นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม กับ Psychosocial Rehabilitation (PSR)


"World Association for Psychosocial Rehabilitation หรือ WAPR : NGO สหวิชาชีพฟื้นคืนสุขภาวะแก่ผู้มีประสบการณ์สุขภาพนานาชาติ >>การฟื้นฟูสภาพจิตสังคมถูกกำหนดให้เป็นกระบวนการที่เอื้ออำนวยให้บุคคลที่มีความบกพร่อง ทุพพลภาพ หรือทุพพลภาพจากโรคทางจิตบรรลุระดับการทำงานที่เหมาะสมที่สุดในชุมชน มันหมายถึงทั้งการพัฒนาความสามารถของบุคคลและการแนะนำการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขา"

 

Psychosocial Rehabilitation (PSR) = “การฟื้นฟูสมรรถภาพจิตสังคม”

  ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต มักต้องการความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ของชีวิต ทั้งในด้านการทำงาน การใช้ชีวิต สังคม และการเรียนรู้ แนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยให้ผู้คนจัดการกับอาการและปรับปรุงการทำงานได้นั้นเรียกว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม (PSR)

  “PSR” เป็นแนวทางการรักษาที่ออกแบบมาเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้พิการ เป้าหมายของการฟื้นฟูสภาพจิตสังคมคือ การสอนทักษะทางอารมณ์ ความรู้ความเข้าใจ และทักษะทางสังคมที่ช่วยให้ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตสามารถดำรงชีวิตและทำงานในชุมชนของตนได้อย่างอิสระมากที่สุด

หลักการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม

เป้าหมายหลักคือการช่วยให้ผู้รับบริการรู้สึกว่า:

  • มีความหวัง (Hopeful): ผู้รับบริการอาจรู้สึกหดหู่ใจอันเป็นผลมาจากตัวโรคของพวกเขา การฟื้นฟูสมรรถภาพมุ่งเน้นไปที่การช่วยให้ผู้รับบริการมีความหวังเกี่ยวกับอนาคต
  • สร้างเสริมพลัง (Empowered): แต่ละคนต้องการที่จะรู้สึกว่าพวกเขาสามารถกำหนดเป้าหมายของตนเอง มีอำนาจและอิสระในการทำตามเป้าหมายเหล่านั้น
  • มีทักษะ (Skilled): การฟื้นฟูมีจุดมุ่งหมายเพื่อสอนทักษะของผู้รับบริการเพื่อช่วยให้พวกเขาจัดการกับอาการของตัวโรคของตนเองและใช้ชีวิตที่พวกเขาต้องการ ซึ่งรวมถึงทักษะการใช้ชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะทางสังคม และอื่นๆ
  • ได้รับการสนับสนุน (Supported): ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตควรให้การสนับสนุนและช่วยเหลือผู้รับบริการในการสร้างความสัมพันธ์และการเชื่อมต่อทางสังคมในชุมชนของพวกเขา

มีหลักการสำคัญหลายประการของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมที่ช่วยชี้แนะแนวทางการทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตในสาขานี้ หลักการเหล่านี้รวมถึง:

  • ทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้
  • ทุกคนมีสิทธิที่จะกำหนดตนเอง
  • เน้นที่จุดแข็งของแต่ละบุคคลมากกว่าอาการของพวกเขา
  • ความต้องการของแต่ละคนแตกต่างกัน
  • บริการของผู้เชี่ยวชาญควรมุ่งมั่นและดำเนินการในสภาพแวดล้อมที่ทำให้เป็นมาตรฐานมากที่สุด
  • มีการเน้นที่รูปแบบการดูแลทางสังคม (ตรงข้ามกับแบบจำลองทางการแพทย์)
  • เน้นที่ปัจจุบันมากกว่าการยึดติดอยู่กับอดีต

   การรักษาด้วย PSR เป็นการรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพและมักเป็นชีวจิตสังคม มุมมองนี้ตระหนักดีว่าความเจ็บป่วยทางจิตส่งผลกระทบต่อหลายด้านของชีวิต รวมทั้งระบบทางชีววิทยา สังคม และจิตวิทยา ระบบเหล่านี้ไม่เพียงแต่ได้รับผลกระทบจากสภาวะทางจิตเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงถึงกันอย่างแยกไม่ออก เมื่อบางสิ่งกระทบพื้นที่หนึ่ง ย่อมต้องมีอิทธิพลต่อพื้นที่อื่นด้วย

ด้วยเหตุนี้ PSR จึงใช้แนวทางแบบองค์รวมและตระหนักดีว่าอาจจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและแพทย์คนอื่นๆ เพื่อมีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัดรักษา การดูแลส่วนบุคคลอาจต้องผสมผสานระหว่างบริการและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมักจะต้องอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการดูแลต่างๆ

ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิตอาจต้องการบริการฟื้นฟูสภาพจิตสังคมที่กำหนดเป้าหมายทักษะการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานและการเข้าสังคม แต่อาจต้องได้รับการรักษาด้วยยาและจิตบำบัดควบคู่ไปด้วย

แนวทางที่ใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม

การฟื้นฟูทางจิตสังคมขึ้นอยู่กับแนวคิดหลักที่ว่าผู้คนมีแรงจูงใจที่จะบรรลุความเป็นอิสระและสามารถปรับตัวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้

 

บทบาทนักกิจกรรมบำบัดต่อ PSR

   นักกิจกรรมบำบัดจะมีบทบาทในการบำบัดและเสริมสร้างทักษะในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ ได้แก่ Work(งานหรือการเรียน), Housing(การดูแลจัดการบ้าน) และ Relationships(ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง)  ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำการประเมินทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคมเสียก่อน จึงจะบำบัดและวางแผนส่งเสริมทักษะต่อไปได้

การประเมินกิจกรรมบำบัดจิตสังคม….

   นักกิจกรรมบำบัดจะทำการประเมินด้วยการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบให้ผู้รับบริการได้เล่าเรื่องของตนเองจากมุมมองของเขา ส่วนนักกิจกรรมบำบัดนั้นจะรับฟัง สะท้อน และสรุปประเด็นต่างๆแก่ผู้รับบริการ และเพื่อให้เข้าใจมุมมองของผู้รับบริการมากที่สุด ต้องรับฟังอย่างตั้งใจ ใส่ใจคำพูด บอกสิ่งที่เห็น ตรวจสอบ ทวนซ้ำ ให้ข้อเท็จจริง และเห็นอกใจกัน (Therapeutic listening to reasoning) ไม่ควร ฟังไปคิดไป บอกปัดไม่เห็นด้วย ถามซ้ำน่าเบื่อ ตำหนิถูกผิด สงสารพูดให้ดูดีผ่านๆ 

  ในการตั้งคำถามเป็นคำถามปลายเปิด (อะไร ยังไง อย่างไร)เพื่อให้ผู้รับบริการได้อธิบายสิ่งที่ตนคิดและรู้สึกได้มากขึ้น ประเด็นที่ซักถามเกี่ยวกับเจตจำนง กิจกรรมที่สนใจ หรือความต้องการที่แท้จริงในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของพวกเขา 

   เมื่อต้องการข้อมูลที่ลึกมากขึ้น อ.ป๊อปแนะนำให้ใช้ Verbal Cue คือ คำชี้นำ เช่น ขอช่วยเล่าเพิ่มเติม ขอลองทำกิจกรรมนี้แล้วบอกความรู้สึก ... และจะทวนซ้ำกับสรุปประเด็นที่จะได้ไปประเมินและออกแบบกิจกรรมบำบัดได้ต่อ ก็จะเป็น Affirmative Collaboration ย้ำ กิจกรรมที่จะช่วยเพิ่มสุขภาวะของคุณคือ .... คุณคิดเห็นเป็นอย่างไร

 

โจทย์: นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment + Skilled Life Design + Supportive Engagement อย่างไร? ในนศ.กฎหมาย ซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย แต่สอบตกทุกวิชา…..

>>นศ.คนนี้มีอาการของโรคทางสุขภาพจิต

  • โรคซึมเศร้า 
  • โรควิตกกังวล
  • โรคติดการพนัน
  • โรคจิตเภท(มีหูแว่วเล็กน้อย)
  • มีปัญหาการเรียน(สอบตกทุกวิชา)

>>หน้าที่นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม

  • Hopeful Empowerment : 

   สัมภาษณ์ผู้รับบริการจนเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของเขา จากนั้นเราควรช่วยผู้รับบริการค้นหาและตั้งเป้าหมาย สามารถเริ่มจากสิ่งเล็กๆก่อนเพื่อให้ประสบความสำเร็จได้ง่าย ร่วมกันกับเขาในการร่วมตั้งความหวังที่พอดีกับเป้าหมายของเขา(ไม่ควรตั้งความหวังในแต่ละครั้งสูงจนเกินไป) ให้การดูแลบำบัดและให้กำลังใจเขาเสมอ ทั้งในด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ

  • Skilled Life Design :

    ประเมินอาการของตัวโรค บทบาท และสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวผู้รับบริการ ช่วยส่งเสริมทักษะต่างๆโดยอิงตามตัวโรค(อาจมีการบำบัดด้วยยาและจิตแพทย์เพิ่มเติม) และบทบาทการเป็นนศ. เช่น การโปรแกรมการจัดการความเครียดในชีวิต กลุ่มบำบัด ครอบครัวบำบัด จิตบำบัดความคิดและพฤติกรรม การไม่เน้นหยุดเล่นเกมพนัน แต่เรียนรู้เล่นเกมโดยไม่กระทบผลการเรียน  และปรับวิธีการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น รวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการบำบัด เช่นห้องที่ปลอดโปร่ง

  • Supportive Engagement :

   ในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด ผู้บำบัดควรให้การดูแลและสนับสนุนผู้รับบริการในการสร้างความสัมพันธ์กับคนในสังคม ควรให้ความรู้ ข้อควรระวัง หรือโปรแกรมบำบัดแก่คนใกล้ตัวและคนในครอบครัวของผู้รับบริการ เพื่อการบำบัดที่ราบรื่นยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

                                                                                    นางสาวคณิตา ฉัตรธนพงศ์ 6323015 นักศึกษากิจกรรมบำบัด

อ้างอิง

About WAPR

http://www.wapr.org/

What Is Psychosocial Rehabilitation?

https://www.verywellmind.com/psychosocial-rehabilitation-4589796

 

คำสำคัญ (Tags): #psychosocial rehabilitation
หมายเลขบันทึก: 695800เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2022 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท