Take home 239


โจทย์ : นักศึกษากฎหมาย ซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย แต่สอบตกทุกวิชา

นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment + Skilled Life design + Supportive Engagement

 

นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม มีหน้าที่อย่างไรบ้าง

1. ทราบถึงประวัติของผู้รับบริการ ภูมิหลังจากการให้ข้อมูลในประวัติผู้รับบริการที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ (chart)

2. นัดพบนักกิจกรรมบำบัด เพื่อผูกสัมพันธภาพและให้ได้รับข้อมูลจากผู้รับบริการด้วยตนเอง จากการสัมภาษณ์ (แบบNarrative reasoning) เพื่อให้ผู้รับบริการได้เล่าเรื่องราวของตนเอง ระยะเวลาที่มีอาการ รวมถึงลักษณะอาการที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร ตอนนี้กำลังรู้สึกยังไงบ้าง

ในขั้นตอนนี้เราจะสามารถสอบถามและวิเคราะห์ปัจจัยทั้งเฉพาะ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น

ประวัติส่วนตัว: ความมั่นใจในตนเอง ประเมินค่าตนเองต่ำ ( low self esteem ) รู้สึกไร้ค่า หูแว่ว(ซึมเศร้ารุนแรง) ความกังวล

บทบาทหน้าที่ในชีวิต ความคิดอยากฆ่าตัวตาย เป้าหมาย ทัศนคติ

ภูมิหลัง: ครอบครัว เศรษฐานะ ปัญหาทางการเงิน สิ่งแวดล้อม การสูญเสียคนในครอบครัว 

ความคาดหวัง : ในการเรียน ความเครียดในการเรียน สังคมเพื่อน ความกดดัน เรื่องที่วิตกกังวลเป็นพิเศษ

ทางการแพทย์ : การได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ การรับประทานยา

กิจวัตรประจำวัน : ADL , IADL pattern , routine, life balance , Sleeping การแบ่งเวลาเรียน และการใช้เวลาไปกับการพนัน ปัญหาอุปสรรคที่เจอในการทำกิจวัตรประจำวัน ความสุขในการใช้ชีวิต

 

โดยนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมต้องรับฟังเรื่องราวของผู้รับบริการอย่างตั้งใจ สะท้อนความคิดของผู้รับบริการ ไม่เสนอความเห็นหรือใช้คำพูดที่ตีตราว่าเขากำลังทำในสิ่งที่ผิด แต่ให้เขารับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึก ณ ขณะนั้น ค่อย ๆ ไล่ความรู้สึกให้ผ่อนคลายหรือให้ระบายเรื่องที่เขาอึดอัดให้เราฟัง ที่สำคัญคือต้องสอบถามสุขภาวะของผู้รับบริการ และทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการได้ในที่สุด

3.ประเมินผู้ป่วยโดยใช้แบบประเมินต่าง ๆ เช่น PSQ9 Sensory เพื่อประเมินภาวะซึมเศร้า การรู้คิด(cognitive)

General Assessment of mental status- Mini-Mental State Examination.

Assessments of cognition and affect – Allen Cognitive level Test, Beck Depression Inventory, Elder Depression Scale, and Hamilton depression Rating Scale

 

4. หลังจากสัมภาษณ์และวิเคราะห์เรื่องราวของผู้รับบริการ นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมต้องทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวผู้รับบริการและความต้องการที่แท้จริง เช่น

Hope ผู้รับบริการมีความหวังว่าจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เรียนจบ เลิกติดพนันได้ มีสุขภาวะที่ดี 

นักกิจกรรมบำบัดจะต้อง Empowerment เพิ่มพลังและเสริมให้ผู้รับบริการมีความหวังในการใช้ชีวิตอย่างมีสมดุล ต้อง

  • เสริมกำลังใจ พัฒนาอารมณ์ที่หม่นหมอง
  •  ได้ทำในกิจกรรมที่มีความหมาย ( meaningful activity ) 
  •  เพิ่มทักษะในการดำรงชีวิตประจำวัน
  •  ลดความเครียด ความกดดัน เริ่มจากตั้งเป้าหมายระยะสั้น สู่การตั้งเป้าหมายระยะยาว ( short term goal and 

long term goal )

  • เพิ่มทักษะศักยภาพทางกาย เช่น การออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรง
  • เพิ่มทักษะการเข้าสังคม จากการทำกิจกรรมเดี่ยว สู่กิจกรรมกลุ่ม

 

ที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือการเสริมความต้องการทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้รับบริการ ได้แก่

  • การได้รับความรัก การยอมรับ การได้เป็นเจ้าของ
  • มีความมั่นใจ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
  • การได้มีสัมพันธภาพที่ดี
  • ไร้ความกังวล กลัว ต่อการโต้ตอบ
  • ลดความรู้สึกผิด
  • สามารถจัดการปัญหาในชีวิตของตนเองได้ เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า

นักกิจกรรมบำบัดต้องจัดหากิจกรรมที่

  • ส่งเสริมการเริ่มต้นหรือการมีส่วนร่วม : การคงความสนใจ ความขลาดอาย ภาวะซึมเศร้า
  • การสร้างแรงจูงใจโดยนัย : การทำกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจ หรือ มีความกังวล มีส่วนร่วมที่ทำให้รู้สึกสนุก สำเร็จ มีการตอบรับเชิงบวก และได้รับรางวัลตอบแทน สิ่งที่สร้างแรงจูงใจ

เช่น กิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเอง : self esteem , Addiction , Communication skills , Anger management

กิจกรรมทางกายและใจ : เดิน , โยคะ , การทำอาหารเพื่อสุขภาพ

กิจกรรมลดความเครียด: Relaxation technique , Hydrotherapy , Aromatherapy , Mind Fullness

กิจกรรมศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ : Creative art , clay work , Game night , Movies club , Cooking , etc.

 

Group therapy

  • เสริมสร้างการสร้างสัมพันธภาพในสังคม เป็นอีกทางที่ช่วยผู้รับบริการซึมเศร้า สามารถแสดงและรับความคิดเห็นในหัวข้อที่สนใจร่วมกัน ลดการแข่งขันพายในกลุ่มเพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จและรู้สึกถึงคุณค่าในการทำกิจกรรม

Cognitive Behavioral Therapy ( CBT )

  • เป็นที่นิยมและช่วยเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของผู้รับบริการได้ CBTช่วยในการประมวลความคิดและให้ฟีดแบคเชิงบวก และการทำกิจกรรมที่มีความหมายโดยผู้รับบริการเป็นผู้เลือกด้วยตนเอง

 

เมื่อผู้รับบริการมีทักษะในการดำรงชีวิตที่สมดุลมากขึ้น จึงวางแผนเป้าหมายในการใช้ชีวิต ออกแบบว่าจะไปในทิศทางไหน ต้องการอะไร ( Skilled life design ) เช่น ต้องการกลับไปเรียนหรือไม่ ถ้าต้องการเรียนจะเริ่มต้นจากจุดไหน การสอบให้ผ่าน แล้วตั้งเป้าจนถึงเรียนจบ หรือช่วยวางแผนใหม่ มองหาความสามารถในการทำงานเพื่อหาเลี้ยงตนเอง ลดภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องหวังจากการเล่นพนัน เริ่มจากหาจุดแข็ง ข้อดีของตนเอง สามารถดูแลตนเองได้ในที่สุด โดยมีผู้บำบัดให้การสนับสนุนเสมอ ( Supportive engagement)

 

 

อ้างอิง : https://occupationaltherapyot.com/occupational-therapy-depression/

https://www.bangkokhospital.com/content/therapeutic-activities

นางสาวภัทรวรรณ ทิพย์สูตร 6323005 PTOT

คำสำคัญ (Tags): #well being#psychosocial
หมายเลขบันทึก: 695813เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2022 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท