Three-track Mind (TTM)


สัญญาณเตือนเหล่านี้อย่าถือเป็นเรื่องล้อเล่น เพราะคนที่คิดอยากตายหรือจะฆ่าตัวตายกำลังวางแผนที่จะทำจริง ๆ

   ทำไมคนเราถึงคิดที่จะฆ่าตัวตาย? (WHY)

       แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าพวกเขากำลังคิดจะฆ่าตัวตาย

       คนที่คิดฆ่าตัวตายมักจะเกิดอารมณ์ซึมเศร้านำมาก่อน พวกเขากำลังตกอยู่ในสภาวะที่รับมือกับความลำบากหรืออุปสรรคในชีวิตไม่ได้ พวกเขาอาจกำลังมีความคิดหรือความเชื่อบางอย่างที่ผิดไป แล้วมีสัญญาณอะไรบ้างที่จะทำให้เรารู้ว่าคนใกล้ตัวของเรากำลังคิดอยากจะฆ่าตัวตาย ในระยะเริ่มเเรกอาจเริ่มต้นจาก อารมณ์เบื่อ ไม่สนุกสนาน ไม่ร่าเริงแจ่มใส เบื่ออาหาร อยากอยู่คนเดียวเงียบ ๆ ไม่อยากพูดคุยกับใคร ฉุนเฉียวง่าย หงุดหงิด ง่าย กังวลง่าย ท้อแท้ เกิดการสงสัยในชีวิต เช่น เราเกิดมาทำไม คนเราทำไมถึงมีความทุกข์ รู้สึกตนเองผิด ไม่มีประโยชน์ ไร้ค่า เบื่อชีวิต อาการเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น และวิธีที่พวกเขาคิดว่าสามารถบรรเทาอาการเหล่านี้ได้คือการฆ่าตัวตาย ซึ่งความคิดที่เกิดขึ้นมานี้อาจเกิดจากขาดการคิดเเบบเป็นระบบ 

การคิดเเบบเป็นระบบ คืออะไร?

Systematic Thinking

       Interractive Reasoning (Why) : เป็นการให้เหตุผลแบบปฏิสัมพันธ์ ซึ่งในทางกิจกรรมบำบัดแบ่งออกเป็น 3 อย่าง ดังนี้

       1. Needs Assessment : ความต้องการ ความเข้าใจ ความไม่รู้ เช่น ทำไมถึงคิฆ่าตัวตาย เกิดการสงสัยในชีวิตว่าเราเกิดมาทำไม ทำไมถึงมีความทุกข์

       2. Impact Assessment : การประเมินผลกระทบต่อความสุขในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น  เบื่อชีวิต รู้สึกตนเองผิด ไม่มีประโยชน์ ไม่สนุกสนาน ไม่ร่าเริงแจ่มใส เบื่ออาหาร อยากอยู่คนเดียวเงียบ ๆ ไม่อยากพูดคุยกับใคร

       3. Occupational Profile Assessment : เป้าหมายกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเเต่ละบุคคล 

       คนทั่ว ๆ ไปกลัวว่าการถามเรื่องการฆ่าตัวตาย จะเป็นการกระตุ้นหรือชักนำให้ผู้นั้นคิดจะฆ่าตัวตาย แต่ความจริงแล้ว การถามเรื่องการฆ่าตัวตาย จะช่วยให้ผู้ที่กำลังคิดจะทำอยู่แล้วได้ เปิดเผยเรื่องอารมณ์ซึมเศร้า และเรื่องการคิดอยากตาย เมื่อเปิดเผยแล้วความรู้สึกจะดีขึ้นจนไม่ฆ่าตัวตาย การสอบถามกันเรื่องนี้ยังสื่อให้ผู้นั้นเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ ที่มีคนสนใจเป็นห่วงใยเอื้ออาทร เกิดความรู้สึกดีต่อสังคมและการมีชีวิตอยู่ต่อไป และอีกหนึ่งวิธีสำหรับการสร้างความอบอุ่นใจนั่นก็คือ “ การกอด ” (How to)

"การกอด" หรือสัมผัสร่างกายแบบยินยอมพร้อมใจกันทั้ง 2 ฝ่าย จะช่วยบรรเทาความรู้สึกที่ไม่ดีลงและยังช่วยลดความเศร้าหมองใจให้กับผู้กอดได้

       ทีมนักวิทยาศาสตร์จากภาควิชาจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน เผยผลงานวิจัยระบุว่า อ้อมกอดจากใครสักคนจะช่วยให้ความกังวลและเศร้าหมองนั้นหายไปได้ หากคุณกำลังรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง ตกอยู่ในภาวะเครียด      ซึมเศร้า หรือเพิ่งทะเลาะหมางใจกับใครมาหมาด ๆ การหาอ้อมกอดอุ่น ๆ จากใครสักคน เป็นการช่วยแบ่งเบาความกังวลและทุกข์ใจได้ไม่มากก็น้อย (Conditional Reasoning) ทำไมเราต้องกอดหรือแสดงความรักต่อกัน วันนี้มี 5 ข้อดีของการ กอดมานำเสนอทุกคน

       นอกจากนี้สิ่งสำคัญที่เป็นการเยียวยาจิตใจได้ดีเลยคือการพูดให้กำลังใจ ซึ่งเป็นวิธีที่ที่สามารถทำได้ง่ายทุกเวลา เพียงเเค่เอ่ยชมหรือให้กำลังใจกัน เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราสนใจเเละยังมีคนที่เข้าใจพวกเขาอยู่ ซึ่งมีคำพูดเยอะเเยะมากมายที่เราสามารถพูดได้ เริ่มจากพูดคุยกันเบื้องต้นว่า เช่น "เป็นอะไร" "ตอนนี้รู้สึกอย่างไร" จากนั้นก็คอยให้กำลังใจ เช่น "เราเป็นกำลังใจให้นะ" “ยังมีเราที่อยู่ข้าง ๆ คุณเสมอนะ” “เยี่ยมมากเลย” เเละร่วมกันหาทางออกหรือช่วยคิดวิธีที่ สามารถเเก้ไขปัญหาได้ เช่น "เธอมีอะไรให้เราช่วยหรือเปล่า" “เราจะช่วยเธออย่างไรได้บ้าง” ซึ่งเป็นการคิดเเบบ Procedural Reasoning เป็นการคิดเเบบให้เหตุผลตามขั้นตอน เเต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคำที่สามารถพูดได้ เรายังมีคำต้องห้ามที่ไม่ควรพูดอีกด้วย เช่น “สู้ ๆ นะ” “อย่าคิดมาก” ทำไมคำว่า สู้ ๆ นะ ถึงเป็นคำต้องห้าม เนื่องจากเป็นคำที่ฟังแล้วทำให้พวกเขาคิดว่าเราไม่สามารถช่วยพวกเขาเเก้ปัญหาได้ ทำให้รู้สึกว่าพวกเขากำลังเผชิญกับปัญหาคนเดียว เเล้วเราสามารถพูดประโยคไหนได้บ้าง วันนี้มีตัวอย่างประโยคที่เหมาะสมมาเเนะนำไปดูกันเลย

       แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคซึมเศร้าก็ต้องได้รับยาตามที่แพทย์สั่งอยู่ตลอด ทำไมยาบางชนิดสามารถลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะฆ่าตัวตายได้ เช่น ยา Beta blockers เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะโรคได้หลายชนิดรวมไปถึงสามารถช่วยลดอาการวิตกกังวลได้อีกด้วย เป็นต้น โดยทางการแพทย์ระบุไว้ว่าการออกฤทธิ์ของยาต้านโรคซึมเศร้าในปัจจุบันมุ่งไปที่การแก้ไขสมดุลของสารเคมีในสมอง (neurotransmitters) ที่ควบคุม กำกับดูแลสมดุลของอารมณ์ แรงจูงใจ ความอยากอาหาร คือ เซอโรโทนิน (serotonin) โดพามีน (dopamine) และ นอร์อิพิเนฟรีน (norepinephrine) โดยทั่วไปแล้วยาต้านเศร้าจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อสารสื่อประสาทหลายชนิด เช่น amitriptyline, nortriptyline ออกฤทธิ์ต่อการเก็บกลับ เซอโรโทนินและนอร์อิพิเนฟรีน นอกจากนั้นยายังมีฤทธิ์ต่อสารเคมีอื่น ๆ ด้วย เช่น ฤทธิ์ anticholinergic ทำให้เกิดอาการปากแห้ง คอแห้งซึ่งเป็นอาการข้างเคียง และกลุ่มที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อสารสื่อประสาทเพียงชนิดเดียว โดยมากจะเน้นหนักไปที่เซอโรโทนิน เช่น fluoxetine, sertraline กลุ่มยาพวกนี้จะมีอาการข้างเคียงค่อนข้างน้อย ก็ไม่ถึงกับไม่มีเลยทีเดียว ในผู้ที่ใช้ยาบางรายมีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย 

โรคซึมเศร้ากินยานานแค่ไหน

 

       มีงานวิจัยหนึ่งของสหรัฐอเมริกาในปี 2020 กล่าวว่าการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่มากที่สุดอันดับที่ 10 ในสหรัฐอเมริกา มีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของชาวอเมริกันหลายพันคนในแต่ละปี โดยเฉลี่ยจะเสียชีวิตก่อนอายุ 65 ปี เเละพบว่าผู้ชายฆ่าตัวตายบ่อยกว่า 3.6 เท่าของผู้หญิง แต่ในอนาคตผู้หญิงมีโอกาสมากขึ้นถึง 1.4 เท่าที่พยายามฆ่าตัวตาย ซึ่งส่งผลกระทบหลากหลายด้าน เช่น การเสียค่ารักษาพยาบาลจำนวนมาก หรือสูญเสียการทำงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะใช้อาวุธปืนในการฆ่าตัวตายและผู้ที่ฆ่าตัวตายมักจะมีภาวะทางสุขภาพจิตควบคู่ไปด้วย เเละที่ผ่านมาในปี 2017 อัตราการฆ่าตัวตายสูงขึ้น 1.5 เท่า เเละส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นทหารผ่านศึกมากกว่า

ความจริงที่ปวดร้าว 

   ทำไมอัตราการฆ่าตัวตายของทหารผ่านศึกในสหรัฐอเมริการถึงมีค่าสูง?

       การที่ทหารผ่านศึกสงครามและก่อเหตุฆ่าตัวตายเหล่านั้น พบว่าเกือบร้อยละ 70 ไม่เคยเข้ารับคำปรึกษาหรือเคยรับการตรวจสภาพจิตหรือดูแลบำบัดด้านจิตเวช (Interactive Reasoning ; Occupational Profile Assessment) เพราะทหารผ่านศึกส่วนใหญ่มักคิดว่าการกลับจากศึกสงครามคือการสิ้นสุดสภาวการณ์เลวร้าย ชีวิตปกติสุขกำลังเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ทั้งรู้สึกอิสระปลอดภัยมากขึ้น ไม่ต้องกลัวตายระหว่างภารกิจสู้รบอีกต่อไป (Conditional Reasoning) แต่ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะสภาพจิตใจทหารผ่านศึกจะยิ่งซับซ้อนสับสนเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยทางจิตมากขึ้นถ้าไม่ได้รับการตรวจบำบัดรักษาเยียวยาความเครียดตามขั้นตอน (Procedural Reasoning) ผลการศึกษาอัตราการฆ่าตัวตายของทหารผ่านศึกอเมริกัน พบว่าทหารผ่านศึกฆ่าตัวตายมากกว่าพลเมืองวัยผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 

งานวิจัยชี้ ทหารมะกัน “ฆ่าตัวตาย” มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะ “ป่วยทางจิต”

       การฆ่าตัวตาย เป็นปัญหาทางสังคมที่น่าสะเทือนใจ และเป็นการสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา โดยอาจไม่รู้เลยว่าทั่วโลกมีการฆ่าตัวตายเกิดจึ้นได้ในทุก ๆ ชั่วโมง และสาเหตุของการฆ่าตัวตายส่วนมากมักมาจากโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โรคจิตเภท หรืออาจมีปัญหาชีวิตที่หาทางแก้ไขไม่ได้ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ปัญหาในครอบ ความรัก หรือปมด้อยตั้งแต่ในวัยเด็ก สำหรับการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในฐานะของการเป็นนักกิจกรรมบำบัด คือการรับฟังสาเหตุและหาเหตุผลต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อนำมาประมวลเพื่อเข้าสู่กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) เเละนำไปสู่ Design Thinking ที่จะคิดหาทางออกหลากหลายทางให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลต่อไปว่าเราจะมีวิธีการอย่างไร (How to)ที่ทำให้พวกเขาสามารถเดินออกมาจากปัญหาได้

       

 

อ้างอิง : 

https://chapterland.org/wp-content/uploads/sites/13/2017/11/US_FactsFigures_Flyer.pdf

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=282

https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28186

https://www.boonnews.tv/news/25118

 


 

หมายเลขบันทึก: 692162เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2021 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2021 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท