สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II :ค.ศ. 1939 – 1945)


สาเหตุของสงคราม

1. ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์และสัญญาสันติภาพฉบับอื่นๆ ซึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันและชาติผู้แพ้สงครามถูกบังคับให้ลงนามในสัญญา

2. ลัทธิชาตินิยมในประเทศเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

3. ความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบเผด็จการ

4. ลัทธินิยมทางทหาร

5. นโยบายต่างประเทศที่ไม่แน่นอนของอังกฤษ

6. ความล้มเหลวขององค์กรสันนิบาตชาติ

7. การปิดประเทศอยู่แบบโดดเดียวของประเทศสหรัฐอเมริกา 

8. สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วง ค.ศ. 1929 – 1931 (ภายหลังสงครามโลกครั้งที่1)

ชนวนของสงคราม

1. สงครามอิตาลี-เอธิโอเปียครั้งที่ 2( สงครามอิตาลี-อะบิสซิเนียครั้งที่ 2 )

2. การยึดครองไรน์แลนด์ของเยอรมนี  ภายในไรน์แลนด์มีเมืองสำคัญๆของเยอรมนี เช่น โคโลญจ์, อาเคน, แฟรงเฟิร์ต, และ

ดุสเซลดอล์ฟ เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการผลิตไวน์องุ่นที่สำคัญของเยอรมัน

3. สงครามกลางเมืองสเปนในปี ค.ศ. 1936 ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายซ้ายนิยมสาธารณรัฐและฝ่ายขวาชาตินิยม กลายเป็น

สงครามกลางเมืองสเปนเมื่อฝ่ายชาตินิยมก่อกบฏ 

4. สงครามจีน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 2

5. เยอรมนีผนวกออสเตรีย

6. วิกฤตการณ์เชคโกสโลวาเกีย

7. การยกทัพบุกโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน ปี ค.ศ. 1939

เหตุการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2

    เยอรมนีโจมตีโปแลนด์ เมื่อ 1 กันยายน 1939 ในวันที่ 3 กันยายน 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี 

เยอรมนีทำการลบแบบสายฟ้าแลบ ได้ชัยชนะอย่างรวดเร็ว ได้ดินแดนโปแลนด์  เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก และ

ฝรั่งเศส โจมตีอังกฤษ รัสเซีย ทางอากาศ ซึ่งเป็นสงครามทางอากาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สงครามในระยะแรกสัมพันธมิตรแพ้

ทุกสนามรบ

         ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ญี่ปุ่นบุกแมนจูเรีย(จีน)ในปี ค.ศ.1931 และเสนอแผนการที่จะสถาปนา 

“วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ 

        ญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 

สหรัฐจึงเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร 

ขณะเดียวกันญี่ปุ่นเปิดสงครามในตะวันออกเฉียงใต้หรือเรียกว่า “สงครามมหาเอเชียบูรพา”

ในระยะแรกของสงครามฝ่ายอักษะได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัด แต่หลังจากวัน D-Day (Decision - Day) 

ซึ่งเป็นวันที่สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่มอร์มังดี (Nomandy) ประเทศฝรั่งเศสด้วยกำลังพลนับล้านคน 

เครื่องบินรบ 11,000 เครื่อง เรือรบ 4,000ลำ วิถีของสงครามจึงค่อย ๆ เปลี่ยนด้านกลายเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปรียบ

          สงครามเริ่ม เมื่อ ค.ศ. 1939 สิ้นสุดเมื่อ ค.ศ. 1945 ( 6 ปี )

          เยอรมันยอมแพ้ เมื่อ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 )

          ญี่ปุ่นยอมแพ้ เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2

1.ด้านสังคม

          มีผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้ ประมาณ 40 ล้านคน

ประเทศรัสเซีย ประมาณ 20 ล้านคน

ประเทศเยอรมัน ประมาณ 3 ล้านคน

ประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 1.3 ล้านคน

ประเทศอังกฤษ อิตาลี โปแลนด์ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา 

ประมาณประเทศละ 3-6 แสนคน

การได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ การเกิดปัญหาทางจิต โรคระบาด การขาดสารอาหาร สูญหาย

2. ด้านการเมือง   

ประเทศที่แพ้สงคราม

          1. ต้องสูญเสียเกียรติภูมิ 

          2. ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม 

          3. ต้องเสียดินแดน 

          4. ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญา

ประเทศที่เป็นผู้แพ้สงคราม

อิตาลี ต้องเสียดินแดนที่ได้ในช่วงสงคราม ได้แก่บางส่วนของยูโกสลาเวีย  

แอลเบเนีย กรีซ และต้องจ่ายค่าปฎิมากรรมสงคราม   จำนวน 360 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ฟินแลนด์ ต้องเสียดินแดนบางส่วนให้รัสเซียและต้องจ่ายค่าปฎิมากรรมสงคราม จำนวน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา

ฮังการี  ต้องเสียดินแดนบางส่วนให้ เชโกสโลวะเกีย โรมาเนีย บัลแกเรีย รัสเซีย

บัลแกเรีย ต้องจ่ายค่าปฎิมากรรมสงครามให้แก่ ฟินแลนด์ ฮังการี โรมาเนีย ประเทศละ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โรมาเนีย ต้องเสียดินแดนให้ บัลแกเรีย รัสเซีย ต้องจ่ายค่าประติมากรรมสงคราม 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ออสเตรีย ต้องถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน และให้ออสเตรียได้รับเอกราชใน ปี ค.ศ. 1955

ญี่ปุ่น ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของประเทศสหรัฐอเมริกาโดยห้ามมีกำลังทหาร และนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ

ต้องได้รับความเห็นชอบจากสหรัฐอเมริกา

เยอรมัน

1. ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยอยู่ในการดูแลของรัสเซีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส

2. นครเบอร์ลิน เมืองหลวงเก่าถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน

3. ห้ามผลิตอาวุธสงคราม

4. การผลิตโลหะเคมี และเครื่องจักรต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของมหาอำนาจ 4 ชาติ

5. ระบบการเงิน เช่น เงินตรา หุ้น ให้ทำอย่างเปิดเผย

6. ผลผลิตทางการเกษตร และอุตสาหกรรมต้องนำไปใช้ทางด้านสันติเท่านั้น

7. สินค้าเข้า - สินค้าออกต้องได้รับการตรวจสอบจากพันธมิตร

8. การวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ต้องอยู่ในการควบคุมของพันธมิตร

9. ระบบนาซีทุกรูปแบบต้องถูกยกเลิกทั้งหมด

10. อาชญากรสงครามต้องได้รับการพิจารณาโทษ

3. ด้านเศรษฐกิจ

3.1 งบประมาณในการทำสงคราม             

3.2 ความเสียของทรัพย์สิน สิ่งก่อสร้าง

3.3 ปัญหาการว่างงานหลังสงคราม            

3.4 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำภายหลังสงครามโลก

โลกภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 

1.มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN : United Nations)เพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ

ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วย เหลือกัน และสนับสนุนสันติภาพของโลก 

รวมทั้งการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ซึ่งนับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง

และมีกองทหารของสหประชาชาติ

2.ทำให้เกิดสงครามเย็น(Cold War)ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น ประเทศสหภาพโซเวียต(USSR) ปกครอง

โดยสมัยสตาร์ลินมีนโยบายขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ ยุโรปตะวันออก และเยอรมนีตะวันออก 

ซึ่งมีทหารรัสเซียเข้าปลดปล่อยดินแดนเหล่านี้จากอำนาจฮิตเลอร์ในสงครามโลก ครั้งที่สอง

ขณะที่สหรัฐต้องการสกัดกั้นการขยายตัวดังกล่าว และเผยแผ่การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ 

โดยเฉพาะดินแดนอาณานิคมที่ประกาศเอกราช เป็นประเทศใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนเกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า 

สงครามเย็น( Cold War )

3. ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ มีการนำอาวุธที่ทันสมัยและระเบิดปรมาณูมาใช้  ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่า

สงครามโลกครั้งที่ 1 

4. การเกิดประเทศเอกราชใหม่ๆ (ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกต่างประกาศเอกราชของตนเอง ทั่วโลก 

โดยเฉพาะในเอเชีย และ แอฟริกา และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี เกาหลี เวียดนาม

5. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

6. ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา

7. เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

8. เกิดการแบ่งขั้วอย่างชัดเจนของสองมหาอำนาจจนนำไปสู่เกิดสงครามเย็นและการแบ่ง กลุ่มประเทศระหว่างโลกเสรี

ประชาธิปไตยกับโลกคอมมิวนิสต์ สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายอุดมการณ์ฟาสซิสต์ทั้งใน

ยุโรปและเอเซีย และได้เกิดอุดมการณ์ใหม่ขึ้นเมื่อมีการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐ อเมริกาและสหภาพโซเวียต 

โลกถูกแบ่งแยกออกเป็นสองค่าย กล่าวคือ

สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำค่ายประชาธิปไตย ส่วนสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำค่ายคอมมิวนิสต์ ต่างฝ่ายต่างพยายาม

นำเสนอระบบการเมืองที่ตนยึดมั่น เพื่อให้ประเทศอื่นๆรับไปใช้เป็นแม่แบบการปกครอง และพยายามแข่งขันกัน

เผยแพร่อุดมการณ์

          ทางลัทธิการเมืองของตนในกลุ่มประเทศที่ เกิดใหม่หลังสงคราม เงื่อนไขนี้เอง จึงก่อให้เกิดการแข่งขัน 

ขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมืองการปกครองและค่อย ๆ ลุกลาม รุนแรงจนอยู่ในสภาพที่เรียกว่า 

“สงครามเย็น” (Cold War) 
9. เกิดปัญหาเกี่ยวกับประเทศที่แพ้สงคราม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดปัญหาขึ้นในกลุ่มประเทศที่แพ้สงคราม เช่น 

เยอรมนีถูกแบ่งแยกออกเป็นเยอรมนีตะวันตกให้อยู่ในอารักขาของสัมพันธมิตร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส

 ฝ่ายหนึ่ง และเยอรมนีตะวันออกให้อยู่ในความอารักขาของสหภาพโซเวียต จนกระทั่ง ค.ศ. 1949

ฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้จัดให้มีการเลือกตั้งเสรีขึ้นในเยอรมนีตะวันตกและตั้งเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน

          ส่วนสหภาพโซเวียตก็ได้จัดตั้งรัฐสภาประชาชนขึ้นในเยอรมนีตะวันออกและปกครอง ด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ 

จัดตั้งเป็นสาธารณะรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน 

          ทำให้เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้ตกลงมารวมกันเป็นประเทศเยอรมนีนับแต่ปี 1990 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ญี่ปุ่นที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็น  ผู้มีอำนาจเต็มแต่เพียงผู้เดียวในการวาง

นโยบายครอง ญี่ปุ่น แต่ยังคงให้ญี่ปุ่นมีรัฐบาลและมีจักรพรรดิเป็นประมุขของประเทศ

          สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนอุดมการณ์ของคนญี่ปุ่นให้หันมายอม รับฟังระบอบการปกครองแบบ

ประชาธิปไตยและสันติภาพ

         ในช่วงที่เกิดสงครามเกาหลี สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูพัฒนาเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น และช่วยเหลือให้ญี่ปุ่นเปลี่ยน

เป็นประเทศอุตสาหกรรม จนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

- ตามข้อตกลงปอตสดัม ทำให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 4 เขต และถูกยึดครองจากกลุ่มประเทศที่แบ่งเป็น 2 ฝ่าย 

คือ สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง และสหภาพโซเวียต อีกฝ่ายหนึ่ง 
          - ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐฯ ส่งผลให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 

เยอรมันตะวันตก และเยอรมันตะวันออก

10.สหรัฐฯได้เข้าปกครองญี่ปุ่นเป็นเวลานานถึง 6 ปี โดยเข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรหลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ เมื่อวันที่ 7 

ธันวาคม ค.ศ. 1941 ในแถลงการณ์ของสหประชาชาติ เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมฝ่ายพันธมิตร

อย่างเป็นทางการจำนวน 26 ประเทศ (แถลงการณ์นี้เป็นพื้นฐานของการก่อตั้งสหประชาชาติในภายหลัง)

11.ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมได้รับเอกราช บรรดาดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่น

ต่างก็ทยอย กันได้รับเอกราชและแสวงหาลัทธิการเมืองของตนเอง ทั้งในเอเชีย และ แอฟริกา เช่น ยุโรปตะวันออกอยู่ใน

ค่ายคอมมิวนิสต์ ยุโรปตะวันตกเป็นกลุ่มประชาธิปไตย

ส่วนในเอเชียนั้นจีนและเวียดนามอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์ แต่การได้รับเอกราชของชาติต่าง ๆ ได้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย 

เช่น  เกาหลีภายหลังได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกแบ่งเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ และได้ทำสงคราม

ระหว่างกัน ค.ศ. 1950 – 1953 

          โดยเกาหลีเหนือซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์ เป็นผู้รุกรานเกาหลีใต้ 

องค์การสหประชาชาติได้ส่งทหารสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกาเข้าปกป้อง เกาหลีใต้ไว้ได้ จนต่อมาได้มีการลงนาม

ในสัญญาสงบศึกที่หมู่บ้านปันมุนจอมในเขตเกาหลีเหนือ ปัจจุบันเกาหลีมีแนวโน้มที่จะรวมกันเป็นประเทศเดียวในอนาคต

            เวียดนามต้องทำสงครามเพื่อกู้อิสรภาพของตนจากฝรั่งเศส และถึงแม้จะชนะฝรั่งเศสในการรบที่เดียนเบียนฟู

ใน ค.ศ. 1954 แต่เวียดนามก็ถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ทั้งสองประเทศได้ต่อสู้กันเพราะความขัดแย้ง

ในอุดมการณ์ที่แตกต่างกันระหว่าง คอมมิวนิสต์กับเสรีประชาธิปไตย

ในที่สุดเมื่อสหรัฐอเมริกาผู้สนับสนุนเวียดนามใต้ยุติการให้ความช่วยเหลือ และถอนทหารกลับประเทศ 

          เวียดนามก็รวมประเทศได้สำเร็จใน ค.ศ. 1975 ในเวลาเดียวกันลาวและกัมพูชาซึ่งปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์

ก็ตกอยู่ภายใต้ อิทธิพลทางการเมืองของเวียดนาม แต่สามารถจัดตั้งรัฐบาลของตนเองได้ในเวลาต่อมา

ไทย กับสงครามโลกครั้งที่ 2 

          ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ต่อมา วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 

กองทหารญี่ปุ่นก็เข้าเมืองไทย    ทางสงขลา ปัตตานี  ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ และสมุทรปราการ 

ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็เข้าโจมตีเกาะฮาวาย, ฟิลิปปินส์และส่งทหารขึ้นบกที่มลายูและโจมตีสิงคโปร์ทางเครื่องบิน

  สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นในรัชสมัยของรัชกาลที่ 8 (ขณะนั้นเสด็จประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์) 

หลวงพิบูลสงคราม(จอมพล ป. พิบูลสงคราม)เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อเริ่มสงครามนั้นไทยประกาศตนเป็นกลาง 

แต่ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นนำเรือรบบุกขึ้นชายทะเลภาคใต้ของไทยโดยไม่ทันรู้ตัว รัฐบาลต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน 

ทำพิธีเคารพเอกราชกันและกัน

ผลของสงครามต่อไทย คือ

ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ

ได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง

เกิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง

ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

ขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement)

ดำเนินช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร จึงช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการแพ้สงคราม ซึ่งในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 ไทยได้

ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาแต่ทูตไทยในสหรัฐอเมริกา ที่นำโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ไม่ยอม

รับทราบในการกระทำของรัฐบาล  จึงได้ร่วมมือกันตั้งเสรีไทยขึ้นติดต่อกับ นายปรีดี พนมยงค์ ในเมืองไทย 

          เมื่อสงครามสงบในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไทยประกาศสงครามเป็นโมฆะ ซึ่งสหรัฐอเมริการับรอง

          ต่อมาไทยได้เจรจาเลิกสถานะสงครามกับอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1946 และกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 

พฤศจิกายน ค.ศ. 1946

คำสำคัญ (Tags): #สงครามโลกครั้
หมายเลขบันทึก: 698565เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2022 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2022 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท