Psychosocial Rehabilitationกับจิตสังคม


สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ ดิฉันกมลชนก พิกุล นักศึกษาคณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลชั้นปีที่2 ได้รับข้อคำถามจากอาจารย์ ซึ่งเป็นหัวข้อของงานเขียนในครั้งนี้ค่ะ โดยโจทย์คือ "นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมจะมีหน้าที่ Hopeful Empowerment + Skilled Life Design + Supportive Engagement อย่างไรในนักศึกษากฎหมายซึมเศร้า วิตกกังวล ติดพนัน และมีหูแว่วเล็กน้อย แต่สอบตกทุกวิชา"

 

Psychosocial Rehabilitation (PSR) หรือ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม

          คือ แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคมของผู้ที่เคยมีประสบการณ์ทางสุขภาพจิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุขมากที่สุด สามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้อย่างดี โดยเป้าหมายของการฟื้นฟู คือ การสอนทักษะทางอารมณ์, ความรู้ความเข้าใจ การรู้คิด และทักษะทางสังคมให้กับผู้รับบริการ ซึ่งแนวทางของการฟื้นฟูจะเน้นการเพิ่ม Hopeful, Empowered, Supported and Skilled และแน่นอนว่าผู้มีประสบการณ์ทางสัขภาพจิตแต่ละคนนั้น ย่อมมีประสบการณ์ที่ได้รับแตกต่างกัน ดังนั้นแนวทางในการฟื้นฟูก็ต้องแตกต่างกันไปตามบุคคล แนวทางนี้จะช่วยในการพัฒนาทักษะ ช่วยหาเป้าหมายและความหมายในการใช้ชีวิต สามารถพัฒนาได้ผ่านการสังเกต(Observation) การสร้างแบบจำลอง (Modeling) การศึกษา (Education) และการปฏิบัติ (Practice) 

จากโจทย์ที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัญหาที่สำคัญคือการเรียน แต่จะรู้สาเหตุที่แน่ชัดของปัญหา รวมไปถึงเป้าหมายที่ผู้รับบริการได้อย่างไร ต้องเริ่มจากการสร้างสัมพันธภาพ เป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นการบำบัดรักษา เพราะการสร้างสัมพันธภาพ เราจะต้องเปิดใจเข้าใจบุคคลนั้นและไม่มีอคติ  ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจความรู้สึกและแง่มุมของผู้รับบริการ และการมีสัมพันธภาพที่ดีก็จะทำให้ผู้รับบริการเปิดใจและเล่าให้ฟังอย่างไว้ใจ ไม่ต่อต้าน โดยคำถามต่างๆจะต้องเน้นเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการเล่าได้อย่างเต็มที่ หลีกเลี่ยงคำถามชี้นำ เน้นใช้คำถามปลายเปิด แสดงสีหน้าท่าทางที่เอาใจใส่ แสดงให้เห็นว่าเรากำลังรับฟังอยู่ คอยให้กำลังใจ คอยทวนคำตอบและสรุปประเด็นที่สำคัญ การใช้ Therapeutic use of self หรือการที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัด ก็จะช่วยให้เกิดสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ (Therapeutic relationship : สัมพันธภาพเพื่อการบำบัด) ที่ดี เมื่อเราได้ข้อมูลต่างๆมาแล้ว ก็จะนำมาเป็น Clinical Reasoning ซึ่งก็คือวางแผนเพื่อหาแนวทางการบำบัดรักษา และใช้ในการตัดสินใจเลือกกิจกรรมที่จะใช้บำบัดนั่นเอง


PERMA Model

          คือ จิตวิทยาเชิงบวก เป็นโมเดลการทำงานที่จะทำให้คนทำงานมีความสุขอย่างแท้จริง โดยนักกิจกรรมบำบัดสามารถใช้โมเดลนี้ในการตั้งคำถามให้กับผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการได้ทบทวนและเข้าใจตนเองมากขึ้น โดยหลักการของโมลเดลนี้ มีดังนี้

P – Positive emotion

อารมณ์ดี ชีวีตมีสุข การมีอารมณ์ในแง่บวก มองโลกในแง่ดี ซึ่งเป้าหมายในการถามคำถาม ก็คือ การหาสิ่งที่ทำให้ผู้รับบริการมีความสุข สิ่งที่ทำให้ผู้รับบริการเกิดความคิดเชิงบวกได้ สิ่งที่ชอบ หรือสิ่งที่ช่วยให้ผู้รับบริการจัดการกับความเครียดได้ อาจเป็นกิจกรรมที่ขื่นชอบ เช่น การเล่นเกม การวาดรูป การร้องเพลง หรือดูภาพยนตร์ เป็นต้น

E – Engagement

คือการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือสิ่งต่างๆอย่างแท้จริง จะเป็นกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกว่าเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ต้องตั้งคำถามถึงว่ากิจกรรมอะไรที่ผู้รับบริการมีความสุข รู้สึกดีเมื่อได้ทำกิจกรรมนั้น ซึ่งการมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างเต็มที่ จะเกิดจากการให้ความสนใจต่อกิจกรรมนั้นของผู้รับบริการ

R – Relationship

ความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างนั้น ใครที่คอยสนับสนุนการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ หรือทำให้ผู้รับบริการมีความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ ผู้รับบริการสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นหรือไม่ เนื่องจากการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น จะช่วยส่งผลที่ดีต่อตัวบุคคล 

M – Meaning

การให้ความหมาย อะไรคือสิ่งที่ผู้รับบริการให้คุณค่าและมีความหมายกับผู้รับบริการ เพราะสิ่งที่ผู้รับบริการให้ความหมายแบะคุณค่า จะเป็นสิ่งที่ผู้รับบริการทำแล้วรู้สึกดีที่ได้ทำ จะช่วยคบายความเครียดและความวิตกกังวลได้ ช่วยทำให้ผู้รับบริการได้รู้ถึงคุณค่าของตนเอง

A – Accomplishment

การทำอะไรที่ประสบความสำเร็จ ก็ทำให้เกิดความสุขหรือความพอใจ สำหรับบ้างเรื่องก็เกิดความภาคภูมิใจ บางเรื่องก็ช่วยเติมเต็มความสุข เป้าหมายที่ผู้รับบริการต้องการคืออะไร และสามารถทำให้เป้าหมายสำเร็จได้อย่างไร อาจเริ่มจากการทำเป้าหมายเล็กๆให้สำเร็จ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและความหวัง 

เมื่อใช้แนวทางในการตั้งคำถามและทราบเรื่องราวต่างๆ ประสบการณ์ของผู้รับบริการ ปัจจัยต่างๆและบริบทของผู้รับบริการแล้ว ก็จะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกกิจกรรม วิธีการหรือแนวทางในการบำบัดฟื้นฟูให้เหมาะสมที่สุด โดยจะใช้ Components of Recovery ซึ่งมี 10 ข้อ เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ โดย 10 ข้อ มีดังนี้

  • Self-Direction
  • Individualized and Person-Centered
  • Empowerment
  • Holistic
  • Non-Linear
  • Strengths-Based
  • Peer Support
  • Respect
  • Responsibility
  • Hope

เราจะใช้กิจกรรมอะไรในการช่วยบำบัดได้บ้าง ?

เนื่องจากผู้รับบริการมีความเครียดจากการสอบตกทุกวิชา ซึ่งความเครียดนี้ส่งผลกระทบและก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา การฝึกให้ผู้รับบริการสามารถจัดการกับความเครียด ฝึกคิดบวก สร้างอารมณ์ทางบวกจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก นักกิจกรรมบำบัดควรที่จะใช้การพูดในการให้กำลังใจ และร่วมฝึกทำสิ่งต่างๆไปพร้อมกับผู้รับบริการ โดยความเครียดที่เกิดจากการเรียน เราจะต้องช่วยให้ผู้รับบริการฝึกการจัดการต่างๆที่เกี่ยวกับการเรียน เช่น จัดการเวลาสำหรับการอ่านหนังสือและพักผ่อนให้เหมาะสม,  จัดการอารมณ์ทางลบที่ส่งผลต่อความสนใจในการเรียน เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียน

และยังมีวิธีการฝึกคิดบวก พิชิตความเครียด เป็นการทำท่าบริหารต่างๆ เพื่อให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนมาช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย และระหว่างนั้นก็ควรฝึกพูดถึงสิ่งดีๆ ขื่นชมตนเอง ฝึกคิดบวก ให้ร่างกายเกิดการคิดบวก

การติดการพนัน เกิดจากกลไกการเสพติดพนันไปมีผลกระตุ้นสมองส่วนระบบการให้รางวัล (Brain’s reward system) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับโรคทางจิตเวช อย่างโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder: OCD) หรือก็คือการย้ำทำเล่นพนัน  สามารถใช้ Cognitive behavioral therapy (CBT) ในการบำบัดรักษา 

อาการหูแว่ว ซึ่งเกิดจากเสียงและความคิดลบที่ผู้รับบริการได้รับและสะสมมานาน ยิ่งในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า จะยิ่งเกิดความคิดลบซึ่งส่งผลให้เกิดอารมณ์ทางลบ เกิดความเครียด วิตกกังวล ในอาการหูแว่วนี้ก็สามารถใช้Cognitive behavioral therapy (CBT)ได้ โดยใช้การพูดคุย เพื่อช่วยให้ปรับความคิดและแก้ไขความเชื่อที่เข้าใจผิด และจัดการกับอารมณ์ได้ ร่วมกับการเคาะอารมณ์ (Emotional Coping Ax) เพื่อช่วยขจัดความคิดแบะอารมณ์ทางลบออกไป

สุดท้ายนี้ เราควรส่งเสริมความภาคภูมิใจให้กับผู้รับบริการ โดยจัดกิจกรรมที่มีเป้าหมายเล็กๆ เพื่อให้ผู้รับบริการทำได้สำเร็จ เช่น กิจกรรมการวาดรูป กิจกรรมงานกระดาษ หรือกิจกรรมระบายสีผ้าหรือเสื้อ ให้เกิดเป็นผลงานหรือขิ้นงานขึ้นมา เป็นงานที่ให้ผู้รับบริการสร้างสรรค์ตามความคิดของตนเองและได้รับคุณค่าจากงานที่ตนเองทำ จะช่วยให้ผู้รับบริการมีความมั่นใจมากขึ้น 

ในการบำบัดรักษา การปรับความคิด อารมณ์ของผู้รับบริการนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้การบำบัดรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อเราคลายความเครียด อาการซึมเศร้าได้แล้ว การฝึกจัดการอารมณ์ วางแผนการเรียน จัดการเวลาก็จะสามารถทำได้ดีมากขึ้น และเนื่องจากเป็นนักศึกษากฎหมาย จึงต้องการเวลาในการจำและทบทวนฝึกทักษะ  หากจัดการเวลาได้ดีขึ้น ก็จะทำให้มีเวลาพักผ่อน มีเวลาในการอ่านหนังสือ มีเวลาในการทบทวนที่เพียงพอ มีเวลาในการทำงานอดิเรก ก็ทำให้ไม่เกิดความเครียดและกังวล

อ้างอิง : 

https://www.verywellmind.com/psychosocial-rehabilitation-4589796

https://learninghubthailand.com/the-perma-model/ 

http://pmcexpert.com/perma-model/

https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1218

https://www.setsocialimpact.com/Article/Detail/77236 

หมายเลขบันทึก: 695729เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2022 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มกราคม 2022 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท