ผลการฟื้นฟูสายตาผู้ป่วยเด็กสายตาขี้เกียจ (amblyopic eye) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา


ฉันทะนา เสมียนรัมย์, พัชรี บุญสุวรรณ, อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาผลการฟื้นฟูสายตาเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยสายตาขี้เกียจ ในคลินิกกล้ามเนื้อตา ณ กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

วิธีการศึกษา
- ศึกษาผลการฟื้นฟูสายตาผู้ป่วย ระหว่าง 1 ตุลาคม 2548 – 30 เมษายน 2549 ขั้นตอน คือ
1) จักษุแพทย์วินิจฉัยผู้ป่วยเด็กสายตาขี้เกียจและส่งผู้ป่วยพบพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา
2) ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการประเมินระดับสายตา การใช้แว่นสายตา มุมเข สภาวะ amblyopia และความพร้อมของผู้ปกครอง
3) พยาบาลเวชปฏิบัติทางตาสอนการทำผ้าปิดตาข้างดีของผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นตาข้างที่มีสายตาขี้เกียจ
4) ผู้ป่วยทุกรายได้รับการกระตุ้นสายตาโดยใช้เครื่อง Amblyoscope และทำแบบฝึกหัดลากเส้นระบายสี
5) ติดตามและประเมินผลการฟื้นฟูสายตาของผู้ป่วยหลังการรักษา

ผลการศึกษา
- ผู้ป่วยเด็กจำนวน 20 ราย อายุตั้งแต่ 3-12 ปี อายุเฉลี่ย 6-8 ปี (SD=2.9) ได้รับการวินิจฉัยสายตาขี้เกียจ ผู้ป่วยร้อยละ 75 (15/20) มีระดับสายตาก่อนรักษา น้อยกว่าหรือเท่ากับ 6/60
สาเหตุของสายตาขี้เกียจคือ
1) สายตาผิดปกติ (refractive error) ร้อยละ 45 (9/20)
2) ตาเขร่วมกับสายตาผิดปกติ ร้อยละ 35(7/20)
3) ตาเข ร้อยละ 10 (2/20)
4) ตาเขร่วมกับประสาทตาผิดปกติ ร้อยละ 5 (1/20)
5) ตาเขร่วมกับโรคสมอง ร้อยละ 5 (1/20)
ผู้ ป่วยทุกรายได้รับการฟื้นฟูสายตาครบทุกขั้นตอน ผลการฟื้นฟูสายตาหลังเสร็จสิ้นการรักษา พบผู้ป่วยร้อยละ 90 (18/20) มีระดับสายตาดีขึ้นอย่างน้อย 2 แถว Snellen’s chart เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ราย ซึ่งถือว่าสายตาหยุดพัฒนาแล้ว สามารถมีสายตาดีขึ้นหลังสิ้นสุดการรักษาร้อยละ 91.6 (11/12) ดดยร้อยละ 33 (4/12) มีสายตาใกล้เคียงปกติ คือ VA มากกว่าหรือเท่ากับ 6/18


จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร


หมายเลขบันทึก: 69841เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท