บุคคลและผู้ทรงสิทธิในกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


ในการดำเนินการทางเศรษฐกิจต้องมีบุคคล หรือผู้ทรงสิทธิในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระหว่างรัฐให้ดำเนินไปตามที่คาดหวัง หรือเพื่อประสบความสำเร็จของเศรษฐกิจนั้นๆ ซึ่งบุคคลในกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีดังนี้

          คู่ค้าทางธุรกิจ (Business Parties) เมื่อมีการประกอบกิจการที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ ต้องมีคู่สัญญา คู่ค้าทางธุรกิจ กิจการนั้นๆ จะดำเนินเพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ซึ่งกันแหละกัน โดยคู่ค้า จะเป็นรัฐ หน่วยงานของรัฐ เอกชน บุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือประชาคม เมื่อมีการทำธุรกิจร่วมกัน ล้วนสามารถเป็นคู่ค้าทางธุรกิจกัน 

          หน่วยงานของรัฐ (State Consenting Organs) ในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องดำเนินผ่านทางรัฐ โดยรัฐจะต้องมีการให้ลงทะเบียน (Registration) เป็นการบอกจุดประสงค์ที่จะประกอบธุรกิจต่างๆ หรือต้องการลงทุนต่างๆ ซึ่งรัฐจะต้องให้การอนุญาต (Permission) ในการประกอบกิจการนั้นๆ รวมถึงอนุญาตให้สามารถทำงานได้ และมีการให้สัมปทาน (Concession) โดยรัฐอนุญาตให้เอกชนจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดทำประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ ภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนดเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินไปด้วยความถูกต้องตามกฎหมาย

          องค์การธุรกิจ (Business Organization) เป็นการกำหนดลักษณะ ประเภทของกิจการนั้นๆ ว่าจะเป็นการประกอบธุรกิจอะไร มีวัตถุปะสงค์อย่างไร เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการไปในตามธุรกิจนั้นได้ เมื่อมีการทำธุรกิจ ต้องมีทรัพย์สินทางธุรกิจ (Business Assets) คือรายการของมูลค่าที่บริษัทเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางธุรกิจครอบคุลมหลายประเภท อาจเป็นสินค้าที่จับต้องได้ เช่น ยานพาหนะ อสังหาริมทรัพย์ คอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์สำนักงาน และอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆ หรือสิ่งของที่จำต้องไม่ได้ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น รวมถึงธุรกรรมทางธุรกิจ (Business Transactions) คือรายการที่เกิดขึ้นในกิจการค้าที่ก่อให้เกิดการโอนเงินระหว่างบุคคลภายนอก เมื่อมีการประกอบกิจการต้องมีการกำหนดความรับผิดชอบ (Responsibility) ต่อการดำเนินการประกอบธุรกิจนั้น ๆ เมื่อมีการเกิดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาหรือคู่ค้า ต้องมีการได้รับการระงับข้อพิพาท (Settlement of Disputes) เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ให้มีความสงบเรียบร้อย

          หน่วยงานควบคุมของรัฐ (State Controlling Organs) ในด้านต่างๆ ที่จะมีหน้าที่เข้ามาควบคุมให้ดำเนินไปอย่างถูกต้อง และยังมีหน่วยงานส่งเสริมของรัฐ (State Promoting Organs) ที่จะเข้ามาส่งเสริมในส่วนที่ขาด หรือบกพร่อง ให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างสมบูรณ์

          หน่วยงานข้างต้นที่กล่าวมานั้น เป็นการดำเนินการโดยรัฐ หน้าที่ของรัฐ และภาคธุรกิจในการประกอบกิจการต่าง ๆ  รัฐในบริบทนี้ คือ รัฐอธิปไตย กล่าวคือการที่มีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และสามารถลงไปมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐอธิปไตยอื่นได้ ดังนั้นรัฐต้องให้ความเป็นธรรมต่อบุคคล นั้นคือ นายทุน ลูกจ้าง นายจ้าง ที่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมทั้งด้านสถานภาพทางการเงินที่แตกต่างกัน ให้ได้รับความเท่าเทียมในการดำเนินกิจการต่างๆ และบุคคลที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน ที่แสวงหาผลกำไร เช่นบริษัท ห้างหุ้นส่วน  และไม่ได้แสวงผลกำไร เช่นมูลนิธิเพื่อเด็กอ่อน เป็นต้น ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้องชอบธรรมโดยกฎหมาย 

นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน นิติบุคคลที่รัฐใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดิน เช่นกระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่เข้ามามีบทบาทในการกำหนดกฎเกณฑ์ ราคา หรือภาษีต่าง ๆ กับสินค้าร่วมถึงเป็นผู้ดำเนินกิจการที่ทำร่วมกับประเทศอื่น ๆ หรือรัฐอื่นๆด้วย นิติบุคคลที่รัฐใช้อำนาจจัดการผลประโยชน์ของรัฐ เช่น รัฐวิสาหกิจ นิติบุคคลตามที่เอกชนที่รัฐก่อตั้งขึ้น ยกตัวอย่าง การทำถนนในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ของไทย-เมียนมา 

นิติบุคคลในระดับโลกที่หลายรัฐได้มีความตกลงร่วมกัน หรือสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อช่วยในด้านการลงทุน เงินกองทุน ในรูปแบบของ IMF หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development หรือ IBRD หรือธนาคารโลก) เพื่อช่วยในด้านการเงิน และรักษาเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ ให้มีความสมดุล องค์การการค้าโลก WTO (World Trade Organization) ที่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ในการทำการค้าระหว่างรัฐ ให้ปฏิบัติตามหลักของ GATT หลักปฏิบัติอย่างชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favored Nation Treatment หรือ MFN) หลักปฏิบัติอย่างคนชาติ (National Treatment หรือ NT) เป็นหลักที่ทุกรัฐพึงปฏิบัติตาม องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization หรือ WIPO) เข้ามาเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในธุรกิจ ซึ่งนิติบุคคลที่กล่าวมานั้น ล้วนมีบทบาทในเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างมาก

ความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่นสหภาพยุโรป ประชาคมอาเซียน มีกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐที่เป็นสมาชิก ร่วมประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก แต่ต้องการเข้าร่วมการค้าด้วย ความร่วมมือดังกล่าวมุ่งเน้นในเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลัก ต้องดำเนินตามระเบียบของประชาคมนั้นๆ เพื่อทำธุรกิจร่วมกันและขยายเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในระดับทวิภาคี ที่มีความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและต่างประเทศ ในลักษณะของเขตการค้า ยกตัวอย่าง ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement หรือ TAFTA) ที่มีความตกลงเพื่อร่วมมือในทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและออสเตรเลีย ที่จะขยายการค้าระหว่างกันโดยการปรับลดภาษีให้ต่ำลง และเป็นศูนย์เพื่อเกิดการค้าอย่างเสรีในที่สุด ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (Thailand – New Zealand Closer Economic Partnership หรือ TNZCEP) เป็นความร่วมมือในการลดภาษีของสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศไทย เป็นต้น

และยังมีนิติบุคคลที่เป็นเอกชนข้ามชาติ ร่วมกันสร้างขึ้นมา ยกตัวอย่าง หอการค้านานาชาติ (International Chamber of Commerce หรือ ICC) ที่เป็นองค์การที่ให้การสนับสนุนทางการค้า รวมถึงการลงทุนระหว่างประเทศด้วย สมาคมอนุญาโตตุลาการของสหรัฐอเมริกา (American Arbitration Association หรือ AAA) ที่มีหน้าที่ในการระงับข้อพิพาทต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ

บุคคลและผู้ทรงสิทธิในกฎหมายระหว่างประเทศ มีความเกี่ยวข้องกันในทุกด้าน เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ส่งเสริมการลงทุน ส่งเสริมทางการเงิน ในการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ ส่งเสริมด้านการค้า คุ้มครองสิทธิผลประโยชน์ต่าง ๆ ร่วมถึงมีการใช้อำนาจผ่านทางด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมปัญหา และป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายหลัง เพราะฉะนั้น บุคคลและผู้ทรงสิทธิ์ในกฎหมายระหว่างประเทศ จึงหมายถึงทุกๆ คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนได้รับผลประโยชน์ ส่วนได้รับความเสียหาย ทั้งหมดนั้นเอง

__________________

เอกสารอ้างอิง

เอกสารประกอบคำบรรยายวิชากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ น.641 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอาจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

สถาบันอนุญาโตตุลาการ. https://thac.or.th/th/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8/  สืบค้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564

รัฐธิปไตย . https://hmong.in.th/wiki/Sovereign_stateสืบค้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564

รายการการค้า . https://sites.google.com/site/karwikheraahraykarkha/raykar-kha สืบค้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564

Business Asset . https://www.investopedia.com/terms/b/business-asset.aspสืบค้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564

หมายเลขบันทึก: 693213เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2021 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2021 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท