การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย


การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย

 การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) เป็นคำที่รากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า "communius" หมายถึง "พร้อมกัน" หรือ "ร่วมกัน" (common) หมายความว่า เมื่อมีการสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้น คนเราพยายามที่จะสร้าง "ความพร้อมกันหรือความร่วมกัน" ทางด้านความคิดเรื่องราวเหตุการณ์ ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เรากำลังสื่อสารด้วยนั้น ดังนั้น การสื่อสารจึงหมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึง "ระบบ" (เช่น ระบบโทรศัพท์) เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน (Webster's Dictionary 1978 : 98) นอกจากนี้ การสื่อสารยังเป็นการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ตลอดจนเครื่องหมายต่าง ๆ ด้วย (Fiske 1985:2)

 

ความหมายโดยสรุป
           การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย เป็นการที่ผู้ส่งซึ่งเป็นบุคคลกลุ่มชน หรือสถาบัน ถ่ายทอดเรื่องราว ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้แนวความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ ฯลฯ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดไปยังผู้รับซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบัน เพื่อให้ผู้รับได้รับทราบข่าวสารร่วมกัน

 

วิธีการการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
            1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ
"วจภาษา" (Oral Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้น
            1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
            1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น (Visual Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้น (Eyre 1979:31) หรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น

 

 การสื่อความหมายจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อผู้รับสามารถเข้าใจตรงกับที่ผู้ส่งต้องการ (ผลที่ได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย) แต่ในกระบวนการสื่อความหมายนั้นจะต้องมีอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ และอุปสรรคเหล่านี้เองที่ทำให้ผลของการสื่อความหมายผิดพลาดไปจากเป้าหมายที่ผู้ส่งต้องการ ดังนั้นปัญหาของการสื่อความหมายก็เกิดขึ้นเนื่องจากอุปสรรคต่าง ๆ นั่นเอง ในที่นี้จะพิจารณาเฉพาะปัญหาที่สำคัญที่เกิดขึ้นเฉพาะในด้านผู้ส่งสาร ผู้รับสารและทางด้านเนื้อหาเท่านั้นคือ

 1. ปัญหาทางด้านผู้ส่งสาร       เช่น
        1.1 พูดไม่ชัดเจน ข้อความและคำพูดไม่ได้ใจความ
        1.2 พูดเร็ว เบา เกินไป
        1.3 อารมณ์ และคำพูดไม่เหมาะสม
        1.4 เสียงอื่น ๆ รบกวน
        1.5 ภาษาที่ใช้ต่างกัน   ฯลฯ
   2. ปัญหาทางด้านผู้รับสาร       เช่น
        2.1 ไม่ตั้งใจฟัง
        2.2 มีเสียงรบกวน
        2.3 มีการขัดจังหวะเวลาพูดหรือส่งข้อความ
        2.4 ความพิการทางประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
        2.5 ปัญหาทางด้านอารมณ์และมีเจตคติไม่ดีต่อผู้ส่ง     ฯลฯ
   3. ปัญหาทางด้านเนื้อหา           เช่น
        3.1 ยาวเกินไป
        3.2 สั้นเกินไปไม่ได้ความ ตัวหนังสืออ่านไม่ออก
        3.3 ภาษาต่างกัน
        3.4 เนื้อหาถูกถ่ายทอดหลายขั้น
        3.5 ช่องทางการส่งเนื้อหาถูกตัด      ฯลฯ
 
หมายเลขบันทึก: 69364เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โอยหาอยากจังเลยภาษาที่สื่อความหมายไม่ชัดเจนเนี่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท