3 คำถาม


3 คำถาม

1.จงยกตัวอย่าง Conditional Reasoning ในเคสสามพี่น้องของวันนี้ เช่น Condition ที่ 1 OT มีบทบาทประเมินและออกแบบการฟื้นคืนสุขภาวะได้อย่างไร ตอบมาเพียง 3 ตัวอย่าง

Condition : พี่ชายคนกลาง High Function Asperger’s จบโทแคนาดาและทำงานดีมีครอบครัว

  • กิจกรรมการทานข้าวร่วมกัน และ ร่วมกันทำอาหารที่คุณพ่อคุณแม่ชอบทาน เนื่องจากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการเล่าว่าความผูกพันธ์กับพ่อแม่มาก มีพ่อแม่เป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต รู้สึกว่าพ่อแม่เลี้ยงมาได้ดีมากๆ จึงทำให้ผู้บำบัดเห็นว่า หากนำกิจกรรมนี้ที่เคยทำในอดีต มาทำร่วมกันอีก ก็จะทำให้ครอบครัวได้กลับมาพูดคุยกัน สร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นขึ้น
  • กิจกรรมการทำบุญครอบครัว เพื่อให้ครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกัน และได้มีเวลาเจอกันบ่อยมากขึ้น เช่น นัดกันทำบุญในวันเกิดของคุณพ่อคุณแม่ ทำบุญในเทศกาลสำคัญ
  • กิจกรรมสังสรรค์ภายในครอบครัว เนื่องจากครอบครัวของผู้รับบริการมีพี่น้อง 3 คน แต่ตัวผู้รับบริการและครอบครัวอยู่ประเทศแคนาดา และอีก 2 คนอยู่ประเทศไทย จึงอยากให้ผู้รับบริการเมื่อมีเวลาว่างจากงานที่ค่อนข้างยุ่ง อยากจะให้พักผ่อนด้วยกันพาครอบครัวมาเจอกันบ้าง ให้ภรรยาและลูกสาวมาเติมสีสันในครอบครัว ทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ให้มากขึ้น 

2.จงตั้งคำถามที่คมชัดด้วย Why จำนวน 5 คำถาม ที่เกี่ยวข้องกับเคสสามพี่น้อง แล้วตอบเป็น Procedural Reasoning ในแต่ละคำถาม

  • ทำไมผู้รับบริการ (พี่ชายคนกลาง) เวลาให้สัมภาณ์ถึงโยกตัว เอามือปิดปากในบางช่วงของการสัมภาณ์

        OT สังเกตเห็นว่าในบางคำถามที่ถามเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตผู้รับบริการมักจะโยกตัว หรือหลีกเลี่ยงคำตอบโดยการเอามือขึ้นมาปิดปาก ไม่อยากพูดบ้าง ซึ่ง OT ได้วิเคราะห์ว่าท่าทางแบบนี้เป็นหนึ่งในภาษากาย ที่บ่งบอกถึงความเครียด ความกังวล ส่วนมือคือ ปิดบัง ไม่อยากพูด พูดไม่หมด OT จึงนำกิจกรรมผ่อนคลาย คือ ให้ผู้รับบริการพนมมือกลางอก แล้วยกแขนให้กางออกให้ตึง หายใจเข้า-ออก ครั้งที่ 1 แล้วพูดว่า จงเข้มแข็ง หายใจเข้า-ออก ครั้งที่ 2 แล้วพูดว่า จงให้อภัย หายใจเข้า-ออก ครั้งที่ 3 แล้วพูดว่า จงรับผิดชอบ หายใจเข้า-ออก ครั้งที่ 4 แล้วพูดว่า จงกตัญญู หายใจเข้า-ออก ครั้งที่ 5 แล้วพูดว่า จงรักตัวเอง รวมทั้งหมด 5 ครั้ง เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ ความกังวลในใจ ทำให้ใจเย็นลง และการทำให้แขนตึง แล้วหายใจเข้า-ออกนั้น เป็นเหมือนการยืดกล้ามเนื้อ ให้ค่อยๆผ่อนคลายจากความเครียด

  • ทำไมผู้รับบริการ (พี่ชายคนกลาง) ถึงมีความต้องการที่จะรวยมากๆ เอาแต่ทำงานจนไม่มีเวลาว่าง

        เนื่องจากผู้รับบริการมีครอบครัวที่ต้องส่งเงินไปดูแล และตนเองก็มีครอบครัวตัวเองที่ต้องดูแลเช่นกัน และ จากการสัมภาษณ์ทำให้ OT เห็นว่าผู้รับบริการเลือกที่จะแบ่งเงิน 30% หักส่งเงินให้ครอบครัวที่อยู่ที่ไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้รับบริการมีการจัดสรรและบริหารเงินได้ OT จึงอยากแนะนำการจัดสรรเงิน ให้ความรู้เกี่ยวกับการเงินเพิ่มเติม เพื่อจัดสรรให้คล่องตัวมากขึ้น ทำให้ผู้รับบริการมีเงินเก็บส่วนตัวบ้าง เพราะการที่ผู้รับบริการจัดสรรเงิน โดยที่เอาเงินเก็บ เงินออมทั้งหมดไปส่งไปให้ครอบครัว อาจจะทำให้ผู้รับบริการเกิดภาวะเครียด และ กดดันตัวเองให้ทำงานหนักตลอดเวลา และ แนะนำการจัดสรรเวลา ฝึกการคิดใหม่ เช่น ใน 24 ชั่วโมง ควรจัดสรร 6-6-6-6 คือ นอนหลับพักผ่อน 6 ชั่วโมง ทำกิจวัตรประจำวันบวกกิจกรรมการเรียนรู้ดูแลสุขภาพให้จิตใจเข้มแข็ง-ร่างกายแข็งแรง 6 ชั่วโมง ทำงานหารายได้บวกทำงานดูแลบ้าน/ที่พักอาศัย 6 ชั่วโมง และการใช้เวลาว่างอีก 6 ชั่วโมงทำกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อคิดสร้างสรรค์ผ่านดนตรี ศิลปะ ท่องเที่ยว ดูแลครอบครัว ดูแลผู้สูงวัย ดูแลญาติพี่น้องที่ป่วยติดเตียง ดูแลธรรมชาติ ทำบุญ ทำจิตอาสา และทำหน้าที่พลเมืองดีมีสุขภาวะ

  • ทำไมผู้รับบริการ (น้องชายคนเล็ก) ถึงไม่ยอมไปทำงาน

        จากข้อมูลที่มีคือผู้รับบริการเคยทำงานแต่โดนไล่ออกจากงาน ปัจจุบันผู้รับบริการ ก็ยังอยากทำงานแต่อาจจะโดนภาวะกดดันในหลายๆทาง เช่น พี่ชายที่ต้องการให้ทำงานมากๆ คอยจี้ให้น้องหางานตลอด ซึ่งผู้รับบริการมีการเล่นเกมเป็นการพักผ่อนใจ เล่นเกมวันละ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน OT จึงเห็นว่าเราสามารถต่อยอดจากการเล่นเกมได้ โดยนำเกมที่เล่นมาสร้างอาชีพ หารายได้ให้กับตัวเอง ด้วยวิธี เช่น การ live steam , การขายของในเกม เป็นต้น แต่ OT ก็จะแนะนำให้ลองทบทวนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพิ่มเติมว่า ที่มักพูดว่า "กลัวทำไม่ได้ หรือไม่อยากทำ ไม่อยากเจอผู้คนคน" ให้ปรับความคิดว่า "ความกลัวเป็นเรื่องธรรมชาติ มนุษย์หยุดกลัวไม่ได้ พวกเราเอาชนะความกลัวได้ด้วยการตั้งใจเป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ" จาก 1-10 คะแนน คิดว่า กลัวกังวลกี่คะแนน ถ้า 10 คะแนนเต็ม ก็เป่าลมหายใจออกทางปากยาวๆ 10 รอบ จงเริ่มทำสิ่งที่ทำได้ง่าย เช่น การอาบน้ำอุ่นสระผมนวดตัวผ่อนคลาย การแปรงฟัน ฝึกสมองด้วยมือข้างไม่ถนัดบ้าง การเคี้ยวอาหารที่ทำเองง่าย ๆ หนึ่งคำเคี้ยวให้ได้ 30 -80 ครั้งคลายกังวล ทำแล้วสนุก ทำได้ง่าย ทำสิ่งที่ถนัด สักวันละ 20-30 นาที ต่อหนึ่งกิจกรรม เช่น วาดรูปสีต่างๆ อ่านหนังสือรอบรู้ ฝึกแต่งคำกลอน-เนื้อเพลง เล่นดนตรี เล่นกีฬา เขียนบันทึกคิดพูดทำความดี เขียนบัญชีออมเงินรายวัน-เดือน-ปี เขียนตารางเวลาทำงานบ้านกับทำงานหารายได้ เต้นรำ ร้องเพลง ปลูกรดน้ำต้นไม้สวยงาม-พืชกินได้ ดูแลสัตว์เลี้ยง ทำอาหารทานเอง ทำอาหารกับครอบครัว ทำงานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ งานฝีมือด้วยการปั้นการเย็บ สวดมนต์ออกเสียง ลองทำไปให้หลากหลาย มากกว่า 1 กิจกรรม อย่างน้อยวันละ 2-3 กิจกรรม ทำไปอย่างช้าๆ ไม่รีบร้อน สบายๆ ผ่อนคลาย 40-90 นาที เพื่อค้นหากิจกรรมใหม่ๆที่ตนเองยังพอมีความสามารถแลต่อยอดได้

  • ทำไมผู้รับบริการ (พี่สาวคนโต) ถึงนอนไม่ค่อยหลับ

        จากข้อมูลที่สัมภาษณ์มาคือ นอนไม่หลับ ปวดหลัง บางทีก็จะทำให้ตื่นกลางดึกบ่อยๆ ก็จะทำให้ตื่นสาย วิธีที่ OT จะเลือกใช้ก็คือ แนะนำเทคนิคการหายใจแบบ 4-7-8 คือ เอาลิ้นแตะเพดานบนแล้วปิดปากนิ่งไว้ หายใจเข้าออกทางจมูกตามธรรมชาติ หายใจเข้า ให้ค้างไว้ที่หน้าอก นับในใจ 1-4 กลั้นไว้ให้ลมหายใจมาที่ท้อง นับในใจ 1-7 เป่าลมออกทางปากยาวๆ นับในใจ 1-8 หากอยากทำช่วงตื่นนอนเพื่อให้ร่างกายสดชื่น ให้ทำอย่างน้อย 4 รอบ แต่อย่าเกิน 4 รอบ เพราะจะทำให้ง่วงนอนแทน

  • ทำไมผู้รับบริการ (พี่สาวคนโต) ถึงเป็นภาวะซึมเศร้า

        จากการสัมภาษณ์แสดงให้เห็นว่าพี่สาวต้องคอยดูแลน้องชายตลอด ซึ่งโดยส่วนตัว ตัวเองเป็นคนสมบูรณ์แบบ เมื่อดูแลน้องชายได้ไม่ตามที่คาดหหวังก็จะเกิดอาการเครียด ซึ่งผู้รับบริการต้องดูแลมาตั้งเด็กทำให้เกดิเป็นภาวะเครียดสะสมมานาน OT จึงได้แนะนำกิจกรรม เพื่อให้บรรเทาอาการเครียดซึมเศร้า โดยจะให้ลงมือฝึกฝนในแต่ละวัน เริ่มจาก

  • วันเสาร์ 

        ให้สองมือกางระดับหน้าอกในท่านั่งตัวตรง เท้าเปล่าสองข้างลงน้ำหนักบนพื้นให้นิ้วโป้งอแตะนิ้วกลางเป็นวงกลม ตั้งชูนิ้วที่เหลือ หายใจเข้าออกทางจมูกช้าๆ สัก 4 รอบ พร้อมตั้งจิตให้มีสมาธิ แล้วเปล่งเสียงยาวๆ ว่า "เมตตากรุณา" ระลึกถึงความหมายของกิจกรรมบำบัดนี้ คือ ชอบให้โดยไม่หวังผล กรุณา ช่วยคนอื่นเมื่อตัวเองสุขภาพพร้อม

  • วันอาทิตย์ 

        ให้สองมือกางระดับหน้าอก ในท่านั่งตัวตรง เท้าเปล่าสองข้างลงน้ำหนักบนพื้น ให้นิ้วโป้งงอแตะนิ้วก้อยเป็นวงกลม ตั้งชูนิ้วที่เหลือ หายใจเข้าออกทางจมูกช้าๆ สัก 4 รอบ พร้อมตั้งจิตให้มีสมาธิ แล้วเปล่งเสียงยาวๆ ว่า "มุฑิตา" ระลึกถึงความหมายของกิจกรรมบำบัดนี้ คือ คิดดี พูดดี ทำดี

  • วันจันทร์ 

        ใช้มือสองข้างโอบอุ้มช้อนใต้มือของผู้ที่กำลังเจ็บป่วยด้วยความเห็นอกเห็นใจ พร้อมตั้งจิตให้มีสมาธิ แล้วเปล่งเสียงยาวๆ ว่า "อุเบกขา" ระลึกถึงความหมายของกิจกรรมบำบัดนี้ คือ เฉยรับฟังด้วยหัวใจ เข้าใจใช้ตากับมือสัมผัสกุมโอบมือ สบตา 3 วินาที หากรู้สึกสบายใจในความรักความดีงาม ให้สวมกอดไร้เสียงให้รู้สึกนิ่งฟังหัวใจอีก 20 วินาที

  • วันอังคาร 

        เคาะคลายอารณ์ลบโดยใช้มือข้างถนัด ณ บริเวณกลางกระหม่อม และ/หรือ ระหว่างหัวคิ้วสองข้าง แล้วพูดตามจังหวะการเคาะว่า "เราจะเปิดใจ ยอมรับและรักตัวเองให้มากๆ หายกลัว มั่นใจ หายเศร้า เข้มแข็ง หายโกรธ ให้อภัย"

  • วันพุธ 

        ตั้งสติ เดินช้าๆ ไปมาบริเวณที่สงบผ่อนคลาย ปรับร่างกายไม่ให้ก้มคองอตัว เพื่อไม่ชวนย้ำคิดติดอดีต ให้เคาะต่อมไทมัสตรงบริเวณกลางหน้าอก เหนือราวนม ให้หายใจเข้าลึกๆ กลั่นค้างไว้ นับในใจ 1-2-3 แล้วถอนหายใจออกทางจมูกแรงๆ พร้อมออกเสียง "เฮอ" ดังๆ ทำสัก 3-5 รอบ

  • วันพฤหัสบดี 

       ให้ภาวนาเปล่งเสียง โอม มณี ปัทเม หม 108 จบ ไม่เกิน 12 นาที ในท่านั่งหรือยืน หลับตาหรือลืมตา ตามสะดวก ระลึกถึงความหมายของกิจกรรมบำบัดนี้ คือ จงกลับมาอยู่กับร่างกายที่เป็นบ้าน ให้อัญมณีด้วยวิธีการแสดงความรักความเมตตา นำพาดอกบัวแห่งปัญญาให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาชีวิต มีจิตบริสุทธิ์อันแยกจากกันมิได้เลยคือ เมตตาปัญญา

  • วันศุกร์ 

        ก่อนทานอาหาร เพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองกับจิตเพื่อจดจ่อรับรู้สึกนึกคิดผ่านกิจกรรมการเคี้ยว กลืน กิน บริโภคอาหารอย่างมีสติสัมปชัญญะ เริ่มใช้นิ้วโป้งสัมผัสข้อต่อขากรรไกร ดันนิ้วชี้ไปตรงๆ ที่ปลายคาง ขยับนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ให้ก้มคอเล็กน้อย ให้กลอกตามองลงพื้น แล้วกลืนน้ำลายเล็กน้อย เงยหน้าตรงใช้ปลายลิ้นแตะตรงกลางเพดานใกล้ฟันบน ใช้นิ้วกลางแตะดันใต้คางเพื่อกระตุ้นน้ำลายชนิดใสแล้วไล่ไปใกล้กับกกหู จนถึงใต้ต่อขากรรไกรล่าง เพื่อกระตุ้นน้ำลายชนิดข้น ใช้ช้อนยาวสแตนเลสจุ่มน้ำอุ่นสัก 3-5 วินาที นำหลังช้อนมาแตะนวด ปลายลิ้นซีกข้างถนัดวนไปกลางสิ้น แล้วแตะเข้าไปอีกนิดชิดลิ้นไปข้างซ้าย นำช้อนออก แลบลิ้นแตะริมฝีปากล่าง ปิดปาก กลืนน้ำลาย แลบลิ้นแตะริมฝีปากบน ปิดปาก กลืนน้ำลาย แลบลิ้นแตะมุมปากด้านขวา ปิดปาก กลืนน้ำลาย แลบลิ้นแตะมุมปากด้านซ้าย ปิดปาก กลืนน้ำลาย ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้แตะไล่ลงมาจากใต้คางอย่างช้าๆ จนเลยคอหอยนิดหนึ่ง แล้วกลืนน้ำลายให้หมดภายในสองรอบ ถ้าเกินสองรอบ ให้เป่าลมแรงๆออกจากปากสามครั้ง พร้อมส่งเสียงร้อง อา อู โอ แล้วค่อยกัมหน้ามองต่ำเล็กน้อยขณะกลืนน้ำลาย สุดท้ายใช้มือแตะท้องแล้วกดรอบๆสะดือ และ/หรือ หันคอไปยังร่างกายข้างถนัดหรือข้างที่รู้สึกมีแรงมากกว่า งอตัวเล็กน้อยพร้อมก้มคอกลืนน้ำลาย ทำสัก 3 รอบ

3.จงทบทวนว่าตัวเรามี Learn How to Learn เพื่อจะเรียนและทำงาน OT อย่างมีความสุขได้อย่างไร

        วิธีการเรียนแบบตัวของฉัน ฉันเชื่อคำว่า “ถ้าเรียนในห้องให้เข้าใจแล้วกลับมาทบทวน” มันจะทำให้เข้าใจบทเรียนนั้นได้ดี และติดตัวไปได้ แต่ความจริงแล้วการไปตั้งใจเรียนในห้องอย่างเดียวไม่พอ ฉันรู้สึกว่าการเตรียมตัว การอ่านสิ่งที่จะต้องไปเจอในห้องก่อนต่างหากที่จะทำให้ฉันเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น ฉันเคยอ่านหนังสือก่อนที่จะเข้าห้องไปเรียน การเรียนของฉันในวันนั้นมันสนุกมาก เพราะอะไรที่เรามองไม่เห็นภาพ หรืออ่านหนังสือแล้วคิดไม่ออก พอเรียนในห้อง มันคือภาพที่แสดงให้เราเห็นได้ชัดมากขึ้น เราเห็นภาพอะไรเราก็รู้ว่าคืออะไร โดยที่เราไม่ต้องคอยสลับเปิดตำราไปมา เรื่องนี้กำลังสอนฉันว่า การหัวโล่งๆไปรับข่าวสาร ความจริงแล้วมันก็ดี ดีสำหรับบางเรื่อง แต่สำหรับการเรียนหรือการทำงานของฉัน ฉันคิดว่าเราควรจะเตรียมองค์ความรู้ เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่เราต้องไปเจอมากกว่า ถึงแม้ว่าการเป็นนักกิจกรรมบำบัดจะคาดเดาการมาของเคสไม่ได้ เช่น วันนี้เคสอารมณ์ดี อารมณ์ไม่ดี อยากทำ ไม่อยากทำ เศร้า เสียใจ ดีใจ ร่าเริง เป็นต้น แต่เราก็สามารถเตรียมรับมือโดยใช้องค์ความรู้ที่เตรียมตัวมา มาปรับประยุกต์ให้เข้ากับเคสในวันนั้นๆได้

พรณภัทร พรเลิศพงศ์ 6323003 PTOT

คำสำคัญ (Tags): #Procedural
หมายเลขบันทึก: 697002เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2022 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2022 09:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท