ลองคิด ชีวิตเปลี่ยน


                     ลองคิด ชีวิตเปลี่ยน

          จากอัตราความเครียดที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทย ทำให้เราอยากแบ่งปันวิธีคิดที่ คิดอย่างเป็นระบบ(Systematic Thinking) เพื่อให้คนที่ได้เข้ามาอ่านจะได้นำไปประยุกต์ใช้ บอกต่อ และทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ การคิดแบบเป็นระบบ คือ การคิดจนเกิดทักษะ การคิดจนเราสามารถมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เราคิดได้ ซึ่งสามารถแบ่งการคิดได้ 5 ประเภท ซึ่งเราจะเรียกโดยรวมนี้ว่า PRICE Taxonomy

•          Information-Processing skills: การสัมภาษณ์เพื่อรับเอาข้อมูลมา

•          Reasoning skills: การหาเหตุผลของปัญหา ว่าปัญหาคืออะไร แก้ไขอย่างไร

•          Inquiry skills: การตั้งคำถามแบบที่เราต้องรู้ว่าจะถามไปทำไม เพื่ออะไร

•          Creative Thinking skills: การคิดกิจกรรมบำบัดที่สร้างสรรค์

•          Evaluation skills: การนำกิจกรรมรอบ ๆ ตัวมาประเมินเป็นตัวเลข

          การคิดแบบเป็นระบบ จะนำมาเป็นพื้นฐานการคิดของนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งการคิดแบบเป็นระบบนี้จะสามารถทำให้เราเอาความรู้ไปเชื่อมโยง วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาได้โดยมีโครงสร้างของ “Three-Track Mind” ย่อว่า “TTM” มาใช้อธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น ในวิชากิจกรรมบำบัดนั้นมันคือ การให้เหตุผล 3 ประเภทที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่นักกิจกรรมบำบัดจะนำมาใช้ เมื่อผู้รับบริการของเรามีปัญหา

TTM สามารถแบ่งออกได้ 3 อย่างคือ

  1. Interactive Reasoning (Why): การให้เหตุผลแบบปฏิสัมพันธ์

     Interactive Reasoning จะถูกใช้เมื่อเราต้องการที่จะทำความเข้าใจกับผู้รับบริการ โดยผ่านการประเมินด้วยวิธีการดังนี้

•          Needs Assessment (การประเมินค่าตามความต้องการ): ความต้องการ ความจริง ความเข้าใจ ความรัก ความศรัทธา ความไม่รู้

•          Impact Assessment (การประเมินค่าตามผลกระทบ): ผลกระทบต่อความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

•          Occupational Assessment (การประเมินค่าตามหลักการกิจกรรมบำบัด): อ้างอิงหลักการกิจกรรมบำบัด ให้เห็นภาพรวม PEOP (Person-Environment-Occupation-Performance Model)

     2. Conditional Reasoning (Because of ...): การให้เหตุผลเชิงเงื่อนไข

     Conditional Reasoning จะถูกใช้เมื่อเราตั้งคำถามกับปัญหาได้แล้ว ว่าทำไมถึงมีปัญหา และเราต้องมาหาคำตอบ โดยผ่านการประเมินด้วยวิธีการดังนี้

•          Temporary Vs Permanent: ความชั่วคราว กับ ความถาวร

•          Impairment Vs Disability: ความบกพร่อง กับ ความพิการ

•          Balancing: Creative & Critical Thinking on Big Data Management (Systematic Thinking) การคิดแบบเป็นระบบแบบสมดุลทั้งความคิดสร้างสรรค์และการคิดแบบใคร่ครวญ รอบคอบ

     3. Procedural Reasoning (How to): วิธีการ-ขั้นตอนที่เป็นเหตุเป็นผล มีหลักฐานเชิงประจักร เมื่อเราคิดแก้ปัญหาสังคมเชิงระบบ ดังนั้นเราต้องคิดแบบ “Design Thinking” คือการออกแบบความคิดนั้นเอง

•          Empathize: การคิดเข้าใจคนไข้ เห็นอกเห็นใจ

•          Ideate: การคิดสร้างสรรค์เพื่อที่จะช่วยคนไข้

•          Prototype: การคิดกิจกรรมที่มีมากกว่า 1 กิจกรรม

•          Test: ทดสอบกิจกรรมว่ากิจกรรมไหนดี กิจกรรมไหนต้องปรับปรุง

•          Define: ระบุความคิดและกิจกรรมที่ชัดเจน เพื่อนำกิจกรรมไปแก้ไขปัญหา

ตัวอย่าง

  • Why
    • Because of …
      • How to
  • ทำไมถึงมีสงสัยว่า ยาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าจะส่งผลต่อการเป็นโรคซึมเศร้า
    • เพราะ มากกว่า 1 ใน 3 ของยาที่ผู้เข้าร่วมการศึกษา 26,000 คน มีอาการซึมเศร้าเป็นผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ ผลการวิจัยกลุ่มตัวอย่างในสหรัฐฯซึ่งมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และกำลังรับยาอย่างน้อย 1 ชนิดระหว่างปี 2005-2014 ซึ่งพบว่า 37% ของยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ ซึ่งรวมถึงยาแก้ปวดบางชนิด และยาลดกรด มีผลข้างเคียงอันตรายอย่างหนึ่งคือ การมีอาการซึมเศร้า ผลการศึกษาจากลุ่มตัวอย่างพบว่า ยิ่งใช้ยามากชนิด ยิ่งมีโอกาสมีอาการซึมเศร้ามากขึ้น 7% ในกลุ่มผู้ที่กินยาเหล่านี้ 1 ชนิด 9% สำหรับคนที่กิน 2 ชนิด 15% สำหรับคนที่กิน 3 ชนิดขึ้นไป
      • มีการตรวจสอบผลข้างเคียงก่อนนำออกจำหน่าย รวมถึงการรณรงค์ให้คนทั่วไปอ่านฉลากยาก่อนรับประทาน ให้ความรู้เกี่ยวกับการรับมือและป้องกันผลข้างเคียงที่ตามมา อีกทางเลือกหนึ่งก็คือการดูแลตนเองเพื่อที่จะได้ทานยาให้น้อยที่สุด

 

  • ทำไมยาเหล่านี้ถึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า
    • เพราะ ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่คล้ายกับอาการเป็นโรคซึมเศร้า เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิด มีความเกี่ยวข้องชัดเจนระหว่างระดับฮอร์โมนและอารมณ์ หรือ 
      กลุ่มที่ทานยาสเตียรอยด์ อารมณ์จะแปรปรวนง่าย การใช้สเตียรอยด์ในขนาดสูง จะทำให้เกิดอารมณ์เป็นสุข แต่ใช้ไปนานๆอาจพบอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากยาตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ หงุดหงิด
      • ถ้าหากผู้ที่รับยาเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าหรือกำลังเผชิญอยู่ ควรไปปรึกษาแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาว่า มียาตัวอื่นที่ไม่ส่งผลข้างเคียงหรือไม่

 

  • ทำไมยาเหล่านี้ยังคงใช้อยู่ถึงแม้มีความเสี่ยง
    • ยกตัวอย่างเช่น การใช้ยาคุมกำเนิด สำหรับคนบางกลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน หรือ ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ก็ยังคงจำเป็นต้องกินยาประเภทนี้อยู่ หรือ บริษัทผลิตยา ผลิตยาสเตียรอยด์ขึ้นมาจำหน่ายโดยเลียนแบบสเตียรอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการรักษาทางการแพทย์ เป็นยาเคมี ที่ให้ผลในเรื่องการรักษาโรคได้ดีและรวดเร็วคล้ายสเตียรอยด์ธรรมชาติ แต่แตกต่างกัน ตรงที่สเตียรอยด์เป็นยาเคมีสังเคราะห์ และมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายมากกว่า มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน
      • มีการรณรงค์หรือการแนะนำวิธีทางเลือกที่สามารถป้องกันได้โดยที่ไม่ต้องใช้ยา เช่นการใช้ถุงยางก็จะไม่ต้องใช้ยาคุมกำเนิด รวมถึงมีการให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาใกล้ตัวที่อาจส่งผลอันตราย

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.steroidsocial.org/steroid1.html

https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017

https://www.bbc.com/thai/international-44466955

 

คำสำคัญ (Tags): #ttm#Three Track Mind
หมายเลขบันทึก: 691891เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2021 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2021 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท