ข้อมูลเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย


ข้อมูลเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย

1.ข้อมูลตำบลลำเหยด้านกายภาพ

        ประวัติความเป็นมา ชื่อ “ตำบลลำเหย” ทั้งนี้สืบเนื่องมาจาก ภายในตำบลลำเหยมีลำรางเป็น

สำน้ำ และน้ำในลำรางได้เกิดการระเหยเรือดแห้งไป ทำให้ชาวบ้านตั้งชื่อตำบลนี้ว่า “ลำเหย”

ตำบลลำเหย เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม โดยมีระยะทางห่างจาก อำเภอ

ดอนตูม ประมาณ ๗ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดนครปฐม ๒๖ กิโลเมตร มีพื้นที่ ๒๒,๐๖๘ ไร่ หรือ ประมาณ

๓๕ ตารางกิโลเมตร ตำบลลำเหย มีครัวเรือน ๒,๕๐๙ ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ร้อยละ ๕๐ รองลงมาอาชีพค้าขาย ร้อยละ ๒๕ อาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ ๒๐ และอาชีพอื่นๆ ร้อยละ ๕

       องค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหยเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙

โดยตามมาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗

เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีอิสระในการบริหารกิจการของตนเอง ตาม

บทบัญญัติของกฎหมาย

      ที่ตั้งของตำบล

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ตั้งอยู่เลขที่ ๕๙/๔ หมู่ที่ ๕ บ้านป่าแก ตำบลลำเหยอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม มีระยะทางห่างจากอำเภอดอนตูม ประมาณ ๗ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัด

นครปฐมประมาณ ๒๖ กิโลเมตร

        อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสนเทศบาลตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเขียว องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ลักษณะภูมิประเทศ

องค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่พื้นที่ภาคกลางของ

ประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีป่าไม้และภูเขา ระดับความแตกต่างของความสูงของพื้นที่อยู่

ระหว่าง ๑ - ๒ เมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๒ - ๔ เมตร สภาพพื้นที่ลาดจากทิศใต้สู่ทิศ

เหนือ ทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก การระบายน้ำผ่านคลองธรรมชาติ พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำ

การเกษตร มีคลองชลประทานผ่านพื้นที่ของตำบลลำเหย ทั้ง ๑๕ หมู่บ้าน

     ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม มีฝนตกชุกในฤดูฝน ในฤดูหนาว

อากาศไม่หนาวจัด ส่วนในฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อน จากสถิติของสถานีอุตุนิยมวิทยานครปฐม ในปี พ.ศ.

๒๕๕๖ ปริมาณน้ำฝนวัดได้โดยเฉลี่ย ๙๕๗.๔ มิลลิเมตร โดยฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงที่สุด ๔๐.๑ องศาเซลเซียส ส่วนฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์โดยจะมีอากาศหนาวเย็นเป็นช่วงๆ มีอุณหภูมิต่ำที่สุด ๑๒ องศาเซลเซียสอุณหภูมิ เขตตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๒๗.๙ องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด ๓๓.๔ องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด ๒๒.๓ องศาเซลเซียสฤดูร้อน อากาศจะร้อนและแห้ง เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคมอุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม

ฤดูฝน เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนทิ้งช่วงในระยะเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งในระยะเดือนที่ฝนทิ้งช่วงนี้ จะยังคงมีฝนตก แต่ปริมาณของน้ำฝน อาจไม่ที่เพียงพอต่อการเกษตรฤดูหนาว อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยจะมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนและมองโกเลียแผ่ลงมาเป็นช่วงๆ ทำให้อากาศของจังหวัดหนาวเย็นเป็นระยะๆ ช่วงที่อากาศหนาวที่สุดอยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม

    ลักษณะของดิน

ดินในตำบลลำเหย เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนในระดับและอายุต่างๆ กันโดยเกิดขึ้น

จากอิทธิพลของตะกอนลำน้ำ และตะกอนน้ำกร่อย ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง และมีความเหมาะสมต่อการกสิกรรม มีการระบายน้ำของดินดี มีศักยภาพเหมาะสมต่อการปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น

   ลักษณะของน้ำ

ตำบลลำเหยมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ แหล่งน้ำชลประทานจากแม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำ

นครชัยศรี) คลอง ท่าสาร – บางปลา คลองธรรมชาติ ระบบคลองชลประทาน โครงการส่งน้ำและระบายน้ำ

ครอบคลุมทั้ง ๑๕ หมู่บ้าน

2.ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นความเป็นมา

     องค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหยเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙

โดยตามมาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล 

พ.ศ.๒๕๓๗เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีอิสระในการบริหารกิจการ                       

ของตนเอง ตามบทบัญญัติของกฎหมาย

 

ตราสัญลักษณ์หมายถึง  "ราชาแห่งสัตว์ป่า" เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจและกำลัง

วิสัยทัศน์

    “ตำบลลำเหยน่าอยู่ มีสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐาน สืบสานวัฒนธรรมประเพณีส่งเสริมการศึกษา การพัฒนากลุ่มอาชีพ มีแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสู่ประชาคมอาเชียน

ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และโครงสร้างพื้นฐาน

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ เศรษฐกิจชุมชนและแก้ไขปัญหาความยากจน

ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภายในองค์กรและการให้บริการประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างสุขภาพอนามัย

3.ข้อมูลหมู่บ้านทุ่งสีหลงหมู่ที่11

  ประวัติของหมู่บ้าน

     เดิมเป็นป่าหนาทึบ มีสัตว์ป่ามากมาย มีชาวบ้านคนหนึ่งชื่อว่า “ตาสี” มาล่าสัตว์ใน

ป่า แล้วเกิดหลงป่ากลับบ้านไม่ได้เป็นเวลาอยู่ 3 วัน 3 คืน จนญาติพี่น้องต้องออกตามหาจนพบ จึง

พากันกลับบ้าน เลยเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ตาสีหลง ต่อมาชื่อเพี้ยนเปลี่ยนเป็น บ้านทุ่งสีหลง มา

จนถึงปัจจุบัน ได้แบ่งออกเป็น 3 หมู่บ้าน คือ ม. 1 , ม. 11 และ ม. 13

    อาณาเขต

    ห่างจากที่ว่าการอำเภอดอนตูม ประมาณ 3 กิโลเมตร และห่างจากที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย ประมาณ 6 กิโลเมตร มีพื้นที่ 667 ไร่ทิศเหนือ ติดกับตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมทิศใต้ ติดกับตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมทิศตะวันตก ติดกับม. 13 ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมทิศตะวันออก ติดกับตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

การคมนาคม/สาธาณูปโภค

 การเดินทางเข้าหมู่บ้าน

      ถนนลาดยาง 6  เส้น          ระยะทาง  3  กิโลเมตร

      ถนนลูกลัง  5  เส้น             ระยะทาง  2 กิโลเมตร

      ถนนคอนกรีต  1 เส้น        ระยะทาง  800 เมตร

สาธารณูปโภค

   มีไฟฟ้าใช้  171  ครัวเรือน มีประปาหมู่บ้าน  4 แห่ง โทรศัพท์สาธารณะ 2  แห่ง (เสีย  1  แห่ง)

 แหล่งน้ำ มีคูลคลอง 3 แห่ง ได้แก่ คลองท่าสารบางปลา คลองชลประทาน คลองใส้ไก่

 

ประชากร

     ชาย 548 คน   หญิง 465 คน  รวม 922 คน

ผู้สูงอายุ 

      ชาย 33 คน   หญิง 64 คน  รวม 97 คน

ผู้พากร

       ชาย 4 คน    หญิง 6 คน  รวม 10 คน

ผู้ด้อยโอกาส 

       จำนวน 5 คน

      1. นางวัลภา ปานณรงค์ (พิการ อ้วนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้)

      2. นายเหว่า เหล่าทองดี (รายได้น้อย ด้วยร่างกายที่ชรา)

      3. นางถิ่น อี้ตั้งอู่ (รายได้น้อย ด้วยร่างกายที่ชรา)

      4. นางสมรัก บุญชุ่ม (รายได้น้อย ด้วยร่างกายที่ชรา)

      5. นางบุญสม ปลังทอง ( รายได้น้อย อาศัยอยู่ที่วัด)

สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน

     โรงเรียน ( วัดทุ่งสีหลง ) 1 แห่ง     วัด ( วัดทุ่งสีหลง )  1 แห่ง

       หอกระจายข่าว  1  แห่ง                  ศาลเจ้า ( เหล่าตาแป๊ะ )  1 แห่ง

       ศาลกลางหมู่บ้าน  1 แห่ง               โรงแรม  1 แห่ง

ศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญ

      1 งานประเพณีแห่ธงสงกรานต์.2 งานแห่เทียนพรรษา.3 งานทำบุญตามประเพณีไทยต่างๆ

     .4 งานทำบุญกลางหมู่บ้าน. 5 งานทำบุญศาลเจ้าแปะกง (ต้นปีและปลายปี)

      อ้างอิง

1.องค์การบริหารส่วนตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม

2.แผนพัฒนาหมู่บ้าน ( บ้านทุ่งสีหลง หมู่ที่ 11 ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนฐม )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 695576เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2022 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มกราคม 2022 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท