เรียนรู้เข้าใจด้วย Condition & Procedural reasoning


Clinical reasoning


Profile ผู้รับบริการ

ชื่อ: เดียร์ (นามสมมติ)

เพศ: ชาย

Dx : Chronic Depression with Low Function Asperger’s

การศึกษา : จบปริญญาโท สาขาเคมี ที่แคนาดา

บทบาท : น้องชายคนเล็ก

สิ่งที่ชอบ :  : เล่นเกมส์ การนวด

สิ่งที่ไม่ชอบ : การออกกำลังกาย

การทำงาน : เคยทำงานมา 3 ที่ ปัจจุบันว่างงาน รอการติดต่อกลับจากที่ไปสมัครมา

ผู้รับบริการไม่ค่อยสบตากับนักกิจกรรมบำบัดขณะสัมภาษณ์ วอกแวกตลอดเวลา ตอบคำถามห้วน บางทีก็ไม่ฟังคำถามหันไปเล่นเกมส์ กิจกรรมที่ให้เคลื่อนไหวส่วนใหญ่ผู้รับบริการสามารถทำตามได้ แต่กิจกรรมที่ให้ลุกออกจากที่ผู้รับบริการคงความสนใจไว้ไม่ได้ มีการหายไปทำกิจกรรมอื่น ต้องพูดซ้ำและอธิบายช้าๆ ต้องกระตุ้นให้ผู้รับบริการให้คงความสนใจขณะนักกิจกรรมบำบัดพูดอยู่เสมอ ผู้รับบริการมีอารมณ์ก้าวร้าวในบางครั้ง อารมณ์ไม่คงที่ เบื่อง่าย ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ชอบที่พี่ชายบ่นตัวเอง ไม่มีเพื่อน มีความต้องการมาหานักกิจกรรมบำบัดเพราะอยากจะหางานทำ ผู้รับบริการอยากทำงานห้องแลปเหมือนกับพี่ชายและเป็นสิ่งที่ตนเคยเรียนมา

Conditional clinical reasoning

ใช้กรอบอ้างอิง MOHO ร่วมกับกรอบอ้างอิงอื่นๆ ในการคำนึงถึงผู้รับบริการแบบองค์รวมและสามารถมองผู้รับบริการได้รอบด้าน โดยคำนึงถึงความต้องการ ความสนใจและการให้คุณค่าของผู้รับบริการซึ่งใช้เป็นข้อมูลในการประกอบการบำบัดรักษา

  1. เนื่องจากผู้รับบริการมีภาวะ Chronic Depression with Low Function Asperger’s มีอาการแสดงของโรคคือผู้รับบริการไม่สามารถเริ่มต้นสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น มักจะทำกิจกรรมคนเดียว ไม่สนใจคนรอบข้าง นักกิจกรรมบำบัดตั้งเป้าประสงค์ทางกิจกรรมบำบัดเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับคู่สนทนาของตนเองได้ โดยเริ่มต้นจากการมองหน้าสบตาขณะมีการเรียกชื่อ ใช้ teaching and learning process โดยการให้ physical prompt & verbal prompt ขณะมีการเรียกชื่อผู้รับบริการในระหว่างการทำกิจกรรม และผู้รับบริการลองใช้ CommunityGame ในการเริ่มสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนผ่านทาง game online
     
  2. เนื่องจากผู้รับบริการมีภาวะ Chronic Depression with Low Function Asperger’s มีอาการแสดงของโรคคือผู้รับบริการไม่สามารถทำงานได้ มักโดนไล่ออกเมื่อทำงานได้ไม่นาน เปลี่ยนงานบ่อย นักกิจกรรมบำบัดตั้งเป้าประสงค์ทางกิจกรรมบำบัดเพื่อให้ผู้รับสามารถแสดงออกถึงเจตจำนง ความสนใจ ความต้องการ และการให้คุณค่า โดยใช้คำถามตามกรอบอ้างอิง MOHO ผู้รับบริการมีทักษะทาง social skills ในระดับที่ดีพอจะทำงานร่วมกับผู้อื่น และ process skills ในระดับที่สามารถทำงานได้
     
  3.  เนื่องจากผู้รับบริการมีภาวะ Chronic Depression with Low Function Asperger’s มีอาการแสดงของโรคคือผู้รับบริการไม่สามารถจดจ่อได้นาน มักเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย นักกิจกรรมบำบัดตั้งเป้าประสงค์ทางกิจกรรมบำบัดเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถจดจ่อได้ตลอดกิจกรรมโดยผ่านการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งทำกิจกรรมไปพร้อมกับนักกิจกรรมบำบัด เช่น กิจกรรมทดสอบ Diadochokinesia ให้คว่ำ-หงายมือสลับกันทั้ง 2 ข้างนาน 10 วินาที โดยผ่านการประเมิน Allen Cognitive Level (ACL) ผู้รับบริการสามารถทำได้และคงความสนใจได้จนทำกิจกรรมสำเร็จ


 

Procedural clinical reasoning     

1) ทำไมผู้รับบริการจึงไม่สามารถทำงานได้นานและเปลี่ยนงานบ่อย

ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s ซึ่งส่งผลต่อPerformance skills ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาในการหางาน นักกิจกรรมบำบัดสัมภาษณ์ผู้รับบริการเพิ่มเติมโดยใช้คำถามตามกรอบอ้างอิง MOHO เพื่อดึงเจตจำนง ความต้องการ ความสนใจของผู้รับบริการออกมา โดยใช้Interactive clinical reasoning & Narrative clinical reasoning ที่เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดเพื่อการรวบรวมข้อมูลและเข้าใจบริบทของผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น ผู้รับบริการบอกว่าตนอยากทำงานในห้องlab เนื่องจากเรียนทางด้านนี้มาเหมือนพี่ชาย ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนสนใจจริงๆคืออะไร นักกิจกรรมบำบัดสอบถามเพิ่มถึงความสนใจในช่วงนี้ ผู้รับบริการตอบว่า ชอบเล่นเกม เล่นได้นานถึง 8-9 ชั่วโมงแต่เป็นการเล่นคนเดียว จากการประเมินAllen Cognitive Level (ACL) ส่วนใหญ่ผู้รับบริการทำได้เป็นปกติ ( ACL level 6 ) แต่ให้ทำการประเมินเพิ่มเติมในส่วน Social interaction skills นักกิจกรรมบำบัดสัมภาษณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานเก่าที่ผู้รับบริการเคยทำและปัญหาในที่ทำงานเก่า รวมถึงเพื่อนร่วมงาน หากผู้รับบริการมีปัญหาในส่วนของ Social interaction นักกิจกรรมบำบัดแนะนำเป็นงานที่ใช้ทักษะทางคอมพิวเตอร์ เกม(ตามความสนใจและการให้คุณค่า) และเป็นงานที่ไม่ต้องพบปะผู้คนอื่นๆนอกจากงานในห้องlab เช่น นักกีฬาe-sports นักแคสเกม ทำเพจ เขียนรีวิวเกมออนไลน์ เทรดหุ้น เป็นต้น รวมทั้งแนะนำช่องทางการได้มาซึ่งงานนั้นๆ แต่หากผู้รับบริการยังต้องการที่จะทำงานlab ให้ประเมินความสามารถเพิ่มเติมที่ต้องใช้เกี่ยวกับงานlab และเตรียมความพร้อมให้ผู้รับบริการสามารถไปทำงานนั้นๆได้

 

2) ทำไมผู้รับบริการจึงไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ไม่มีเพื่อน ไม่ชอบสบตานักกิจกรรมบำบัด

ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s เนื่องจากอาการแสดงของโรคส่งผลให้มีภาวะ low social skill due to autism นักกิจกรรมบำบัดสัมภาษณ์ผู้รับบริการในเรื่องของการมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อน คนรอบข้าง โดยนักกิจกรรมบำบัดสังเกตท่าทาง การตอบสนองของผู้รับบริการตลอดการสัมภาษณ์ ผู้รับบริการไม่สบตา เลี่ยงสายตา และบอกว่าตนไม่มีเพื่อน ชอบเล่นเกมคนเดียว อยากทำงานที่ไม่ต้องเจอใคร นักกิจกรรมบำบัดสัมภาษณ์ พี่ชายและพี่สาวของผู้รับบริการเพิ่มเติม ได้ความว่าทั้งพี่ชายและพี่สาวมีความกังวลในตัวของน้องชายค่อนข้างมาก แต่ผู้รับบริการรู้สึกว่านั่นคือความกดดันจากคนในครอบครัว ฉะนั้นนักกิจกรรมบำบัดส่งเสริมกระตุ้นการสื่อสาร โดยผ่านการพูดคุยใช้คำถามที่เข้าอกเข้าใจและดึงความรู้สึกให้ผู้รับบริการเล่าความในใจของตนออกมาผ่าน Interactive clinical reasoning & Narrative clinical reasoning ร่วมด้วย และให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมไปพร้อมๆกับนักกิจกรรมบำบัด เพื่อเพิ่มทักษะ communication and social skill ก่อนให้ผู้รับบริการไปทำกิจกรรมกลุ่มกับคนที่ไม่รู้จักเพื่อพัฒนาทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมตามลำดับไป

 

3) ทำไมผู้รับบริการจึงชอบเล่นเกมเป็นเวลานานต่อเนื่อง

ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s เนื่องจากอาการแสดงของโรคส่งผลให้มีภาวะ low attention มีอารมณ์ไม่มั่นคง ก้าวร้าว เบื่อง่าย ไม่อยากสนทนากับนักกิจกรรมบำบัดยืดยาว ไม่ชอบการรอคอย สนใจเพียงกิจกรรมที่ตนให้คุณค่าและให้ความสนใจผ่านการสัมภาษณ์โดยใช้กรอบอ้างอิงMOHO กิจกรรมที่ผู้รับบริการใช้เวลามากที่สุดใน 1 วันคือ การเล่มเกม โดยคงความสนใจได้นานถึง 8-9 ชั่วโมง ผู้รับบริการให้เหตุผลว่าเพราะเล่นตอนไหนก็ได้ รู้สึกสนุก ชอบความรู้สึกตอนชนะ ไม่ต้องพบเจอกับใคร และคิดว่าตนเองเล่นได้ดี เล่นได้เก่ง เป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการรู้สึกมั่นใจในตัวเองสูง นักกิจกรรมบำบัดจึงนำสิ่งที่ได้จากการสัมภาษณ์มาใช้เป็นคำแนะนำในเรื่องของการหางาน โดยแนะนำให้ผู้รับบริการลองหางานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเกม เช่น นักแคสเกม นักกีฬาe-sports การขายไอเทมจากการเล่นเกม เป็นต้น เพราะหากผู้รับบริการหันมาทำอาชีพเหล่านี้ ก็จะเป็นการดึงข้อดีจากกิจกรรมการเล่นเกมมาใช้ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการทำได้ดี ให้คุณค่าและให้ความหมาย คงความสนใจได้นาน ส่วนปัญหาการติดเกมเป็นระยะเวลานาน นักกิจกรรมแนะนำการบริหารจัดการเวลาโดยจำกัดระยะเวลาเล่นเกม แบ่งเวลาเล่นให้ชัดเจน ทำmind map ว่าใน 1วันตนเองจะทำอะไรบ้างให้จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม มีการแบ่งเวลาให้แต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม ควรมีเวลาสำหรับหยุดพักทำกิจกรรมอื่นบ้างหรือแนะนำงานอดิเรกอื่นๆให้กับผู้รับบริการนอกจากเล่นเกมหน้าคอมพิวเตอร์ โดยกระตุ้นให้ผู้รับบริการริเริ่มลองทำเพื่อค้นหาสิ่งที่ตนเองทำได้และชื่นชอบ

 

4) ทำไมผู้รับบริการจึงคงความสนใจในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งได้ไม่นาน 

ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s เนื่องจากอาการแสดงของโรคส่งผลให้มีภาวะ low attention เบื่อง่าย ไม่อยากสนทนากับนักกิจกรรมบำบัดยืดยาว ไม่ชอบการรอคอย นักกิจกรรมบำบัดให้ทำกิจกรรมมักคงความสนใจได้ไม่นาน โดยนักกิจกรรมบำบัดทำการประเมินเพิ่มเติมโดยผ่านการประเมินแบบ standard เช่น MOCA MMSE LOTCA และผ่านการประเมินแบบ non-standard โดยการสังเกตให้ทำกิจกรรมไปพร้อมๆกับนักกิจกรรมบำบัด หากทำแบบออนไลน์ให้คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่ผู้รับบริการอยู่ (ด้วยปัจจัยหลายอย่างอาจทำให้การประเมิน attention ผ่าน Telehealth ยังไม่ค่อยเหมาะสม) หากสามารถ face to face ได้ นักกิจกรรมบำบัดประเมินผ่านกิจกรรม "ลูกปิงปองอยู่ไหนนะ" อุปกรณ์ที่ใช้ 1)ลูกปิงปอง 2)แก้วหรืออุปกรณ์ที่มีความทึบ ไม่โปร่งแสงมองเห็นด้านใน ขนาดใหญ่กว่าลูกปิงปองสามารถครอบลูกปิงปองได้ จำนวน 3 แก้วขึ้นไป วิธีการเล่น 1) ให้นักกิจกรรมบำบัดและผู้รับบริการแนะนำตัวทำความรู้จักกัน 2) นักกิจกรรมบำบัดนำลูกปิงปองวางไว้แล้วนำแก้วใบนึงมาครอบ ส่วนแก้วอื่นๆวางไว้รอบๆ 3) นักกิจกรรมบำบัดบอกให้ผู้รับบริการจ้องแก้วที่ครอบลูกปิงปองเอาไว้ 4) สลับแก้วไปมาพักนึง 5) ให้ผู้รับบริการทายแก้วที่ครอบลูกปิงปองเอาไว้ว่าคือแก้วใด ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะสังเกตและดูทักษะ attention ของผู้รับบริการตลอดการทำกิจกรรม โดย grade up กิจกรรมขึ้นคือเพิ่มจำนวนแก้วน้ำเข้าไปให้มากกว่า 3 แก้ว

 

5) ทำไมผู้รับบริการจึงไม่ชอบออกกำลังกาย อยากนอน ไม่อยากทำอะไร

ผู้รับบริการได้รับการวินิจฉัยเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s เนื่องจากอาการแสดงของโรคส่งผลให้มีภาวะ low motivation ไม่อยากเคลื่อนไหวร่างกายจึงส่งผลทำให้ไม่ชอบออกกำลังกาย จากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการโดยใช้กรอบอ้างอิงMOHO พบว่ากิจกรรมที่ผู้รับบริการชอบคือการเล่นเกม แต่ผู้รับบริการเล่นเป็นระยะเวลา ส่งผลเสียหลายอย่างคือ 1) เสี่ยงต่อภาวะ RSI (Repetitive Strain Injuries) มักเกิดบริเวณข้อมือ นิ้วหัวไหล่ 2) เกิดอาการปวดเมื่อยร่างกายและปวดหลัง 3) สุขภาพดวงตาไม่ดี นักกิจกรรมบำบัดกระตุ้นให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายก่อนเริ่มการสัมภาษณ์เนื่องจากผู้รับบริการไม่ค่อยตอบคำถามและไม่ค่อยมีparticipation บอกผู้รับบริการว่า "หากเล่นเกมเป็นเวลานานๆอาจทำให้ปวดเมื่อยร่างกาย ปวดนิ้วและปวดตา ฉะนั้นเรามาเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อคลายอาการปวดเมื่อยกันนะคะ " ผู้รับบริการเกิดความรู้สึกว่ากิจกรรมนี้เมื่อทำไปเขาจะกลับไปเล่นเกมได้อย่างไม่ต้องปวดเมื่อย เกิดเป็น motivation อยากจะทำ ซึ่งจากการทำกิจกรรมผู้รับบริการให้ความร่วมมือได้ดีมาก และผู้รับบริการสะท้อนความรู้สึกหลังจบกิจกรรมว่า "พึ่งรู้ว่าตนเองก็ทำได้" ฉะนั้นผลการประเมินmotivation พบว่า เมื่อนักกิจกรรมใช้ความเข้าอกเข้าใจ การสร้างปฏิสัมพันธ์ นำตนเองเป็นสื่อในการบำบัดรักษาผ่านInteractive clinical reasoning เมื่อผู้รับบริการเริ่มรู้สึกมีส่วนร่วมไปกับกิจกรรม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักกิจกรรมบำบัดมากขึ้น ผู้รับบริการก็จะเกิด motivation กับกิจกรรมมากขึ้นเรื่อยๆเช่นเดียวกัน


 

Learn how to learn : จะเรียนและทำงานOTอย่างไรให้เกิดความสุข

กล่าวก่อนว่าผู้เขียนนั้นได้เลือกเข้าศึกษาในสาขาวิชานี้เพราะพี่นักกิจกรรมบำบัดศูนย์สิรินธนได้บอกกับผู้เขียนด้วยประโยคเพียงประโยคเดียวว่า " พี่มีความสุขกับงานที่ทำตอนนี้มาก " ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มที่ออกมาจากใจจนผู้เขียนจำช่วงเวลานั้นได้ขึ้นใจจนถึงวันนี้ แม้ในวันนั้นผู้เขียนจะไปศึกษาหลายสาขาวิชาชีพเพื่อค้นหาความสนใจในการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย แต่วิชาชีพ OT เป็นวิชาชีพเดียวที่ทำให้ผู้เขียนต้องกลับมาศึกษาค้นคว้า พี่นักกิจกรรมบำบัดเป็นคนเดียวจากพี่ๆหลายสาขาวิชาชีพที่บอกกับผู้เขียนว่าเขามีความสุขกับงานที่ทำ และหลังจากที่ได้เข้ามาเรียนจริงๆแล้วนั้นก็ได้เข้าใจ ได้รู้ว่าทำไมวิชาชีพOT ทำไมจึงทำให้คนๆนึงรู้สึกแบบนั้นได้ เพราะOT สอนให้เราเข้าใจตนเองและเข้าใจคนอื่น มองผู้รับบริการด้วยหัวใจ มองลึกลงไปถึงว่าเราจะทำให้เขามีความสุขได้อย่างไร นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมวิชาชีพนี้จึงทำให้เรามีความสุข นั่นก็เพราะเราได้เห็นคนๆนึงมีความสุข เราจึงมีความสุขตามไปด้วย

 

แล้วจะเรียนและทำงานอย่างไรให้เกิดความสุข?

ชีวิตในวัยมหาวิทยาลัยเป็นวัยแห่งการค้นหาประสบการณ์ วัยแห่งการลองผิดลองถูก และพบกับความผิดหวังมานับไม่ถ้วน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทาย อย่างแรกคือการเข้าใจในอารมณ์และนิสัยของตนเอง หากพบเจอเรื่องที่ผิดหวังจะจัดการกับความรู้สึกนั้นอย่างไร ผู้เขียนใช้วิธีการ เศร้าวันนั้นให้เต็มที่ พอหัวถึงหมอนหลับตาเริ่มต้นวันใหม่ เราก็จะเริ่มใหม่เช่นกัน วิธีนี้ผู้เขียนพึ่งค้นพบได้ไม่นานและนำมาใช้ได้ผลจริง พอตัดความเศร้า ความผิดหวังออกไปได้หลังจากนั้นความสุขก็จะตามมา ซึ่งการจัดการกับอารมณ์นั้นล้วนต้องใช้ประสบการณ์ฝึกฝนไปเรื่อยๆ แต่ก็จงรู้ไว้ว่าความผิดหวังกับความผิดพลาดนั้นไม่ใช่สิ่งเลวร้ายแต่สอนให้เรามีประสบการณ์แล้วอนาคตความสุขก็จะตามมาเพราะเราเรียนรู้ที่จะไม่ผิดพลาดซ้ำอีก เทคนิคนี้สามารถนำไปใช้ได้ตลอดแม้เราจะไปทำงานแล้วก็ตาม อีกอย่างคือการจัดการบริหารเวลาให้ร่างกายของเราได้พักผ่อนบ้าง OTสอนให้เรารู้จักการ balance ชีวิต ฉะนั้นเราจึงไม่ควรเรียนหรือทำงานเพื่อหวังแต่เพียงประสบความสำเร็จ นั่นเป็นความคิดที่ควรปรับแก้ ลองใจเย็นๆ ให้ร่างกายและจิตใจของเราได้พักผ่อนบ้าง มองหาสิ่งอื่นที่ชอบ leisureที่สนใจ แม้แต่การนอนก็ควรทำให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบ5หมู่ตามหลักโภชนาการ มีสังคมที่ตนรักและสบายใจ วันนึงได้ยิ้มและได้หัวเราะออกมาบ้าง เพียงเท่านี้ความสุขก็หาได้ไม่ยากแล้วซักวันหากผู้เขียนได้ไปทำงาน แล้วมีรุ่นน้องมาถามความรู้สึกแบบที่ผู้เขียนได้ไปมา ผู้เขียนก็จะยิ้มกว้างและตอบไปด้วยความจริงใจว่า "การเรียนและการทำงานของโอทีนั้นทำให้พี่มีความสุขมากๆเลยค่ะ"

หมายเลขบันทึก: 697000เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2022 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2022 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท