ชาดกสุภาษิต ๑๑ เอกนิบาต ทุติยภาค ๓๕


ชาดกสุภาษิต ๑๑ เอกนิบาต ทุติยภาค ๓๕

ภาษิตของพ่อ

ชาดกสุภาษิต ๑๑ เอกนิบาต ทุติยภาค ๑๕

นกฺขตฺตํ ปาฏิมาเนนฺตํ  อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ  กิํ กริสฺสนฺติ ตารกา ฯ

โคลงสี่สุภาพ

คนเขลาชอบเชื่อใช้  ฤกษ์ยาม
ประโยชน์อันงดงาม  หลีกไร้
เริ่มกิจปรารถนาตาม ตรองตริ ไว้เทอญ
นพเคราะห์ฤๅจักให้  โทษร้ายถึงเรา

อธิบายศัพท์

เขลา :  ขาดไหวพริบ  รู้ไม่ถึง  รู้ไม่เท่าทัน ไม่เฉียบแหลม ไม่ฉลาด

ฤกษ์ยาม :  การกำหนดวัน ยาม ฤกษ์ ดิถี ของแต่ละปีเป็นธงชัย อธิบดี อุบาทว์ โลกาวินาศ หมายถึงการกำหนดว่า วันใด ช่วงเวลาใดเป็นเวลาที่ดีและร้ายสำหรับกระทำการมงคลต่างๆ

ตรองตริ :  คิดทบทวน ใคร่ครวญ ตรึกตรอง

นพเคราะห์ :  ดาวนพเคราะห์ทั้ง ๙ ตามตำราโหราศาสตร์ ได้แก่ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ราหู ศุกร์ เกตุ

ถอดความ

คนโง่เขลามักเชื่อถือฤกษ์ยามเวลาที่เป็นชัยมงคล  ซึ่งหาประโยชน์หรือความดีงามไม่ได้เลย  การเริ่มกิจการงานควรดำเนินตามที่คิดพิจารณาตรึกตรองไว้  ดาวนพเคราะห์ตามตำราโหราศาสตร์หรือจะให้โทษร้ายแก่ตัวเราได้

ดอกพวงชมพู สีขาว

ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

 

หมายเลขบันทึก: 697789เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2022 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2022 00:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท