เวลา


         ผู้ที่ศึกษาในเรื่องราวของประวัติศาสตร์จำเป็นต้องมีความเข้าใจในเรื่องของเวลา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในการศึกษาประวัติศาสตร์  เพื่อให้สามารถลำดับช่วงเวลาเชื่อมโยงเหตุการณ์และวิเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ได้ถูกต้อง

          เวลาคือสิ่งที่เชื่อมอดีตกับปัจจุบัน  เวลาเป็นตัวแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  เวลาจึงมีความสำคัญต่อการศึกษาทางประวัติศาสตร์

ความสำคัญของเวลา

1. เวลาแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของมนุษย์ในอดีตทุกๆด้าน ทั้งด้านสภาพสังคมเศรษฐกิจ การเมือง และความเชื่อทางศาสนา

2. เวลาช่วยให้เข้าใจในเหตุการณ์หรือเรื่องราวในอดีตได้ชัดเจน

3. เวลาจะช่วยเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบันนำไปสู่การคาดคะเนในอนาคต

4. มนุษย์ใช้ภูมิปัญญาผลิตเครื่องมือบอกเวลา เพื่อสนองความจำเป็นในการดำรงชีวิต

ในการศึกษาประวัติศาสตร์นั้นเวลามีจะมีความสำคัญ เพราะจะช่วยให้เข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่เกี่ยวกับ

ลำดับของเหตุการณ์การเชื่อมโยงของอดีตกับปัจจุบัน

      การเปรียบเทียบเหตุการณ์ร่วมสมัยในประวัติศาสตร์นั้น นักประวัติศาสตร์จะเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดในประวัติศาสตร์ โดยอาศัยเวลาตามเหตุการณ์นั้นๆที่ได้เกิดขึ้น

ความต่อเนื่องของกาลเวลา    มิติของเวลา

               เวลามีการเคลื่อนที่อยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่

               ปัจจุบัน = สักวันหนึ่งก็จะกลายเป็นอดีต

               อนาคต = สักวันหนึ่งจะกลายเป็นปัจจุบัน และมีอนาคตมาอีก

               อดีต =  เราสามารถรู้ได้ว่าผ่านมาเท่าใด แต่อนาคตเราไม่สามารถรู้ได้

          ศักราช (ERA) หมายถึงอายุเวลาที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยถือเอา เหตุการณ์ที่สำคัญ เหตุการณ์หนึ่ง เหตุการณ์ใด  เป็นจุดเริ่มต้น แล้วนับเวลาเป็นปีเรียงตามลำดับติดต่อกันมา

1.การนับศักราชแบบไทย

1.1 นับโดยใช้พุทธศักราช ใช้ย่อว่า พ.ศ.  โดยเริ่มจากปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์นิพพาน  มีการกำหนดใช้พุทธศักราชของไทย  เริ่มขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 ( พ.ศ. 2455 )

               มหาศักราช ย่อว่า ม.ศ. (Shaka Era )เป็นศักราชที่พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์อินเดียกำหนดขึ้น

               มหาศักราช มีอายุน้อยกว่า พุทธศักราช อยู่ 621 ปี นิยมใช้ในทางโหราศาสตร์

               รัตนโกสินทร์ศก ย่อว่า (ร.ศ.) เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 5 

              โดยเริ่ม ร.ศ.1  ในปี พ.ศ. 2325

               จุลศักราช ย่อว่า จ.ศ. เริ่มขึ้นในอาณาจักรพุกามของพม่า เกิดขึ้นหลังพุทธศักราช 1181 ปี ยกเลิกการใช้ในสมัยรัชกาลที่ 6                                                                                                                    

1.2  การนับเวลาในระบบจันทรคติ  คือ การนับเวลาตามดวงจันทร์

                             ขึ้น......ค่ำ เริ่มจากเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวเล็กไปจนเห็นครึ่งดวงเป็น

                             วันขึ้น 8 ค่ำ เห็นเต็มดวงเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ

                              แรม ..... ค่ำ เริ่มจากเห็นดวงจันทร์เต็มดวง เหลือครึ่งดวง เรียกว่า

                              แรม 8 ค่ำ แทบไม่เห็นเลย ในวันแรม 14-15 ค่ำ

                              เดือนทางจันทรคติ มี 12 เดือน 

                             โดยต้นที่เดือนอ้าย (1) เดือนยี่ (2)..........เดือน 12

                             เริ่มต้น วันขึ้น 1 ค่ำ สิ้นเดือนในแรม 14 ค่ำ สำหรับเดือนคี่

                             วันแรม 15 ค่ำ สำหรับเดือนคู่

                             ปีอธิกมาส = ปีที่มีเดือน 8 สองหน

1.3  การนับเวลาในระบบสุริยคติ

                            เป็นการนับโดยถือดวงอาทิตย์เป็นหลัก

                            วันทางสุริยคติ คือ วันที่ 1-2-3-4 ...... 30 หรือ 31

                            เดือนทางสุริยคติ มี 12 เดือน ใน 1 ปี

                             ปีปกติสุรทิน ใน 1 ปี มี 365 วัน(เป็นปีปฏิทิน ที่มีจำนวนวัน 365  วัน และไม่ใช่ปีอธิกสุรทิน)

                             ปีอธิกสุธน ใน 1 ปี มี 366 วัน ( เดือนกุมภาพันธ์ 4 ปี มี 1 ครั้ง ) 

                             (เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือ ในปีนั้นมี 13 เดือน มีเดือน 8 สองหน เรียกว่า เดือน 8 สอง 8 )

2. การนับศักราชแบบสากล

                      คริสต์ศักราช (CHRISTIAN ERA) ภาษาไทย ย่อว่า ค.ศ. ภาษาอังกฤษ ย่อว่า A.D. มาจากคำว่า  ANNO DOMINI ซึ่งเป็นภาษาลาติน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า THE YEAR OF OUR LORD  แปลว่า    ปีแห่งพระผู้เป็นเจ้าของเรา

              โดยเริ่มจากปีที่เชื่อว่าเป็นประสูติของพระเยซู ถือเป็น ค.ศ. 1  (ซึ่งเวลาน้อยกว่า พุทธศักราช ประมาณ 543 ปี 

(ตรงกับพุทธศักราช 544 ) 

               ในช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติ เรียกว่าก่อนคริสต์ศักราช ย่อว่า B.C. (BEFORE CHRIST)

ฮิจเราะห์ศักราช (HIJRAH)  ใช้ย่อว่า ฮ.ศ. 

               ฮิจเราะห์ศักราช มาจากภาษษอาหรับแปลว่า การอพยพออกจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา 

              เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ท่านนบีมูฮัมมัดหนีออกจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดิน่า  เมื่อ พ.ศ. 1123 

              การเทียบฮิจเราะห์ศักราชเป็นพุทธศักราชให้บวกด้วย 1122

การนับทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ

ทศวรรษ (DECAADE) มาจากคำว่า ทศ+วรรษ 

               ทศแปลว่า สิบ     วรรษ แปลว่า ปี

               จะนับศักราชที่ลงท้าย 0 ถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 9  เช่น

               ทศวรรษที่ 2000 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ. 2000-2009 หรือนับจากปีที่เกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งก็ได้

ศตวรรษ (CENTURY)  มาจากคำว่า ศต+วรรษ 

               ศต แปลว่า ร้อย   วรรษ แปลว่า ปี

                จะนับศักราชที่ลงท้าย 01 ถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 00  เช่น

                คริสต์ศตวรรษที่ 21 หมายถึง  ค.ศ. 2001-2100

หมายเลขบันทึก: 695868เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2022 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2022 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท