TTM


ทุกการสูญเสียเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ เป็นเหตุการณ์ที่หลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้น ยิ่งโดยเฉพาะกับครอบครัว คนรอบข้าง แต่สาเหตุการสูญเสียที่เราสามารถป้องกันได้ตั้งแต่วันนี้คือ “การฆ่าตัวตาย” โดยวันนี้เราจะมาทำความรู้ความเข้าใจผ่านThree-Track Mind กันค่ะ โดยจะประกอบไปด้วย

  • Interactive Reasoning (Why) การให้เหตุผลเชิงปฏิสัมพันธ์

Need Assessment : ความต้องการลึก ๆ ความจริง ความเข้าใจ ความรัก ความศรัทธา ความไม่รู้

Impact Assessment : ผลกระทบต่อความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

Occupational Profile Assessment : การประเมินกิจกรรมดำเนินชีวิตของผู้ป่วย

  • Conditional Reasoning (Because of) เป็นการให้เหตุผลเชิงเงื่อนไขที่ต้องสมดุลกันระหว่างความคิดสร้างสรรค์และการใช้วิจารณญาณในการคิดบนการจัดการข้อมูลที่ได้รับมา
  • Procedural Reasoning (How to) เป็นการให้เหตุผลเชิงขั้นตอน คิดแก้ไขปัญหาเชิงระบบ(Design Thinking)  โดยเราต้องเข้าใจถึงปัญหาจากนั้นจึงคิดริเริ่มที่จะหาวิธีแก้ไขและทดสอบว่าวิธีนั้นดีพอหรือไม่ หากเหมาะสมแล้วก็สามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาได้

และในวันนี้เราจะใช้Three-Track Mind ในการตั้งคำถามเกี่ยวกับ การฆ่าตัวตาย

Interactive Reasoning (Why)

            ทำไมจึงเกิดการฆ่าตัวตาย

Conditional Reasoning (Because of)

            สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ต่างจากเมื่อก่อนมา เกิดความตึงเครียดได้ง่าย ด้วยสภาพแวดล้อม การทำงาน การแข่งขัน ปัญหาครอบครัว และปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมาย ที่อาจก่อให้เกิดเป็นสาเหตุของความเครียด ภาวะซึมเศร้าที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน

ในปีค.ศ.2020 จาก Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ของสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ระบุไว้ว่า การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจัดเป็นอันดับที่ 10 ของ United States และ90% วินิจฉัยแล้วว่ามาจากสุขภาพจิตใจ และผู้ชายมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิง 

และสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการพยายามฆ่าตัวตาย จาก Centers for Disease Control and Prevention (CDC)เช่นกันเรียงลำดับวิธีจากมากไปน้อย ได้แก่ ปัญหาสุขภาพจิต การวางแผนหรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย สภาวะวิกฤติต่าง ๆ ปัญหาครอบครัว ปัญหาสุขภาพทางกาย การติดสุรา การใช้ยาเสพติด และปัญหาจากการทำงาน

Interactive Reasoning (Why)

เราจะสังเกตคนรอบข้างว่าจะมีSuicidal thought อย่างไร

Conditional Reasoning (Because of)

เราไม่สามารถทำนายการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายได้ แต่เราสามารถประเมินความเสี่ยงได้โดยมีหลากหลายรูปแบบ เพื่อลดความเสี่ยง และอาจนำไปสู่กระบวนการรักษาได้ในอนาคต คนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และคนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้ารุนแรง มักมีการแสดงออกในผู้ที่อยู่ใกล้ชิด สังเกตเห็นเป็นสัญญาณได้หลายอย่าง

Procedural Reasoning (How to)


เราสามารถตั้งคำถามตรง ๆ ได้ถ้าเขามีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย เช่น
            1. ตอนนี้คุณมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือไม่
            2. คุณเคยพยายามที่จะทำร้ายตัวเองตัวเองไหม
            3. คุณมียา/อาวุธ ในบ้านหรือไม่ 
            เป็นต้น

และเรามีทริควิธีการจำง่าย ๆ เพื่อประเมินความเสี่ยง นั่นคือ IS PATH WARM? และ SAD PERSONS

I = Ideation ความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

S = Substance Use การใช้สารเสพติด

P = Purposelessness ไม่มีเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่

A = Anxiety ความกังวล

T = Trapped รู้สึกไร้ทางออก

H = Hopelessness สิ้นหวัง

W = Withdrawal ถูกทอดทิ้งจากสังคม

A = Anger โกรธ ต้องการแก้แค้น

R = Recklessness ประมาท

M = Mood Change อารมณ์เศร้า

SAD PERSONS

 

Interactive Reasoning (Why)

เราสามารถป้องกันการสูญเสียจากการฆ่าตัวตายได้หรือไม่

Conditional Reasoning (Because of)

            การป้องกันการฆ่าตัวตายต้องมีการดูแลจากครอบครัว คนรอบข้างที่พร้อมเป็นกำลังใจให้ และการเข้าถึงกระบวนการรักษาที่เป็นไปได้ และอีกสิ่งที่สำคัญคือการวางแผนอย่างเป็นระบบทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติงาน
รวมไปถึงต้องการมีเฝ้าระวังที่ครอบคลุมรอบด้านตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลไปจนถึงระดับชุมชน เพื่อให้การป้องกันการฆ่าตัวตายประสบความสำเร็จสูงสุด 

Procedural Reasoning (How to)     

แต่ในวันนี้เราจะพูดถึงการดูแลง่าย ๆ เพื่อเพิ่มความเอาใจใส่ นึกถึงใจเขาใจเราด้วยคำพูด การแสดงออก ให้เขารับรู้ถึงความรัก ความใส่ใจและเป็นห่วงของเรา

โอบกอดความเศร้า ด้วยความเข้าใจ 

โดยนักจิตบำบัด Virginia Satir กล่าวว่า “มนุษย์เราต้องการ 4 กอดต่อวันเพื่อความอยู่รอด เราต้องการ 8 กอดต่อวันสำหรับการบำรุงรักษา เราต้องการการกอด 12 ครั้งต่อวันเพื่อการเติบโต”

นอกจากนี้การกอดที่ได้ผลสำหรับการบำบัดโรคนั้น ระบุว่าต้องกอดกันเป็นเวลานาน 20 วินาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายเราปล่อยฮอร์โมนอย่าง ออกซิโทซิน โดพามีน และ เซราโทนิน จะปลดปล่อยพลังบวกออกมาที่ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันและลดความเครียด

และอีกอย่างที่สำคัญคือคำพูด เราควรรู้ว่าต้องใช้คำพูดอย่างไรจึงจะไม่ทำร้ายจิตใจเขา และสามารถให้กำลังใจกันได้ ได้แก่

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าต้วตายสำเร็จ อ้างอิงจาก : http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/58-1/01-Anuphong.pdf

IS PATH WARM อ้างอิงจาก :https://johnsommersflanagan.com/2013/07/12/is-path-warm-an-acronymn-to-guide-suicide-risk-assessment/

SAD PERSONS อ้างอิงจาก : https://ergoldbook.blogspot.com/2016/12/suicidal-risk.html

การกอด อ้างอิงจาก : https://www.bangkokbanksme.com/en/hug-create-positive-energy-heal-disease

คำสำคัญ (Tags): #ttm#Three Track Mind#ot#occupational therapy
หมายเลขบันทึก: 692287เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2021 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2021 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท