Clinical Reasoning


 

See the source image

 

 

 

 

 

 

สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน ยินดีที่ได้พบทุกท่านอีกครั้งนะคะ  ตอนนี้ดิฉันกำลังศึกษาอยู่คณะกายภาพบำบัดสาขากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่สองแล้วค่ะ   ซึ่งการกลับมาเจอกันครั้งนี้แน่นอนค่ะ   เราจะต้องมีหัวข้อที่น่าสนใจมาพูดคุยกันอีกแล้วนะคะ ซึ่งหัวข้อในวันนี้ที่เราจะมาพูดกันคือ กรณีศึกษา “พี่ชายคนกลาง เป็น High Function Asperger's จบโทแคนาดา และทำงานดีมีครอบครัว  น้องชายคนเล็ก Chronic Depress with Low Function Asperger's จบโทแคนาดาตามพี่ชาย แต่ปัจจุบันอยู่บ้านเฉยๆ เล่นเกมส์ ทำอาหารบ้าง ชอบนวด ไม่ชอบออกกำลังกาย พี่สาวคนโตมี OCPD ชอบคิดวางแผนสมบูรณ์แบบในการดูแบน้องชายคนเล็ก แต่ร่างกายก็ปวดเดินไม่ไหว นักกายภาพส่งเคสสามรายนี้มาปรึกษานักกิจกรรมบำบัด ”

                       -----------ในบทความนี้ผู้เขียนจะเจาะลึกเฉพาะน้องชายคนกลางนะคะ----------

 เนื้อหาต่อไปนี้จึงเป็นการอธิบายตามความเข้าใจของผู้เขียน ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะคะ สัญญาว่าจะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆเลยค่ะ

ยกตัวอย่าง Conditional  Reasoning ในเคส 3 พี่น้อง

 

บรรยากาศการทำงานที่ดีเริ่มต้นที่ตัวเรา

 

Conditional ที่ 1 OT จะส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถ กลับไปทำงานได้อย่างไร

      นักกิจกรรมบำบัด จะร่วมกับผู้รับบริการ และครอบครัว เพื่อวางแผน หางานที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้รับบริการ ความชอบ และการอยากทำ รวมถึงตอบสนองการคาดหวังของผู้รับบริการและครอบครัวที่อยากให้กลับไปทำงาน โดยในขั้นแรก ผู้บำบัด จะวางแผน เพิ่มทักษะการสื่อสาร การคงความสนใจ สมาธิ การทำงานเป็นขั้นตอน และรวมถึงประเมินระดับความสามารถที่ผู้รับบริการมี ความสามารถที่ผู้รับบริการรู้สึกว่าทำได้ดี ส่งเสริมให้ผู้รับบริการ รู้ถึงความสามารถของตัวเอง เหตุผลที่เลือกประเมินระดับความสามารถของผู้รับบริการ หรือทำให้ผู้รับบริการรับรู้ถึงความสามารถของตัวเองนั้น เพื่อให้ผู้รับบริการมีความมั่นใจในการลงมือทำกิจกรรมต่างๆ รวมไปถึง เพิ่มความมั่นใจในการกลับไปทำงาน อยากไปทำงานมากขึ้น เมื่อผู้รับบริการมีทักษะการสื่อสาร และรับรู้ถึงความสามารถของตัวเองได้ในระดับหนึ่ง ผู้บำบัดและผู้รับบริการจะร่วมกันวางแผนหางาน ความสามารถและ และความชอบของผู้รับบริการ ซึ่งอาจจะเป็นงานที่ผู้รับบริการเคยทำมาก่อน เป็นงานใหม่ ที่ตรงกับบริการ การเลือกงานตามความชอบของผู้รับบริการนั้น ไม่ได้ส่งเสริม แค่แรงจูงใจในการกลับไปทำงาน แต่เมื่อผู้รับบริการได้ทำงานที่ตนเอง ชอบ และทำออกมาได้ดี จะส่งเสริมความมั่นใจ ในการลงมือทำกิจกรรมต่างๆ การทำงานด้วยเช่นกัน

 

talk (ทอค) แปลว่าอะไร? ดูความหมาย ภาพประกอบ ตัวอย่างประโยค | ENGDICT.COM

 

Conditional ที่ 2 OT จะส่งเสริม การกลับเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคมมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างไร

  ผู้บำบัดจะสัมภาษณ์ เพื่อประเมินทักษะการสื่อสาร ของผู้รับบริการ รวมถึงสัมภาษณ์ ครอบครัว เพื่อจะได้ทราบถึง ทักษะการสื่อสารและความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย ผู้บำบัดจะเลือกกิจกรรมกลุ่ม ในการฝึกทักษะการสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ตอนเริ่มต้น ผู้บำบัดอาจจัดกิจกรรมที่เป็นคู่ระหว่างผู้รับบริการกับผู้บำบัดก่อน เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความคุ้นชิน ความกล้าในการพูดคุย หลังจากนั้นค่อยเพิ่มระดับความยากของกิจกรรมมากขึ้น คือการรวมกลุ่มทำกิจกรรมกับผู้รับบริการคนอื่น เพื่อดูทักษะการเข้าสังคม กับคนอื่นๆ หรือ หากิจกรรมกลุ่ม ที่ร่วมกันทำกับครอบครัว เช่น พี่ชายคนโต พี่สาวคนโต ได้ทำร่วมกัน การทำกิจกรรมกลุ่ม ร่วมกับครอบครัวนั้น ไม่ใช่แค่เพิ่มทักษะการสื่อสาร และปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นเท่านั้น แต่ยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว ให้ดียิ่งขึ้น

 

กระโดดได้ กระโดดดี แต่ก็มี 'ข้อ' ควรระวัง - greenery.

 

Conditional ที่ 3 OT มีบทบาท ในการ เพิ่มทักษะการเคลื่อนไหว ( ออกกำลังกาย)ให้ผู้รับบริการ ออกกำลังกายได้อย่างไร

  ผู้บำบัด อาจเลือกกิจกรรม ที่เพิ่มทักษะการเคลื่อนไหว เล็กๆน้อยๆให้ผู้รับบริการก่อน หรือเลือกกิจกรรมที่สามารถเชื่อมโยงกับความชอบของผู้รับบริการได้ เช่น การเคลื่อนไหวนิ้วมือเพื่อดูความเร็วในการคลิกเมาส์ตอนเล่นเกม การยืดเส้น บริเวณคอและบ่าเมื่อเกิดอาการปวดตอนเล่นเกม เพื่อให้ผู้รับบริการเปิดใจ และมีแรงจูงใจในการทำ เพราะสอดคล้องกับความชอบของผู้รับบริการ เมื่อผู้รับบริการเปิดใจแล้ว ให้เพิ่มระดับความยากของกิจกรรมให้มากขึ้น แต่ยังสอดคล้องกับความชอบของผู้รับบริการอยู่ มีความท้าทายความสามารถของผู้รับบริการ เช่น เกมวิ่งเปรี้ยว เกมกระโดดเชือกเป็นทีม การเล่นเกมแบบนี้ นอกจากจะเพิ่มทักษะการเคลื่อนไหว และทำให้ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการทำ ยังสามารถเพิ่มทักษะทางสังคมของผู้รับบริการได้อีกด้วย เพราะเกมที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเกมที่ต้องเล่นเป็นทีม ต้องมีการสื่อสารกัน

 

ตั้งคำถามในเคส 3 พี่น้องแล้ว ตอบเป็น Procedural Reasoning ในแต่ละคำถาม

คนญี่ปุ่นที่ไม่ตลก ไม่ชอบพูดคุย เป็นคนน่าเบื่อ?

ทำไมผู้รับบริการถึงไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น 

- ในกรณีศึกษานี้ผู้รับบริการ เป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s ซึ่งอาจมีความสามารถในการพูดการใช้ภาษาและปรับตัวให้กับคนอื่นได้น้อย ไม่ค่อยชอบเข้าสังคม ( Medical Conditional )

- ผู้รับบริการอาจจะใช้การสัมภาษณ์เพิ่มเติม (Therapeutic use of self  & Therapeutic relationship ) เกี่ยวกับทักษะการสื่อสาร  เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุและปัญหาสิ่งที่ผู้รับบริการคิด รู้สึกอย่างแท้จริง ผู้บำบัด จะต้องเอาใจใส่ (Caring ) เข้าใจ ( Empathy ) รับฟังอย่างลึกซึ้งในสิ่งที่ผู้รับบริการพูดหรือรู้สึก ( Narrative CR. & Interactive CR.)

- สัมภาษณ์ ครอบครัวหรือบุคคลที่อยู่ ร่วมกับผู้รับบริการเพิ่มเติม เพื่อมองภาพรวมของปัญหา และนำมาวางแผนการบำบัดฟื้นฟูได้ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ และครอบครัว  ( Narrative CR. & Interactive CR.)

OTPF Handouts for AOTA 2018 — ICE Learning Center

-จัดกิจกรรมกลุ่ม โดยเน้นประเมินความสามารถในการเข้าสังคม การสร้างปฏิสัมพันธ์ การทำงานกลุ่มร่วมกับคนอื่น  โดยอาจจะอ้างอิงจาก กรอบปฏิบัติการ OTPF ประเมินทักษะความสามารถในการทำกิจกรรม ( Performance skill) ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นขณะทำกิจกรรม ( Social interaction skill ) การทำงานของส่วนต่างๆร่างกาย ( Body function) ความมุ่งมั่นในการกระทำสิ่งต่างๆที่เชื่อมโยงกับปัจจุบัน ( Spiritual ) ค่านิยมและการให้คุณค่า ( Value )

- สังเกตและจดบันทึกการสนทนา พฤติกรรม ภาษาท่าทางต่างๆของผู้รับบริการขณะทำกิจกรรมกลุ่ม ( มีการสบตาขณะพูดคุยหรือไม่ ,สามารถโต้ตอบกับเพื่อนได้หรือไม่เป็นต้น)

เรื่องของการทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน - Mission To The Moon Media

 

ทำไมผู้รับบริการถึงไม่อยากทำงาน

จากการสัมภาษณ์เบื้องต้นนั้นทราบว่าผู้รับบริการไม่ได้อยากเรียนในสาขาที่ตัวเองจบมาแต่เรียนเพราะพี่ชายคนโตบังคับให้เรียน พอได้ไปทำงานในห้องแลปแล้ว ก็รู้สึกว่าทำได้ดีไม่ได้ยาก มีความเป็นส่วนตัว ผู้รับบริการรู้สึกอยากทำงาน แต่ไม่สามารถทำได้

See the source image

 

 

-ผู้บำบัดอาจจะต้อง ประเมินสัมภาษณ์เพิ่มเติม เพื่ออยากทราบถึงความรู้สึกที่แท้จริงของผู้รับบริการ ( Narrative CR.)โดยอ้างอิง Model of Human Occupation ( MoHo) เพื่อให้ทราบถึงแรงจูงใจ เจตนา ( Volition ) ความชอบ การอยากทำ ( Habituation )รวมถึง การแสดงความสามารถสูงสุด ของผู้รับบริการ ( Performance Capacity ) โดยอาจจะถามถึงความชอบหรือความสามารถ ที่ผู้รับบริการมี ความสามารถที่ผู้รับบริการ คิดว่าทำได้ดี สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของผู้รับบริการ สิ่งที่ผู้รับบริการอยากทำ 

See the source image

 

           โดยอาจจะนำ กรอบปฏิบัติงาน PEOP มาร่วมในการประเมินด้วย เพื่อจะได้ส่งเสริมความสามารถที่จำเป็นต่อการกลับไปทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม รวมถึงกิจกรรมที่มีคุณค่าของผู้รับบริการ

-ผู้บำบัดถามกิจกรรมที่ผู้รับบริการมีความมั่นใจรวมถึงคิดว่าสามารถทำได้ดี เพื่อดูความชอบและความสามารถสูงสุดที่ผู้รับบริการสามารถทำได้ เพื่อนำมาวางแผนการบำบัดฟื้นฟู หรือวางแผนการหางานให้ตรงกับความต้องการและความชอบของผู้รับบริการ เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงาน

-สังเกตการเคลื่อนไหวร่างกายและความสนใจขณะทำการกระตุ้นให้เรียนแบบ หรือสาธิตระบบประสาทจิตวิทยา อ้างอิง Adult Psychiatric Sensory Integrative Evaluation Behaviors Assessment 

3 ขั้นตอนสู่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ – Digitalthinkhouse

 

ทำไมผู้รับบริการถึง รู้สึกว่าความจำที่ดีคือจุดแข็งของตัวเอง

-ผู้บำบัดตั้งคำถามเพื่อให้ผู้รับบริการเรียนรู้องค์ประกอบของระบบย่อยความสามารถจิตใจ- สมอง-ร่างกาย ( Mind – Brain -Body  Performance Subsystem  ) เช่น มีใครเคยชื่นชมจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาในตัวคุณบ้าง อะไรคือ อุปสรรคที่คุณต้องการสู้เพื่อพัฒนาศักยภาพในตนเอง ( Environmental Press)

ผู้รับบริการรู้สึกว่าความจำที่ดีคือจุดแข็งของตัวเอง มาจากการที่ พี่สาวคนโตชื่นชมผู้รับบริการมีความจำที่ดี  และ ผู้รับบริการต้องการพัฒนาจุดแข็งของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น

-สัมภาษณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดแข็งของผู้รับบริการ จากพี่สาวคนโต  เพื่อให้ทราบถึงความสามารถที่แท้จริงของผู้รับบริการ และนำมาประกอบการวางแผนการบำบัดฟื้นฟู ให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด

-จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถแสดงความสามารถที่เป็นจุดแข็งของตัวเองคือความจำที่ดี เพื่อดูศักยภาพและความสามารถสูงสุด (สามารถนำมาวางแผนการบำบัดฟื้นฟูและหาอาชีพที่เหมาะสมกับผู้รับบริการในอนาคตได้)

แพ็กเกจนวดแผนไทย Lullaby Spa กรุงเทพ - KKday

 

ทำไมผู้รับบริการถึงชอบไปนวด

-สัมภาษณ์ผู้รับบริการเพื่อให้ทราบถึงข้อมูล และ สาเหตุที่ชอบทำกิจกรรม ( Narrative CR. & Interactive CR.)  เพื่อให้ผู้บำบัดรับรู้ถึงความชอบ และแรงจูงใจของผู้รับบริการ

จากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการบอกว่าที่ชอบไปนวดเพราะรู้สึกปวดเมื่อย จากการนั่งเล่นเกมนานๆ

-สัมภาษณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงที่ผู้รับบริการเล่นเกมต่อหนึ่งวัน

-ประเมิน Position การคงท่าขณะทำกิจกรรม ( Sitting Balance )

-สังเกตและบันทึกข้อมูลท่าทางและ พฤติกรรมของผู้รับบริการคณะ เล่นเกมหรือทำกิจกรรมกลุ่ม

ชอบ “เล่นเกม” เป็นคนแบบไหน? | หางานที่ดีที่สุด @ JOBTOPGUN.COM

 

ทำไมผู้รับบริการถึงชอบเล่นเกม

-สัมภาษณ์ผู้รับบริการเพื่อให้ทราบ ถึงข้อมูล แรงจูงใจในการเล่นเกม เริ่มเล่นตั้งแต่อายุเท่าไหร่  ถามเจาะลึกถึงความรู้สึกเมื่อเล่นเกมแล้วรู้สึกอย่างไร จำนวนชั่วโมงในการเล่นเกมต่อหนึ่งวัน  สัมภาษณ์ ครอบครัวเกี่ยวกับการเล่นเกมของผู้รับบริการเพิ่มเติม เป็นต้น ( Narrative CR. & Interactive CR.)

-สังเกตและประเมินความสามารถต่างๆตอนการเล่นเกม ของผู้รับบริการ เช่น สหสัมพันธ์ของการใช้มือและตา การวางแผนจัดการ การคิดวิเคราะห์ขนาดเล่นเกม เพื่อดูความสามารถและศักยภาพของผู้รับบริการเมื่อได้ทำกิจกรรม ที่ให้คุณค่า

-จัดกิจกรรมกลุ่ม ที่คล้ายคลึงกับ การเล่นเกม มีความท้าทาย เพื่อรู้ความสามารถของผู้รับบริการ การคงสมาธิการให้ความสนใจ ทักษะการสื่อสารรวมถึงทักษะการประกอบกิจกรรม ( Process skill 

-สังเกตและบันทึกข้อมูล พฤติกรรม การสื่อสารของผู้รับบริการคณะประเมินการเล่นเกมหรือกิจกรรมกลุ่ม ทักษะการวางแผน การเคลื่อนไหว รวมถึงการแก้ปัญหา

 

Learn How to learn อย่างไร เพื่อที่จะเรียนและทำงาน OT ได้อย่างมีความสุข

wallpapers สวยๆ สบายตา

 

              ส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนเลือกเรียนกิจกรรมบำบัดตามความชอบของตัวเอง และมีครอบครัวสนับสนุน ตั้งแต่เข้ามาเรียนผู้เขียนเลยมีกำลังใจในการเรียนมาก แต่มันก็จะมีบางครั้งที่เราพบเจออุปสรรคในการเรียน ความเหนื่อยและท้อ สิ่งที่ผู้เขียนคิดอยู่เสมอคือเรามาอยู่ตรงนี้เพราะอะไร เพื่ออะไร สิ่งนี้คือสิ่งที่เราชอบและอยากจะทำใช่หรือไม่ เราอยากจะเป็นนักกิจกรรมที่ดีและเก่งใช่หรือไม่ 

          เพราะฉะนั้นแล้วอุปสรรคที่เจอในระหว่างการเรียนหรือความท้อแท้ใจที่เจอ อาจจะเป็นตัวขัดเกลาให้เรากลายเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่เก่ง และดี กลายเป็นคนที่เข้มแข็งขึ้น เมื่อเราเจอบทเรียนที่ยากจนท้อแท้ใจ ผู้เขียน ก็จะบอกกับตัวเองเสมอว่า สิ่งที่เรียนมาทั้งหมดสำคัญ และต้องเอามารวมกันเพื่อช่วยเหลือ ผู้รับบริการให้ดีที่สุด เมื่อพบเจอกับเหตุการณ์ยาก และคิดแบบข้างต้น จนทำให้ผ่านมาได้ ผู้เขียนจะเกิดความภาคภูมิใจและรู้สึกว่าตัวเองแข็งแกร่งและเข้มแข็งขึ้น คิดว่าที่เรียนมาทั้งหมดเราจะได้ทำอะไร ช่วยเหลือได้อย่างไร นี่คือความสุขที่เกิดขึ้น 

             สิ่งที่ผู้เขียนชอบมากๆเลยในการเรียนกิจกรรมบำบัด รวมถึงในอนาคตเมื่อได้ทำงานกิจกรรมบำบัด คือ การมองผู้รับบริการหรือคนคนหนึ่งเป็นองค์รวม ( holistic ) เราจะไม่ได้มองแค่ การเจ็บป่วยหรือโรคที่เขาเผชิญอยู่ แต่เราจะมองว่าเค้ามีบทบาทอะไรเขาต้องการทำอะไร ครอบครัวคาดหวังอะไร และเขามีศักยภาพสูงสุด ในการทำอะไร มองว่าผู้รับบริการจะต้องกลับไปอยู่ในสังคมสภาพแวดล้อมที่เขาไปเจอคืออะไร ถ้าเราสามารถมองผู้รับบริการแบบเป็นองค์รวมได้ เราจะสามารถทำงานกิจกรรมบำบัดได้ง่ายขึ้น ผู้เขียนรู้สึกว่าการมองผู้รับบริการเป็นองค์รวม ถือเป็นเอกลักษณ์ของงานกิจกรรมบำบัด และเป็นสิ่งที่ผู้เขียนอยากฝึกให้เก่ง ให้ได้มากที่สุด เผื่อได้ช่วยเหลือผู้รับบริการได้อย่างดีที่สุด

         ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าหากเราได้เรียนในสิ่งที่ ตัวเองชอบได้ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำต่อให้ต้องเจออุปสรรคหรือความเหนื่อยล้าแค่ไหนเราจะสามารถข้ามผ่านอุปสรรคนั้นไปได้และรับรู้ถึงความสามารถที่มากกว่าตัวเองคิด ข้ามผ่านขีดจำกัดความสามารถของตัวเอง เมื่อเราย้อนกลับมามองเราจะรู้สึกภาคภูมิใจที่ตัวเองสามารถทำได้และกลายเป็นคนเข้มแข็งมากขึ้นค่ะ

     เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับบทความที่ผู้เขียนอยากแบ่งปันเกี่ยวกับ Clinical Reasoning หรือการเหตุผลทางคลินิก รวมถึงวิธีการเรียนรู้กิจกรรมบบำบัดอย่างไรให้มีความสุข ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านนะคะ แล้วพบกันใหม่ครั้งต่อไปค่ะ ขอบคุณค่ะ

 

See the source image

 

 

หมายเลขบันทึก: 697006เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2022 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2022 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท