กฎหมายระหว่างประเทศกับสถานการณ์เด่นระหว่างประเทศ


บ่อเกิดของกฎหมาย

กฎหมายระหว่างประเทศ                        

 บทบาทของกฎหมายระหว่างประเทศในประชาคมโลก
กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) เดิมหมายถึงกฎหมายที่ใช้บังคับต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เพราะรัฐเท่านั้นเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศที่มีสิทธิและหน้าที่ ซึ่งได้รับการรับรอง ส่วนผลประโยชน์หรือภาระที่สิ่งหรือองค์กรอื่นๆ ตลอดจนปัจเจกชนได้รับตามกฎหมายระหว่างประเทศ ถือว่าเป็นเพียงผลที่บ่ายเบนมาจากการที่องค์กรและปัจเจกชนมีความสัมพันธ์กับรัฐ ปัจเจกชนหรือองค์กรเป็นเพียงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ มิใช่บุคคลหรือผู้ใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ปัจจุบันกฎหมายระหว่างประเทศหมายถึงกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์การระหว่างประเทศ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือองค์การระหว่างประเทศกับปัจเจกชนที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
                        สรุปว่ากฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง กฎหมายและระเบียบข้อบังคับทั้งปวงของสังคมระหว่างประเทศที่กำกับและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลระหว่างประเทศให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยสันติสุข คุ้มครองปัจเจกชนมิให้ผู้ใดถูกละเมิดสิทธิมนุษย์ชน ให้ความคุ้มครองแก่เด็ก สตรีและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนดำเนินคดีและลงโทษผู้ที่ประกอบอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงครามด้วย
 

กฎหมายระหว่างประเทศกับสถานการณ์เด่นระหว่างประเทศ 

1. ปัญหาระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์, ปัญหาสันติภาพในอิรัก, ปัญหาอิหร่าน, ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย และ ขบวนการก่อการร้ายสากล มีความเกี่ยวข้องกัน โดยปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการใช้วิธีการแทรกแซงและก่อความวุ่นวายภายในรัฐโดยใช้การกระทำที่รุนแรงเพื่อผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งเช่น ต้องการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองในประเทศของตน ต้องการก่อตั้งรัฐเอกราชให้แก่กลุ่มประชากรชาติพันธุ์เดียวกับตนซึ่งตกอยู่ในสภาพ ไร้รัฐหรือ ต้องการต่อต้านอิทธิพลของต่างชาติที่เข้ามาแทรกแซงในกิจการภายในประเทศ ตน ฯลฯ ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีความรุนแรงต่อมนุษยชาติ แต่ก็ยังมีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เข้ามาช่วยดำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ได้แก่ กฎบัตรสหประชาชาติ  :: หมวดที่ 7 การดำเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพการละเมิดสันติภาพและการกระทำการรุกราน

2.   สหภาพยุโรป (the European Union) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเวทีระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า หรือการเมือง และยังเป็นคู่ค้ารายสำคัญของประเทศไทย ในด้านกฎหมายประเทศไทยได้รับหลักการทางกฎหมายที่ส่วนหนึ่งเติบโตและพัฒนามาจากระบบกฎหมายสหภาพยุโรป อาทิ การสิ้นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนั้นในระดับภูมิภาค ASEAN ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง ได้มีความพยายามสร้าง ASEAN ใหมีลักษณะเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป ภายในปี ค.ศ. 2020 อีกด้วย                

หลักกฎหมายและสภาพบังคับทางกฎหมายของสหภาพยุโรป               

1. หลักกฎหมายตามสนธิสัญญา                   

 - The Principle of Subsidiary                   

 - The Principle of Direct Applicability              

  2. หลักกฎหมายที่พัฒนาโดยศาลยุติธรรมแห่งยุโรป (the European Court of Justic – ECJ)                   

  - The Principle of Direct Effect                  

  - การเยียวยาความเสียหายจากการละเมิดกฎหมายสหภาพยุโรป                 

  - The Supremacy of European Union Law

3.  FTA – Free trade Agreement คือ ข้อตกลงการค้าเสรี โดยมีหลักการค้าระหว่างคู่สัญญาที่ปราศจากอุปสรรคด้านภาษีศุลกากร และปราศจากอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเช่น โควตามาตรฐานทางเทคนิค มาตรฐานทางสุขอนามัย                นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ประเทศไทยได้ลงนามและกำลังเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรี ทั้งในลักษณะของกรอบความตกลง (Framework Agreement on Free Trade) และความตกลงเขตการค้าเสรีเต็มรูปแบบ (Comprehensive Free Trade Agreement) กับ 8 ประเทศ (ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์บาห์เรน อินเดีย จีน เปรู ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา) และอีกกับ 2 กลุ่มประเทศ (กลุ่มประเทศ BIMSTEC และกลุ่มประเทศ EFTA) 

4.  เกาหลีเหนือกับนโยบายเรื่องอาวุธนิวเคลียร์    ข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีความเกี่ยวข้อง ได้แก่                

 1. สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty : NPT)                  -        สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ หรือ NPT มีสาระสำคัญ ห้ามรัฐที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ (ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน) ส่ง หรือช่วยให้ประเทศอื่น ๆ ผลิต หรือครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และห้ามรัฐที่ไม่ได้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์รับ แสวงหา หรือขอความช่วยเหลือในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ และให้รัฐที่ไม่ได้ครอบครอบอาวุธนิวเคลียร์ยอมรับข้อตกลงพิทักษ์ความปลอดภัยว่าจะไม่นำพลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติไปดัดแปลงใช้ผลิตอาวุธนิวเคลียร์               

2. สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (Comprehensive Nuclear-Test-Ba Treaty : CTBT)                  

 -  สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ หรือ CTBT มีสาระสำคัญห้ามรัฐภาคีทำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิง โดยครอบคลุมทั้งบนดิน ใต้ดิน ใต้น้ำ และอวกาศ   

5.  การค้ามนุษย์  การค้าเด็กและหญิง หมายความรวมถึง เด็กและหญิงที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์และพึงได้รับการช่วยเหลือ  ในกรณีดังนี้ คือ เด็กหรือหญิงที่ถูกบุคคล กลุ่มคน หรือองค์กร เป็นธุระจัดหา  ซื้อ ขาย จำหน่าย พามาจาก หรือส่งไปยังที่ใด รับไว้ หน่วงเหนี่ยว กักขัง หรือซ่อนเร้น  ซึ่งเด็กหรือหญิงโดยใช้อุบายล่อลวง ขู่เข็ญ ประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดทำนองคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกระทำภายในหรือนอกราชอาณาจักร และการกระทำดังกล่าวทำให้เด็กหรือหญิงนั้นตกอยู่ในสภาวะจำยอมกระทำการหรือยอมรับการกระทำใด ๆ อันมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น  การค้าบริการทางเพศ การข่มขู่บังคับจิตใจ การใช้แรงงานโดยกดขี่ทารุณ บังคับขู่เข็ญให้เป็นขอทาน งานรับใช้ในบ้านและหรือการกระทำอื่นใดที่ไร้คุณธรรม ซึ่งเด็กและหญิงนั้นหมายความรวมถึงเด็กและหญิงต่างชาติ หรือที่ไม่สามารถระบุสัญชาติได้เข้าประเทศไทยแบบถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม  อย่างไรก็ตามประเทศได้มีมาตรการป้องกันทั้งทางด้านการออกกฎหมายภายในประเทศและมาตรการทางความร่วมมือระหว่างประเทศดังต่อไปนี้

อนุสัญญา ข้อตกลง พิธีสาร และปฏิญญาต่างๆ    ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้ว

1.   Convention on the Rights of the Child (CRC)2.       International Labour Organization No.182 on the Worst Forms of Child Labour (ILO/IPEC 182)3.       Convention on the Eliminate on of Forms of Discrimination Against Women (CEDAW) อนุสัญญาที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี  เมื่อวันที่ 8  มกราคม 25451.  The Hague Convention on the Civil Aspects of International Child Abduction  19802.       The Hague Convention on the Protection of Children and Cooperation in Respect of    Inter-country Adoption   1993 ข้อตกลงระหว่างประเทศที่จะมีขึ้นในอนาคตที่ประเทศไทยจะพิจารณาเข้าเป็นภาคี1. Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Person, Especially Women and Children, Supplementing the United Nations Convention Against Transnational Organized Crime 20002. Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the Involvement of Children in Armed Conflict and on the Sale of Children, Child Prostitution and Child Pornography 2000 

6.    การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ              นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าโลกเกิดปรากฏการณ์เรียกว่าภาวะเรือนกระจกที่ทําให้สภาพภูมิอากาศแปรเปลี่ยน ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์ วิทยา         ซึ่งเมื่อทําการศึกษาแล้วพบว่ากิจกรรมการพัฒนาด้านต่างๆของมนุษย์ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมบนบรรยากาศโลก ทําให้เกิดสภาวะโลกร้อนขึ้น ได้แก่ การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในภาคพลังงานและอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่งที่ใช้เชื้อเพลิงปิโตรเลียม การเผาไม้ทําลายป่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน เป็นต้น                จากการค้นพบดังกล่าว จึงได้มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศดังต่อไปนี้               

 1.  อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพิธีสารเกียวโต: เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศในการดูแลเพื่อรักษาระดับก๊าซเรือนกระจก ในบรรยากาศที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาวะอากาศทั่วโลก โดยลดปริมาณการปล่อยก๊าซบางชนิดขึ้นสู่อากาศ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อให้เป็นพลังงาน               

 2. พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทํ าลายชั้นบรรยากาศโอโซน(The Montreal Protocol on Substances that Deplete the Ozone Layer)                มีวัตถุประสงค์  เพื่อกําหนดมาตรการระหว่างประเทศในการลดและเลิกใช้สารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน โดยการควบคุมการผลิตและการใช้ของประเทศภาคีสมาชิก               

 3. อนุสัญญาเวียนนา เพื่อการปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน(The Vienna Convention for the Protection of the Ozone Layer)                อนุสัญญาเวียนนาประกอบด้วยคําปฏิญาณในอันที่จะร่วมมือกันในการศึกษาค้นคว้า เฝ้าระวัง และการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณการผลิตและการปล่อยสารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน รวมถึงการดําเนินการควบคุมตามอนุสัญญาที่จะกําหนดขึ้นในอนาคตด้วย แม้ว่าอนุสัญญาเวียนนาจะไม่ได้มีข้อกําหนดที่ต้องปฏิบัติเพื่อลดการผลิตและการใช้สารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน แต่อนุสัญญาเวียนนาก็จัดเป็นอนุสัญญาที่สําคัญในประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่งที่ประเทศต่าง ๆ ยอมรับมาตรการป้องกันในการเจรจาระหว่างประเทศ และเห็นพ้องกันในการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมโลก ก่อนที่จะมีผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ และเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงขึ้น โดยได้มีประเทศต่างๆจํานวน 28 ประเทศ ร่วมกันให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาดังกล่าวครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.. 2528        

หมายเลขบันทึก: 69719เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สุดยอดจริงเลยเพื่อน อิอิอิ ปีใหม่ไปเที่ยวไหนจ๊ะ

ตอนนี้อยากบอกว่าเหงาสุดยอด

แล้วงานวิชาบัณฑิตสัมนาถึงไหนแล้วครับ สู้ๆๆนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท