แนวคิดและปรัชญาที่สำคัญของกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ


ธรรมชาติของระบบเศรษฐกิจโลก (Nature of World Economic System) มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละสังคมร่วมกันเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและปัจจัยต่าง ๆ ของแต่ละสังคมที่แตกต่างกัน อำนวยความสะดวกในการที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้สามารถบำบัดความต้องการให้แก่บุคคลต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้นให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ที่ความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งการบริหารเศรษฐกิจของผู้บริหารด้วย โดยสามารถแบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้

          ธุรกิจที่เป็นอิสระจากการแทรกแซงของรัฐบาล (Full Laissez-Faire Business) คือธุรกิจที่มีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการเลือกอุปโภคบริโภคสินค้า และบริการต่าง ๆ แต่อยู่ภายใต้ของกฎหมายขอบเขตของกฎหมาย การดำเนินการใด ๆ จะต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของบุคคลอื่น ใช้ระบบของการแข่งขันโดยมีราคาและระบบตลาด ที่เรียกว่า ตลาดเสรี (Free Market) คือตลาดสินค้าหรือบริการที่มีการปล่อยให้พลังของอุปสงค์และอุปทานหรือกลไกตลาดในการจัดสรรทรัพยากร เป็นตัวกำหนดราคาและปริมาณการซื้อขายอย่างเสรี โดยปราศจากการแทรกแซงใด ๆ จากรัฐบาล

          ธุรกิจที่ควบคุมโดยรัฐ (State Controlled Business) คือธุรกิจที่ต้องได้รับการรับรองจากรัฐบาลในการดำเนินการประกอบกิจการต่างๆ ภายในรัฐ โดยการรับรองของรัฐมีหลายวิธี ได้แก่ การเข้าถึงตลาดจากการประกาศของรัฐบาล (Market Access by Notification) , การมีเงื่อนไขในการเข้าถึงตลาด (Condition to Market Access) , การเข้าถึงตลาดโดยการได้รับใบอนุญาต (Market Access by License) และ การได้รับโควต้า (Quota) ซึ่งธุรกิจต้องได้รับการรับรองจากรัฐ หรือทำตามเงื่อนไขของรัฐให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะมีการดำเนินการทางประกอบธุรกิจต่างๆ 

          ธุรกิจที่ผูกขาดโดยรัฐ (State Monopoly Business) คือธุรกิจที่รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ มักจะอยู่ในรูปของการวางแผนแบบบังคับจากส่วนกลาง และเอกชนไม่มีส่วนร่วมในธุรกิจแบบนี้ได้ เพราะอำนาจทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลางรัฐบาลจะเป็นผู้วางแผนแต่เพียงผู้เดียว ทำให้มีการเกิดรูปแบบของตลาดดังนี้ 1.ตลาดแบบมีเงื่อนไข (Conditional Market) คือตลาดที่มีความเสรี และมีเงื่อนไขที่รัฐต้องปฏิบัติตาม ไม่มีบทบาทในกิจการนั้น ยกตัวอย่าง วัคซีนที่ป้องกันเชื้อโควิด-19 ที่มีการตั้งเงื่อนไขจากบริษัทต่าง ๆ เพื่อให้รัฐดำเนินการเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด เอกชนไม่สามารถนำมาจำหน่ายได้เอง ต้องผ่านรัฐบาลเท่านั้น ทำให้มีลักษณะของการมีเสรีในการค้า และมีความปิดต่อภาคเอกชน 2. ตลาดปิด (Close Market) คือตลาดที่รัฐเท่านั้นที่สามารถดำเนินกิจการได้ มีลักษณะดังนี้ รัฐบาลเป็นเจ้าของ (State Own) , เป็นลักษณะแบบสัมปทาน (Concession) เช่นสัมปทานสาธารนูปโภค และเป็นกิจการที่มีความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน (Joint-Venture Between state VS Private) เช่นสัมปทานคลื่นความถี่ของอินเทอร์เน็ต ที่รัฐเป็นเจ้าของและให้ภาคเอกชนเข้าร่วมประมูลได้ เป็นต้น

          นอกจากระบบเศรษฐกิจ ทั้ง 3 แบบแล้ว ยังแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ครอบคลุมไปถึงปรัชญาทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อการดำเนินการทางเศรษฐกิจด้วย ได้แก่ 

          เรื่องของความเป็นปัจเจกชน (Individualism) คือเมื่อมีดำเนินการธุรกิจที่เริ่มจากปัจเจกชนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นชาตินิยม (Nationalism) เพื่อขยายธุรกิจในมีขนาดใหญ่มากขึ้น มีการเข้าช่วยเหลือจากรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น และเมื่อมีการดำเนินระหว่างรัฐ ต้องมี Statism เพื่อให้ง่ายสะดวกต่อการดำเนินการทางเศรษฐกิจ โดยที่อาศัยอำนาจของรัฐในการดำเนินการ

          เรื่องของระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่มีการดำเนินตามรูปแบบของการปกครอง ระบบคอมมิวนิสต์ (Communism) ที่ให้อำนาจกับรัฐในการดำเนินการทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ระบบสังคมนิยม (Socialism) ที่มีลักษณะในการดำเนินไปด้วยสังคมนั้นๆ ให้ความสำคัญกับสังคมประชากรเป็นส่วนใหญ่ และสิทธิชุมชน (Community rights) ที่ให้สิทธิแก่ชุมชนต่างๆ ที่จะดำเนินการทางเศรษฐกิจ โดยที่อยู่ภายใต้กฎหมาย เพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดต่อตัวบุคคล ทรัพย์สิน เป็นต้น

          เรื่องของเสรีภาพ (Liberty) ในการดำเนินการต่างๆ ทางธุรกิจที่ก่อให้มีอิสรภาพ (Freedom) หรือการไม่โดนแทรกแซงทางธุรกิจ (Laissez-Faire) มีการแข่งขันอย่างเสรี (Free Competition) และมีการผูกขาดของรัฐในบางธุรกิจ (Monopoly) และทุกธุรกิจต้องคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ (Humanism) เพราะมีการใช้แรงงานเกิดขึ้นต้องรับความปลอดภัยต้องการใช้แรงงานนั้น และมีการตรวจสอบได้ (Human Security)

          เมื่อมีการดำเนินทางการเศรษฐกิจ ต้องเกิดการตัดสินจากสังคม (Social Justice) ที่จะเปรียบเทียบสินค้าจากคุณภาพ ความต้องการในการบริโภคอุปโภคต่างๆ สินค้าในประเทศและต่างประเทศที่มีลักษณะเหมือนกัน หรือสามารถทดแทนกันได้ ควรได้รับความเท่าเทียมกัน (Equality) และเมื่อมีการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศมีการส่งออกและนำเข้า มีการเก็บภาษี (Taxation) เกิดขึ้น มีความได้เปรียบเสียเปรียบเกิดขึ้น ระหว่างรัฐคู่ค้า และภายในรัฐด้วย

          มีการเปิดตลาดแบบเสรี (Free and Fair Markets) ระหว่างรัฐเพื่อเพิ่มความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้มีการส่งออก นำเข้ามาในประเทศ (Transportations) เกิดการเปรียบเทียมระหว่างของที่ผลิตในประเทศไทยและผลิตที่ต่างประเทศ เป็นเรื่องที่รัฐต้องให้ความสำคัญเพื่อให้เกิดความสมดุลภายในประเทศด้วย และยังต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่างรัฐ (Communication) ให้เข้าใจต้องตรงกันทั้งสองฝ่าย หรือหลายฝ่าย 

          ระบบทุนนิยม (Capitalism) คือระบบสำคัญในการดำเนินเศรษฐกิจ เป็นระบบที่ให้นักลงทุนในประเทศและต่างชาติเข้ามาลงทุนได้ในประเทศ หรือลงทุนระหว่างกัน เพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ รัฐจึงต้องมีนโยบาย และการปกป้องนักลงทุนที่เข้ามาทำการลงทุนในรัฐได้ (Investment Promotions and Protections) เพื่อที่นักลงทุนจะได้มีความมั่นใจที่จะลงทุนในกิจการนั้นๆ

          รัฐต้องมีการให้ประกันสังคม (Social Security) และ สวัสดิการสังคม (Social Welfare) ต่อประชาชนที่เป็นแรงงาน และไม่เป็นแรงงาน เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต และพัฒนาชีวิต และดำเนินเศรษฐกิจไปในทางที่ดีได้ด้วยตัวเอง 

          นอกจากนั้นในการดำเนินทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เรื่องของ เทคโนโลยี (Technology ยังเข้ามามีบทบาททั้งด้านของอุตสาหกรรมการผลิต(Industry) การค้า(Trade) รวมไปถึงการค้าโลก(World Trade) ที่เริ่มมีการทำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดการผลิตที่รวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้บริโภค เริ่มมีการค้าเพิ่มขึ้นหลายรูปแบบ(Commercialization) มีการขนส่งที่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น (Technological Transfers) 
มีการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ลิขสิทธิ์ต่าง ๆ(Copyrights)  สิทธิบัตร(Patents) ความรู้ต่างๆ (Know-how) การจัดการ (Managements) ของผู้ประกอบการ(Enterprise) บริษัท(Company) กลุ่มการค้า(Trade Group) และธุรกิจเพื่อสังคม(Business for Society) เพื่อให้ความยุติธรรม และการดำเนินงานไปด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้

          และเรื่องที่ทุกภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญมากที่สุดในตอนนี้ คือการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม คือควรมีมาตรการณ์ที่จะลดการทำลายสิ่งแวดล้อม (Environment Damage) ให้ลดลง โดยควรคำนึงถึงนโยบายของภาครัฐ และภาควิทยาศาสตร์ เพื่อหารือร่วมกันในการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติของสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ให้ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเพิ่ม จะมีการทดแทนต่อสิ่งที่ได้ถูกทำลายไปแล้วด้วย

          ปรัชญาเรื่องสุดท้ายคือเรื่องของการพัฒนา(Development) ทั้งการพัฒนาตัวบุคคล พัฒนาสังคม พัฒนาประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีเพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ด้วย

          จะเห็นว่าแนวคิดและปรัชญาของกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับตัวบุคคล เพราะเมื่อมีการดำเนินการเศรษฐกิจต้องมีการคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวด้วย เพื่อไม่ให้ก่อเกิดความเสียหายทั้งตัวบุคคลและสังคม และเพื่อความเป็นธรรมต่อการแข่งขันทางการค้าและการลงทุนด้วย

_____________________

เอกสารอ้างอิง

เอกสารประกอบคำบรรยายวิชากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ น.641 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยอาจารย์พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร 

ระบบเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน https://sites.google.com/site/socialstudies952017/1-rabb-sersthkic-khxng-lok-paccuban สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564

เศรษฐกิจ Laissez-Faire คืออะไร? https://www.netinbag.com/th/business/what-is-a-laissez-faire-economy.html สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564

หมายเลขบันทึก: 693200เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2021 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2021 12:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท