ประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ Ep.1


ผมเข้าสู่ตำแหน่งสายบริหาร ตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นเวลา ๖ เดือน ต้องได้รับการประเมินตามเกณฑ์ การประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตามตัวชี้วัดที่กำหนด จำนวน ๓ ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดแรกมีการดำเนินการดังนี้

ตัวชี้วัดที่ ๑.๑ การบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้

           การบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านลำนางรอง ได้จัดทำและดำเนินการตามแผนการพัฒนาคุณภาพและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร มีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยมีการจัดการเรียนรู้ทั้งรูปแบบ การระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลัก และเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป. 1 พัฒนาครูทุกคนให้มี ความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการ จัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูลได้แก่ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ มุมความรู้ ครูในสายชั้นเดียวกันร่วมกันกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดและประเมินผลแบบ บูรณาการ ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนนอกจากนี้ สถานศึกษาได้มีการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เน้นการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ และรู้เท่าทันสื่อและสิ่งไม่พึงประสงค์” รวมทั้งการจัดกิจกรรมตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม โดยการจัดกิจกรรมโครงงานคุณธรรมระดับชั้น ระดับโรงเรียน เพื่อส่งเสริมคุณธรรมกับนักเรียน ทุกระดับชั้น จัดกิจกรรมการพัฒนาให้เหมาะสมกับวัย พัฒนาคุณธรรมผู้เรียนตาม เน้นให้ผู้เรียนมีพอเพียง วินัย รับผิดขอบ มีจิตสาธารณะ รักษ์สิ่งแวดล้อมและความซื่อสัตย์ มีระบบการแนะแนว และการดูแลสุขภาวะจิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนการสอน และมีการเรียนรู้ในโลกกว้าง การเข้าไปศึกษากับภูมิปัญญาในชุมชนรอบๆ สถานศึกษา

          ผลที่เกิดจากการบริหารงานวิชาการด้านผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ผู้เรียนสามารถอ่านออกและอ่านคล่องตามมาตรฐานการอ่านในแต่ละระดับชั้น สามารถเขียนสื่อสารได้ดี รู้จักการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีตามหลักประชาธิปไตย กล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์    ได้อย่างสร้างสรรค์ สืบค้นข้อมูลหรือแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีได้ ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดีสำคัญจำเป็น รวมทั้งรู้เท่าทันสื่อและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนรู้และตระหนักถึงโทษและพิษภัยของสิ่งเสพติด ต่างๆ เลือกรับประทานอาหารที่สะอาด และมีประโยชน์ รักการออกกำลังกาย นักเรียนทุกคนสามารถเล่นกีฬาได้อย่างน้อยคนละประเภท ยอมรับในกฎกติกาของกลุ่ม     ของสถานศึกษาของสังคม มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รวมถึงมีความเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างวัย ทั้งนี้มีผลการดำเนินงานเซิงประจักษ์จากการประเมินในด้านต่าง ๆ เช่น ผลการประเมินทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (RT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓   รวม ๒ สมรรถนะ สูงกว่าระดับประเทศ ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ พัฒนาขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖๒ ร้อยละ ๒.๕๔ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ พัฒนาขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖๒ ร้อยละ ๒.๗๓ ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ รายวิชาภาษาไทยสูงกว่าระดับประเทศ

           การบริหารงบประมาณ การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา โรงเรียนบ้านลำนางรอง  มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพ ปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและ สังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้ สถานศึกษามีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนา และนโยบายการปฏิรูปการศึกษา โดยผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพัฒนาและร่วมรับผิดชอบผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการร่วมวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและรับทราบ รับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาสถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษา ที่เหมาะสมเป็นระบบและต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสถานศึกษามีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนา ผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา สถานศึกษามีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากภาคีเครือข่าย ส่งผลให้สถานศึกษามีสื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ มาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยการบริหารตามแผนปฏิบัติการในการใช้งบประมาณ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีความโปร่งใส โดยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เช่น ได้งบประมาณจากการระดมทุนจากชุมชน เพื่อปรับปรุงอาคารเรียน และระดมทุนจากองค์กร/หน่วยงาน การสนับสนุนการจัดงานกีฬา การบริจาควัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อใช้ในงานบริหารจัดการศึกษา   และหนังสือต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา เป็นต้น

          การบริหารงานบุคคล การส่งเสริมวินัย การรักษาวินัย จรรยาบรรณวิชาชีพและการพัฒนาทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านลำนางรองนำโดยผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญกับการส่งเสริมวินัย การรักษาวินัย จรรยาบรรณวิชาชีพ และการพัฒนาทางวิชาชีพ ได้ร่วมจัดทำแผนงาน โครงการและกิจกรรมที่ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยวิธีการหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นเพื่อใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษา ด้านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมครู ให้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มเวลา และความสามารถ สถานศึกษาจัดระบบให้ครูประเมินตนเองรายบุคคลตามแผนพัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียน พัฒนาบุคลากรโดยส่งเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานที่ได้รับมอบหมายติดตามผลการนำไปใช้และผลที่เกิดกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพ พัฒนาตนเองในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ 

           ผลที่เกิดจากการบริหารงานบุคคล การส่งเสริมวินัย การรักษาวินัย จรรยาบรรณวิชาชีพและการพัฒนาทางวิชาชีพ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและสถานศึกษา ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ รางวัลผลงานที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) เป็นต้น ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพ ร้อยละ ๙๐ 

           การบริหารงานทั่วไป และการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน ท่านผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ร่วมกันกำหนดนโยบาย การวางแผนงานและดำเนินการตามแผนการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานธุรการที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษาพร้อมการให้บริการที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ตลอดเวลา (one stop service) วางแผนในการพัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซม อาคารสถานที่และระบบสาธารณูปโภคให้มีความพร้อมต่อการใช้งาน อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ผู้บริหาร มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมอย่าสม่ำเสมอ พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือ การสนับสนุน ด้านต่างๆจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชนเป็นอย่างดี เช่น การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา การระดมทุนในการสนับสนุนการศึกษา การปรับปรุง    ภูมิทัศน์ กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ รวมทั้งงานประเพณี งานบุญ

           โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วมการประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัย ทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ชัดเจน มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียน มีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตรของสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ มีการดำเนินการ นิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาเป็นฐานในการวางแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

หมายเลขบันทึก: 692218เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2021 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2021 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท