สมาธิบำบัดด้วยการทำสมาธิมโนภาพ(Guided meditation)


Guided Meditation

    ในบทความนี้ เราจะมาพูดคุยกันในเรื่องของการทำ Guided Meditation หรือ ในภาษาไทยที่เราเรียกกันว่า การทำสมาธิแบบมโนภาพ โดยอ้างอิงข้อมูลและเนื้อหาจากแหล่งต่างๆ ทั้งงานวิจัยและบทความที่กลุ่มผู้เขียนได้ทำการค้นคว้าและเรียบเรียงมานำเสนอ ดังนี้

   การทำสมาธิคือ การฝึกจิตใจและร่างกายให้อยู่ในสภาวะสงบนิ่งผ่อนคลาย, สร้างสมดุลแห่งสุขภาพจิตและนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี แต่การทำ Guided meditationหรือการทำสมาธิแบบมโนภาพ จะเป็นการทำสมาธิโดยที่มีคนคอยพูดนำเราในขั้นตอนต่างๆตั้งแต่การนั่งลงจัดท่าทางและจินตนกการภาพต่างๆขึ้นมาในหัวตามที่คนนำพูด โดยเทคนิคนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดสติ, การคงความสนใจกับปัจจุบันเกิดเป็นความคิดที่ลื่นไหลโดยไม่ตัดสินถูกผิด                                                         ผลสำรวจจากศูนย์ป้องกันควบคุมโรคในสหรัฐอเมริกาหรือCDC ( Centers for Disease Control and Prevention) ได้มีการทำผลสำรวจประชากรในวัยผู้ใหญ่จำนวน26k คน ในช่วงปีค.ศ. 2012-2017 พบว่ามีการใช้การทำสมาธิเพื่อส่งเสริมสุขภาพสูงเป็นอันดับที่2รองจากการทำโยคะ ซึ่งถึงแม้ว่าการทำสมาธิอาจไม่ได้ช่วยรักษาโรคในทางตรง แต่การทำสมาธินั้นสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง, ช่วยปรับคุณภาพการนอนและช่วยลดความเครียดและความกังวลได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้การทำสมาธิมโนภาพนี้ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ในกลุ่มโรคต่างๆ ได้อีกด้วย โดยมุ่งเน้นเพื่อบรรเทาหรือลดอารมณ์ความรู้สึกกลัว, เครียด, วิตกกังวลและส่งเสริมสมาธิ, การคงความสนใจและการรู้คิดในผู้รับบริการ โดยในบทความนี้จะขออณุญาตกล่าวถึงการประยุกต์ใช้สมาธิบำบัดแบบGuide meditation ในผู้รับบริการกลุ่มโรค BPSD                                                                                                                                                                                             BPSD หรือ Behavioral and Psychological Symptoms of Dementia  หมายถึงกลุ่มอาการของปฏิกิริยาตอบสนองทางจิตใจ (Psychological reactions), อาการทางจิตเวช (Psychiatric symptoms) และพฤติกรรม (Behaviors) ที่ไม่ได้เกิดจากปัญหาทางความรับรู้ความเข้าใจซึ่งรวมถึงอาการผิดปกติในการรับรู้,เนื้อหาความคิด,อารมณ์หรือพฤติกรรม โดยจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผู้ดูแลเป็นอย่างมากซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาในการดูแลผู้ป่วยเกิดจากการที่ผู้ป่วยอาจแสดงอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละวัน โดยผู้ป่วยDementia ในช่วงหนึ่งของการดำเนินโรคพบมีอาการBPSDถึง 2 ใน 3 ของผู้ป่วย อาการที่มักพบได้บ่อยได้แก่ ซึมเศร้า ไม่กระตือรือร้น วิตกกังวล หงุดหงิดก้าวร้าว มีปัญหาในการนอนหลับ และอาการต่างๆมักมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางคืน (Worsening in the evening)

จากข้อมูลจากแพทย์หญิงหทัยชนนี บุญเจริญได้มีการพูดถึงวิธีการบำบัดโดยไม่ใช้ยา(Non-pharmacological Intervention)เป็นอันดับแรกซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาทางพฤติกรรม, ชะลอระยะเวลาก่อนที่จะต้องเข้าไปรับการรักษาตัวในสถานเลี้ยงดูและลดอารมณ์เศร้าหมองขุ่นเคืองใจของผู้รับบริการได้เช่น การบำบัดด้วยเสียงเพลง(music therapy) หรือการรักษาด้วยแสงสว่าง (bright light treatment)ซึ่งเราสามารถประยุกต์ใช้การทำสมาธิมโนภาพร่วมกับการบำบัดด้วยเสียงเพลงไปพร้อมกันในการบำบัดรักษาผู้รับบริการได้อีกด้วย

   การทำสมาธิสามารถทำได้ในหลากหลายท่าทาง สำหรับผู้ที่ไม่สามารถทำท่านั่งได้อย่างอิสระหรือมีข้อจำกัดก็สามารถทำสมาธิในท่านอนแทนได้ จากบทความ lying down meditation ของ Jon Kabat-Zinn การทำสมาธิในท่านอนสามารถทำได้ในท่านอนหงาย นำมือมาวางไว้ข้างลำตัว ซึ่งเป็นท่าโยคะเรียกว่า “ศพอาสนะ” การนำผ้าหรือหมอนมาวางไว้ใต้เข่าจะช่วยให้เกิดความสบายมากขึ้น และเหมาะสมหากต้องทำสมาธิเป็นเวลานาน นอกจากนี้การทำสมาธิในท่านอนยังทำให้เปิดผลดีกับผู้ป่วยที่ต้องนอนในรพ.หรือนอนเป็นเวลนาน รวมไปถึงในระหว่างการทำ CT scan หรือ MRI ที่ต้องนอนอยู่นิ่งๆเป็นเวลานาน การทำสมาธิในท่านอนจะเน้นไปที่การมโนภาพเกี่ยวกับร่างกาย การรับรู้ความรู้สึกในส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อให้มีสติอยู่กับตนเองในปัจจุบัน แน่นอนว่าประโยชน์ของการทำสมาธิทั้งในท่านอนและท่านั่งนั้นมีผลประโยชน์เหมือนกัน การทำสมาธิในท่านอนสามารถช่วยลดความรู้สึก กังวล เครียด ลดอาการซึมเศร้า ของผู้ป่วยที่ติดเตียง ต้องอยู่คนเดียว และจากบทความของ AJOT (The American Journal of Occupational Therapy) ซึ่งกล่าวถึงการใช้ Meditation-Based intervention ในผู้ป่วย dementia ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ในการรักษา

   เมื่อพูดถึงกระแสการทำ Guided meditation หรือการทำสมาธิแบบมโนภาพในประเทศไทย เราพบว่ายังไม่ได้เป็นที่แพร่หลายมากนักเมื่อเทียบกับในต่างประเทศ  โดยพบว่าการทำ Guided meditation ในต่างประเทศนั้นค่อนข้างเป็นที่แพร่หลาย เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก เนื่องจากมีการพัฒนาตัวแอพพลิเคชั่นสำหรับการทำ Guided Meditation ในรูปแบบต่างๆที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและการใช้งานในแต่ละบุคคล                                                                และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยในปัจจุบันที่มีความรุนแรงมากขึ้น และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อสภาพจิตใจของผู้คน เกิดความเครียด กังวล และอาจจะส่งผลต่ออัตราการฆ่าตัวตายของคนในสังคมในปัจจุบัน เนื่องจากปัญหาและผลกระทบที่ได้รับจากสถานการณ์โรคภัยที่เกิดขึ้น ทั้งปัญหาด้านวิธีการดำเนินชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากภาวะทางด้านเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่มีความสำคัญ และต้องได้รับการจัดการ เนื่องจากว่าอาจจะส่งผลกระทบที่ร้ายแรงต่อไปได้ในอนาคต                                                  การทำ Guided Meditation ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศที่นำมาใช้ในการลดความเครียด ความวิตกกังวล และปัญหาการนอนหลับที่เกิดขึ้น และเนื่องจากมีตัวแอพพลิเคชั่นที่หลากหลายและสามารถเข้าถึงได้ง่าย จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่วิธีการเหล่านี้ได้รับความนิยม ผู้คนสามารถทำการนั่งสมาธิในเวลาไหนก็ได้ที่ตนสะดวก ไม่จำเป็นที่จะต้องออกไปทำกิจกรรมเหล่านี้ข้างนอกบ้าน ที่อาจจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้                                             ด้วยเหตุนี้ ทางกลุ่มเราจึงเล็งเห็นความสำคัญของการทำ Guided Meditation ที่จะนำมาใช้ให้เหมาะสมกับคนในสังคมไทย โดยการนำมาทำเป็นรูปแบบที่เป็นภาษาไทย เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น และเนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเป็นพหุวัฒนธรรม แม้ว่าจะมีผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ แต่ยังมีบางส่วนไม่น้อยที่นับถือศาสนาอื่นๆ ทั้งศาสนาคริสต์ อิสลาม เป็นต้น.ด้วยเหตุนี้เอง ทางกลุ่มเราจึงมีความสนใจและอยากที่จะทำสื่อการทำ Guided Meditation ที่อำนวยความสะดวกและทำให้ทุกๆคน ทุกที่ ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าถึงกระบวนการทำ Guided Meditation เหล่านี้ได้มากขึ้น จึงเกิดไอเดีย “เสียงธรรมชาติเพื่อการบำบัด”โดยเป็นสื่อในรูปแบบคลิปเสียงทั้งหมด5นาที ซึ่งเนื้อหาในคลิปเสียงจะเป็นการนำเอาธรรมชาติมาเป็นจุดเชื่อมโยงให้กับทุกๆคน เพื่อที่สามารถเข้าใจและเข้าถึงกระบวนการเหล่านี้ได้ดีขึ้น และการนำรูปแบบคลิปเสียงมาใช้เป็นสื่อ ก็มีจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยลดสิ่งเร้าทางสายตา ที่อาจจะเป็นสิ่งที่มารบการขณะทำกิจกรรมออกไปได้ นอกจากนี้แล้ว เรายังได้นำเอาความรู้ทางกิจกรรมบำบัดที่เป็นเทคนิค Deep Breathing มาส่งเสริมและปรับใช้กับการทำ Guided Meditation ในครั้งนี้ด้วย

   การทำสมาธินับเป็นสิ่งที่ดีที่จะช่วยให้เรามีจิตใจที่สงบสุขและมีสุขภาพจิตที่ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้ทำสมาธิไม่ควรหักโหมมากนัก ควรทำสมาธิอย่างพอดีและเหมาะสมกับความสามารถของตัวเอง

เชิญรับชมวิดีโอนำเสนอข้อมูลตามลิงค์ที่แนบไว้ด้านล่างนี้:

บทความและเอกสารอ้างอิง

  1. https://www.healthline.com/health/meditation-online#Metta-Meditation-for-Mothers-Day
  2. https://www.cdc.gov/nchs/data/databriefs/db325-h.pdf
  3. https://thaicam.go.th/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/
  4. https://www.nature.com/articles/s41386-020-00791-9
  5. https://jamanetwork.com/journals/jamanetworkopen/article-abstract/2778572
  6. https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Behavioral%20and%20Psychological%20Symptoms%20of%20Dementia.pdf
  7. http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/56-4/11-Gobhathai.pdf
  8. https://link.springer.com/article/10.1007/s12671-016-0626-5
  9. https://ajot.aota.org/article.aspx?articleid=2765261
  10. https://www.hindawi.com/journals/crips/2021/6615451/
หมายเลขบันทึก: 692256เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2021 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2021 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท