นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment+Skilled Life Design + Supportive Engagement อย่างไรในนศ.กฎหมาย ซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย สอบตกทุกวิชา


ในฐานะที่เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาวิชากิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะให้การบำบัดผู้ที่มีความบกพร่องทางอารมณ์จากเคส “นักศึกษากฎหมาย ซึมเศร้า วิตก กังวล ติดพนันและมีหูแว่วเล็กน้อย สอบตกทุกวิชา” ซึ่งอาการดังกล่าวเริ่มเข้าข่ายเป็นโรคทางจิตเภทเนื่องจากอาการของเคสนักศึกษาเริ่มมีอาการหูแว่วเล็กน้อยและมีอาการแทรกซ้อนเช่น ซึมเศร้า มีปัญหาทางการเรียนและการติดพนันซึ่งนับเป็นหนึ่งในโรคทางจิตเภทเช่นกันและทำให้อาจหมดความสนใจในการทำสิ่งต่าง ๆ และจมอยู่กับความคิดของตัวเอง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาในด้านการเรียนหรือการทำงานได้ และอาจกลายเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตระยะยาวอีกด้วย บางรายอาจมีปัญหาในการวางแผนและจดจำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการคิดและความทรงจำและการจัดการสิ่งต่าง ๆ ดังนั้นจะให้การบำบัดนี้ด้วย psychosocial rehabilitation ดังนี้

  • hopeful empowerment แก่เคสโดยจะเริ่มต้นจากการสัมภาษณ์แบบ narrative reasoning เพื่อต้องการทราบความต้องการอย่างแท้จริงและทำให้เคสรู้สึกไว้วางใจในตัวผู้บำบัดจากนั้นร่วมกันวางแผนกับเคสคิดว่าจะกำหนดโดยเป็นเป้าหมายระยะสั้นก่อนเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวของเคสเองให้กลับมาเห็นคุณค่าและสร้างความเชื่อมั่นเมื่อดีขึ้นแล้วจะกำหนดเป็นเป้าหมายระยะยาวโดยจะใช้ MOHO model ในการให้การบำบัดเคสนี้ด้วย 
  • Skills life design จะมีการประเมินการทำกิจกรรมตาม area of occupation ต่างๆใน OTPF ควบคู่กันโดยจะให้ทำกิจกรรมร่วมกันพร้อมให้ประเมินทักษะในการทำกิจกรรมในสิ่งที่เคสยังขาดหายไป เช่น จัดให้เคสได้ออกไปทำกิจกรรมกับคนในสังคมเพื่อลดความเครียดและต้องการลดพฤติกรรมการติดพนันของเคสเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจโดยจะให้ออกแบบตารางชีวิตของตัวเองในชีวิตประจำวันรวมถึงการพักผ่อนทั้งนี้จะจัดหากิจกรรมยามว่างที่เคสเคยทำหรืออยากทำจะช่วยให้ลดความเครียดได้เช่น เล่นดนตรี เล่นกีฬา เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการทํากิจกรรมการดําเนินชีวิต
  • Supportive engagement นักกิจกรรมบำบัดจะคอยให้กำลังใจและคอยเป็นที่ปรึกษาเพื่อช่วยชี้แนะปัญหาให้เคสได้สามารถจัดการกับปัญหาของตนเองให้ได้ และพยายามทำให้เคสสามารถรับรู้จุดแข็งและจุดด้อยของตัวเองเพื่อให้รู้จักศักยภาพของตัวเองและพัฒนาจุดด้อยได้อีกต่อไป

                วิชญาดา ศรัณยสกุล นักศึกษาชั้นกิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 2

ขอบคุณค่ะ

อ้างอิง :

https://www.pobpad.com/schizophrenia-จิตเภท

https://www.phyathai.com/article_detail/3234/th/“จิตบำบัด”เยียวยาปัญหาจิตใจปรึกษาไวแก้ได้โดยไม่ต้องพึ่งยา

หมายเลขบันทึก: 695793เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2022 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท