การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance )


 

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance )  เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 – 17 การเชื่อมต่อของประวัติศาสตร์ยุคกลางและยุคใหม่        การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึง การเกิดใหม่หรือการรื้อฟื้นศิลปะจากกรีกและโรมันไปพร้อมๆกับการพัฒนาทางความคิด         การคิดค้นและประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆเป็นยุคเริ่มต้นของการแสวงหาสิทธิเสรีภาพและความคิดอันไร้ขอบเขตของมนุษย์ ที่เคยถูกจำกัด   โดยกฎเกณฑ์และข้อบังคับของคริสต์ศาสนา โดยเริ่มที่อิตาลีถือเป็นประเทศแรกของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ และได้กระจายไป     ยังในประเทศอื่น ๆ ในยุโรป(นครฟลอเรนซ์ (Florence) )และเวนิส                                                                                       สาเหตุที่อิตาลีเป็นผู้นำในการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ                                                                                                       เป็นทายาทโดยตรงของอารยะธรรมโรมัน ต้องการฟื้นฟูอารยะธรรมของตนเพื่อลบล้างอารยะธรรมเยอรมนี (ซึ่งถือว่าเคยเป็นอารยชนมาก่อน)                                                                                                                                                          พระสันตะปาปาและศาสนจักรที่โรมต้องการฟื้นฟูอำนาจทางโลกและทางธรรม                                                                    มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีความเหมาะสม พ่อค้าที่ฐานะรำรวยมักนิยมและสนับสนุนผลงานของศิลปิน                                                                                                                                                                  ชาวอิตาลีมีลักษณะเป็นนักมนุษยนิยม (Humanism)และปัจเจกนิยม(Individualism)เน้นคุณค่าของมนุษย์                    การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการแบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ                                                                                                                  ระยะคลาสสิกเริ่มย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราวและผลงานของชาวโรมัน                                                                                ระยะมนุษยนิยมย้อนกลับไปศึกษาเรื่องราวและผลงานของกรีกและเอเธน                                                                            ระยะศาสนาการย้อนกลับไปสู่ยุคเยรูซาเล็ม                                                                                                                  ระยะการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการทางเหนือเป็นลักษณะพิเศษแบบเยอรมนี                                                                      ที่มาของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ                                                                                                                                 การสิ้นสุดสงครามครูเสด การเสื่อมของระบบฟิวดัล และการล่มสลายของอาณาจักรไบเซนไทม์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยุโรปครั้งใหญ่  มีความก้าวหน้าทางวิทยาการ มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ  มีการพัฒนาทางด้านการเดินเรือ ที่นำให้ไปสู่     การค้นพบดินแดนใหม่ของประเทศต่างในยุโรป  มีการพัฒนาทางด้านอาวุธ สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การมีอำนาจที่มากขึ้นของกษัตริย์   ในการส่งเสริมศิลปะวิทยาการในด้านต่างๆ  ผู้คนมีความกระตือรือร้น ในด้านความคิดที่เกี่ยวกับสังคมและธรรมชาติ  ความรู้ที่ได้เป็นประโยชน์อำนวยความสุขของมนุษย์   ชนชั้นกลางที่ร่ำรวยเรียนแบบชีวิตของชนชั้นสูง จึงอุปถัมภ์ศิลปิน เพื่อเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรีของตนเอง      

  ความเจริญรุ่งเรืองในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

ด้านวรรณกรรม  เกิดนักเขียนมากหลายคนที่มีผลงานที่ก่อให้เกิดขบวนการมนุษย์นิยมในเวลาต่อมา  

เพราช (Petrarch) เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดด้านมนุษย์นิยมในแหลมอิตาลี    

 

                                                                        เพราช (Petrarch)          

มาคิอาเวลลี (Machiavelli)  ผลงานที่สำคัญของเขาคือหนังสือเรื่อง The Prince หรือเจ้าชาย ซึ่งสะท้อนแนวคิดในการบริหารและการปกครอง ที่เน้นด้านปฏิบัติมากกว่าอุดมการณ์หรือจริยธรรมของผู้ปกครอง

                                                                      มาคิอาเวลลี (Machiavelli)

เดซีเดริอุส เอรัสมุส โรเตโรดามุสเดซีหรือเดริอุส เอรัสมุส แห่งรอตเทอร์ดาม ชาวเนเธอร์แลนด์ เป็นนักมนุษยนิยม นักวิจารณ์ ครู บาทหลวงโรมันคาทอลิก และนักวิทยาศาสตร์ชาวดัตช์ ซึ่งประยุกต์แนวคิดแบบกรีกและโรมันในการวิเคราะห์คัมภีร์ไบเบิล โดยใช้หลักเหตุผลประกอบความศรัทธาในศาสนาแทนความเชื่อแบบงมงาย

                                                                           เดริอุส เอรัสมุส 

เซอร์ ทอมัส มอร์ (Sir Thomas More)  เขียนหนังสือเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติชื่อ Utopia (ยูโทเปีย) ซึ่งมีชื่อเสียงแพร่หลายจนกระทั่งปัจจุบันและคำว่า  “ยูโทเปีย” ได้กลายเป็นคำศัพท์ที่หมายถึงรัฐในอุดมคติ

                                             

                                     Sir Thomas More

ด้านศิลปกรรม

โดดเด่นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือ ผลงานด้านจิตรกรรมลักษณะเด่นของงานจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ได้แก่    การสะท้อนลักษณะทีเหมือนจริงทั้งมนุษย์และธรรมชาติ เช่น ภาพคนที่มีสรีระและสัดส่วนที่ถูกต้องการใช้ภูมิทัศน์ของท้องทุ่ง   และชนบทเป็นฉากหลังของภาพ และการใช้หลักของเส้นทัศนียภาพ (Perspective) ที่สะท้อนระยะใกล้ไกลของวัตถุในภาพจิตรกรชาวเยอรมันได้คิดค้นวิธีทำภาพพิมพ์ และมีการทำภาพพิมพ์ประกอบในหนังสือ

เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลีเป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี  นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์  ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า

                                                                            Leonardo da

  

                                                                              Mona Lisa

   

                                                                       the last supper

ไมเคิลแองเจโล (Michelangelo)  ศิลปินชาวฟลอเรนซ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบปูนเปียกหรือเฟรสโก ( Fresco ) มิเคลันเจโลหรือไมเคิลแอนเจโลเกิดมาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างแท้จริงเขาทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 

        

                       ภาพการตัดสินครั้งสุดท้าย                                                         ภาพปีเอตะ(Pietà)

ราฟาเอล (Raphael)  เป็นจิตรกรชาวอิตาลีที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

                                                                    

                                        ราฟาเอล (Raphael)                                     พระเยซูคืนชีพคินแนร์ด

กลุ่ม “เฟลมิส” (Flemish)  ลักษณะเด่นของงานจิตรกรรมแบบเฟลมิส คือ การวาดภาพสีน้ำมันบนผืนผ้าใบที่สะท้อนทิวทัศน์และวิถีชีวิตของชนบท  

ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนี้ จิตรกรชาวเยอรมันได้คิดค้นวิธีทำภาพพิมพ์ และมีการทำภาพพิมพ์ประกอบในหนังสือ

                                                                                        

ด้านวิทยาศาสตร์

เปอร์นีคัส (Copernicus) นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ ค้นพบทฤษฏีเกี่ยวกับสุริยจักรวาลใหม่ขึ้นมาที่มีชื่อว่าทฤษฏี             เฮลโอเซนตริก (Heliocentric Theory) โดยกล่าวว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาลไม่ใช่โล

                                                                           Copernicus

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เป็นคนแรกที่นำคณิตศาสตร์และการทดลองมาใช้เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติอย่างเป็นระบบอันเป็นรากฐานของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ค้นพบและสร้างกฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือกฎการแกว่งของนาฬิกาลูกตุ้มที่นำไปสู่การสร้างนาฬิกาให้เที่ยงตรงประดิษฐ์และพัฒนากล้องโทรทรรศน์ให้สามารถส่อง   ดูดวงดาวได้อย่างชัดเจนกาลิเลโอพิสูจน์ได้ว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์สนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสที่เสนอให้ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล

                                                                      Galileo Galilei

เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักปรัชญาธรรมชาติ นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษ                                                                                                                                     กฎของนิวตัน (Newton’s laws)                                                                                                                             กฎข้อที่ 1 กฎของความเฉื่อย (Inertia)  "วัตถุที่หยุดนิ่งจะพยายามหยุดนิ่งอยู่กับที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ ส่วนวัตถุที่เคลื่อนที่จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงด้วยความเร็วคงที่ ตราบที่ไม่มีแรงภายนอกมากระทำเช่นกัน"                                               กฎข้อที่ 2 กฎของแรง (Force) “ความเร่งของวัตถุจะแปรผันตามแรงที่กระทำต่อวัตถุ แต่จะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ”             กฎข้อที่ 3 กฎของแรงปฏิกิริยา “แรงที่วัตถุที่หนึ่งกระทำต่อวัตถุที่สอง ย่อมเท่ากับ แรงที่วัตถุที่สองกระทำต่อวัตถุที่หนึ่ง แต่ทิศทางตรงข้ามกัน” (Action = Reaction) 

                                                                           Isaac Newton

โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler)  นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้มีส่วนสำคัญในการปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์เขาค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์                                                                           กฎของเคปเลอร์                                                                                                                                               กฎแห่งวงรี: ดาวเคราะห์โคจรเป็นรูปวงรีรอบดวงอาทิตย์ โดยมีดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดโฟกัสจุดหนึ่ง                                             กฎแห่งการกวาดพื้นที่: ในเวลาที่เท่ากันดาวเคราะห์จะมีพื้นที่ที่เส้นรัศมีจากดวงอาทิตย์ถึงดาวเคราะห์กวาดไปเท่ากันหรือ dA/dt มีค่าคงที่                                                                                                                                                             กฎแห่งคาบ:คาบในการโคจรรอบดวงอาทิตย์กำลังสองแปรผันตรงกับระยะครึ่งแกนเอกของวงโคจรกำลังสาม  

                                                                       Johannes Kepler 

เซอร์ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษซึ่งส่งเสริมการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์โดยวิธีการแบบอุปนัย (inductive method ) เขาเชื่อว่าความรู้ของมนุษย์เกิดจากประสบการณ์ ส่วนวิธีการที่ได้มาซึ่งประสบการณ์ คือ ต้องศึกษาข้อมูลที่มีอยู่จริงใน ธรรมชาติอย่างกว้างขวางและรวบรวม ข้อมูลเหล่านั้น ก่อนนำมาวิเคราะห์และสรุปเป็นองค์ความรู้หรือทฤษฏี วิธีการศึกษานี้เรียกว่า วิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์หรือ Scientific Method 

                                                                     Sir Francis Bacon

เรอเน เดการ์ต (René Descartes)  เป็นนักปรัชญา และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้รับการยกย่องว่าเป็นนักคิด             "แห่งยุคสมัยใหม่" คนแรก เนื่องจากเป็นผู้วางรากฐานทางปรัชญาให้กับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติในหนังสือผู้บุกเบิกวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ โดยเป็นผู้คิดค้นระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียนซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านแคลคูลัสต่อมา

                                                                           René Descartes 

ด้านภูมิปัญญา

มองเตสกิเออ (Montesquieu) นักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา               มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจที่พูดถึง ในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ                   ผู้ให้กำเนิดแนวคิดในการแบ่งแยกอำนาจปกครองสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร     และฝ่ายตุลาการ โดยมีเป้าประสงค์ประการสำคัญแหล่งหลักการคือ การให้อำนาจแต่ละฝ่ายถ่วงดุลและตรวจสอบซึ่งกันและ       กันทั้งสามฝ่ายและเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ปลอดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบขององค์กรภาครัฐที่                   ใช้อำนาจหนึ่งอำนาจใดที่อาจละเมิดลิดรอนโดยอำนาจรัฐไม่ว่าฝ่ายใด

                                                                           Montesquieu

วอลแตร์ (Voltaire) เป็นปราชญ์, นักเขียน และนักประวัติศาสตร์ในยุคเรืองปัญญาของฝรั่งเศส  เขาเป็นผู้โจมตีการจัดตั้งศาสนจักรคาทอลิกในฝรั่งเศส สนับสนุนเสรีภาพทางศาสนา เสรีภาพในการพูด และยังผลักดันให้มีการแบ่งแยกศาสนจักรออกจากรัฐ  

ผลงานหลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี  

ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความอยุติธรรมในสังคม รวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา 

นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย

 

                                               

                                                               Voltaire

ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau)   เป็นนักปรัชญา นักเขียนและผู้ผลิตความคิดอันเป็นอิทธิพลทางปัญญาที่สำคัญในการปฏิวัติครั้งใหญ่ของฝรั่งเศส สัญญาประชาคม ที่ให้ความสำคัญในการมองเห็นว่าอำนาจที่แท้จริงอยู่ที่ประชาชน โดยรุสโซได้แบ่งความไม่เท่าเทียมออกเป็น  2 ประเภท

1.ความไม่เท่าเทียมที่เป็นไปโดยธรรมชาติ 

2.ความไม่เท่าเทียมที่เกิดจากศีลธรรมการเมือง

                                                       

 

จอห์น ล็อก (John Locke)   เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษผู้วางรากฐานที่สำคัญให้กับการเมืองการปกครองสมัยใหม่ เขาได้รับ การยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ (Father of  Modern Political) ผู้สร้างคลื่นแห่งการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious Revolution) ขึ้นในยุโรปนักคิดร่วมสมัยในฝรั่งเศสที่ใช้ทฤษฏีของล็อคในการวิเคราะห์ระบอบเก่า (ancient regime)ที่นำมา   ซึ่งการปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ.1789-1799) และในสหรัฐอเมริกา..ก็ใช้รูปแบบการปกครองที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน..ทฤษฏีการเมืองการปกครองของล็อคเช่นกัน

ผลกระทบของการฟื้นฟูศิลปวิทยากการต่อพัฒนาการของยุโรป

การศึกษา

          การคิดค้นแท่นพิมพ์ช่วยให้การศึกษาขยายตัวอย่างกว้างขวาง เพราะทำให้องค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับวิทยาการ           สมัยคลาสสิกแพร่หลายในสังคมยุโรป  นอกจากนี้การศึกษาโดยใช้หลักเหตุผลของกลุ่มมนุษย์นิยมยังเป็นพื้นฐานสำคัญของ   การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทำให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่เริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และสร้างความก้าวหน้าให้กับสังคมโลกจนถึงปัจจุบัน 

ศาสนา

        แนวคิดแบบมนุษย์นิยมที่ส่งเสริมให้ใช้หลักเหตุผลแทนความเชื่อแบบงมงายได้ส่งผลกระทบต่ออิทธิพลของคริสตจักรที่ชี้นำความคิดของผู้คนมาตลอดสมัยกลาง เนื่องจากกลุ่ม  ปัญญาชนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาที่ยึดถือกันมานับพันปี การพัฒนา ความคิดแบบมนุษย์นิยมทำให้ชาวยุโรปเริ่มหลุดพ้นจากกรอบของศาสนาคริสต์ และทำให้ เกิดการปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมา เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ทำให้ศาสนาคริสต์ในยุโรป เสื่อมอิทธิพล และถือว่าเป็นการสิ้นสุดของสมัยกลาง

หมายเลขบันทึก: 697948เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2022 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2022 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท