ตลาดเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


ตลาดเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นตลาดที่ระหว่างที่รัฐที่มีการทำการตกลงกัน หรือการกิจกรรมด้านเศรษฐกิจด้วยกัน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภายในรัฐ และระหว่างรัฐให้ดียิ่งขึ้น ตลาดเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นตลาดที่ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นตลาดประชาคมอาเซียน ตลาดยุโรป ร่วมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ที่รัฐสองรัฐ หรือมากกว่านั้นได้มีความร่วมมือด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาด้านเศรษฐกิจและด้านคมนาคม เป็นหลัก ตลาดเศรษฐกิจระหว่างประเทศไม่ใช่แต่การดำเนินการทางตลาดโดยใช้หลักพื้นฐานทั่วไป แต่มีเรื่องของขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างรัฐด้วย จึงซับซ้อนกว่าตลาดภายในประเทศ เพื่อความเป็นธรรมในการแข่งขันทางการค้า รวมถึงสร้างความสมดุลให้ภายในด้วย 

          กรอบความร่วมมือด้านตลาดเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ต้องมีผู้ซื้อและผู้ขาย โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายเป็นทั้งรัฐและเอกชน โดยรัฐที่เป็นทั้งเจ้าของตลาด ที่ทำการส่งออกสินค้าของรัฐตนเอง และเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนในรัฐของตนเองได้ รัฐต้องมีการกำหนดเงื่อนไขนโยบายต่าง ๆ ในการลงทุนร่วมถึงการให้ความเชื่อมั่นในการลงทุนต่อนักลงทุนเอกชนที่เขามาทำ รัฐเป็นเจ้าของผู้ลงทุน หรือผู้ทำการค้าข้ามชาติ ที่ทำการขายหรือส่งออก หรือนำเข้าสินค้าเข้ามาในรัฐ รัฐต้องให้การรับรองต่อผู้ลงทุนนั้น และมีการรับผิดชอบในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้า รัฐเจ้าของสินค้าและบริการข้ามชาติที่ได้ขายสินค้าเข้ามาในรัฐ  ต้องมีการปฏิบัติต่อสินค้าและบริการให้เป็นไปตามหลักสากล หรือตามสนธิสัญญาระหว่างรัฐที่ทำการค้าด้วยกัน 

          เมื่อมีตลาดระหว่างประเทศ ย่อมมีการลงทุนของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีแรงงานเข้ามาทำงานในประเทศด้วยเช่นกัน ซึ่งในประเทศไทยได้มีบุคคลต่างด้าว และต่างชาติเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก โดยบุคคลต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องมีทำใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย โดยคนต่างด้าวต้องให้นายจ้าง หรือสถานประกอบการเป็นผู้ดำเนินการนั้น ๆ เพื่อที่บุคคลต่างด้าวจะได้รับความคุ้มครองที่ในขณะที่ทำงานอยู่ในประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีบุคคลต่างด้าวที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ชนพื้นเมือง เข้ามาประกอบอาชีพในประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งเป็นแรงงานที่มีฝีมือ และไร้ฝีมือ เป็นการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในเรื่องของค่าแรง สวัสดิการต่างๆ ที่ในประเทศเพื่อนยังไม่มีเพียงพอต่อประชากรของเขา เมื่อมีคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้ว คนไทยนั้นมีการลงทุนในต่างประเทศด้วย เป็นการแลกเปลี่ยนทรัพยากรในไทยที่ต่างประเทศไม่มีให้ได้มีการเกิดเศรษฐกิจระหว่างกันเกิดขึ้น รวมถึงไปทำงานที่ต่างประเทศด้วย มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างรัฐในตลาดเศรษฐกิจระหว่างประเทศเกิดขึ้นด้วย บุคคลที่มีหลายสัญชาติ นิติบุคคลหลายสัญชาติ จะเกิดตามมาเป็นการขยายตลาดให้กว้างขึ้น เช่นนี้อาจจะต้องมีการพิจารณาด้านสวัสดิการ ด้านการดำเนินทางเศรษฐกิจตามแต่ละกรณีไป

          ตลาดเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เริ่มจากการมีการรวมกันของนานาประเทศ ก่อเกิดเป็นประชาคมที่ต้องการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ หรือพัฒนาด้านเศรษฐกิจ หรือด้านคมนาคมร่วมกัน มีการลงทุนของประเทศไทยที่ต่างประเทศ หรือต่างด้าวลงทุนในประเทศ มีการเคลื่อนย้ายของทรัพยากร แรงงานเกิดขึ้น ทำให้เกิดตลาดประชาคม (Community Market) กล่าวคือการรวมของประเทศที่มีเขตติดต่อกันหลายๆ ประเทศ ก่อให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมกันนั้นเอง เมื่อมีตลาดประชาคมเกิดขึ้น ย่อมมีการติดต่อสัมพันธ์กับประชาคมอื่นๆ เช่น ตลาดยุโรป ที่ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การลงทุน สินค้าและแรงงาน ตลาดอาเซียน ซึ่งเป็นความตกลงที่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกร่วมอยู่ด้วย ซึ่งความร่วมมือนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการรวมตัวและร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ เพื่อเอื้อให้เกิดความสะดวกในการติดต่อซื้อขายระหว่างประเทศสมาชิกภายในกลุ่ม มุ่งให้เกิดการพัฒนาและสามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศอื่นในเวทีเศรษฐกิจโลกได้

ประเทศไทยยังมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษร่วมบริเวณที่มีอำนาจหรือสิทธิอธิปไตยร่วมกัน (Joint Development of the Special Economic Zone) กับประเทศเพื่อนบ้านตามภูมิศาสตร์ด้านต่างๆ ด้วย ทำให้เพื่อนบ้านมีความเจริญ มั่นคง และมีความสุข เพื่อลดช่องว่างในการพัฒนา แก้ปัญหาสำคัญ เช่น เรื่องยาเสพติด แรงงานต่างด้าว เรื่องการค้ามนุษย์ การสู้รบของคนกลุ่มน้อยที่มีผลกระทบต่อประเทศ เรื่องโรคติดต่อ เป็นต้น โดยร่วมมือทำเขตเศรษฐกิจร่วมกัน การคมนาคมที่จะเชื่อมต่อกันได้ง่าย เพิ่มการเชื่อมต่อระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือของประเทศไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ มีระยะชายแดนติดต่อกับประเทศไทยยาวที่สุดกว่า 2,200 กม. มีข้อตกลงระหว่างประเทศ (MOU) ว่าด้วยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการผลักดันโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรม และเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายกับชายแดนไทย เขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2536 โดยผู้นำทั้ง 3 ประเทศได้เห็นชอบการผลักดันการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในลักษณะไตรภาคีเพื่อเร่งรัดการปฏิรูปทางเศรษฐกิจในพื้นที่ส่วนภูมิภาคที่ยังด้อยพัฒนาบนเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ภาคเหนือของมาเลเซีย และภาคใต้ของไทย เป็นต้น

          จะเห็นได้ว่าตลาดเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีพัฒนาทุกรูปแบบทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ระดับโลก ผ่านการลงทุนในตลาดเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ดังนั้นตลาดเศรษฐกิจระหว่างประเทศจึงเป็นตลาดที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ พัฒนาทั้งคน แรงงาน เศรษฐกิจต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น 

 

_______________

เอกสารอ้างอิง

เอกสารประกอบคำบรรยายวิชากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ น.641 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอาจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

จตุรนต์ ถิระวัฒน์.“กฎหมายการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ”. กฎหมายระหว่างประเทศ.วิญญูชน. 2563. 

สุรเกียรติ์ เสถียรไทย.“กฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ”. บทบาทของกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ.วิญญูชน. 2553. 

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community - AEC). https://diec.mod.go.th/aseancommunity/Three_Pillars_Asean_Econo.aspx สืบค้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564

การตลาดระหว่างประเทศ . https://sites.google.com/site/groupmarketingsites/kar-tlad-rahwang-prathes สืบค้นวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564

หมายเลขบันทึก: 693205เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2021 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2021 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท