ข้อมูลเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล บ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี


                                        

                                          
 

ข้อมูลเพื่อการพัฒนา

องค์การบริหารส่วนตำบล บ้านฆ้อง

 


 

ภาพ วัดบ้านฆ้อง 

ตำบล บ้านฆ้อง อำเภอ โพธาราม จังหวัด ราชบุรี

 

1. ข้อมูลคุณลักษณะตำบล

1.1 ประวัติความเป็นมาของตำบล

เมื่อต้นสมัยรัชกาลที่1ต้นรัตนโกสินทร์ได้มีครอบครัวลาวครอบครัวหนึ่งเดินทางอพยพมาจากเมืองเวียงจันทร์

ประเทศลาวโดยการนำของพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อพระอาจารย์มะนาวเชี่ยวเป็นพระทรงคุณพิเศษมีปัญญาสามารถรู้

ภาษานกได้และท่องมนต์คาถาบทหนึ่งๆได้เร็วมากชั่วปาดมะนาวขาดเท่านั้นชาวบ้านจึงเรียกกันว่าพระอาจารย์

มะนาวเชี่ยวเวลานอนจำวัดไม่ใช้หมอนแต่ใช้ผลมะนาวแห้งหนุนศีรษะ ได้พาญาติโยมขึ้นช้างเดินทางมาด้วยกัน 

4 คน คือ

  • พระอาจารย์มะนาวเชี่ยว เป็นผู้นำทาง
  • โยมชายไม่ปรากฏนาม เป็นผู้บังคับช้าง
  • โยมหญิงชื่อผู้เฒ่าก้อ
  • นางประทุมมา (เป็นคนทรงเจ้า)

ทั้ง4นี้สันนิษฐานว่าคงเป็นเครือญาติกันและได้นำตู้ใส่พระคัมภีร์ไวยากรณ์เป็นอักษรขอมลาวจารึกในใบลานมาด้วย2ตู้(ขณะนี้ยังมีหลักฐานอยู่บนกุฏิวัดบ้านฆ้อง)ได้มาพักอาศัยอยู่ที่ศาลเจ้าปู่ตาซึ่งอยู่ห่างจากวัดบ้านฆ้องไปทางทิศเหนือประมาณ500เมตรเมื่อมาพักแล้วญาติโยมก็ออกแสวงหาอาหารพืชผักผลไม้ตามบริเวณใกล้ๆที่พักซึ่งเป็นดงไม้เบญจพรรณธรรมชาติมีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น วันหนึ่งจึงได้มาพบวิหารเล็กๆอยู่หลังหนึ่งรูปคล้ายโบสถ์ภายในวิหารมีพระพุทธรูปศิลาและประดิษฐานอยู่บริเวณรอบๆวิหารมีซากโบราณวัตถุสลักหักพังพืชพันธุ์ไม้ปกคลุมอยู่ทั่วๆไปมีสภาพคล้ายกับเป็นวัดร้างโดยเฉพาะมีต้นตะเคียนต้นพิกุลใหญ่ๆหลายต้นมีอายุหลายชั่วอายุคนแล้วขึ้นอยู่มากมายในวัดร้างนี้ไม่มีใครทราบประวัติพระอาจารย์มะนาวเชี่ยวได้ทราบข่าวจึงได้มาตรวจดูสถานที่เห็นเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมเป็นรมณียสถานที่ร่มรื่นเป็นที่อยู่อาศัยของพวกวิหานกกาทั้งหลาจึงได้พาญาติโยมมาพักอาศัยอยู่ที่วัดร้างนี้โดยย้ายที่พักจากศาลเจ้าปู่ตามาบูรณะซ่อมแซมทำเป็นที่อยู่อาศัยครั้นอยู่มานานๆเข้าก็ได้มีครอบครัวลาวที่อบยพมาทีหลังได้มาอยู่สมทบอยู่เรื่อยๆจนปรากฏว่ามีประชาชนมาอยู่มากขึ้นทุกทีจึงได้เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหารน้ำดื่มน้ำใช้พระอาจารย์มะนาวเชี่ยวจึงได้พาญาติโยมประชาชนทำการขุดสระขังน้ำเป็นสระขนาดใหญ่ขึ้นทางทิศตะวันตกของวัดในขณะที่ทำการขุดอยู่นั้นปรากฏว่าได้พบฆ้องใหญ่มหึมาจมดินอยู่ใบหนึ่งประชาชนที่ขุดต่างก็ดีอกดีใจช่วยกันขุดเป็นการใหญ่จนกระทั่งขุดขึ้นมาทำการเช็ดล้างทำความสะอาดจนเรียบร้อยแล้วก็ได้นำมาแขวนไว้ที่กิ่งต้นพิกุลใหญ่มีขาดใหญ่กว่าล้อเกวียนสมัยโบราณเนื้อคล้ายทองสัมฤทธิ์ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ประชาชนทั้งหลายก็เอาไม้มาตีบ้างเอาอิฐมาเคาะตีบ้างตีฆ้องใหญ่กันอย่างสนุกสนานตีเท่าไหร่ก็ไม่มีเสียงดังแต่พอเลิกตีชั่วขณะหนึ่งฆ้องใหญ่จขะดังกังวานคำรามลั่นสนั่นหวั่นไหวครางกระหึ่มสะเทือนไปทั่วบริเวณวัดในบัดดลนั้นเองก็เกิดปาฎิหาริย์อัศจรรย์ธรรมชาติที่ไม่เคยเห็นมาก่อนกล่าวคือท้องฟ้าที่มีแสงแดดอันเจิดจ้าพลันกลับมืดครึ้มมีเมฆหมอกมาปิดบังดวงอาทิตย์เกิดพายุลมร้ายพมาดังสนั่งหวั่นไหวท้องฟ้าลั่นปั่นป่วนต้นไม้น้อยใหญ่เอนเอียงไปมาป่านว่าฟ้าดินจะถล่มฝูงวิหกนกกาทั้งหลายส่งเสียงร้องระทมในนภากาศประชาชนแตกตื่นอกสั่นขวัญหายความตกใจกลัวเสมือนหนึ่นางพญามารร้ายจะมาแดฆ่าเอาชีวิตปานใดก็ปานนั้นเกิดชลมุนวุ่นวายโกลาหนอลหม่านพระอาจารย์มะนาวเชี่ยวเห็นเกิดเหตุการณเข้าขั้นวิกฤติจึงให้นางปทุมมาเชิญเจ้าเข้าทรงประทับทำนายทายทักว่าเป็นเหตุเพทพานประการใดหนอจึงได้เกิดเหตุร้ายอัศจรรย์เช่นนี้เมื่อเจ้าเข้าประทับทรงแล้วจึงยืนขึ้นประกาศในท่ามกลางฝูงชนว่าสูเจ้าทั้งหลายคิดการใหญ่อันเกินควรอันว่าฆ้องใหญ่กายสิทธิ์ใบนี้มีเทพเจ้ารักษาอยู่ไม่คู่ควรแก่กับปุถุชนคนธรรมดาจะนำมาใช้เป็นของคู่บ้านคู่เมืองเป็นคู่บุญบารมีของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์มาหลายชั่วอายุคนแล้วในอดีตถ้าขุดขึ้นมาใช้จะเกิดเหตุเภทภัยต่างๆนานาจะเกิดทุกข์โศกโรคภัยฆ้องใหญ่ดังไปถึงไหนประชาชนก็จะได้รับความเดือดร้อนไปถึงนั้นให้นำไปฝังไว้ที่เดิมแล้วประชาชนจะอยู่ร่มเย็นเป็นสุขเมื่อทราบดังนั้นพระอาจารย์มะนาวเชี่ยวจึงสังให้ญาติโยมคนขุดทั้งหลายช่วยกันนำไปฝังไว้ที่เดิมแล้วหาแหล่งน้ำขุดสระขังน้ำใหม่ต่อไปเทพเจ้าดีใจหายโกรธจึงดลบันดาลให้ฆ้องใหญ่ได้แสดงอภินิหารอีกคือในค่ำคืนนั้นฆ้องใหญ่ได้ดังขึ้นเองเสียงเสนาะเพราะจับใจส่งเสียงวังเวงแว่วในยามราตรีที่เงียบสงัดทุกคนในหมู่บ้านก็ได้ยินเสียงครึ่งหลับครึ่งตื่นคล้ายๆกับละเมอฝันพอรุ่งเช้าต่างคนก็มาเล่าสู่กันฟังทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าได้ยินเสียงฆ้องดังเสนาะเพราะจริงๆฝูงชนคนทั้งหลายก็โจษจันเรื่องลือกันไปทั่วทุศานุทิศพระอาจารย์มะนาวเชี่ยวจึงได้เป่าร้องประกาศให้ประชาชนคนทั้งหลายในหมู่บ้านได้รักษาศีลทำบุญให้ทานแล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษและเทพเจ้าผู้เรืองฤทธิ์เจ้ากรรมนายเวรตลอดทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลายจงได้เสวยทิพย์สุขในสรวงสวรรค์และขอตั้งชื่อวัดร้างนี้ว่าวัดบ้านฆ้องใหญ่เป็นมงคลนามมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้นับตั้งแต่นั้นมาประชาชนก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสูขตลอดมามีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนไทยภาคอีสานทุกประการปัจจุบันชาวบ้านฆ้องยังพูดภาษาลาวอยู่และคนเฒ่าคนแก่ก็ยังชำนาญในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าไหมเมื่อมีประชาชนอยู่หนาแน่นชาวบ้านฆ้องพวกหนึ่งได้อพยบไปทำมาหากินในเขตอำเภอบ้านโป่งเมื่ออยู่นานๆต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งในเขตตำบลท่าผาอำเภอบ้านโป่งเรียกว่าวัดบ้านฆ้องน้อยซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นวัดที่มีความเจริญทัดเทียมกับวัดบ้านฆ้องใหญ่มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนกัน จนมีคำพังเพยว่า "ฆ้องน้อย ฆ้องใหญ่" ไม่ใช่อื่นไกลพี่น้องกัน

 

1.2 พื้นที่และขอบเขต

1.2.1 ลักษณะที่ตั้ง

เทศบาลตำบลบ้านฆ้อง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 10 ตำบล บ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม ราชบุรี อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอโพธาราม อยู่ห่างจากอำเภอ โพธาราม ประมาณ2กิโลเมตร มีเนื้อที่รวม 13.55ตารางกิโลเมตรหรือ8,468.75ไร่

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฆ้องได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลบ้านฆ้องและมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549

ลักษณะทางกายภาพ อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ  ติดต่อกับ  ตำบลบ้านเลือก

ทิศใต้  ติดต่อกับ  ตำบลบ้านสิงห์

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  ตำบลวัดแก้ว

ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ  ตำบลคลองตาคต
 

พื้นที่และขอบเขตปรากฏดังแผนที่ดังนี้


ภาพที่1 แผนที่แสดงตำแหน่งต่างๆที่สำคัญ

ตำบล บ้านฆ้อง อำเภอ โพธาราม จังหวัด ราชบุรี

 

1.2.2ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพโดยทั่วไปพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ มีระบบชลประทานไหลผ่าน

1.3การปกครองระดับหมู่บ้าน

ตำบลบ้านฆ้องแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น10หมู่บ้าน และมีกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่ต่าง ๆดังนี้ 

หมู่ที่   1 บ้านฆ้อง นางสาวประภาวรินทร์    ธนวัฒน์พาณิชย์

หมู่ที่   2 บ้านฆ้อง นางสมปอง ศรีอร่ามภูมิ

หมู่ที่   3 บ้านเกาะ นายกำธร อินธนู

หมู่ที่   4 บ้านดีบอน นายฐิติพันธ์  บัวภู

หมู่ที่   5 บ้านเก่า นายเสนาะ หนูหริ่ง

หมู่ที่   6 บ้านทุ่งเจริญ นายสยาม มุกดา

หมู่ที่   7 บ้านบ่อมะกรูด นายสุวรรณ ศรีนาค/ กำนัน

หมู่ที่   8 บ้านบ่อมะกรูด นายทวีพงศ์ ชานาง

หมู่ที่   9 บ้านแจ่มใส นางรัชนก เขียนอักษร

หมู่ที่ 10 บ้านฆ้อง นายสมจิตร โชติพรวน

1.4 ครัวเรือนและประชากร

มีประชากรทั้งสิ้น 8,633 คน แยกเป็นชาย 4,096 คน   เป็นหญิง 4,537 คน    มีจำนวนครัวเรือน 3,463 ครัวเรือน 

หมู่บ้านที่มีจำนวนครัวเรือนมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่

หมู่ที่ 4 บ้านดีบอน จำนวน 691 ครัวเรือน , หมู่ที่ 3 บ้านเกาะ  จำนวน 530 ครัวเรือน , หมู่ที่ 5 บ้านเก่า  จำนวน 428 ครัวเรือน

หมู่บ้านที่มีจำนวนครัวเรือนน้อยที่สุด ได้แก่ หมู่ที่ 9 บ้านแจ่มใส จำนวน 184 ครัวเรือน 


 

ภาพที่2 แผนที่แสดงตำแหน่งหมู่บ้าน

ตำบล บ้านฆ้อง อำเภอ โพธาราม จังหวัดราชบุรี

 

1.5 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 633  คน  ประชากรที่มีช่วงอายุที่มากที่สุด

ได้แก่ ช่วงอายุ 35-49 ปี จำนวน 183 คน  ประชากรที่มีช่วงอายุที่น้อยที่สุด 3 ลำดับ ได้แก่ 

ช่วงอายุ 1-5 เดือน จำนวน 1 คน 

ช่วงอายุ 6 เดือน -1 ปี 0เดือน จำนวน 1 คน  

ช่วงอายุ 1ปี1เดือน-2ปี จำนวน 1คน

1.6 ระบบการศึกษา

ระบบการศึกษาของตำบลบ้านฆ้องมีสถานศึกษาในสังกัด สพฐ.3 แห่ง ประกอบด้วย

1. โรงเรียนวัดบ้านฆ้อง

2.โรงเรียนวัดดีบอน

3.โรงเรียนวัด บ่อมะกรูด

สถานศึกษาในสังกัดอาชีวะศึกษา 1แห่ง

ประกอบด้วย

1.วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม

สถาบันพัฒนาการศีกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

กศน. ภาคกลาง 1แห่ง

รวมทั้งสิ้น 5 แห่ง 




 

ภาพที่3 แผนที่แสดงตำแหน่งสถาบันการศึกษา

ตำบล บ้านฆ้อง อำเภอ โพธาราม จังหวัด ราชบุรี
 

1.7 ระบบสาธารณสุข

ระบบสาธารณะสุขของตำบลบ้านฆ้อง

ประกอบด้วย  

1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านฆ้อง 

2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านเก่า       

3.เทศบาลตำบลบ้านฆ้อง ทั้งสิ้น 3 แห่ง จำนวน 122 คน          



 

ภาพที่4 แผนที่แสดงตำแหน่งสถานที่ราชการประจำตำบลบ้านฆ้อง

ตำบล บ้านฆ้อง อำเภอ โพธาราม จังหวัด ราชบุรี

 

1.8 ระบบเศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจของตำบลบ้านฆ้อง  ประกอบด้วย
 อาชีพเกษตรกรรม  ร้อยละ 20 ของพื้นที่

 อาชีพรับจ้าง  ร้อยละ 60 ของพื้นที่

 อาชีพประมงปศุสัตว์  ร้อยละ 20 ของพื้นที่

1.9 ระบบพานิชย์และกลุ่มอาชีพ

ระบบพานิชย์ของตำบลบ้านฆ้องส่วนใหญ่ประกอบด้วยร้านค้าประเภท และร้านสะดวกซื้อ จำนวน 1 แห่ง รองลงมาคือ

ร้านอาหาร/ร้านเบเกอร์รี่จำนวน 10 แห่ง ศูนย์ไปรษณีย์ 1แห่ง และมีปั๊มน้ำมัน 1 แห่ง มีร้านจำหน่ายรถยนต์ 1 แห่ง รวมทั้งสิ้น 14 แห่ง 



ภาพที่5 แผนที่แสดงตำแหน่งร้านค้า / พาณิชย์

ตำบล บ้านฆ้อง อำเภอ โพธาราม จังหวัด ราชบุรี

 

1.10 ระบบอุตสาหกรรม

ระบบอุตสาหกรรมของตำบลบ้านฆ้อง ประกอบด้วยโรงงานประเภท อาหารจำนวน 2 แห่ง ประเภทสิ่งทอ 1 แห่ง ประเภทรถยนต์ 1 แห่ง ประเภทเครื่องนอน 1 แห่ง  รวมทั้งสิ้น 5 แห่ง   

1.บริษัทคู่บ้านคู่ครัว จำกัด โรงงานน้ำปลาตราหน่อไม้

2.โรงงานซุปเปอร์ดาว โพธาราม

3.บริษัทเมืองไทยแคปปิตอล

4.ศูนย์ไปรษณีย์

5.บริษัทกังวาลเท็กไทล์จำกัด

6.ห้างหุ้นส่วนจำกัดดอนกลาง

1.11ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสถานที่ท่องเที่ยวชุมชน

ประเภทแหล่งน้ำ

แหล่งน้ำของตำบลบ้านฆ้อง

1) ประกอบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

2) การปะปาหมู่บ้าน 5 แห่ง ได้แก่

 1.ป่าช้าสาธารณะ ป่าสะเดา

2.ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน นายประเสริฐ ม่วงเขียว 

3.บ้านเกาะ

4.วัดดีบอนวัดหนองกลางแตง  

5.วัดบ่อมะกรูด รายละเอียดดังตาราง

ประเภทพื้นที่สาธารณะ หรือป่าไม้ชุมชน

พื้นที่สาธารณะของเทศบาลตำบลบ้านฆ้องไม่มีป่าไม้

สถานที่ท่องเที่ยวชุมชน

สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวชุมชนของตำบลบ้านฆ้อง

ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ร้านอาหารประเภทร้านอาหารจำนวน1แห่ง ได้แก่ ป๊ะป๋าคาเฟ่

1.12 ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญา

ด้านศาสนา

ประชากรของตำบลบ้านฆ้องส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธจากการนับดั้งเดิมของบรรพบุรุษลาว

เวียงที่อพยพมาจากฝั่งลาว ร้อยละ 99.9 ของพื้นที่  ได้แก่




ภาพที่6 แผนที่แสดงตำแหน่งสถาบันศาสนา

ตำบล บ้านฆ้อง อำเภอ  โพธาราม จังหวัด ราชบุรี 

 

ด้านประเพณี วัฒนธรรม

ลาวเวียงจันทร์

ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และภาษาถิ่น

ภาษาถิ่นลาวเวียงการนวดแผนโบราณเพลงพื้นบ้าน    ดนตรีพื้นบ้านลาวเวียง

 

 2. ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.1 ความเป็นมาและการก่อตั้ง

เทศบาลตำบลบ้านฆ้อง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 10 ตำบล บ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม ราชบุรี อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอโพธาราม อยู่ห่างจากอำเภอ โพธาราม ประมาณ 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวม 13.55 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,468.75 ไร่

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฆ้อง ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลบ้านฆ้องและมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549





 

ตราสัญลักษณ์ หมายถึง

“ บ้านฆ้องตำบลน่าอยู่  สิ่งแวดล้อมดี  มีชุมชนเข้มแข็ง

สาธารณูปโภคพร้อม  น้อมวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ”
 

2.2คณะผู้บริหาร




 

นายกเทศบาลตำบลบ้านฆ้องคนปัจจุบัน คือ นาย ชิษณุพงศ์ ปานอำพันธ์ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พศ. 2564 

 

2.3โครงสร้างหน่วยงาน

 

2.4 วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และยุทธศาสตร์องค์กร

วิสัยทัศน์

“ บ้านฆ้องตำบลน่าอยู่  สิ่งแวดล้อมดี  มีชุมชนเข้มแข็ง

สาธารณูปโภคพร้อม  น้อมวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ”

ยุทธศาสตร์องค์กร

1.ด้านโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

2.ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต

3.ด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักาาความสงบเรียบร้อย

4.ด้านการวางแผนและส่งเสริมการลงทุน

5.ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.ด้านศิสปะ วัฒนธรรม จารีต ประเพณีและภุมิปัญญาท้องถิ่น
 

เป้าประสงค์

1.เป้าประสงค์ประชาชนมีระบบการคมนาคมที่ได้มาตรฐานสะดวกและปลอดภัยมีระบบ

สาธารณูปโภคที่สมบูรณ์ได้มาตรฐานสามารถช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนได้อย่างทั่วถึงมีความเป็นอยู่อย่างยั่งยืนและเป็นสุข

2.ประชาชนมีความสุขในการดำรงชีวิตมีระบบดูแลสวัสดิการและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินประชาชนได้รับการศึกษาตามมาตรฐานต้องได้เรียนทุกคน

3.ตำบลบ้านคลองมีระบบสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีสถานที่

พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนสืบสานอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยแก่คนรุ่นหลัง

4.ประชาชนมีการระดมความคิดมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือด้านการจัดกิจกรรมต่างๆร่วม

กันมีการบริหารอย่างเป็นระบบ
 

3. ข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชน

3.1 ความเป็นมาของหมู่บ้าน/ชุมชน

เมื่อต้นสมัยรัชกาลที่1ต้นรัตนโกสินทร์ได้มีครอบครัวลาวครอบครัวหนึ่งเดินทางอพยพมาจากเมืองเวียงจันทร์

ประเทศลาวโดยการนำของพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อพระอาจารย์มะนาวเชี่ยวเป็นพระทรงคุณพิเศษมีปัญญาสามารถรู้

ภาษานกได้และท่องมนต์คาถาบทหนึ่งๆได้เร็วมากชั่วปาดมะนาวขาดเท่านั้นชาวบ้านจึงเรียกกันว่าพระอาจารย์

มะนาวเชี่ยวเวลานอนจำวัดไม่ใช้หมอนแต่ใช้ผลมะนาวแห้งหนุนศีรษะ ได้พาญาติโยมขึ้นช้างเดินทางมาด้วยกัน 

4 คน คือ

  • พระอาจารย์มะนาวเชี่ยว เป็นผู้นำทาง
  • โยมชายไม่ปรากฏนาม เป็นผู้บังคับช้าง
  • โยมหญิงชื่อผู้เฒ่าก้อ
  • นางประทุมมา (เป็นคนทรงเจ้า)

ทั้ง4นี้สันนิษฐานว่าคงเป็นเครือญาติกันและได้นำตู้ใส่พระคัมภีร์ไวยากรณ์เป็นอักษรขอมลาวจารึกในใบลานมาด้วย2ตู้(ขณะนี้ยังมีหลักฐานอยู่บนกุฏิวัดบ้านฆ้อง)ได้มาพักอาศัยอยู่ที่ศาลเจ้าปู่ตาซึ่งอยู่ห่างจากวัดบ้านฆ้องไปทางทิศเหนือประมาณ500เมตรเมื่อมาพักแล้วญาติโยมก็ออกแสวงหาอาหารพืชผักผลไม้ตามบริเวณใกล้ๆที่พักซึ่งเป็นดงไม้เบญจพรรณธรรมชาติมีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น วันหนึ่งจึงได้มาพบวิหารเล็กๆอยู่หลังหนึ่งรูปคล้ายโบสถ์ภายในวิหารมีพระพุทธรูปศิลาและประดิษฐานอยู่บริเวณรอบๆวิหารมีซากโบราณวัตถุสลักหักพังพืชพันธุ์ไม้ปกคลุมอยู่ทั่วๆไปมีสภาพคล้ายกับเป็นวัดร้างโดยเฉพาะมีต้นตะเคียนต้นพิกุลใหญ่ๆหลายต้นมีอายุหลายชั่วอายุคนแล้วขึ้นอยู่มากมายในวัดร้างนี้ไม่มีใครทราบประวัติพระอาจารย์มะนาวเชี่ยวได้ทราบข่าวจึงได้มาตรวจดูสถานที่เห็นเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมเป็นรมณียสถานที่ร่มรื่นเป็นที่อยู่อาศัยของพวกวิหานกกาทั้งหลาจึงได้พาญาติโยมมาพักอาศัยอยู่ที่วัดร้างนี้โดยย้ายที่พักจากศาลเจ้าปู่ตามาบูรณะซ่อมแซมทำเป็นที่อยู่อาศัยครั้นอยู่มานานๆเข้าก็ได้มีครอบครัวลาวที่อบยพมาทีหลังได้มาอยู่สมทบอยู่เรื่อยๆจนปรากฏว่ามีประชาชนมาอยู่มากขึ้นทุกทีจึงได้เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหารน้ำดื่มน้ำใช้พระอาจารย์มะนาวเชี่ยวจึงได้พาญาติโยมประชาชนทำการขุดสระขังน้ำเป็นสระขนาดใหญ่ขึ้นทางทิศตะวันตกของวัดในขณะที่ทำการขุดอยู่นั้นปรากฏว่าได้พบฆ้องใหญ่มหึมาจมดินอยู่ใบหนึ่งประชาชนที่ขุดต่างก็ดีอกดีใจช่วยกันขุดเป็นการใหญ่จนกระทั่งขุดขึ้นมาทำการเช็ดล้างทำความสะอาดจนเรียบร้อยแล้วก็ได้นำมาแขวนไว้ที่กิ่งต้นพิกุลใหญ่มีขาดใหญ่กว่าล้อเกวียนสมัยโบราณเนื้อคล้ายทองสัมฤทธิ์ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ประชาชนทั้งหลายก็เอาไม้มาตีบ้างเอาอิฐมาเคาะตีบ้างตีฆ้องใหญ่กันอย่างสนุกสนานตีเท่าไหร่ก็ไม่มีเสียงดังแต่พอเลิกตีชั่วขณะหนึ่งฆ้องใหญ่จขะดังกังวานคำรามลั่นสนั่นหวั่นไหวครางกระหึ่มสะเทือนไปทั่วบริเวณวัดในบัดดลนั้นเองก็เกิดปาฎิหาริย์อัศจรรย์ธรรมชาติที่ไม่เคยเห็นมาก่อนกล่าวคือท้องฟ้าที่มีแสงแดดอันเจิดจ้าพลันกลับมืดครึ้มมีเมฆหมอกมาปิดบังดวงอาทิตย์เกิดพายุลมร้ายพมาดังสนั่งหวั่นไหวท้องฟ้าลั่นปั่นป่วนต้นไม้น้อยใหญ่เอนเอียงไปมาป่านว่าฟ้าดินจะถล่มฝูงวิหกนกกาทั้งหลายส่งเสียงร้องระทมในนภากาศประชาชนแตกตื่นอกสั่นขวัญหายความตกใจกลัวเสมือนหนึ่นางพญามารร้ายจะมาแดฆ่าเอาชีวิตปานใดก็ปานนั้นเกิดชลมุนวุ่นวายโกลาหนอลหม่านพระอาจารย์มะนาวเชี่ยวเห็นเกิดเหตุการณเข้าขั้นวิกฤติจึงให้นางปทุมมาเชิญเจ้าเข้าทรงประทับทำนายทายทักว่าเป็นเหตุเพทพานประการใดหนอจึงได้เกิดเหตุร้ายอัศจรรย์เช่นนี้เมื่อเจ้าเข้าประทับทรงแล้วจึงยืนขึ้นประกาศในท่ามกลางฝูงชนว่าสูเจ้าทั้งหลายคิดการใหญ่อันเกินควรอันว่าฆ้องใหญ่กายสิทธิ์ใบนี้มีเทพเจ้ารักษาอยู่ไม่คู่ควรแก่กับปุถุชนคนธรรมดาจะนำมาใช้เป็นของคู่บ้านคู่เมืองเป็นคู่บุญบารมีของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์มาหลายชั่วอายุคนแล้วในอดีตถ้าขุดขึ้นมาใช้จะเกิดเหตุเภทภัยต่างๆนานาจะเกิดทุกข์โศกโรคภัยฆ้องใหญ่ดังไปถึงไหนประชาชนก็จะได้รับความเดือดร้อนไปถึงนั้นให้นำไปฝังไว้ที่เดิมแล้วประชาชนจะอยู่ร่มเย็นเป็นสุขเมื่อทราบดังนั้นพระอาจารย์มะนาวเชี่ยวจึงสังให้ญาติโยมคนขุดทั้งหลายช่วยกันนำไปฝังไว้ที่เดิมแล้วหาแหล่งน้ำขุดสระขังน้ำใหม่ต่อไปเทพเจ้าดีใจหายโกรธจึงดลบันดาลให้ฆ้องใหญ่ได้แสดงอภินิหารอีกคือในค่ำคืนนั้นฆ้องใหญ่ได้ดังขึ้นเองเสียงเสนาะเพราะจับใจส่งเสียงวังเวงแว่วในยามราตรีที่เงียบสงัดทุกคนในหมู่บ้านก็ได้ยินเสียงครึ่งหลับครึ่งตื่นคล้ายๆกับละเมอฝันพอรุ่งเช้าต่างคนก็มาเล่าสู่กันฟังทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าได้ยินเสียงฆ้องดังเสนาะเพราะจริงๆฝูงชนคนทั้งหลายก็โจษจันเรื่องลือกันไปทั่วทุศานุทิศพระอาจารย์มะนาวเชี่ยวจึงได้เป่าร้องประกาศให้ประชาชนคนทั้งหลายในหมู่บ้านได้รักษาศีลทำบุญให้ทานแล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษและเทพเจ้าผู้เรืองฤทธิ์เจ้ากรรมนายเวรตลอดทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลายจงได้เสวยทิพย์สุขในสรวงสวรรค์และขอตั้งชื่อวัดร้างนี้ว่าวัดบ้านฆ้องใหญ่เป็นมงคลนามมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้นับตั้งแต่นั้นมาประชาชนก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสูขตลอดมามีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนไทยภาคอีสานทุกประการปัจจุบันชาวบ้านฆ้องยังพูดภาษาลาวอยู่และคนเฒ่าคนแก่ก็ยังชำนาญในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าไหมเมื่อมีประชาชนอยู่หนาแน่นชาวบ้านฆ้องพวกหนึ่งได้อพยบไปทำมาหากินในเขตอำเภอบ้านโป่งเมื่ออยู่นานๆต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งในเขตตำบลท่าผาอำเภอบ้านโป่งเรียกว่าวัดบ้านฆ้องน้อยซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นวัดที่มีความเจริญทัดเทียมกับวัดบ้านฆ้องใหญ่มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเหมือนกัน จนมีคำพังเพยว่า "ฆ้องน้อย ฆ้องใหญ่" ไม่ใช่อื่นไกลพี่น้องกัน

3.2 ภูมิปัญญา

สำหรับภูมิปัญญาของบ้านในตำบลบ้านฆ้องหมู่1     ประกอบด้วย

 

1.ด้านแพทย์แผนโบราณและยาสมุนไพร

โดย

นาง จันทร์เพ็ญ คิรีวัน อายุ57ปี

ประวัติ

แม่เพ็ญหรือหมอเพ็ญ มีความสามารถในการนวดมาตั้งแต่เด็กมีความชอบมาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แม่เพ็ญเล่าว่าท่านได้วิชาการนวดจากการปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ และการนั่งสมาธิ วันนึงขณะท่านนั่งสมาธิได้มีสิ่งศักสิทธิ์ครูบาร์อาจารย์มาบอกกล่าวให้วิชามารักษาคนและเลี้ยงชีพตน (ความเชื่อส่วนบุคคล)และมีเหตุการหนึ่งที่ท่านรักษาผู้พิการให้กลับมาเดินได้จากการนวดจับเส้นและการนวดบำบัด

หลังจากนั้นชาวบ้านก็เรียกท่านว่าหมอเพ็ญมาจนถึงปัจจุบันนี้ส่วนการการรักษาโรคด้วยสมุนไพรหมู่บ้าน

ได้วิชามาจากพ่อและแม่ของท่านเองด้วยความชอบช่วยเหลือและชอบเรียนรู้จึงตามพ่อกับแม่ท่านไปเก็บ

สมุนไพรและนำความรู้กลับมาใช้ในชีวิตประจำวัน

การนวดแผนโบราณ

วีธี/ขั้นตอน

เป็นนวดการจับเส้นและนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยการนวดตรงจุดที่ปวดเมื่อยในระบบร่างกาย

ประโยชน์

ช่วยในการผ่อยคลายความปวดเมื่อยจากการทำงานหนักและโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ การนวดยังช่วยแก้วิงเวียนศรีษะผ่อนคลายจากโรคเครียดไมเกรน

1.1การรักษาโรคด้วยสมุนไพรหมู่บ้าน

สมุนไพรต่างมีสรรพคุณในตัวของมันมีวิธีใช้ต่างกันออกไป

1 .สมุนไพรว่านกระดูกไก่ดำหรือสันพร้ามอญ (แก้ปวดข้อเข่าแก้ลมพิษ)

2 .ต้นอีเหนียว แก้ไขมันอุดตันในเส้นเลือด

3.โคคานแก้แก้ปวดเมื่อยเส้นตึง

4. ต้นมุมัน แก้ ท้องเสีย

5.ต้นข่อย แก้ไข้ แก้ปวดฟันขัดฟันได้ ใช้ทำกระดาษใบข่อย

6.ถั่วเสี้ยน แก้ความจำเสื่อม เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี

7.กลิ้งกางดงหรือตะหลุมปุ่มเป้าแก้ไข้ป่ามีรสชาติขมมวลสารนำไปทำพระเครื่องทำมีฤทธิ์เป็นคงกระพันชาตรีได้

8. สเลทพังพอนตัวเมีย เป็นยาปฏิชีวนะ เป็นยาฆ่าเชื้อ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้งูสวัด

9.  ทองพันชั่ง แก้เลือดลมสตรี แก้มะเร็ง

10. หญ้าฟันงู แก้โรคไต

ด้านแพทย์แผนโบราณและยาสมุนไพร

โดย

  นาง จันทร์เพ็ญ คิรีวัน อายุ57ปี


 

1. สมุนไพรว่านกระดูกไก่ดำหรือสันพร้ามอญ(แก้ปวดข้อเข่าแก้ลมพิษ)




 

2. ต้นอีเหนียว แก้ไขมันอุดตันในเส้นเลือด






 

3.โคคานแก้แก้ปวดเมื่อยเส้นตึง





 

4.ต้นมุมัน แก้ ท้องเสีย



 

5.ต้นข่อย แก้ไข้ แก้ปวดฟันขัดฟันได้ ใช้ทำกระดาษใบข่อย




 

6.ถั่วเสี้ยน แก้ความจำเสื่อม เป็นแหล่งโปรตีนชั้นด





 

7.กลิ้งกางดงหรือตะหลุมปุ่มเป้าแก้ไข้ป่ามีรสชาติขม มวลสารนำไปทำพระเครื่องทำมีฤทธิ์เป็นคงกระพันชาตรีได้




 

8.สเลทพังพอนตัวเมียเป็นยาปฏิชีวนะเป็นยาฆ่าเชื้อ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้งูสวัด





 

9.  ทองพันชั่ง แก้เลือดลมสตรี แก้มะเร็ง


10.  หญ้าฟันงู แก้โรคไต


 





2.ด้านเพลงพื้นบ้าน ประเภทดนตรีพื้นบ้าน


โดย

นาย เหลือ นาคโขนง อายุ 86ปี

ประวัติ

ตาเหลือเป็นหมอแคลนประจำหมู่บ้านเป่าแคลนตามเทศการต่างๆในกลุ่มลาวเวียง ได้ไปออกงานต่างๆมีประสบการณ์มาหลายสิบปีและไปเป่าแคลนทุกที่ที่มีการละเล่นต่างๆทั้งในงานชุมชนและงานจังหวัด

ประโยชน์

สร้างความบันเทิงแก่ชาวบ้านในทุกเทศกาลเช่น งานบวชนาคประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น





 

3.  ด้านเพลงพื้นบ้าน

ประเภทร้องเพลงพื้นบ้านลาวเวียง(เพลงกล่อมลูก)

โดย

1.นางเพชร สอนนุชา อายุ86 ปี

2.นางพิศ หลวงพิทักษ์ อายุ84 ปี

3.นางแถม จันทร์แปลง  อายุ84 ปี

ที่มา

นางเพชร นางพิศ นางแถม

มีประสบการณ์การร้องเพลงพื้นบ้านมานานกว่าหลายสิบปีโดยแต่ละงานจะร้องเพลงกล่อมลูกให้ศีลให้พรตามประเพณีไทยและลาวเวียงเช่นงานแต่ง งานบวช งานทำขวัญ งานแห่ต่างๆเช่น สงกรานต์เป็นต้นโดยจะมีดนตรีพื้นบ้านคือการเป่าแคลนมีหมอแคลนหรือตาเหลือเป่าด้วยความสนุก

สนานเพลิดเพลินและมีการฟ้อนรำตามประเพณีลาวเวียงและได้ไปออกงานงานชาติพันธุ์ลาวเวียงและงานสตรีอาสาพัฒนาท้องถิ่นอีกด้วย

ประโยชน์

เพลงกล่อมลูกทำให้เราระลึกนึกถึงความรักของแม่และผู้มีพระคุณที่เอาใจใส่เรารักเรามาตั้งเล็กๆจนเติบโตทำให้เรารูสึกเคารพมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณของเรา และเป็นการเรียกขวัญกำลังใจให้เราอีกด้วย

 

3.3 ปราชญ์ชาวบ้าน 5ท่าน

1.นางจันทร์เพ็ญ คีรีวัน(หมอชาวบ้านเรื่องยาสมุนไพรและนวดแผนโบราณ)

2.นายเหลือ นาคโขนง (หมอแคลน)

3.นางเพชร สอนนุชา (ร้องเพลงกล่อมลูก)

4.นางพิศ หลวงพิทักษ์ (ร้องเพลงกล่อมลูก)

5.นางแถม จันทร์แปลง   (ร้องเพลงกล่อมลูก)
3.4 ทรัพยากรหมู่บ้าน

มีสมุนไพรในหมู่บ้านใช้รักษาโรคได้

3.5 สถานการณ์ปัญหา

3.5.1. โรคระบาดโควิด19-โอไมคอน

3.5.2  สารเสพติด

              

อ้างอิง

1.http://www.baankhong.go.th/site/attachments/article/851/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202.pdf

2.http://www.baankhong.go.th/site/index.php?option=com_content&view=article&id=350&Itemid=104

3.แผนพัฒนาตำบลบ้านฆ้อง.(2561).แผนพัฒนาตำบลบ้านฆ้อง หมู่ที่1 อำเภอ โพธาราม จังหวัด ราชบุรี

ผู้ให้ข้อมูลการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น

นางจันทร์เพ็ญ คีรีวัน

นายเหลือ นาคโขนง 

นางเพชร สอนนุชา 

นางพิศ หลวงพิทักษ์ 

นางแถม จันทร์แปลง   


 

หมายเลขบันทึก: 700157เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2022 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2022 11:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท