บุคคลสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 2 ชุดที่ 2


ฝ่ายอักษะ

ญี่ปุ่น

จักรพรรดิโชวะหรือที่รู้จักในสื่อต่างประเทศจากพระนามจริงว่า ฮิโระฮิโตะ

29 เมษายน.. ค.ศ. 1901 – 7 มกราคม ค.ศ. 1989   เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่ 124 

ปกครองจักรวรรดิญี่ปุ่นตั้งแต่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1926 ซึ่งเปลี่ยนมาเป็นประเทศ

ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1947 จนกระทั่งเสด็จสวรรคต รวมรัชสมัย 63 ปี นับเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุด

ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดของโลก

ในตอนต้นรัชสมัยของพระองค์ จักรวรรดิญี่ปุ่นในขณะนั้นได้กลายเป็นชาติมหาอำนาจของโลกแล้ว ด้วยขนาดเศรษฐกิจ

ที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลกในรัชสมัยของพระองค์ 

ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง จักรวรรดิญี่ปุ่นแผ่อำนาจและดินแดนไปทั่วเอเชียบูรพาโดยที่ไม่มีชาติใดๆ 

จะสามารถต้านทาน ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงบนความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น พระองค์ไม่ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาอาชญากร

สงครามดังเช่นผู้นำคนอื่นๆของชาติฝ่ายอักษะและภายหลังสงคราม พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์ของรัฐใหม่ในการกอบกู้

ประเทศชาติที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม ในตอนปลายรัชกาล ประเทศญี่ปุ่นก็สามารถกลับมายืนหยัดในฐานะชาติ

มหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก

พลเอก ฮิเดกิ โทโจ (Tojo Hideki) 

เป็นรัฐบุรุษและทหารบกในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ผู้นำของสมาคมให้ความช่วยเหลือการปกครองจักรวรรดิ 

และเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนที่ 27 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกำลังระอุมากขึ้น 

ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1941 - 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 เขาได้เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีจากการปฏิบัติหน้าที่ของเขา

ในฐานะที่เป็นนายกรัฐมนตรีในช่วงสงครา มีส่วนรับผิดชอบในการออกคำสั่งให้โจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์และการทำสงครามอื่นๆ

อีกมากมาย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของสงครามระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา

แม้ว่าการวางแผนได้เริ่มต้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 ก่อนที่เขาจะเข้ารับตำแหน่ง ภายหลังสงครามยุติลง, 

โทโจถูกจับกุม ตั้งข้อกล่าวหา และตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิตสำหรับข้อหาอาญากรรมสงครามโดยศาลทหาร

ระหว่างประเทศสำหรับตะวันออกไกล และถูกแขวนคอ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1948

จอมพลเรือ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ (Yamamoto Isoroku) 

4 เมษายน 1884 – 18 เมษายน 1943

เป็นจอมพลเรือในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น และผู้บัญชาการทัพเรือผสมระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

จอมพลเรือ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ เป็นผู้บัญชาการในปีแรกสำหรับการวางแผนในสงครามหลัก เช่น 

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ยุทธนาวีที่มิดเวย์ 

เขาเป็นนายพลเรือหัวก้าวหน้าผู้โด่งดัง ที่สนับสนุนแนวทางพัฒนาศักยภาพกองทัพเรือ

โดยการพัฒนาการบิน มากกว่าการต่อเรือรบขนาดใหญ่ ยามาโมโตะไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามกับสหรัฐและอังกฤษ 

จนถูกปองร้ายจากคนในกองทัพ แต่ก็เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมสำคัญในการวางแผนการโจมตีอ่าวเพิร์ล เขายังเป็นผู้บัญชาการสูงสุด

กองเรือสหพันธ์ตลอดห้วงระยะเวลารุนรานแปซิฟิกใต้ และเป็นผู้นำการรบที่ยุทธนาวีมิดเวย์จนพ่ายแพ้ยับเยิน 

หลังจากความพ่ายแพ้ที่มิดเวย์ และกัวดัลคะแนล ยามาโมโตะเสียชีวิตระหว่างเดินทางไปให้กำลังใจทหารที่

หมู่เกาะโซโลมอน เมื่อเครื่องบินMitsubishi G4Mที่จอมพลเรือเอกอิโซโรกุ ยามาโมโตะโดยสารมาถูกแกะรอยจาก

หน่วยข่าวกรองสหรัฐจนรู้เส้นทางการบิน และใช้ฝูงบินของเครื่องบินขับไล่ P-38 ดักสังหาร ในที่สุด

พลเอก โทโมยูกิ ยามาชิตะ (Tomoyuki Yamashita) 

เป็นนายพลแห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ยามาชิตะเป็นผู้นำกองกำลังญี่ปุ่น

ระหว่างการทัพมาลายาและยุทธการที่สิงคโปร์ ด้วยความสำเร็จในการพิชิตมลายาและสิงคโปร์ใน 70 วัน 

ทำให้เขาได้รับนามสมญา พยัคฆ์แห่งมาลายา ถึงขนาดที่นายกรัฐมนตรีอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิล

ที่เรียกการล่มสลายของสิงคโปร์ต่อประเทศญี่ปุ่นว่าเป็น "ภัยพิบัติที่เลวร้ายที่สุด" และ "การยอมจำนนครั้งใหญ่ที่สุด" 

ในประวัติศาสตร์การทหารของอังกฤษ

ยามาชิตะได้รับมอบหมายให้คุ้มครองฟิลิปปินส์จากกองกำลังพันธมิตรที่จะมาถึงภายหลังในสงคราม 

และในขณะที่ไม่สามารถหยุดการรุกคืบของพันธมิตร เขาสามารถที่จะยึดครองส่วนหนึ่งของเกาะลูซอนได้

จนกระทั่งหลังการยอมจำนนของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945หลังสงคราม 

ยามาชิตะถูกกล่าวหาสำหรับอาชญากรรมสงครามที่กระทำโดยทหารภายใต้คำสั่งของเขาในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครอง

ฟิลิปปินส์เมื่อปี ค.ศ. 1944 ในการพิจารณาคดี ยามาชิตะถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานความทารุณจากกองทัพของเขา 

แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าเขาเป็นผู้อนุมัติหรือแม้แต่รู้จักพวกเขา และโดยแท้จริงแล้วความโหดร้ายหลายอย่าง

เกิดขึ้นจากกองกำลังที่ไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งของเขา ยามาชิตะถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ

เมื่อปี ค.ศ. 1946 การพิจารณาคดีต่อยามาชิตะ ถือตามผู้บัญชาการที่ต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามแทน

ผู้ใต้บังคับบัญชา ตราบเท่าที่ผู้บังคับบัญชาไม่ได้พยายามค้นหาและหยุดยั้งพวกเขาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 

ซึ่งมาเป็นที่รู้จักในฐานะมาตรฐานยามาชิตะ

พลเอก ทาดามิจิ คูริบายาชิ (Kuribayashi Tadamichi) 

7 กรกฎาคม 1891 – 26 มีนาคม 1945 

เป็นนายพลในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น, นักเขียนนอกเวลา, กวีไฮกุ, นักการทูตและผู้การของเจ้าหน้าที่เสนาธิการ

แห่งกองทัพบกญี่ปุ่น เขาเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะผู้บัญชาการทหารญี่ปุ่นโดยรวมในช่วงยุทธการที่อิโวะจิมะ

แม้กระทั่งก่อนการสู้รบ, นายพลคุริบายาชิได้ยืนกรานที่จะแบ่งปันความยากลำบากของทหารของเขา 

เขายังปฏิเสธที่จะอนุญาตให้ทำการบันไซชาร์จ, ซึ่งเขามองว่าเป็นการสูญเสียชีวิตทหารของเขาโดยไร้ประโยชน์ 

แม้ว่านาวิกโยธินสหรัฐฯคาดว่าจะเข้ายึดเกาะอิโวะจิมะได้ภายในห้าวัน, คูริบายาชิและทหารของ

เขาต่างได้ต่อสู้ยืนหยัดได้ถึง 36 วัน หรือ 5 สัปดาห์ ในขณะที่มีความเชื่อกันว่าเขาได้เสียชีวิตในการปฏิบัติ

หน้าที่ในการโจมตีครั้งสุดท้าย, ศพของคูริบายาชิไม่เคยถูกพบหรือยืนยันได้เลยแม้โดยทหารสหรัฐฯ

จอมพลเรือ มาร์ควิส โทโง เฮฮาจิโร  

27 มกราคม ค.ศ. 1848 – 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1934  

เป็นหนึ่งในจอมพลเรือแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น และถือเป็นหนึ่งในวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือญี่ปุ่น 

จนได้รับฉายาว่า "เนลสันแห่งบูรพา"

หมายเลขบันทึก: 698711เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2022 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2022 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท