Occupational Formation Report กลุ่ม11


รายงานการสร้างกิจกรรมดำเนินชีวิตของกรณีศึกษา คุณX  (นามสมมติ)

Occupational Formulation Report กลุ่มที่ 11 

Case Dysphagia online

กิจกรรมที่สังเกตจากการดูคลิปวิดีโอ

  1. กิจกรรมทดสอบระดับความรู้คิด

วัตถุประสงค์ : ประเมินระดับการรู้คิด ด้วยการทำตามคำสั่งอย่างน้อย 1 คำสั่ง

ผลลัพธ์ : คุณ X สามารถอ้าปากตามคำสั่งได้

 

   2. กิจกรรมฝึกการไอ

วัตถุประสงค์ : ประเมินความสามารถในการไอเพื่อขับเสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินอาหารหรือทางเดินหายใจ

ผลลัพธ์ : ผู้รับบริการไม่สามารถไอออกมาได้แต่ได้ยินเสียงของลมที่กำลังดันเสลดภายในลำคอ

 

  3. กิจกรรมฝึกการกลืนน้ำ

วัตถุประสงค์ :  ประเมินความสามารถในการกลืนน้ำ

ผลลัพธ์ : ผู้รับบริการสามารถกลืนน้ำได้อย่างยากลำบากโดยมีการช่วยเหลือจากผุ้ดูแล

 

  4. กิจกรรมการขยับร่างกาย

วัตถุประสงค์ : ประเมินความสามารถในการควบคุมและเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย

ผลลัพธ์ : ผู้รับบริการสามารถยกแขนขึ้นได้ไม่สุดช่วงROMและยกขาในท่าKnee extension ได้

โดยที่ผู้รับบริการมีอาการเกร็งงอบริเวณข้อมือและนิ้วมือ มีอาการเกร็งเหยียดบริเวณข้อเท้า

 

Occupational formulation 

Case Dysphagia

  1. Occupational Influences (Identity)
  • Volitional Anticipation : ผู้ดูแลต้องการให้ผู้รับบริการสามารถกลืนอาหารได้และสัมภาษณ์ผู้ดูแลเพิ่มเติมถึงสิ่งที่ผู้รับบริการให้ความสำคัญหรือพอใจในสิ่งใด เนื่องจากผู้รับบริการไม่สามารถพูดสื่อสารเองได้
  • Role Identity : มีบทบาทเป็นพ่อ,อาก๊ง
  • Preferences & Choice : สัมภาษณ์ผู้ดูแลถึงกิจกรรมที่ชอบทำ หรือเคยชอบทำ (Leisure) 
  • Personal Causation : สัมภาษณ์ผู้รับบริการว่ามีPersonal causation อย่างไรมีความเข้าใจในความสามารถของตนหรือพึงพอใจในความสามารถของตัวเองอย่างไร หากมีความยากลำบากในการสัมภาษณ์จะทำการสัมภาษณ์ผู้ดูแลแทนเช่น ผู้รับบริการมีความภูมิใจในตนเองเรื่องอะไรเมื่อในอดีต
  • Meaningful Interest : คุณ X ต้องการที่จะกลืนอาหารได้ สังเกตจากผู้บำบัดการประเมินการกลืน

 

  2. Occupational presentation (Competence)

  • Current skill & Performance : คุณ X เข้าใจคำสั่งของผู้บำบัด แต่ไม่สามารถทำตามคำสั่งได้  

-ไม่สามารถแลบลิ้นได้ และไม่สามารถกวาดลิ้นซ้ายไปขวา ได้

-ไม่สามารถแสดงการไอได้

-ไม่สามารถแสดงการเป่าลมผ่านหลอดดูดน้ำได้

-ไม่สามารถเยียดนิ้วแบมือได้

-สามารถยกแขนข้างขวาได้ แต่ไม่สุดช่วง และมีอาการเกร็งบริเวณข้อมือ

-สามารยกขาข้างขวาได้ ประมาณ 1 วินาที

 

  • Objective viewpoint to lifestyle habits : คุณ X ติดเตียง มีความทนทานของกล้ามเนื้อบริเวณกล้ามเนื้อต่ำ บริเวณคอ แขน และขา ทำให้มีการทรงท่าไม่ดี เวลากลืนน้ำไม่สามารถทรงท่าบริเวณคอได้  ยกแขนและขาค้างไว้ได้ไม่นาน โดยแขนขวาค้างไว้ได้ 3 วินาที ขาขวาค้างไว้ได้ 1 วินาที

 

  • Activities needed, Wanted or Expected : จากคลิปวิดีโอคาดการณ์ว่าผู้ดูแลมีความต้องการให้ผู้รับบริการสามารถกลืนอาหารชนิดต่างๆได้ ทำการสัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงเป้าประสงค์ที่คาดหวังจากการรักษาของทั้งผู้ดูแลและผู้รับบริการ

 

  • Environmental impact on skill & performance : อาศัยอยู่ที่บ้านกับครอบครัว มีลูกและญาติเป็นผู้ดูแลหลักในการคอยช่วยกระตุ้นการกลืนของผู้รับบริการ โดยเป็นผู้ป่วยติดเตียงช่วยเหลือตนเองไม่ได้



  3. Occupational Focus (Adaptation)

  • SMART Goal setting : ผู้รับบริการสามารถดื่มและกลืนน้ำได้โดยไม่มีการสำลักภายในระยะเวลา 20 สัปดาห์

- Specific Components : กลืนของเหลวไม่หนืดได้และไม่สำลัก 

-Measuring Process of learning : กระตุ้นความรู้สึกตัวของผู้รับบริการและฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อปากลิ้นและคอ (Oro motor exercise : Lip exercise, Cheek exercise,Jaw exercise/Jaw control,Tongue exercise,  Sensory stimulation)

-Aspirational Goals : ฝึกและกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน ช่วยจัดท่าทางในการกลืนให้เหมาะสม

-Relevant to the key issue : ให้ความรู้ผู้ดูแลในการฝึกทำHome programเองที่บ้านและการจัดท่าทางการนั่งที่ส่งเสริมการกลืนให้สะดวกมากยิ่งขึ้น, กระตุ้นความรู้สึกตัวของผู้รับบริการด้วยการพูดคุยการให้ทำกิจกรรมต่างๆเพื่อเพิ่มการตอบสนองของร่างกาย, ทำการOro motor exercise เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของอวัยวะที่ใช้ในการกลืน, ให้ความรู้ถึงประโยชน์ของการบำบัดฟื้นฟูแก่ผู้รับบริการและผู้ดูแล

-Timed in occupational goals :  พบนักกิจกรรมบำบัด 4-5 ครั้ง/สัปดาห์ sessionละ 45 นาที

 

  • TICKS  

-Timeframe : ผู้รับบริการสามารถดื่มและกลืนน้ำได้โดยไม่มีการสำลักภายในระยะเวลา 20 สัปดาห์ เนื่องจากผู้รับบริการยังไม่สามารถกลืนน้ำได้ จึงยังไม่สามารถฝึกกลืนอาหารได้โดยเบื้องต้นเป็นการฝึกกระตุ้นความรู้สึกและกล้ามเนื้อปาก ลิ้น (Oro Motor Exercise) รวมไปถึงฝึกระบบการหายใจ การจัดท่า การเคาะเสมหะ (ผู้บำบัดหรือผู้ดูแลเป็นผู้ฝึก)

-Individual : ผู้ดูแลทำตามโปรแกรมของนักกิจกรรมบำบัด โดยการกระตุ้นการรับรู้ด้วยการสัมผัส(ลูบ เช็ดหน้า คอ รอบปาก)  การได้ยิน(ส่งเสียงเรียก ฟังเสียงดนตรีที่ชอบ) การมองเห็น(ส่องกระจก มองจ้องตา มองสิ่งที่ชอบ) และการเคลื่อนไหวท่าทาง (ช่วยจับทำท่าให้ขยับแขน ขา)

-Change Expected : ผู้บำบัดกระตุ้นความรู้สึกตัวและให้การOro motor exercises แก่ผู้รับบริการ, ให้ความรู้วิธีการดูแลผู้รับบริการแก่ผู้ดูแลและสอนวิธีการทำHome programที่บ้านรวมถึงเทคนิคการจัดท่าที่ช่วยส่งเสริมการกลืนของผู้รับบริการอย่างถูกต้อง และให้กิจกรรมเสริมเพื่อไม่ให้ผู้รับบริการซึมหรืออยู่ว่างผ่านกิจกรรมที่ชอบ เช่น การฟังดนตรี

-Key Issue to support :  ผู้ดูแลต้องช่วยเหลือผู้รับบริการอย่างใกล้ชิดในขณะการฝึก เพื่อป้องการอาการแทรกซ้อนต่างๆให้มีความปลอดภัย เช่น การสำลัก มีเสมหะ หายใจติดขัด 

 

ตัวอย่างการให้ Home program เพื่อกระตุ้นการกลืน ในเคส Dysphagia

  • ให้ผู้รับการมีการเคลื่อนไหวแบบประสานมือซ้าย ขวา มีการลูบ เหยียดและลดเกร็งข้อมือ
  • พยายามปรับเปลี่ยนท่าทางทุกๆ 2 ชั่วโมง จัดท่านั่ง พลิกตัว โดยการใช้หมอนพยุงหรือผู้ดูแลช่วยจับข้างอ่อนแรงและปรับเตียงขึ้น 45-60 องศา
  • ให้ผู้รับบริการทำกิจวัตรประจำวันง่ายๆ เช่น ส่องกระจก บ้วนปาก เช็ดตัว มองและจับต้องก่อนป้อนอาหารเหลว 
  • หากิจกรรมง่ายๆที่ผู้รับบริการชอบ เช่น ผู้รับบริการชอบฟังธรรมมะ เพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย

 

  • Techniques กระตุ้นการกลืน
  1. ใช้ช้อนชากดที่บริเวณกลางลิ้น 3 วินาที > กดที่โคนลิ้น 3 วินาที ทั้งหมด 3 รอบ
  2. ดื่มน้ำจากมุมปากข้างที่อ่อนแรง > ก้มหน้าลงทำการกลืน > เงยหน้าขึ้นจากนั้นทำการลูบคอจากล่างขึ้นบน ทั้งหมด 3 รอบ
  3. หลับตา > หายใจเข้าทางจมูก > อ้าปากไออกมา 3 ครั้ง ทั้งหมด 5 รอบ
  4. ใช้ช้อนชาดันบริเวณปลายลิ้นให้เกิดการต้านแรงเริ่มดันจากฝั่งที่แข็งแรงก่อน 5 วินาที ทั้งหมด 5 รอบ

 

  • Techniques กระตุ้นการกลืนสำหรับผู้มีความกังวลในขณะกลืน
  1. ผู้รับบริการเคี้ยวอาหารสลับข้างกันโดยที่ข้างขวาเคี้ยวเร็ว/ข้างซ้ายเคี้ยวช้าๆให้รู้สึกว่าอาหารที่เคี้ยวนั้นละเอียดแล้ว
  2. ให้ผู้รับบริการลองกลืนอาหารโดยหากกลืนไม่ลงให้ปฏิบัติตามข้อถัดไป
  3. ให้ผู้รับบริการดื่มน้ำโดยอมไว้ในปากจากนั้นกระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณใต้ขากรรไกรด้วยการกดเบาๆพร้อมกันสองข้าง ทั้งหมด 3 ครั้งแล้วค่อยกลืนอาหาร


 

สมาชิกกลุ่ม

  1. นายซอฟฟา สาและ            6223001
  2. นายอยุทธ์เจตน์ ล้อเรืองสิน 6223003
  3. กรกนก อนุวรรตน์วร            6223016
หมายเลขบันทึก: 695757เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2022 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท