รวมเอกสาร พรบ.การศึกษา นโยบาย จุดเน้น การวางแผนกลยุทธ์ สพฐ จำนวน รร สพฐ. แยกรายปี 2550-2556


  รายชื่อโรงเรียนในสังกัด สพฐ. แยกรายปี ปี2550-2566. สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน

>>> http://www.bopp.go.th/?page_id=878. ปี 2566 จำนวน 29,312 รร. /สพป. 26,766 รร. /สพม. 2546 รร.

รวมเอกสาร พรบ.การศึกษา นโยบาย จุดเน้น การวางแผนกลยุทธ์ สพฐ เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ

0. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับล่าสุด (ฉบับแก้ไขเนื้อหาตามฉบับเพิ่มเติม ฉ.2 ฉ.3 ฉ.4 แล้ว) 

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> 20221130075100.pdf

นโยบายรัฐบาล 2566

  สรุปคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (หน้า 9-10)

   รัฐบาลจะดำเนินนโยบายปฏิรูปการศึกษา และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งส่งเสริมให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนตามความถนัด ส่งเสริมการอ่าน เพื่อสร้างอนาคต สร้างรายได้ กระจายอำนาจการศึกษาให้ผู้เรียนได้เข้าถึงการเรียนรู้อย่างทั่วถึง มีอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมต่อผู้เรียนแต่ละวัย และใช้ระบบเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่ จัดทำหลักสูตรและให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับความรู้ความสนใจของผู้เรียน ส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาทั้งในด้านสังคม ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) และการวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Research) เพื่อต่อยอดให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยไม่ละเลยการศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศ และการปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ เพื่อให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของโลกสมัยใหม่อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
   รัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อความมีคุณภาพของครูทั้งประเทศ รวมไปถึงครูแนะแนว เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับคำแนะนำด้านเนื้อหาของวิชาการและการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกเรียนและประกอบอาชีพ รวมไปถึงการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของนักเรียนทุกคน นอกจากนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ทั้งสายวิชาการและสายอาชีพให้มีรายได้จากวิชาที่เรียน โอกาสฝึกงานระหว่างเรียน เพื่อสร้างบุคลากรที่มีทักษะและความสามารถตรงต่อความต้องการของการจ้างงาน และที่สำคัญที่สุด รัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เป็นรากฐานสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสังคมไทย

   นโยบายด้านการศึกษาดังกล่าว สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐและแนวนโยบายแห่งรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด 5 มาตรา 54 และยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้ 1. การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ 2. การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต 3. ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และ 4. การตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย

นโยบาย คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>>20230913092042.pdf

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

นโยบายและุดเน้น 2567

นโยบายและจุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย

1.1 สร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของสังคม และป้องกันภัยคุกคามในชีวิตทุกรูปแบบ โดยมีการดำเนินการตามแผนและมาตรการด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครู และบุคลากร ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเข้มข้น
1.2 ปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรม และองค์ความรู้ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์และไซเบอร์ อย่างสร้างสรรค์
1.3 ส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักรู้และจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
1.4 พัฒนาบทบาทและภารกิจด้านความปลอดภัยของทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน

2. การยกระดับคุณภาพการศึกษา

2.1 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้สู่สมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ไปสู่การปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างสมรรถนะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ให้กับผู้เรียน
2.2 จัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาให้กับผู้เรียน โดยเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในรูปแบบ Active Learning, STEM Education, Coding ฯลฯ และกระบวนการส่งต่อในระดับที่สูงขึ้น
2.3 พัฒนากระบวนการเรียนรู้และการวัดผล ประเมินผลฐานสมรรถนะ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นแห่งอนาคต
2.4 ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถนะด้าน Soft Power ให้กับผู้เรียน
2.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้เรียนรู้ตามความสนใจผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มที่หลากหลาย
2.6 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss)
2.7 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรมให้มีความทันสมัย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยและบริบทของพื้นที่
2.8 ส่งเสริมการให้ความรู้และทักษะด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ให้กับผู้เรียน โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.9  ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้นำผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติไปใช้ในการวางแผน การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา
2.10 พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพสถานศึกษาที่เน้นสมรรถนะและผลลัพธ์ที่ตัวผู้เรียน

3. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย

3.1 พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการติดตามและส่งต่อไปยังสถานศึกษาในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน
3.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อรับการพัฒนาอย่างรอบด้าน มีคุณภาพ ตามศักยภาพ ตามวัย ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามมาตรฐาน โดยบูรณาการร่วมกันกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.3 พัฒนาข้อมูลและทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปีที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การทำงาน หรือการฝึกอบรม (Not in Education, Employment or Training : NEETs)
3.4 พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว (Home School) และการเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลัก (Home–based Learning) รวมทั้งการศึกษาทางเลือกอื่น ๆ
3.5 พัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ในหน่วยงานที่จัดการศึกษาและให้มีหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อนระบบธนาคารหน่วยกิตในภาพรวม และการเชื่อมโยงทั้งระหว่างรูปแบบ ประเภท และระดับการศึกษา

4. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

4.1 พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) มีการบูรณาการวิชาสามัญและวิชาชีพในชุดวิชาชีพเดียวกัน เชื่อมโยงการจัดการอาชีวศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและระบบทวิภาคี รวมทั้งการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้นเพื่อการมีงานทำ
4.2 ขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และยกระดับสมรรถนะกำลังคนตามกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน และมาตรฐานสากล รวมทั้งขับเคลื่อนความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) โดยความร่วมมือกับภาคเอกชนและสถานประกอบการในการผลิตกำลังคนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ
4.3 พัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการ Re-skill Up-skill และ New skill เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น พร้อมทั้งสร้างช่องทางอาชีพในรูปแบบหลากหลายให้ครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งผู้สูงอายุ โดยมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.4 ส่งเสริมการพัฒนาระบบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ตามสมรรถนะที่จำเป็นในการเข้าสู่อาชีพ และการนำผลการทดสอบไปใช้คัดเลือกเข้าทำงาน ศึกษาต่อ ขอรับประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) การขอรับวุฒิบัตรสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency)
4.5 จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาการจัดตั้งธุรกิจ (ศูนย์ Start Up) ภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา เพื่อการส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการด้านอาชีพทั้งผู้เรียนอาชีวศึกษาและประชาชนทั่วไป โดยเชื่อมโยงกับ กศน. และสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพในวิถีชีวิตรูปแบบใหม่
4.6 เพิ่มบทบาทการอาชีวศึกษาในการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการและกำลังแรงงานในภาคเกษตร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรอัจฉริยะ (Smart Farmer) และกลุ่มยุวเกษตรกรอัจฉริยะ (Young Smart Farmer) ที่สามารถรองรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้
4.7 พัฒนาหลักสูตรอาชีพสำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้อยู่นอกระบบโรงเรียนและประชาชนที่สอดคล้องมาตรฐานอาชีพเพื่อการเข้าสู่การรับรองสมรรถนะ และได้รับคุณวุฒิวิชาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ

5. การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากร

5.1 ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการประเมินวิทยฐานะ โดยใช้ระบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (Digital Performance Appraisal : DPA)
5.2 ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการ พัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลตามกรอบ  ระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษา
5.3 พัฒนาครูให้มีความพร้อมด้านวิชาการและทักษะการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งให้เป็นผู้วางแผนเส้นทางการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตของผู้เรียนได้ตามความสนใจและความถนัดของแต่ละบุคคล
5.4 ส่งเสริมสนับสนุนการวัดสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผล เพื่อนำผลไปใช้ในการยกระดับการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลในชั้นเรียน
5.5 พัฒนาขีดความสามารถของครู และบุคลากรให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต
5.6 ส่งเสริมสนับสนุนการทดสอบสมรรถนะครู และบุคลากรด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการทำงาน
5.7 เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทั้งระบบ ควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการวางแผนและการสร้างวินัยด้านการเงินและการออม

6. การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล

6.1 ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการ ด้วยนวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาเป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน (Digitalize Process) การเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูล (Sharing Data) การส่งเสริมความร่วมมือ บูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
6.2 พัฒนาประสิทธิภาพของเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถใช้งานเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.3 พัฒนาระบบการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา โดยยึดหลักความจำเป็นและใช้พื้นที่เป็นฐาน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ
6.4 เสริมสร้างคุณธรรม มาตรฐานทางจริยธรรมและปลุกจิตสำนึกต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล

7. การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ

ดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรอง เพื่อรองรับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง

แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ

  1. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ นำนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ข้างต้น เป็นกรอบแนวทางในการจัดการศึกษา โดยดำเนินการจัดทำแผนและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ
  2. ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผล และรายงานการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ ทำหน้าที่ตรวจราชการ ติดตาม ประเมินผลในระดับนโยบาย และจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ทราบตามลำดับ
  3. กรณีมีปัญหาในเชิงพื้นที่หรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ให้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล และดำเนินการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ก่อน โดยใช้ภาคีเครือข่ายในการแก้ไขข้อขัดข้อง พร้อมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการติดตามฯ ตามข้อ 2 ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามลำดับ
  4. สำหรับภารกิจของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่ปฏิบัติในลักษณะงานในเชิงหน้าที่ (Function) งานในเชิงยุทธศาสตร์ (Agenda) และงานในเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว หากมีความสอดคล้องกับหลักการนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ข้างต้น ให้ถือเป็นหน้าที่ของส่วนราชการหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัด กำกับ ติดตาม ตรวจสอบให้การดำเนินการเกิดผลสำเร็จ และมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม

ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565
นางสาวตรีนุช เทียนทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗

๑. ด้านความปลอดภัย

๑.๑ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย อบอุ่น มีความสุข เอื้อต่อการเรียนรู้ และส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ทักษะ ในการป้องกัน ดูแล ดําเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัย จากโรคภัย ภัยพิบัติ อุบัติภัย และภัยคุกคามทุกรูปแบบ สามารถปรับตัว ต่อโรคอุบัติใหม่ และโรคอุบัติซ้ํา

๑.๒ พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา รวมถึงการใช้ Big Data และแอปพลิเคชันในการเฝ้าระวังเชิงรุก ด้วยระบบมาตรฐานความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ (MOE Safety Platform) พร้อมทั้งจัดทําแผนบริหารจัดการด้านความปลอดภัย และ แผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan: BCP)

ส่งเสริมให้ผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชน มีคุณลักษณะและพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม สร้างความตระหนักรู้ และจิตสํานึกในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวรับมือต่อผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ๒. ด้านโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา

๒.๑ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เด็กปฐมวัยที่มีอายุ ๓ ปีขึ้นไปทุกคน เข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อให้เด็ก มีพัฒนาการที่ดีอย่างรอบด้าน พร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยการมีส่วนร่วม ของครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๒.๒ ส่งเสริม สนับสนุน ประชากรวัยเรียนที่มีอายุถึงเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับทุกคน ให้ได้รับโอกาส ทางการศึกษาที่มีคุณภาพ

๓. ด้านคุณภาพการศึกษา

๓.๑ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านให้เหมาะสมกับวัย รวมทั้งพัฒนาครูให้มีความรู้และทักษะการดูแลที่เพียงพอ มีจิตวิทยาพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และสร้างกลไก ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

๓.๒ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนในระดับปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เห็นคุณค่าประวัติศาสตร์ และรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยมไทย รวมถึงเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง รู้สิทธิ และหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ ดําเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อให้เป็นพื้นฐานของสังคมไทย และเป็น “ซอฟต์พาวเวอร์” ในการสื่อสารภาพลักษณ์ของประเทศไทย และนําเสนอความเป็นไทยสู่สากล

๓.๓ ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนทุกระดับมีสมรรถนะที่จําเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล เหมาะสมตามช่วงวัย นําไปสู่การมีงานทํา มีอาชีพ และส่งเสริมความเป็นเลิศ ของผู้มีความสามารถพิเศษอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

๓.๔ ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาจัดการเรียนรู้สู่สมรรถนะของผู้เรียน ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) และตามแนวคิดพหุปัญญา ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลการศึกษา รวมทั้งส่งเสริม การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ยืดหยุ่น ตามสภาพจริง ตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning) ที่เชื่อมโยงสู่การทํางานในอนาคต

๓.๕ ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ มีความรู้ สมรรถนะ ด้านวิชาการ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ พัฒนาผู้บริหารให้มี “ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง” ปรับบทบาทของครูจาก “ผู้สอน” เป็น “โค้ช” ที่อํานวยการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มุ่งการยกระดับครู สู่วิชาชีพชั้นสูง มีจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งมีจิตวิญญาณความเป็นครู

๔. ด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

๔.๑ พัฒนาระบบการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยส่งเสริมบทบาท

ของภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ในการจัดการศึกษาและการร่วมลงทุนเพื่อการศึกษา เน้นการกระจายอํานาจสู่สถานศึกษาในโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนที่ตั้งในพื้นที่ลักษณะพิเศษ โรงเรียนในพื้นที่ นวัตกรรมการศึกษา โดยปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ระบบการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษา ที่เอื้อให้สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหารด้านการจัดการศึกษา ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร

และด้านบริหารทั่วไป

๔.๒ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความครอบคลุมในทุกพื้นที่ พัฒนา แพลตฟอร์ม และนําระบบข้อมูลสารสนเทศมาเป็นกลไกหลักในการดําเนินงาน (Digitalize Process) การเชื่อมโยง และแบ่งปันข้อมูล (Sharing Data) ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยบูรณาการกับภาคส่วนต่าง ๆ รวมทั้งขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาตามบริบทของสถานศึกษา และพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการบริการมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพสังคม รองรับภาวะวิกฤตและเหตุจําเป็นในอนาคต

๔.๓ ส่งเสริม พัฒนา แนวปฏิบัติและระบบสนับสนุน ให้สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้ แบบผสมผสาน และการเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลัก (Home based Learning) ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อแก้ไข ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Loss) เป็นรายบุคคล

๔.๔ ส่งเสริมประสิทธิภาพระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และพัฒนาระบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อนําผลไปใช้ในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาการบริหารจัดการศึกษา และการจัดการเรียนรู้

๔.๕ ส่งเสริม สนับสนุนให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา มีความเข้มแข็ง โดยยึดหลักการกระจายอํานาจ และการมีส่วนร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดําเนินการเป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดถือระบบ คุณธรรม ความโปร่งใส และความเสมอภาคระหว่างบุคคล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาเป็นสําคัญ ๔.๖ เสริมสร้างการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลภาครัฐ ให้กับหน่วยงานทุกระดับ


 

1. นโยบายและจุดเน้นที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ 

  นโยบายและจุดเน้นที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2566

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>>20221130075817.pdf

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวม 7 ด้าน คือ 1) การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 2) การยกระดับคุณภาพการศึกษา 3) การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย 4) การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 5) การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 6) การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล 7) การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ

 นโยบายและจุดเน้นที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ   ปีงบประมาณ 2565

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> 20220319105853.pdf

 นโยบายและจุดเน้นที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2565

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> 20220319105909.pdf

แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

แผนส่งเสริมคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2564 คลิ๊กที่ชื่อไฟล์>> 20230119093918.pdf

แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์>> 20230119093940.pdf 

แนวทางการรับบริจาคอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์>>20230119100024.pdf

ร่างพระราชบัญญัติการศึกษา 2565-2566

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์>>20230119100123.pdf

คู่มือโรงเรียนนิติบุคคล

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์>>20230119100205.pdf

แนวทางการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2550

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์>>20230119100239.pdf

2. นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2566
คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> 20221130080554.pdf

    นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2564 – 2565 
คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> 20220319111334.pdf

3. แผนปฏิบัติราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 3 ปี 

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> 20220319110232.pdf

นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563 – 2565
 4. แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2565 ของ สพป.นครปฐม เขต 2

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> 20220321163319.pdf 

5. แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2564 - 2565) สพฐ .

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> 20220319110641.pdf

6. มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> 20220319111734.pdf

7. เอกสารการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> 20220319132332.pdf

8. เอกสารการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างการวิเคราะห์ C-PEST และ 7S ตั้งแต่หน้า 22

ฉบับย่อเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> 20220319135306.pdf

คลิ๊กที่ชื่อไฟล์ >>> https://www.pyo1.go.th/plan/wp-content/uploads/2020/04/book-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C.pdf

ข้อมูลเพิ่มเติม

1.  ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
รวม 7 ด้าน คือ 1) การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 2) การยกระดับคุณภาพการศึกษา 3) การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย 4) การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 5) การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา 6) การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล 7) การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ
   ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รวม 7 ด้าน คือ 1) การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 2) การยกระดับคุณภาพการศึกษา 3) การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย 4) การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 5) การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 6) การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล 7) การขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ

3. นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2564 – 2565 

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้กำหนดนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณพศ. 2564 ถึง 2565 โดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติพศ 2561 ถึง 2580 แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาโดยเฉพาะกิจกรรมปฏิรูปประเทศ ที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญที่มีความสำคัญเร่งด่วน สามารถดำเนินการวัดผลได้อย่างเป็นรูปประธรรมในช่วงปีพศ 2564 ถึง 2565 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้แก่

1.การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาระดับปฐมวัย 2.การจัดการเรียนการสอนสู่ การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และ 3.การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน

รวมทั้งนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการเกิดผลสัมฤทธิ์จึง  กำหนดนโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ 2564 ถึง 2565

คำสำคัญ (Tags): #เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ#แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน#นโยบายและจุดเน้นที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ#แผนปฏิบัติราชการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน#มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย#มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน#พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับแก้ไขเป็นปัจจุบัน#พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ล่าสุด#นโยบายรัฐบาล#รายชื่อโรงเรียนในสังกัด สพฐ. แยกรายปี ปี2550-2566#รายชื่อโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ปี 2565#รายชื่อโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ปี 2566#รายชื่อโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ปี 2567#จำนวนโรงเรียน สพฐ#รายชื่อโรงเรียน สพฐ#จำนวน รร สพฐ#รายชื่อ รร สพฐ
หมายเลขบันทึก: 699236เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2022 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2023 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท