ประวัติความเป็นมาของตำบลคูบัว


ประวัติความเป็นมาของเป็นมาของตำบลคูบัว

ข้อมูลทั่วไปของตำบลคูบัว

ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลคูบัวตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ไปทางทิศใต้ระยะทาง 5 กิโลเมตร ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 29 ลิปดาเหนือ เส้นแวงที่ 99 องศา 55 ลิปดาตะวันตก มีเนื้อที่ประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 15,625 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบล ต่างๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลดอนตะโก และตำบลบ้านไร่อำเภอเมืองราชบุรี ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ่อกระดาน อำเภอปากท่อ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบ้านไร่ อำเภอเมืองราชบุรี และตำบลเกาะศาลพระอำเภอวัดเพลง ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลอ่างทอง และตำบลดอนตะโก อำเภอเมืองราชบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ 

ลักษณะภูมิประเทศของตำบลคูบัว เป็นพื้นที่ราบลุ่มมีลำห้วยธรรมชาติไหลผ่านจากทิศตะวันตกไปยัง ทิศตะวันออกจำนวน 2 สาย มีน้ำตลอดปีมีคลองชลประทาน 2 สายใหญ่ มีทรัพยากรดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ พื้นที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพทางการเกษตร การปศุสัตว์และเป็นที่อยู่อาศัย

ข้อมูลเกี่ยวกับจำานวนประชากร 

จำนวนประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคูบัว ปี พ.ศ. 2564 ทั้งสิ้น 11,101 คน (ข้อมูลสถิติประชากรจากสำนักบริหารการทะเบียน อำเภอเมืองราชบุรี ณ เดือน เมษายน พ.ศ. 2564) 

แยกเป็น ชาย 5,260 คน หญิง 5,841 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 444.04 ต่อตารางกิโลเมตร ประชากรแยกตามเขตการปกครอง 

ช่วงอายุและจำนวนประชากร (ข้อมูลจำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ จากสำนักบริหารการทะเบียน อำเภอเมืองราชบุรี ณ เดือน เมษายน พ.ศ. 2564)

จำนวนประชากรเด็กและเยาวชน อายุต่ำกว่า 18 ปี ชาย 1,113 หญิง 1,073 รวม 2,186

จำนวนประชากร อายุ 19 - 59 ปี ชาย 3,191 หญิง 3,455 รวม 6,646

จำนวนประชากรผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป ชาย 954 หญิง 1,315 รวม 2,269

จากการที่นักศึกษาได้ศึกษาข้อมูลชุมชนและลงพื้นที่สัมภาษณ์ปราชญ์ที่รู้จักชุมชนเป็นอย่างดีพบว่า ตำบลคูบัวมีความเป็นมาที่น่าสนใจดังนี้

ในราวปีพุทธศักราช 2347 ซึ่งเป็นรัชกาลที่ 1 คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะนั้น เมืองเชียงแสน ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพม่า พม่าอาศัยเชียงแสนเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและกำลังพลสำหรับจะตีเมืองทางฝ่ายเหนือของไทยเพื่อจะกำจัดอิทธิพลของพม่าจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอกรมหลวงเทพหริรักษ์ร่วมกับเจ้าพระยายมราชจัดกองทัพจากกรุงเทพฯ ขึ้นไปตีเมืองเชียงแสนได้แล้วได้เคลื่อนย้ายผู้คนเอาชาวเมืองเชียงแสนทั้งชายและหญิงที่อยู่ในวัยฉกรรจ์ เพื่อมิให้เป็นที่ซ่องสุ่มกำลังพล ดังปรากฏตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 กล่าวไว้ว่า "กองทัพ ได้ครอบครัว 23,000 คนเศษ ก็รื้อกำแพงเผาบ้านเมืองเสย แล้วแบ่งปันครอบครัว ปันเป็น 5 ส่วน ให้ไปเมืองเชียงใหม่ ส่วน 1  เมืองนครลำปาง ส่วน 1  เมืองน่าน ส่วน 1  เมืองเวียงจันทร์ ส่วน 1  อีกส่วน 1 ถวายลงมาที่กรุงเทพ โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองสระบุรีบ้าง แบ่งไปอยู่เมืองราชบุรีบ้าง" ชาวเมืองเชียงแสนที่เคลื่อนย้ายมาจากเมืองเชียงแสนครั้งนั้น ก็คือ ชาวไท-ยวน ที่เดินทางไกลมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเมืองต่างๆ  ส่วนที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองราชบุรี ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณริมแม่น้ำแม่กลองฝั่งขวา เรียกว่า บ้านไร่นที ต่อมาเมื่อชุมชนขยายตัวมากขึ้น จึงมองหาที่ดินทำกินใหม่โดยได้ขยายครัวเรือนปลูกบ้านแปลงเมืองจากที่เดิมกระจัดกระจายกันออกไปตามส่วนต่างๆ หลายพื้นที่ เช่น ที่ตำบลคูบัว ได้มาอยู่อาศัยทำมาหากิน  ทุกวันนี้ชาวไท-ยวน ตั้งบ้านเรือนอยู่ในท้องถิ่น หลายๆ ตำบล ของจังหวัดราชบุรี

สำหรับความเป็นมาของหมู่15 ตำบลคูบัว มีความเป็นมาดังนี้

เดิมบ้านไร่ต้นมะม่วง (หรือบ้านไร่โรงเจ) ขึ้นอยู่กับหมู่ที่13 บ้านนต้นแหน มีผู้ใหญ่สด จันทร์ศรีเจริญ เป็นผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจากเป็นพื้นที่กว้าง ไม่สามารถควบคุมถึงจึงได้แยกออกมาเป็น หมู่ที่15 มีผู้ใหญ่ขำ ไสยจิตต์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน สาเหตุที่เป็นหมู่ที่15 เพราะหมู่ที่14 มีอยู่แล้วคือ หมู่บ้านหนามพุงดอ

จากการศึกษาประวัติตำบลและหมู่บ้านดังกล่าวข้างต้น นักศึกษาสามารถจัดทำแผนที่เดินดินใน 2 ลักษณะดังนี้

1.แผนที่รอบใน

2.แผนที่รอบนอก

อ้างอิงจาก

1.http://www.kubua.go.th/site/attachments/article/904/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%20(%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.2566-2570).pdf

2.http://www.kubua.go.th/site/attachments/article/790/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%8815.%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%20%20%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2015%20%E0%B8%9B%E0%B8%B52564.pdf

หมายเลขบันทึก: 694685เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2021 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2022 00:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท