กิจกรรมบำบัดจิตสังคมกับการสร้างแรงใจให้บุคคล ต้องทำอย่างไร


   สวัสดีค่าาา สวัสดีทุกท่านที่ผ่านไปผ่านมานะคะ วันนี้ก็เป็นวันดีในช่วงปีใหม่ 2565 ที่ทำให้เราได้มาเจอะเจอกันอีกครั้งนึง วันนี้ดิฉัน นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 2 พิมพ์ณดา รุ่งสิริวัฒนะชัย จะมาเขียนบทความเกี่ยวกับ กิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่อย่างไรในการสร้างแรงใจให้บุคคลนะคะ โดยโจทย์ที่ดิฉันได้รับมอบหมายนั้นก็คือ

“นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment + Skilled life Design + Supportive Engagement อย่างไรในนักศึกษากฎหมายซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย แต่สอบตกทุกวิชา”

เนื้อหาจะเป็นอย่างไรนั้น ตามไปอ่านกันได้เลยค่ะ :)

 .

          โดยผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพทางจิตในช่วงที่ยังถือว่าเป็นวัยรุ่นอยู่นั้น สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าล้วนมีต้นเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล เนื่องจากสภาวะจิตใจแต่ละคน มีความสามารถในการรับสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจหรือความเศร้าที่แตกต่างกัน สำหรับบางคนเรื่องด้านนึงที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อยที่สามารถก้าวข้ามปัญหานั้นไปได้อย่างสบาย แต่สำหรับอีกคนหนึ่งก็อาจจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับจิตใจที่ทำให้รู้สึกจิตใจไม่มั่นคงเหมือนอย่างเดิมได้ อย่างคำอธิบายของ ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ หัวหน้าศูนย์สุขภาวะทางจิต อาจารย์สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวไว้ว่า 

         อาการเศร้าเป็นอารมณ์ทั่วไปที่เกิดขึ้นได้สำหรับมนุษย์ แต่กระบวนการฟื้นฟูจากอาการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หลายคนเมื่อเศร้าแล้วกลับมาสู่สภาพเดิมได้ แต่หลายคนมีอาการซึมเศร้าหนักขึ้น และกลายเป็นโรคซึมเศร้าตามมาในท้ายสุด

         ทั้งนี้ มีงานวิจัยที่ชี้ว่าอาการซึมเศร้าจะถูกกระตุ้นจากอาการเสียศูนย์จากปัจจัยต่างๆ เช่น การถูกประเมิน คะแนนสอบ เมื่อผิดหวังไม่ได้สิ่งที่ต้องการก็จะเสียศูนย์ หรือแม้แต่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ความรัก ความสัมพันธ์ และความรู้สึกผิด ก็ล้วนมีผลเช่นกัน

“แม้แต่คนที่เกิดอาการเสียศูนย์อย่างฉับพลันก็ไม่เหมือนกัน แต่ละคนมีวิธีรับมือต่างกัน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่อยู่ภายในตัวว่าจะทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นร้ายแรงแค่ไหน เนื่องจากคนแต่คนมีประสบการณ์ชีวิตต่างกัน มีรูปแบบความคิดต่างกัน มองโลกไม่เหมือนกันและเป็นเหตุให้การแสดงออกของแต่ละบุคคลต่างกันไปด้วย บุคคลที่มีอาการซึมเศร้าอาจมีพฤติกรรมบางประการที่ต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุน ดังนั้นปัจจัยแวดล้อม เช่น ครู เพื่อน ครอบครัว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นที่พึ่งพิง”

ดังนั้น เราจะมาดูถึงหลักที่ใช้ในการบำบัดจิตสังคม โดยใช้หลักดังนี้

 Psychosocial Rehabilitation (PSR) 

 -การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม

       ทางกิจกรรมบำบัดนั้น จะเน้นส่วนของ Work, Housing, Relationships ซึ่งสามด้านนี้จะเน้นไปที่การหาความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ (need assessment)

  • Work - การเรียน การทำงาน สำหรับวัยรุ่นหรือนักศึกษา นับเป็นปัจจัยสำคัญหลักๆของการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ถ้าเรามีความสุขที่ได้เรียนสิ่งที่ใจของเรานั้นต้องการ  หรือยังไม่มีอาการหมดไฟในเรื่องเรียน ก็จะทำให้มีสุขภาวะทางจิตที่ดี และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันต่อไปได้
  • Housing - ผู้รับบริการสามารถอยู่อาศัยในบ้านของตนเองได้อย่างปลอดภัย ทั้งทางด้านร่างกายที่เป็นบ้านที่เป็นสถานที่ และจิตใจที่เป็นบ้านของการอยู่ร่วมกันกับสมาชิกในครอบครัว
  • Relationships - การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนับเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย ในส่วนของวัยรุ่นที่เป็นนักศึกษา ก็นับว่าการมีสังคมร่วมกับผู้อื่นก็จะทำให้ช่วยแก้ไขปัญหาได้ในหลายๆด้าน ทั้งเรื่องครอบครัว เรื่องเรียน เรื่องปัญหาที่ทำให้ทุกข์ใจ ก็จะสามารถปรึกษาบุคคลในหลายๆส่วนที่เราให้ความสำคัญได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรึกษาครอบครัว เพื่อน อาจารย์ หรือแฟน เป็นต้น

    อีกด้านหนึ่งที่นับว่าสำคุญในการฟื้นฟูผู้รับบริการก็คือด้าน Building Self-Esteem - จะเป็นการพูดคุยเพื่อหาความเชื่อมั่นในตัวเองของผู้รับบริการ (Self-efficacy) โดยอาจจะถามผู้รับบริการถึงความมั่นใจในตนเอง ว่าตนเองนั้นมีความมั่นใจในด้านไหน เรื่องอะไร เป็นต้น

การสร้างสัมพันธภาพของนักกิจกรรมบำบัด 

(Therapeutic Use Of Self) กับหลัก PERMA Model

      โดยโมเดลนี้คิดค้นโดยนักจิตวิทยาเชิงบวก  Martin Seligman ใช้อักษรย่อ PERMA เป็นตัวแทนขององค์ประกอบ 5 ที่จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้นอย่างแท้จริง ดังนี้ 

  • P - Positive Emotions หมายถึง อารมณ์ที่เป็นบวก การที่ผู้รับบริการรู้สึกพึงพอใจ มีแรงบันดาลใจ มีความหวังในการที่จะดำเนินชีวิตประจำวัน สามารถหาสิ่งที่เป็นความสุข สิ่งที่ทำให้ใจเรารู้สึกดีได้แม้จะเจออุปสรรคที่มาทำให้ทุกข์ใจ เช่น ถ้าเราสอบตก แน่นอนว่าเราต้องเกิดความเครียด แต่เราก็ต้องปล่อยวางอดีตและพยายามมองหาสิ่งเยียวยาหัวใจทำ อย่างการดูหนังที่สนใจในโรงหนังสักเรื่องเพื่อเป็นการผ่อนคลายให้ตัวเอง แล้วค่อยหาทางแก้ปัญหาใหม่อย่างการเตรียมสอบซ่อม เป็นต้น
  • E – Engagement หมายถึง การมีส่วนร่วม การที่ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมได้อย่างมีสมาธิ ไม่เกิดความเครียดหรือวิตกกังวลไม่ว่าจะเป็นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ทำ ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงานอดิเรก การออกกำลังกาย เป็นต้น
  • R – Relationships หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์ในเชิงบวก การที่ผู้รับบริการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกลับใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน แฟน หรือครูอาจารย์ การมีความสัมพันธ์ที่ดีนั้นก็จะช่วยให้ผู้รับบริการเกิดความสุขและมีผู้ที่สามารถจะปรึกษาเมื่อเกิดความทุกข์ได้
  • M – Meaning หมายถึง การรู้สึกถึงความหมายในชีวิต  สิ่งที่ผู้รับบริการให้คุณค่าหรือความหมายกับสิ่งๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการทำกิจวัตรประจำวัน บุคคล สิ่งของ งานอดิเรก สิ่งที่ทำให้ผู้รับบริการนึกถึงหรือได้ทำแล้วเกิดความสุข หรือแม้จะมีอุปสรรคหรือเกิดความเครียดก็นำสิ่งที่มีคุณค่าเป็นแรงบันดาลใจในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น
  • A – Accomplishment หมายถึง การประสบความสำเร็จ การที่ผู้รับบริการมีเป้าหมายหรือการตั้งความฝันที่ต้องการจะไปให้ถึง ซึ่งอาจจะใช้เวลาสั้นๆ หรือใช้เวลานานก็นับว่าเป็นเป้าหมาย ถ้าเกิดเป็นสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการที่จะทำมัน โดยเราจะต้องดูวิธีที่จะทำให้ถึงเป้าหมายว่าต้องทำอย่างไรบ้าง อาจจะต้องแนะนำให้มีการวางแผนเป็นเรื่องๆ หรือย่อยเป้าหมายให้เป็นกลุ่มๆ ถ้าเกิดเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นเรื่องที่ใหญ่ หรือมีระยะเวลาที่ต้องทำนาน เพื่อสร้างเสริมกำลังใจและสร้างคุณค่าในตัวเองของผู้รับบริการ

     การใช้องค์ประกอบ PERMA Model ในการตั้งคำถามกับผู้รับบริการด้วยความจริงใจและจริงจังนั้น จะเป็นตัวช่วยให้สามารถค้นหาเป้าหมาย และความต้องการที่จะมีความสุขของผู้รับบริการได้ แม้ผู้รับบริการจะมีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวลก็ตาม โดยทั้งนี้นักกิจกรรมบำบัดจะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อที่ผู้รับบริการจะได้เกิดความไว้วางใจและกล้าที่จะเปิดใจให้เรา

          จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนะคะ ก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่กิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะช่วยสร้างสุขภาวะทางจิตที่ดีขึ้นได้ แม้จะเจอปัญหาที่เข้ามากระทบในจิตใจของเราแต่ละคน ก็จะสามารถหาทางแก้ไขและก้าวเดินต่อไปในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เราให้คุณค่าหรือให้ความหมายกับมันค่ะ 

         

          ขอขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนจบบทความนี้นะคะ ทางเราก็หวังว่าการเขียนบทความในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่เข้ามาอ่านและทำให้ได้แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาวะของตนเองให้ดีขึ้นค่ะ :)

------------------------------------พิมพ์ณดา รุ่งสิริวัฒนะชัย 6323026-------------------------------------------

แหล่งอ้างอิง

ภาวะซึมเศร้า- https://www.chula.ac.th/cuinside/17693/

Psychosocial Rehabilitation: https://www.verywellmind.com/psychosocial-rehabilitation-4589796#toc-who-can-benefit-from-psychosocial-rehabilitationhttps://www.verywellmind.com/psychosocial-rehabilitation-4589796 

PERMA- https://learninghubthailand.com/the-perma-model/

 

คำสำคัญ (Tags): #perma
หมายเลขบันทึก: 695801เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2022 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท