การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้


ชื่อเรื่อง   : การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์

                 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 

                 ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้

ผู้วิจัย      : อรุณรัตน์ บุญล้อม, โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์   

                  ปีการศึกษา 2562.

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้  3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงานชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีขั้นตอนในการวิจัย  ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือครูผู้สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 8 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของนวัตกรรมและนักเรียนจำนวน 43 คน เพื่อศึกษาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  นวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้การวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  2)  แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ 3) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องงานและพลังงาน และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (

) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (

การหาค่า IOC และการหาประสิทธิภาพโดยการใช้สูตร 

ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงานชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 32 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (

) ค่าร้อยละ (Percentage)  และการทดสอบค่าที (t-test แบบ Dependent sample) 

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 32 คน และครูผู้สอน จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน 2) แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อการนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (

) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)   

 

ผลการวิจัย พบว่า

  1. สภาพปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 ที่พบคือ นักเรียนขาดความสนใจในการเรียนเพราะเป็นวิชาที่มีเนื้อหามากและค่อนข้างยาก นักเรียนไม่มีการช่วยเหลือกันระหว่างเรียน ครูจัดกิจกรรมการสอนไม่น่าสนใจ ขาดการใช้สื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ควรพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ คละความรู้ความสามารถของนักเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมมือช่วยเหลือกันระหว่างเรียน  มีเป้าหมายในการเรียนร่วมกัน ครูจัดทำสื่อการเรียนที่น่าสนใจ จัดเนื้อหาการเรียนรู้ที่กระชับนักเรียนเข้าใจง่าย นักเรียนสามารถเรียนรู้ ทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตนเองได้ทั้งในและนอกเวลาเรียน รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมคือการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD และนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้มาใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนรู้   
  2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD จำนวน 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นการนำเสนอบทเรียนต่อชั้นเรียน (2) ขั้นการเรียนกลุ่มย่อย (3) ขั้นการทดสอบย่อย (4) ขั้นตรวจผลการทดสอบและประเมินความก้าวหน้าและ (5) ขั้นรับรองผลงานและรับรองกลุ่ม มีจำนวน 18 แผนฯ รวม 36 ชั่วโมง ที่มีความเหมาะสมในระดับมากและมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สอดคล้องกัน  2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องงานและพลังงาน มีจำนวน 18 ชุด ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและผลการหาประสิทธิภาพการใช้แผนการจัดการเรียนรู้และชุดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ  80.97/81.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
  3. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคะแนนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด
  4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์งานและพลังงานที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD  ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากและครูผู้สอนเห็นว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากต่อการนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

 

 

คำสำคัญ (Tags): #วิทยาศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 692244เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2021 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2021 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท