับสำหรับความไว้วางใจ และสนับสนุนผมตลอดมา”

 

อ้างอิง

http://www.npt.go.th/index.php/welcome/detail/751/menu

แผนพัฒนาเทศบาลนครปฐม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 700400เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2022 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2022 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท