การรักษาโรคซึมเศร้าด้วย TTM


      คุณคงเคยได้ยินและพบเห็นข่าวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายในปัจจุบันใช่ไหมคะ แล้วคุณเคยสงสัยกันไหม ว่าทำไมพวกเขาถึงฆ่าตัวตาย งั้นวันนี้เราลองไปทำความรู้จักในมุมมองของพวกเขากันเลยค่ะ 

การฆ่าตัวตาย

      เกิดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุใหญ่ที่ทำให้คนฆ่าตัวตาย เกิดจากโรคซึมเศร้า คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีความรู้สึกเบื่อรุนแรงแทบทุกอย่างในชีวิต เบื่อที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป ความเศร้าที่รุนแรงมากๆอาจทำให้คิดว่าตนเองผิด ไร้ค่า และคิดอยากตาย การตายจึงเป็นเหมือนทางออกของปัญหาในระยะสั้น ไม่ต้องเผชิญปัญหาต่อไป ความคิดของคนจะฆ่าตัวตาย มักไม่เห็นหนทางแก้ไขปัญหา ชีวิตมืดมน และหมดหวัง ทั้งๆที่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ถ้าพวกเขาได้รับการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างถูกต้องพวกเขาก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ 

 อาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้า  

• อารมณ์ไม่สนุกสนาน ไม่ร่าเริงเหมือนเดิม ไม่มีความสุข เบื่อ ท้อแท้ เครียด หงุดหงิด และเศร้า
• หมดความสนใจในสิ่งต่างๆ เบื่อสิ่งที่เคยทำแล้วสนุก มีความสุข ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากเจอใคร
• เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก (หรือบางคนกินมากเพื่อให้หายเครียด น้ำหนักเพิ่มขึ้น)
• นอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ หรือตื่นเร็วกว่าเดิม 2-3 ชั่วโมงแล้วนอนต่อไปไม่ได้ (แต่บางคนนอนมากขึ้นเนื่องจากไม่อยากทำอะไร นอนแต่ก็ไม่หลับ)
• เหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร
• ความคิดช้า การเคลื่อนไหวช้า
• สมาธิความจำเสีย ตั้งใจทำงานไม่ได้ ลังเลตัดสินใจลำบาก
• คิดว่าตัวเองไร้ค่า ทำผิด ทำไม่ดี คิดต่อตัวเองไม่ดี
• อยากตายและฆ่าตัวตาย
      อาการของโรคมักเริ่มจากเป็นน้อยๆ มากขึ้นช้าๆ หรือรวดเร็ว อาจมีหรือไม่มีสาเหตุจากการสูญเสียหรือความเครียดทางจิตใจ ถ้ามีสาเหตุทางจิตใจ มักเป็นความเครียดในชีวิต เช่น ปัญหาการเรียน การทำงาน หรือความสูญเสียในชีวิต เช่น (สอบตก อกหัก คนรักเสียชีวิต หย่าร้าง ตกงาน) โรคซึมเศร้ารักษาไม่ยาก  เนื่องจากโรคนี้เกิดจากการแปรปรวนของสารสื่อนำประสาท ที่สามารถแก้ไขได้ด้วยยารักษาโรคซึมเศร้า ร้อยละ 80 หายได้เมื่อได้รับยาร่วมกับการรักษาทางจิตใจ

คนที่กำลังคิดฆ่าตัวตายนั้น  บางทีแสดงออกเป็นพฤติกรรมให้รู้ได้  

เช่น
• บางคนเปรยๆให้คนใกล้ชิดฟัง เช่น “รู้สึกเบื่อจัง ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม”
• บางคนพูดเป็นเชิงฝากฝัง สั่งเสีย เช่น “ฝากดูแลลูกด้วยนะ”
• บางคนดำเนินการบางอย่าง เช่น ทำพินัยกรรม โอนทรัพย์สมบัติให้ลูกหลาน

วันนี้เราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีการทางกิจกรรมบำบัดนั่นก็คือ Three-Track mind (TTM) ประกอบไปด้วย 

 1.Interactive Reasoning (Why) ควบคู่กับการคิดเป็นระบบ หรือ Systematic Thinking เช่น

•Needs Assessment ความต้องการ ความจริง ความเข้าใจ ความรัก ความศรัทธา ความไม่รู้
•Impact Assessment ผลกระทบต่อความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต
•Occupational Profile Assessment อ้างอิงหลักการกิจกรรมบำบัด ให้เห็นภาพรวม PEOP หรือ Person-Environment-Occupation-Performance        

2. Conditional Reasoning (Because …) ควบคู่กับการคิดเกี่ยวกับระบบ หรือ Systemic Thinking เพื่อ Balancing: Creative & Critical Thinking on Big Data Management เช่น 

•Temporary Vs Permanent 

•Impairment Vs Disability                                                                                       

 3. Conditional Reasoning to Procedural Reasoning (How to) ด้วยกระบวนการคิดออกแบบ (Design Thinking) เพื่อคิดแก้ปัญหาสังคมเชิงระบบ (Systems Thinking)

เรามาดูตัวอย่างการใช้ TTM กันเลยค่ะ

 

1. การพูดกับผู้ป่วยซึมเศร้า

Why

ทำไมไม่ควรพูดคำว่า “พยายามอีก” กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

Because …

คำพูดนี้อาจจะเป็นคำพูดง่ายๆ แต่เวลาที่เราต้องพูดกับคนที่อ่อนไหวมากๆ หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้า คำพูดนี้จะทำให้เขารู้สึกล้มเหลวมากขึ้น พลังในตัวลดน้อยลงไป  รู้สึกห่อเหี่ยวใจมากขึ้น ท้อแท้ การขอให้พยายามขึ้นอีกคงไม่ช่วยอะไร เพราะไม่มีแรงที่จะทำ อีกทั้งผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจเก็บไปคิดว่าสิ่งที่ตนเองทำมาทั้งหมดก่อนหน้านี้หากไม่เรียกว่าพยายามแล้วจะเรียกว่าอะไร

How to

1. ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นประมาณว่า “มีอะไรให้ฉันช่วยบ้าง” “ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นฉันจะอยู่เคียงข้างคุณ” เหมือนทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รู้สึกว่าตนพยายามสู้อยู่คนเดียว แต่ยังมีเราอยู่ข้างๆ คอยซัพพอร์ต และพร้อมที่จะช่วยเขาเสมอ

2. พยายามพูดคุยและชี้ให้ผู้ป่วยมองเห็นข้อดีของตัวเองเสมอ เพราะหัวใจของการรักษาผู้ป่วยซึมเศร้านอกเหนือจากการใช้ยาแล้ว คือการทำให้ผู้ป่วยมองเห็นคุณค่าในตัวเอง ทำให้อยากมีชีวิตอยู่ต่อและมีกำลังใจสู้ในวันต่อๆไป

3. ควรฟังสิ่งที่ผู้ป่วยพูดอย่างตั้งใจ มีท่าทีที่สบาย ไม่กดดันและไม่ตัดสินใจแทน และที่สำคัญทั้งสีหน้า แววตา น้ำเสียง จังหวะลมหายใจ ควรแสดงออกมาอย่างจริงใจทำให้เขามีความรู้สึกว่ามีคนอยากรับฟังและอยากช่วยเขาจริงๆ     

 

2. การตั้งคำถามตรงๆกับผู้ที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย

Why

ทำไมเราจึงควรถามตรงๆกับผู้ที่มีความคิดจะฆ่าตัวตายว่า “คุณเคยคิดหาวิธีทำร้ายตัวเองบ้างไหม”

Because …

เพราะเขาอาจมีเรื่องมากมายในใจที่ไม่สามารถพูดกับใครได้  ถ้าหากเขาได้พูดสิ่งที่คิดออกมาอาจจะทำให้เขารู้สึกดีขึ้น เหมือนว่าเขาได้ระบายออกมา และทำให้เราทราบถึงเหตุผล ความคิด ความรู้สึกของเขา

How to

1. หลังจากที่เราถามคำถามตรงๆกับเขาแล้ว  เราต้องรับฟังและรับรู้ถึงความรู้สึกของเขา ซึ่งคำถามที่ถามจะไม่เพิ่มความคิดที่อยากจะฆ่าตัวตายของเขา แต่จะให้ข้อมูลที่บ่งบอกว่า บุคคลนั้นคิดที่จะฆ่าตัวตายมากน้อยเพียงใด หรือมีความเสี่ยงของเขาอยู่ในระดับใด สุดท้าย  ให้ถามต่อไปว่า “มีอะไรยับยั้งใจ จนทำให้เขาไม่ลงมือทำ หรือหยุดความคิดนี้”

2. หลังจากรับรู้มาแล้ว เราควรพยามยามทำความเข้าใจความรู้สึกและความคิดของเขา

3. คอยให้คำปรึกษาและใช้คำพูดที่ทำให้เขารู้สึกดี เช่น “ฉันจะอยู่ข้างๆ คุณ เผื่อว่าฉันจะช่วยคุณได้บ้าง” “อยากให้ฉันกอดไหม” “คุณไม่ได้อยู่คนเดียวนะ” เป็นต้น

4. พยายามทำให้เขาคิดในแง่บวกเข้าไว้ เช่น พูดให้เห็นถึงข้อดีของตัวเอง จินตนาการว่ามีสิ่งดีๆเกิดขึ้น รับข้อมูลข่าวสารที่ดี เป็นต้น

5. ชวนให้เขาลุกไปทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว  เช่น กีฬาเบาๆ หรือเล่นเกมส์ง่ายๆ เพราะจะช่วยลดยววามคิดฟุ้งซ่าน ความกังวล และคิดหดหู่ เป็นต้น นอกจากนี้การเคลื่อนไหวยังช่วยหลั่งสารความสุขอย่างเอ็นโดรฟินออกมา ซึ่งให้ผลใกล้เคียงกับการใช้ยา                
                                                                                                                                  

3. ทหารผ่านศึกชาวอเมริกัน             

Why

ทำไมทหารผ่านศึกชาวอเมริกัน ถึงมีอัตราการฆ่าตัวตายมากกว่าผู้ใหญ่ปกติในวัยเดียวกัน?

Because …

ทหารผ่านศึกส่วนใหญ่มักคิดว่าการกลับจากศึกสงครามคือการสิ้นสุดสถานการณ์เลวร้าย ชีวิตที่ปกติกำลังกลับมา ทั้งรู้สึกมีอิสระและปลอดภัยมากขึ้น ไม่ต้องกลัวตายระหว่างภารกิจสู้รบอีกต่อไป แต่ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะสภาพจิตใจทหารผ่านศึกมีความซับซ้อน สับสน เสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยทางจิตเป็นอย่างมาก ซึ่งความเครียดมาจากประสบการณ์ที่โหดร้ายในสงคราม จนนำไปสู่ “การบาดเจ็บทางศีลธรรม” ความเสียหายจากการบาดเจ็บทางศีลธรรมนี้ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยและสูญเสียความเป็นตัวเอง จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มฆ่าตัวตาย ทั้งยังมีปัญหาในเรื่องความรุนแรงและอารมณ์ ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาเชิงสัมพันธ์และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ทหารผ่านศึกจะมีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกผิดที่ฝังรากลึกไปทำลายระบบความเชื่อของเขา  นอกจากนี้ยังนำไปสู่ความไม่เชื่อความคิดตัวเอง เกลียดชังตัวเอง ที่ร้ายแรงที่สุด คือการจมอยู่กับความรู้สึกผิดและความอับอาย และท้ายที่สุดทำให้เขาแยกตัวออกจากทุกคน  ซึ่งการบาดเจ็บทางศีลธรรมเป็นสิ่งที่ยอมรับและเข้าใจกันโดยทั่วไปในหมู่ทหารผ่านศึก แต่ไม่เป็นที่เข้าใจเมื่อพูดถึงประชาชนทั่วไป

How to

*(คุณในที่นี้หมายถึงทหารผ่านศึก)

1. ขั้นแรกคุณควรลองเปิดเผยตัวเองกับเพื่อนในจินตนาการ คิดว่าเพื่อนคนนั้นเขาไม่เคยรู้จักคุณ และไม่รู้อะไรเกี่ยวกับตัวคุณเลย แต่เขาพร้อมที่จะรับฟังคุณในทุกๆเรื่อง คุณไม่จำเป็นต้องกังวลหรือกลัวอะไร หาพื้นที่ที่สะดวกสบายและเงียบสงบให้เปิดใจเกี่ยวกับประสบการณ์ของคุณ ปล่อยให้คำพูดลื่นไหล ปล่อยไปตามอารมณ์และความรู้สึกขอคุณ คุณสามารถพูดถึงเรื่องราวในอดีต สาเหตุของการบาดเจ็บหรืออะไรก็ได้ที่คุณรู้สึก ในขณะที่จินตนาการว่าพวกเขากำลังพูดคุยกับคุณ ให้คุณมองให้เห็นภาพที่พวกเขายอมรับตัวตนของคุณ และให้อภัยคุณในทุกๆเรื่อง ด้วยวิธีนี้คุณจะเริ่มพบความเห็นอกเห็นใจตัวเอง                                                                 

2. ต่อไปให้ลองทำการบำบัดแบบกลุ่ม การบำบัดแบบนี้ให้ความสบายใจบางอย่างที่ทำให้คุณรู้สึกว่าคุณไม่ใช่คนเดียวที่รู้สึกเหมือนคุณ  การที่ถูกรายล้อมไปด้วยผู้คนที่สามารถเข้าใจคุณ ทำให้มีการแบ่งปันประสบการณ์ที่คล้ายๆกันกับผู้อื่น ทำให้คุณเปิดใจมากขึ้น ยอมรับความเจ็บปวดที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังสามารถปลูกฝังความหวังและช่วยให้กลับมามีความรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ยิ่งใหญ่และยังทำให้เรียนรู้วิธีปล่อยวางพร้อมเรียนรู้วิธีเชื่อมความสัมพันธ์อีกครั้ง       

3. เมื่อคุณรู้สึกปล่อยวางและพร้อมที่จะเชื่อมสัมพันธ์อีกรั้ง คุณควรเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งที่คุณชอบหรือสนใจ เนื่องจากการบาดเจ็บทางศีลธรรมมักนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรงอาจทำให้แยกตัวเองออกจากสิ่งที่ชอบ หากคุณต้องการเอาชนะการบาดเจ็บทางศีลธรรมคุณต้องกลับมามีส่วนร่วมกับความสนใจของคุณอีกครั้ง แต่นั่นต้องใช้ความตั้งใจของคุณ

4. หากคุณทำทุกอย่างจนมาถึงขั้นนี้แล้ว รับรองได้เลยต่อคุณต้องพบกับความสดใสและความสุขในชีวิตได้อย่างแน่นอน ให้คุณเข้าใจว่าอนาคตกำหนดคุณได้มากกว่าอดีต ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของการบาดเจ็บทางศีลธรรมคือทำให้เราจมปลักอยู่กับอดีต  คุณสามารถเลือกที่จะทำสิ่งต่างๆในตอนนี้เพื่อเปลี่ยนแปลงอนาคตของคุณได้ มุ่งเน้นไปที่อนาคตแทนที่จะเป็นอดีต คุณต้องยอมให้ตัวเองกำหนดโชคชะตาของคุณเองอีกครั้ง ใช้ความกล้าหาญและความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่ต้องกดดันตัวเอง เริ่มต้นทีละเล็กทีละน้อยในแต่ละวัน พยายามหาทางไปเรื่อยๆ แต่อย่าลืมว่าคุณไม่ได้พยายามอยู่คนเดียว  ในโลกนี้ยังมีผู้คนอีกมากมายที่กำลังพยามไปพร้อมกันกับคุณ พยายามจนกว่าคุณจะสามารถมองไปยังอนาคตได้มากกว่าอดีตและเอาจิตใจภายในที่สดใสและมองโลกในแง่ดีที่คุณตั้งใจจะเป็นมาตลอดกลับมาให้ได้     

5. เมื่อคุณมีความพร้อมที่จะออกไปใช้ชีวิตแล้ว คุณควรเริ่มจากงานอาสาสมัครหรือจิตอาสา เพราะจะช่วยสร้างความรู้สึกมีค่า การได้ทำอะไรเพื่อคนอื่นเหมือนได้ปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกในอดีตของคุณสามารถเปลี่ยนความคิดเชิงลบให้เป็นความคิดเชิงบวกที่มีผลดีต่อทัศนคติและพฤติกรรมของคุณได้   

เราทุกคนมีส่วนร่วมในการป้องกันการฆ่าตัวตาย 

ดังนี้
• สนใจ ใส่ใจ สังเกตตนเอง เพื่อนๆ และคนใกล้ชิด ว่ามีอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่ ถ้ามี ให้ถามว่ามีความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือไม่
• ถ้าตนเองเกิดโรคซึมเศร้า ให้ปรึกษาทีมสุขภาพจิตโดยเร็ว 
• แนะนำผู้ที่ซึมเศร้า มาพบทีมสุขภาพจิต

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆและรูประกอบสวยๆค่ะ 

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1774148

https://www.pinterest.com/threetrackmind/_created/

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=516

http://www.jvkk.go.th:8080/web_jvkk_th/index.php/viewnew/form/detail_id/2337

https://ichi.pro/th/xeachna-kar-bad-ceb-thang-sil-thrrm-khxng-rea-71059214410334

https://www.pinterest.com/scomeprosper123/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%B0/

https://th.pngtree.com/freepng/american-army-veterans-holding-friends-during-war-designed-to-commemorate-day-memorial-and-independence_5874566.html

https://www.thaihealth.or.th/Content/49918-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2+.html

https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article/Details/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95/Do%E2%80%99s---Don%E2%80%99t-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99--%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2-

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 692227เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2021 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2023 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท