3 ข้อคำถามกับClinical Reasoning


กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ กับดิฉันกมลชนก พิกุล นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยมหิดล ในครั้งนี้ดิฉันได้โจทย์คำถามจากอาจารย์ เป็นการให้เหตุผลและการทบทวนตัวเองค่ะ โดยมีโจทย์ทั้งหมด 3 ข้อคำถามด้วยกัน

กรณีศึกษาที่ได้รับ

  • Occupational profile : เดียร์ (นามสมมติ)
  • Dx : Chronic Depression with Low Function Asperger’s
  • ประวัติการศึกษา : จบปริญญาโท จากแคนาดา
  • ประวัติครอบครัว : มีพี่ 2 คน (พี่ชายคนโตและพี่สาวคนกลาง) เป็นลูกคนที่ 3 ไม่มีงานทำ อาศัยอยู่กับพี่สาว 
  • Interest : มีความสนใจงานเกี่ยวกับการทำLabและเกม
  • สิ่งที่ขื่นชอบ : เกม การนวด
  • Needs : ต้องการได้งานทำ, ต้องการให้พี่บ่นน้อยลง 
  • ประวัติการทำงาน : เคยทำงานมาแล้ว ปัจจุบันว่างงาน อยู่ระหว่างการสมัครงาน
  • ผู้รับบริการวอกแวกง่าย ไม่ค่อยสนใจกิจกรรมที่ทำอยู่ คงความสนใจขณะทำกิจกรรมได้ยาก เบื่อง่าย อารมณ์ไม่คงที่ ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บำบัดหรือผู้อื่น

และจากกรณีศึกษาข้างต้น โจทย์ที่ได้รับคือ

จงยกตัวอย่าง Conditional Reasoning ในเคสสามพี่น้องของวันนี้ (3 ตัวอย่าง)

นักกิจกรรมบำบัดจะส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถมีส่วนร่วมในสังคมและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเหมาะสมได้อย่างไร

: ผู้รับบริการเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s ทำให้มีปฏิสัมสันธ์กับผู้อื่นได้ไม่ค่อยดี นักกิจกรรมบำบัดจะต้องช่วยผู้รับบริการตั้งเป้าหมาย เริ่มจากให้ผู้รับบริการสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างง่าย เข่น มองหน้าสบตา, แสดงสีหน้าที่เหมาะสม, ให้ความสนใจคู่สนทนา โดยใช้ teaching and learning

นักกิจกรรมบำบัดจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถทำงานได้ตามที่ต้องการได้อย่างไร

: ผู้รับบริการนั้นเปลี่ยนง่นบ่อยเพราะไม่สามารถทำงานได้ตามกำหนด จึงต้องออกจากงาน นักกิจกรรมบำบัดจะต้องช่วยส่งเสริม process skill ให้กับผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการจัดการเวลา แก้ปัญหาเฉพาะหน้า จัดการอารมณ์ได้ดีมากขึ้น

นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยส่งเสริมให้ผู้รับบริการสามารถคงความสนใจได้นานมากขึ้นได้อย่างไร

: ผู้รับบริการไม่สามารถคงความสนใจได้นาน เนื่องจากผู้รับบริการเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s นักกิจกรรมบำบัดจะต้องตั้งเป้าหมายให้ผู้รับบริการสามารถจดจ่อ คงความสนใจขณะทำกิจกรรมให้ได้นานมากขึ้น และทำกิจกรรมได้จนเสร็จสิ้น คอยส่งเสริมและกระตุ้น process skillให้กับผู้รับบริการ

จงตั้งคำถามที่คมชัดด้วย Why จำนวน 5 คำถาม ที่เกี่ยวข้องกับเคสสามพี่น้อง แล้วตอบเป็น Procedural Reasoning ในแต่ละคำถาม

  1. ทำไมผู้รับบริการคงความสนใจขณะทำกิจกรรมได้ไม่นาน 

: ผู้รับบริการเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s ซึ่งผลของโรคดังกล่าวจะทำให้ผู้รับบริการเบื่อง่าย วอกแวกง่าย คงความสนใจได้ไม่นาน ไม่อยากรอ อยากรีบทำกิจกรรมให้เสร็จ นักกิจกรรมบำบัดจะต้องทำการประเมิน Attention ของผู้รับบริการ โดยใช้แบบประเมินต่างๆ เช่น MMSE MOCA

  2. ทำไมผู้รับบริการถึงว่างงาน ไม่สามารถทำงานได้ 

: เนื่องจากผู้รับบริการเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s จึงทำให้ทักษะต่างๆ อย่างเช่น การเข้าสังคม, การคงความสนใจ, การมีสมาธิ, การทำงานให้สำเร็จ มีความบกพร่อง ซึ่งส่งผลต่อการทำงานและการหางาน ผู้รับบริการเคยลองไปทำงานแล้ว แต่เนื่องจากขาดทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น ทักษะการแก้ปัญหา ผู้รับบริการรู้สึกว่าไม่สามารถทำงานให้เสร็จทันกำหนดได้ จึงทำให้ผู้รับบริการไม่สามารถทำงานแต่ละที่ได้นาน จึงเปลี่ยนงานบ่อย จะต้องสัมภาษณ์และค้นหาสิ่งที่ผู้รับบริการให้ความสนใจ  มีแรงจูงใจในการทำงาน และเป็นสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ ตามกรอบอ้างอิงMOHO ผู้รับบริการบอกว่าต้องการทำงานในห้องlab เพราะจบด้านนี้มา แต่ไม่ได้อยากเรียนจริงๆ เรียนตามพี่ชาย ผู้รับบริการไม่รู้ว่าตนเองชอบหรือสนใจอะไร นักกิจกรรมบำบัดจะต้องใช้ตนเองเป็นสื่อใช้ Interactive CR. และ Narrative CR. ในการหาความต้องการของผู้รับยริการ เพราะจะช่วยให้ผู้รับบริการสามารถทำงานได้ดีมากขึ้น หากมีแรงจูงใจที่ดี มีการปรับเปลี่ยนนิสัยและพฤติกรรม 

  3. ทำไมผู้รับบริการจึงใช้เวลาในการเล่นเกมเป็นเวลานาน

: ผู้รับบริการนั้นเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s จึงไม่ค่อยอยากมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เบื่อง่าย อารมณ์ไม่คงที่ แต่ผู้รับบริการสามารถคงความสนใจในการเล่นเกมได้นานถึง 7-9 ชั่วโมง เนื่องจากผู้รับบริการมีความรู้สึกสนุก ไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รู้สึกว่าตนเองทำได้ดี เล่นเก่ง ชอบความรู้สึกเวลาที่ชนะ โดยกิจกรรมการเล่นเกมนั้นทำให้ผู้รับบริการสามารถคงความสนใจได้นาน และเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการชื่นชอบและให้ความสนใจ นักกิจกรรมจึงแนะนำให้ลองหางานที่เกี่ยวข้องกับเกม เช่น กีฬาe-sports , การขายไอเทมในเกม เป็นต้น ซึ่งเป็นการนำจุดแข็งและความสนใจของผู้รับบริการมาใช้  แต่ผู้รับบริการจะสามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นต้อการเล่นเกมได้มากแค่ไหนและกิจกรรมดังกล่าวจะทำให้ผู้รับบริการใช้สายตากับหน้าจอมากเกินไปหรือไม่ นักกิจกรรมบำบัดควรประเมินperformance skill ของผู้รับบริการเพิ่มเติม และช่วยส่งเสริมให้เหมาะสมมากขึ้น นอกจากนี้ ควรแระรำให้ฝึกการจัดการเวลา การแบ่งเวลาให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการติดจอและก่อให้เกิดlow attention ในกิจกรรมอื่นๆ

   4. ทำไมผู้รับบริการถึงไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น

: เนื่องจากผู้รับบริการเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s ซึ่งทำให้ผู้รับบริการมีความสามารถในการใช้ภาษาในการสื่อสารและปรับตัวเข้ากับสังคมได้ไม่ค่อยดี  นักกิจกรรมบำบัดควรประเมินทักษะในการเข้าสังคม ทักษะการสื่อสารของผู้รับบริการ และช่วยกระตุ้นให้ผู้รับบริการมีความสามารถดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น

  5. ทำไมผู้รับบริการถึงไม่สนใจการทำงานที่เกี่ยวกับเกมที่ตนเองชื่นชอบ แต่อยากทำงานเกี่ยวกับLab

: เนื่องจากผู้รับบริการเป็น Chronic Depression with Low Function Asperger’s ทำให้ขาดทักษะในการสื่อสาร การเข้าสังคม ไม่อยากทำงานที่ต้องพบปะผู้คน จึงทำให้อยากที่จะทำงานในlab และยังเป็นสาขาที่ตนเรียนจบมาอีกด้วย นอกจากนี้นังเคยถูกพี่ๆว่าเรื่องที่เล่นแต่เกม ทำให้ผู้รับบริการขาดความมั่นใจในตนเอง และไม่มีความคิดที่จะต่อยอดหรือพัฒนาความสามารถ ไม่เคยลองหาข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจ นักกิจกรรมบำบัดจะต้องทำการประเมินทักษะและช่วยส่งเสริมความมั่นใจ สร้างแรงจูงใจให้ผู้รับบริการทำในสิ่งที่ชื่นชอบ เพื่อให้ผู้รับบริการมีการพัฒนาทักษะไปได้มากกว่าเดิม

 

 

จงทบทวนว่าตัวเรามี Learn How to Learn เพื่อจะเรียนและทำงาน OT อย่างมีความสุขได้อย่างไร

          ในการเรียนและทำงานจะต้องได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆเสมอ ทุกคนนั้นมี working memory ซึ่งเป็นความทรงจำระยะสั้นในการนำสิ่งที่เพิ่งได้เรียนรู้มาใช้งาน เพื่อให้สามารถนำความรู้ต่างๆที่เพิ่งเรียนรู้ไปใช้ต่อได้ จะต้องทำให้ความรู้เหล่านั้นเป็นความตำระยะยาว โดยวิธีการก็คือต้องนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ถึงจะใช้เวลานานในการฝึกฝนแต่ก็จะทำให้เรามีความรู้ในการเรียนและทำงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เราเข้าใจในสิ่งที่ต้องทำได้ดี และความกังวลก็จะลดลง ซึ่งก็เป็นวิธีการที่จะทำให้เรียนรู้ได้อย่างมีความสุข

          นอกจากนี้ นักกิจกรรมบำบัดนั้นต้องใช้พลังในการคิดและทำกิจกรรมต่างๆอย่างมาก การมีร่างกายและสุขภาพที่ดีก็เป็นอีกสิ่งที่จะทำให้เรียนและทำงานได้อย่างมีความสุข  “การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ”  เป็นคำกล่าวที่ดีใช้ได้จริงอย่างมาก เมื่อร่างกายเรามีความพร้อมก็จะทำให้เรียนและทำงานได้อย่างเต็มที่

          และสุดท้ายคือ แรงจูงใจ เพื่อให้ทำสิ่งต่างๆได้ตามเป้าหมาย จะต้องมีแรงจูงใจที่ดี จะต้องตั้งเป้าหมายและถามตัวเองเสมอว่าสิ่งที่เราทำนั้นทำไปเพื่ออะไร เมื่อเรารู้จุดมุ่งหมายก็จะก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำ เมื่อคิดถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีแรงจูงในการทำสิ่งนั้น ก็จะทำให้ทำสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเรียนหรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข

 

6323014 กมลชนก พิกุล เลขที่ 13

คำสำคัญ (Tags): #clinical reasoning#learn how to learn
หมายเลขบันทึก: 696987เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2022 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2022 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท