ซึมเศร้าเรื้อรัง ปฏิเสธการรักษา ทำอย่างไร


  1. อ้างอิงจาก https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/persistent-depressive-disorder/symptoms-causes/syc-20350929 มีข้อสังเกตว่า Persistent depressive disorder หรือ dysthymia ซึ่งอาจมีอาการต่อมาจาก Major Depressive Disorder เลยเรียกว่า “Double Depression” ทำให้คนไข้รู้สึก “ไม่มีอะไรเติมเต็มชีวิต ไม่รู้ถึงความสนุกใด ๆ เหนื่อยง่าย เบื่อง่าย และหงุดหงิดง่าย” ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดทำหน้าที่ป้องกันอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นซ้ำหากมีอะไรที่เคร่งเครียดมากระตุ้น และเสริมสร้างความภาคภูมิใจภายในครอบครัวด้วยความรักความเข้าใจ 
  2. อ้างอิงจาก https://www.nlpschool.com/getting-over-depression-can-nlp-keep-the-black-dog-at-bay/ มีการนำการสื่อสารจิตใต้สำนึกมาช่วยปลดล๊อค “ความเสียใจที่ฝังใจในเหตุการณ์ที่สะสมความตึงเครียดยาวนาน” ผ่านการสร้างความไว้ใจในการสังเกตร่างกายของคนไข้ให้ได้ความคิดบวกเนียน ๆ ตามธรรมชาติ แล้วค่อย ๆ ใช้การรับฟังคำพูดของคนไข้ว่า “กำลังคิดสื่อสารความรู้สึกที่หายไป/ที่ซ่อนไว้/ที่บิดเบือนความเป็นจริง” เพื่อเติมเต็มความคิดบวกอย่างสงบใจ เรียกว่า Meta Model 
  3. อ้างอิงจาก Cognitive-Behavioral Theory and Treatment of Antisocial Personality Disorder | IntechOpen ทำให้พบว่า ASPD หรือ Antisocial Personality Disorder มีความเชื่อในชีวิตที่ว้าเหว่ แข็งแกร่ง และคิดทำทันที เมื่อมีใครมารักษาและพูดจาดีด้วย คนไข้มักจะคิดว่า “เค้ากำลังใช้เหตุผลเพื่อให้คนไข้ยอมรับ ซึ่งคนไข้ปฏิเสธการรักษาเพราะไม่กล้าเสี่ยงที่จะเสียใจเหมือนในอดีตอีกต่อไป คนไข้จึงชอบที่จะไม่พูดความจริง โกงกติกาหาเงื่อนไข/ข้ออ้างในการพูดคุยเสมอ” จึงควร Reframe ทวนคำพูดของคนไข้ให้สะกิดใจบ้าง กึ่งถามกึ่งตอบ แบบ Pacing & Leading เงียบให้คนไข้คิดสักครู่แล้วชวนขยับร่างกายทันที ตลอดจนการสอบถามความมั่นใจในการขยับร่างกายอย่างมีความหมายนั้น หรือ self-efficacy 
  4. อ้างอิงจาก https://doi.org/10.1080/14733140903225240 ทำให้เข้าใจว่า การทำจิตบำบัดด้วยการพูดคุยใช้เวลาอย่างน้อย 5 เดือน ควรควบคู่กับการทานยาอย่างต่อเนื่อง อาจลดอาการทางจิตและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ไม่เกิน 65% แต่ถ้าปฏิเสธการรักษาก็ทำได้แค่ประคับประคองชีวิตให้คิดบวกต่อไป
  5. อ้างอิงจากประสบการณ์การเรียนกิจกรรมบำบัดจากครูบาอาจารย์คณะเทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่ ได้แก่ 
  • ปัญหาไร้เจตจำนง (Avolition) เป็นปัญหาเฉพาะทางกิจกรรมบำบัด ประกอบด้วย ถ้าตั้งใจทำกิจกรรมใด ๆ อย่างมีจุดหมาย ก็จะมีความเต็มใจทำกิจกรรมได้สำเร็จ โดยสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างเหมาะสม ถ้าไม่ตั้งใจก็จะไร้อารมณ์ (Apathy) แยกตัวจากสังคม ระลึกจำไม่ได้ เก็บกดความกลัวกังวล หมกมุ่นอยู่กับตนเอง พูดน้อย ปฏิเสธความจริง จนถึงหวาดกลัวแบบ “วางเฉย หลีกเลี่ยง เผชิญหน้า เย้าแหย่ ยอมรับ” 
  • กระบวนการฟื้นคืนสุขภาวะจากปัญหาไร้เจตจำนง ได้แก่ 
    • Empathy ผู้ดูแลพยายามเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก - ความต้องการกับความกลัวต่าง ๆ ของเคส 
    • Verbal Cue ผู้ดูแลเรียกชื่อ สบตา ยิ้มให้ก่อน สาธิตท่าทางให้เคสเลียนแบบ
    • Short/Small Success ผู้ดูแลชี้นำ/ชวนทำให้เคสพบความสำเร็จจากการลงมือทำกิจกรรมในเวลา 5-15 นาที
    • Diversion ผู้ดูแลเบี่ยงเบนความสนใจด้วยกิจกรรมในชีวิตประจำวัน นันทนาการ งานอดิเรกที่ชอบ (ทำอาหาร อ่านหนังสือสัตว์) งานผ่อนคลายสุขภาพ (โยคะ เกร็งคลายกล้ามเนื้อ เดินมีจุดหมายหายใจช้า ๆ ลึก ๆ) งานแก้ปัญหาทีละเล็กทีละน้อย
    • Indivisiveness ผู้ดูแลกระตุ้นให้มีการเลือกทำกิจกรรมจาก 2 อย่าง โดยพูดให้กำลังใจและความมั่นใจว่า ไม่มีอะไรผิดถูก ตัดสินใจเลือกได้ตามความชอบ
    • Memory ผู้ดูแลพูดทวนขั้นตอนใหม่ ๆ ช้า ๆ ไม่เกิน 3 รอบ ทำทีละอย่าง จากที่คุ้นเคยมีขั้นตอนแน่นอนแล้วค่อย ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ทีละเล็กทีละน้อย
    • Graded Expression ผู้ดูแลชวนทำกิจกรรมที่มีการจัดลำดับจากง่ายไปยาก เพื่อระบายอารมณ์ที่เก็บกดไว้ในทางสร้างสรรค์ เช่น ร้องเพลง ทำงานครัว วาดภาพร่วมกัน กอดนวดสัมผัสกระซิบ อ่านหนังสือสู่การเล่าเรื่องคิดบวก การทำโยคะ/ท่าสาธิต การชื่นชมคุณค่าที่ทั้งผู้ดูแลกับเคสเห็นจริงร่วมกัน     
หมายเลขบันทึก: 694598เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2021 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ธันวาคม 2021 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท