ยุทธศาสตร์ท้องถิ่นเอกชนร่วมจัดการขยะมูลฝอยรวม (Cluster)


ยุทธศาสตร์ท้องถิ่นเอกชนร่วมจัดการขยะมูลฝอยรวม (Cluster)

28 กุมภาพันธ์ 2565

 

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการขยะของท้องถิ่นหรือกลุ่มท้องถิ่น (Clusters) ภายใต้กติกาหรือสัญญาอย่างน้อย 20 ปี (ดร.พิรียุตม์, 2565)

ท้องถิ่นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการที่ต้องการพัฒนาจะสามารถตอบสนองความต้องการและเกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นได้จริง เช่น ในโครงการของกลุ่มท้องถิ่นที่เรียกว่า Cluster ควรครอบคลุมระบบการจัดการขยะของท้องถิ่นหรือของกลุ่มท้องถิ่นด้วย ซึ่งหมายถึงการคาดการณ์ปริมาณขยะและองค์ประกอบของขยะในอนาคต ระบบการเก็บขนในพื้นที่และการบริหารจัดการสถานีขนถ่ายของกลุ่มท้องถิ่น ในกรณีที่ต้องจัดให้มี และอัตราค่ากำจัดขยะที่ท้องถิ่นสามารถจะจ่ายได้ เป็นต้น 

 

เช่น ตามนโยบายผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้ด้วยการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าในอัตราพิเศษที่เรียกว่า Adders (Adders ค่าไฟฟ้าของรัฐ ปี 2550) อปท.ควรมีปริมาณขยะรายวันเข้าสู่โครงการไม่น้อยกว่า 400 ตัน และท้องถิ่นยอมที่จะจ่ายค่ากำจัดขยะตันละ 400 บาท รัฐจะรับซื้อพลังงานไฟฟ้าในอัตราพิเศษเพิ่มจากอัตรารับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ที่ 3.50 บาทต่อหน่วย ทำให้โครงการมีระยะคุ้มทุนประมาณ 7 ปี ซึ่งปัจจุบันอัตราการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าแบบ Adders ถูกปรับเปลี่ยนเป็นอัตรารับซื้อแบบ Feed in Tariff ที่สนับสนุนตลอดอายุโครงการ (เป็นเวลา 20 ปี สอดคล้องกับอายุของโครงการ) ทำให้โครงการมีรายได้หลักจากการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและค่ากำจัดขยะ โดยทั่วไปสัดส่วนของรายได้ทั้งสองจะประมาณ 4 ต่อ 1 ทั้งนี้ ค่ากำจัดขยะที่กำหนดไว้ประมาณ 400 บาทต่อตัน เป็นค่าเฉลี่ยที่ท้องถิ่นโดยทั่วไปสามารถจ่ายได้

 

“Well begun is half done เริ่มต้นดีมีชัยกว่าครึ่ง"

 

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการคือ ผลการสำรวจปริมาณและองค์ประกอบของขยะที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นหรือกลุ่มท้องถิ่น 

มีความสำคัญต่อการพิจารณาขนาดของโครงการ และการเลือกใช้วิธีการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม ขนาดของโครงการก็คือปริมาณขยะที่คาดว่าจะถูกเก็บรวบรวมจากพื้นที่ท้องถิ่นหรือกลุ่มท้องถิ่นเพื่อนำมากำจัดที่โครงการ และมีความสัมพันธ์กับการเลือกวิธีการหรือเทคโนโลยีตาม Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลภายใต้ คสช. 2557 กำหนดแนวทางการแบ่งขนาดและวิธีการกำจัดของโครงการ เช่น ท้องถิ่นหรือกลุ่มท้องถิ่นที่มีปริมาณขยะรวมแล้วไม่เกิน 50 ตันต่อวัน จัดเป็นกลุ่มขนาดเล็ก ให้เน้นการคัดแยกต้นทาง การนำขยะอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยอินทรีย์ และมีระบบกำจัดแบบฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาลรองรับ ท้องถิ่นหรือกลุ่มท้องถิ่นที่มีปริมาณขยะรายวันมากกว่า 50 ตันแต่ไม่เกิน 300 ตัน จัดเป็นท้องถิ่นหรือกลุ่มท้องถิ่นขนาดกลาง ให้เน้นการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิด การนำขยะอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ย หรือผลิตก๊าซชีวภาพและพลังงานไฟฟ้า และมีระบบกำจัดแบบฝังกลบรองรับ สำหรับท้องถิ่นหรือกลุ่มท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่มีปริมาณขยะมากกว่า 300 ตันต่อวัน ควรมีระบบกำจัดแบบผสมผสานและการใช้เทคโนโลยีการแปรรูปขยะเป็นพลังงาน (Waste to Energy) โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนและดำเนินการ

 

ข้อมูลการสำรวจปริมาณขยะและการคาดการณ์แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะ

 

เป็นปัจจัยสำหรับการพิจารณาขนาดของโครงการ ส่วนข้อมูลองค์ประกอบของขยะจะใช้ในการเลือกวิธีการหรือเทคโนโลยีการกำจัดขยะที่เหมาะสมของโครงการ จากนั้นจึงจะเป็นขั้นตอนของการประมาณการมูลค่าของโครงการ ในกรณีของโครงการขนาดใหญ่ รายงานการศึกษาความเป็นไปได้มักจะเสนอแนะทางเลือกในการลงทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น การลงทุนด้วยงบประมาณของท้องถิ่น หรือการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลผ่านแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด หรือการให้ภาคเอกชนลงทุนและดำเนินการตามนโยบายส่งเสริมภาคเอกชนร่วมลงทุนซึ่งกำหนดไว้เพื่อ "พิจารณาอัตราการคืนทุน หรือที่เรียกว่า Internal Rate of Return" 

 

กฎหมายที่ให้อำนาจการบริหารจัดการ

 

คือ ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 

พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ.2560

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.2548

 

อ้างอิง

 

ท้องถิ่น, เอกชนและการจัดการขยะ โดย ดร.พิรียุตม์ วรรณพฤกษ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมอิสระ, มติชนออนไลน์, 9 กุมภาพันธ์ 2565, https://www.matichon.co.th/article/news_3172001 

ท้องถิ่น, เอกชนและการจัดการขยะ (ตอนที่ 2) โดย ดร.พิรียุตม์ วรรณพฤกษ์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมอิสระ, มติชนออนไลน์, 26 กุมภาพันธ์ 2565, https://www.matichon.co.th/article/news_3201290  

'คามิคัตสึ' โมเดลเมืองต้นแบบของโลก “ขยะเป็นศูนย์”, Testtech, 8 พฤศจิกายน 2563,
https://www.testtech.co.th/th/news/54 

Kamikatsu Model เมืองแห่งแรงบันดาลใจเมื่อหมู่ศูนย์จัดการขยะ กลายเป็นเป็นที่พักใจของชุมชน โดย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.), 2563, 
https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27503   

จาก Cluster สู่ Regional การจัดการขยะ, โดย ดร.พิรียุตม์ วรรณพฤกษ์, มติชนออนไลน์, 13 ธันวาคม 2562, 
https://www.matichon.co.th/article/news_1809961   

Environman - ชวนดูแบบอย่างของโลก! เมืองไร้ขยะในญี่ปุ่น เพราะแยกขยะ 45 ประเภท!, 30 กรกฎาคม 2562, https://www.facebook.com/environman.th/photos/ชวนดูแบบอย่างของโลก-เมืองไร้ขยะในญี่ปุ่น-เพราะแยกขยะ-45-ประเภท-นำขยะกลับมาใช้ได้/2108648519263584/ 

“ทิ้งขยะ” ไม่ถูกวิธีในญี่ปุ่น เสี่ยงถูกปรับ-จำคุก : workpointTODAY, 11 กรกฎาคม 2562, 
https://workpointtoday.com/sorting-garbage-japan01/   

ถอดบทเรียนจังหวัดสะอาด ประจำปี 2561 ลพบุรี เลย ลำพูน, สถาบันดำรงราชานุภาพ, http://www.stabundamrong.go.th/web/Best_Practice/best19.pdf   

การแยกขยะ, 2559, http://www.nw-local.go.th/files/download/20160616093816cziwe.pdf   

การเมืองของขยะ ขยะหายไปไหน ใครบ้างต้องอยู่กับขยะ โดย ดร.ภูมิ เพชรกาญจนาพงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย (ภูมิ Poome Lru), ชวนคุยเรื่องการบริหารจัดขยะในเชิงพื้นที่ที่ไม่เท่าเทียม และอำนวยความสะดวกโดย อาจารย์ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ รัฐศาสตร์ มสธ. Political Sci STOU, ออนไลน์ Zoom Meeting, 26 กุมภาพันธ์ 2565, 
https://www.facebook.com/100000249780378/posts/5171402886211320/?d=n   

 

ข่าวอื่นๆ


บำบัดทุกข์บำรุงสุขพี่น้องประชาชนอย่างเพิ่มพูน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน, โซเชียลนิวส์, 23 ก.พ. 2565, https://www.mcot.net/view/Jcd6gd7d 
เปิดชื่อ 4 บริษัทฯ กลุ่มการเมือง-เจ้าพ่อรีไซเคิล คว้าสัมปทาน 20 ปี มูลค่า 3 หมื่นล้าน “โครงการกำจัด-ขน ขยะ/สิ่งปฏิกูล” กทม.วันละ 1.7 พันตัน โดย: ผู้จัดการออนไลน์, 23 พฤศจิกายน 2563, https://mgronline.com/politics/detail/9630000120402 
สตง.ชำแหละงบ มท.8 พันล้าน “ประชารัฐ ประเทศไทย ไร้ขยะ” พบ 3 ปี ซื้อรถขยะ 1 พันล้านแจก อปท.500 คัน, โดยผู้จัดการออนไลน์, 6 พฤศจิกายน 2563, https://mgronline.com/politics/detail/9630000115053 
วงษ์พาณิชย์ ธุรกิจรับซื้อขยะที่ยืนยันว่า “ขยะมีค่ามากกว่าทอง", greenery. 30 ตุลาคม 2563, https://www.greenery.org/articles/wastesidestory-wongpanich/ 
โอกาสธุรกิจ 'กำจัดขยะ', โดย ภัทรานิษฐ์ เอี่ยมศิริ, คอลัมน์ Smart EEC, กรุงเทพธุรกิจ, 14 เมษายน 2563, https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/876099 
ธุรกิจกำจัดขยะ โดย ravio, 17 ธันวาคม 2559, 18:46:08 น., https://pantip.com/topic/35921580

 

เอกสารวิชาการงานวิจัยคู่มือ

 

คู่มือสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร", http://www.reo02.mnre.go.th/attachment/iu/download.php?WP=qUIcnKtjpQIgZKqCGWOghJstqTgcWat2pQAgAaplGQAgG2rDqYyc4Uux

การปรับปรุงนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย (Improvement of Municipal Solid Waste Management Policy in Thailand) โดย พิรียุตม์ วรรณพฤกษ์ วิทยานิพนธ์ปรัขญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2555, https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/8684/1/361220.pdf 

ร่วมขับเคลื่อนกลุ่มการบริหารจัดการขยะ (Cluster) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มเทศบาลนครขอนแก่น, สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 (ขอนแก่น) (Regional Environment Office 10), 26พฤศจิกายน 2562, http://www.mnre.go.th/reo10/th/news/detail/49715 

การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลจอมศรี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดย เอนก ฝ่ายจำปา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย, ในวารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 10 พฤษภาคม 2563, Vol. 6 No. 02 : เมษายน - มิถุนายน 2563, https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/247406

วิกฤตกฎหมายกับการบริหาร จัดการขยะมูลฝอยชุมชน: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในระดับปฏิบัติการ โดย ฤทธิภัฏ กัลยาณภัทรศิษฏ์ - CMU Journal of Law and Social Science 14 (1), 138-161, 2021, มกราคม-มิถุนายน 2564, https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/246461

การจัดการมูลฝอยในบริบท การขาดแคลนพื้นที่กำจัด เทศบาลตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น โดยพิญาดา เจริญเชื้อ, ฤทธิรงค์ จังโกฏ ในวารสาร วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2564, https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/252433

บทเรียนความสำเร็จในการจัดการขยะของประชาชน บ้านโรงวัว ตำบลคู้สลอด อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รุ่งนภา โพธิ์สกุล รายงานการค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2563, 1 สิงหาคม 2564, http://gseda.nida.ac.th/academics/database/students/fileupload/isdocument/20210801231335.pdf 

จะมาชวนทุกคนร่วมพูดคุยเรื่องการบริหารจัดขยะในเชิงพื้นที่ที่ไม่เท่าเทียม และอำนวยความสะดวกโดย อาจารย์ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ รัฐศาสตร์ มสธ.

เอกสารรายงานว่าด้วยการจัดการขยะเชิงเปรียบเทียบ, ดร.ภูมิ เพชรกาญจนาพงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, เอกสารประกอบ facebook Zoom Meeting ของ PoliticalSci STOU ในวันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 19.00 - 20.00น., https://www.eria.org/publications/regional-waste-management--inter-municipal-cooperation-and-public-and-private-partnership/

 

ระเบียบกฎหมาย

 

(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ.2565 – 2570), กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ, กันยายน 2564, 16 ตุลาคม 2564, https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/10/pcdnew-2021-10-16_05-41-25_882141.pdf 

ประกาศกรมควบคุมมลพิษและประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอย, โดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ส่วนขยะมูลฝอยชุมชน กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ, (กรุงเทพฯ: ส่วนขยะมูลฝอยฯ, ม.ป.ป.), สืบค้นวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564, http://www2.pcd.go.th/Info_serv/File/17-12-61-009.pdf.

หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.5/ว 3774 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เรื่อง การปรับปรุงข้อมูลการรวมกลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอย (Clusters) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2018/11/20847_1_1542861326364.pdf

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ.2560, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 267ง วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 หน้า 2-8, http://www.dla.go.th/work/garbage2.PDF 

หมายเลขบันทึก: 698383เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2022 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2022 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท