Three-Track Mind ช่วยวิเคราะห์ โรคซึมเศร้า


 

Three-Track Mind

เป็นวิธีทางกิจกรรมบำบัดที่จะทำให้นักกิจกรรมบำบัดสามารถให้การบำบัดผู้รับบริการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 

  1. Interactive Reasoning (Why) การให้เหตุผลแบบมีปฏิสัมพันธ์ คือการที่ผู้บำบัดต้องทราบความต้องการ ความเข้าใจของผู้รับบริการว่า “ทำไม” จึงเลือกทำเช่นนี้ ให้เขาได้รับรู้ถึงเป้าหมายในการทำกิจกรรมนั้นๆ
  2. Conditional Reasoning (Because) การให้เหตุผลเชิงเงื่อนไข คือการให้เหตุผลได้ว่า “เพราะ” อะไรจึงทำเช่นนี้ ต้องใช้การคิดที่สร้างสรรค์ และใช้วิจารณญาณ หาเหตุผลอย่างลุ่มลึก
  3. Procedural Reasoning (How to) การให้เหตุผลอย่างเป็นขั้นตอน คือการคิดแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) ด้วยกระบวนการออกแบบความคิด (Design Thinking) ว่า “ทำอย่างไร” จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมที่สุด

 

โรคซึมเศร้าคืออะไร ?

     ‘โรคซึมเศร้า’ กับ ‘อารมณ์เศร้า’ มีความแตกต่างกัน โดยปกติ หากคนเราต้องเผชิญกับภาวะตึงเครียดหรือปัญหาที่สร้างความกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น ล้มเหลว สูญเสียบุคคลที่รัก ถูกรังแก ฯลฯ เราก็จะรู้สึกกังวล เสียใจ หรือโกรธ บางคนอาจเกิดภาวะปรับตัวไม่ได้ มีปัญหาการจัดการอารมณ์ในช่วงแรกๆ และไม่นานเราก็จะปรับตัวกลับมาเป็นปกติ

    แต่ในบุคคลที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะติดอยู่ในช่วงเวลานี้ยาวนานกว่าจนส่งผลให้เกิดการแปรปรวนของสารสื่อนำประสาทและการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์สมองบางส่วนที่เชื่อมโยงกับการทำงานด้านอารมณ์ บุคคลจะสูญเสียความสามารถในการจัดการอารมณ์โดยเฉพาะอารมณ์ด้านลบ ความคิด และพฤติกรรมของตนเอง

     นอกจากนี้ สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้ายังมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับอีกหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางประเภท โรคทางสมอง ความเจ็บป่วยทางกายที่เรื้อรัง ลักษณะนิสัย และวิธีคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองโลกในแง่ร้าย ขาดความภูมิใจในตนเอง ยึดติดกับอดีตและความบกพร่อง รวมถึงคาดหวังและวางมาตรฐานกับตนเองสูงเกินไปจนทำให้ต้องเผชิญกับความรู้สึกเครียดและผิดหวังบ่อยครั้ง เป็นต้น

 

Why : ทำไมคนยุคนี้จึงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น

Because :

     มุทธา วัธนจิตต์ นักจิตวิทยาคลินิก กล่าวว่า “ผมมองว่าเป็นเพราะสมัยก่อนคนไม่ค่อยรู้จักกันมากกว่า แต่ในช่วงหลังๆ ที่ได้รับการพูดถึงมากขึ้นก็เพราะคนเริ่มตระหนักถึงโรคนี้กันมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าหลายคนเองก็ยังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคนี้สักเท่าไร เช่น เห็นคนแค่อยู่ในอารมณ์เศร้าแล้วก็บอกว่าเขาเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งใช้กันจนเกร่อ หรือไม่ก็คิดว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะต้องดูหงอยๆ ไม่มีความสุขอย่างเดียว แต่ที่จริงคนที่ดูโวยวาย ก้าวร้าว อาละวาดก็อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าก็ได้เหมือนกันนะ”

How to :

     วิธีสังเกตอาการผิดปกติของคนเป็น “โรคซึมเศร้า”

ที่มา : https://www.sompo.co.th/home/sompo-article/Sompo-blog-article-listing/area-body/Know%20more%20about%20Sompo/blog%20content%2016.html

     ลักษณะการเปลี่ยนแปลงถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะสังเกตว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

     ลักษณะเด่นของผู้เป็นโรคซึมเศร้าที่สำคัญเลยคือ “อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ความคิดที่เปลี่ยนไป”

     หากแต่ก่อนเคยเป็นบุคคลที่มีลักษณะร่าเริงแจ่มใส แล้วกลายเป็นคนเศร้า หดหู่ สะเทือนใจง่าย เจ้าน้ำตา จะทำให้ดูออกง่าย แต่บางรายอาจหม่นหมองไม่แจ่มใส เบื่อไปซะทุกอย่าง สิ่งที่เคยทำแล้วชอบแต่ตอนนี้กลับไม่ชอบเช่นเดิมแล้ว ยังมีอาการฉุนเฉียวร่วมด้วย ถึงขั้นไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้

  • เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม
  • รู้สึกเศร้า ท้อแท้ และสิ้นหวัง
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า
  • รู้สึกผิดและโทษตนเองตลอดเวลา
  • ขาดความสนใจหรือความเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • เคลื่อนไหวช้างลงหรือกระสับกระส่าย
  • เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา
  • ขาดสมาธิ ความสามารถในการคิดและการตัดสินใจน้อยลง
  • เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
  • นอนมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย
  • มีปัญหาในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม

     จะทำอย่างไรดีหากต้องรับมือกับโรคซึมเศร้า

    แม้ว่าโรคซึมเศร้าจะเป็นโรคที่ใกล้ตัวเรา แต่ปัจจุบันสามารถรักษาให้หายได้ด้วย 3 วิธีหลักๆ ซึ่งควรทำร่วมกันอย่างต่อเนื่องตามแผนการรักษาที่แตกต่างไปตามแต่ละบุคคล 

  1. การรักษาด้วยยาต้านเศร้า ซึ่งจะถูกพิจารณาตามความจำเป็นและความเหมาะสมโดยจิตแพทย์
  2. การทำจิตบำบัดกับนักจิตบำบัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจในปัญหาและข้อขัดแย้งภายในใจของตนเอง ปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมด้านลบ เพิ่มความตระหนักรู้และทักษะการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับคนรอบข้าง
  3. การจัดระบบและปรับสมดุลการใช้ชีวิต เช่น เปลี่ยนตัวเองจากการจมอยู่กับความจำเจด้วยการท้าทายตัวเองให้ลองทำสิ่งใหม่ๆ ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้รู้สึกปลอดภัยและผ่อนคลาย จัดตารางการทำงานและพักผ่อนให้สมดุล กินอาหารที่มีประโยชน์และเข้านอนเป็นเวลา ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อสร้างความสมดุลของร่างกาย จิตใจ และสมาธิ เป็นต้น

 

“กอด”การบำบัดที่น่าอัศจรรย์

     การกอด คือการแสดงความรักที่นิยมใช้กันทั่วโลก เป็นภาษากายที่ใช้ทักทายและบอกลาแก่เพื่อน ครอบครัว หรือแม้กระทั่งเพื่อนร่วมงานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายกว่าการจูบ นอกจากการกอดจะมีค่ามากกว่าการเป็นสื่อแสดงความรักแล้วยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงอาจมองข้ามความสำคัญของการกอด แต่หารู้ไม่ว่า การกอดมีค่ามากกว่าแค่การเป็นสื่อแสดงความรักแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณอีกด้วย

Why : ทำไมการกอดถึงช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าได้

Because : 

     เมื่อได้กอดใครหรือเมื่อถูกกอด เรามักมีความรู้สึกอ

บอุ่นและสบายใจ ความรู้สึกนี้เกิดจากฮอร์โมนที่ร่างกายของเราผลิตระหว่างการกอดเรียกว่า ออกซิโตซิน (oxytocin) ฮอร์โมนออกซิโตซินมีประโยชน์ในด้านการเสริมสร้างพฤติกรรมเอื้อสังคม (prosocial behaviors) และเป็นสารช่วยต้านความซึมเศร้า ดังนั้นเมื่อเรากอดใครสักคนนานกว่า 20 วินาที ร่างกายจะหลั่งสารออกซิโตซินออกมาในระดับสูง และมีส่วนช่วยในการลดความเครียดและความวิตกกังวลลง

How to :

     วิธีการกอด Dr. Sidney Simon อธิบายวิธีการกอด ดังนี้

  1. คน 2 คนอยู่ด้วยกัน มองหน้าซึ่งกันและกัน
  2. ไม่มีท่าทางที่ปฏิเสธการกอด
  3. ในการกอดแต่ละครั้งให้แสดงอย่างเต็มที่ถึงบุคลิกและสิ่งที่คุณต้องการมอบให้
  4. กอดโดยถ่ายทอดความรู้สึกที่สมบูรณ์และปราศจากความกลัว
  5. เป็นการสื่อสารที่ไม่ต้องใช้คำพูดให้ยุ่งยาก

                                                            ….  วันนี้คุณกอดใครแล้วหรือยัง? ….

     ซาเทียร์ Virginia Satir (family therapist) กล่าวว่า

  • คนเราต้องการการกอดวันละ  4 ครั้ง เพื่อการดำรงชีวิต
  • คนเราต้องการการกอดวันละ  8 ครั้ง เพื่อการดำเนินชีวิต
  • คนเราต้องการการกอดวันละ 12 ครั้ง เพื่อการเจริญเติบโต

 

Why : ทำไมผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจึงสามารถรักษาด้วยการรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าได้

Because :

     โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นอันมากแต่โรคซึมเศร้าก็สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยารักษาซึมเศร้า หรือยาต้านเศร้า (antidepressants)

     การออกฤทธิ์ของยาต้านเศร้าในปัจจุบันมุ่งไปที่การแก้ไขสมดุลของสารเคมีในสมอง (neurotransmitters) ที่ควบคุม กำกับดูแลสมดุลของอารมณ์ แรงจูงใจ ความอยากอาหาร คือ เซอโรโทนิน (serotonin) โดพามีน (dopamine) และ นอร์อิพิเนฟรีน (norepinephrine)

     การรักษาโรคซึมเศร้า จำเป็นต้องอาศัยการกินยาต้านเศร้าอย่างต่อเนื่อง บางรายอาจต้องอาศัยการทำ cognitive behavioral therapy (CBT) ร่วมด้วย และเนื่องจากยาออกฤทธิ์ปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้นต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษาและรอการออกฤทธิ์เต็มที่ของยา (เช่น fluoxetine ใช้เวลาในการเริ่มเห็นฤทธิ์ในการรักษาคือ 1-2 สัปดาห์ และเห็นผลการรักษาเต็มที่ภายใน 1 เดือน หรือ nortriptyline เริ่มเห็นผลการรักษาภายใน 14 วัน) ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับทราบและเภสัชกรต้องอธิบายลักษณะการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาตามสั่งได้

How to :

  1. อาการของโรคไม่ได้หายทันทีที่กินยา โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไปอาการจึงจะดีขึ้นอย่างเห็นชัด แต่ยาก็ยังมีส่วนช่วยในระยะแรกๆ โดยทำให้ผู้ป่วยหลับได้ดีขึ้น เจริญอาหารขึ้น เริ่มรู้สึกมีเรี่ยวแรงจะทำอะไรมากขึ้น ความรู้สึกกลัดกลุ้มหรือกระสับกระส่ายจะเริ่มลดลง
  2. ยาทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งสิ้น แม้ว่าโอกาสที่เกิดอาการข้างเคียงจะมากน้อย และมีความรุนแรงต่างกันไป การใช้ยาจึงควรใช้ในขนาดและกินตามเวลาที่แพทย์สั่งเท่านั้น หากมีความจำเป็นที่ทำให้กินยาตามสั่งไม่ได้ และควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งหากเกิดอาการใดๆ ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นอาการข้างเคียงหรือไม่
  3. ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่กล้ากินยามากตามที่แพทย์สั่ง แพทย์สั่งกิน 4 เม็ดก็กินแค่ 2 เม็ด หรือกินบ้างหยุดกินบ้าง เพราะกลัวว่าจะติดยา หรือกลัวว่ายาจะไปสะสมอยู่ในร่างกาย แต่ตามจริงแล้วยาแก้ซึมเศร้าไม่มีการติดยา ถ้าขาดยาแล้วมีอาการไม่สบาย นั่นเป็นเพราะว่ายังไม่หายจากอาการของโรค การกินๆ หยุดๆ หรือกินไม่ครบขนาดกลับจะยิ่งทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี และรักษายากมากขึ้น
  4. ยาแก้ซึมเศร้ามีอยู่เป็นสิบขนาน จากการศึกษาไม่พบว่าตัวไหนดีกว่าตัวไหนอย่างชัดเจน เรียกว่าผู้ป่วยคนไหนจะถูกกับยาตัวไหนเป็นเรื่องเฉพาะตัว หรือ ลางเนื้อชอบลางยา ซึ่งโดยรวมแล้วก็มักจะรักษาได้ผลทุกตัว การใช้ยาขึ้นอยู่กับว่าแพทย์มีความชำนาญ คุ้นเคยกับการใช้ยาขนานไหน และผู้ป่วยมีโรคทางกายหรือกำลังกินยาอื่นๆ ที่ทำให้ใช้ยาบางตัวไม่ได้หรือไม่ ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะตอบสนองต่อยาแก้ซึมเศร้าตัวแรกที่ให้ หากอาการยังไม่ดีในระยะแรกๆ อาจเป็นเพราะยังปรับยาไม่ได้ขนาด หรือยังไม่ได้ระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์ได้เต็มที่เสียมากกว่า ถ้าแพทย์รักษาไประยะหนึ่งแล้ว และเห็นว่าให้ยาในขนาดที่พอเพียงแล้วผู้ป่วยยังอาการดีขึ้นไม่มาก ก็อาจเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นต่อไป

 

 

อ้างอิง :

ไขปริศนามืดมนของโรคซึมเศร้า ตอนที่ 1: ทำไมคนยุคนี้ถึงซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าโดยละเอียด

รู้จัก “ยารักษาโรคซึมเศร้า”

พลังแห่งการกอด

Hug Therapy: การบำบัดด้วยการกอด

สังเกตและรับมืออย่างไรกับคนใกล้ตัวที่เป็นโรคซึมเศร้า

 

นางสาวคณิตา ฉัตรธนพงศ์ 6323015

หมายเลขบันทึก: 692251เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2021 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2021 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท