สมุนไพรว่านหางจระเข้


 

จากการศึกษาพบว่า

สามารถบรรเทาอาการที่เกิดจาก แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วย ว่านหางจระเข้ได้

อ้างอิงรูปภาพ : Aloe Vera Gel ภาพสต็อก รูปภาพ และภาพถ่ายปลอดค่าลิขสิทธิ์ - iStock (istockphoto.com)

 

ว่านหางจระเข้ ชื่อสามัญ Aloe, Aloe vera, Aloin, Barbados, Jafferabad, Star cactus

ว่านหางจระเข้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera (L.) Burm.f. จัดอยู่ในวงศ์ XANTHORRHOEACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย ASPHODELOIDEAE

 

 สมุนไพรว่านหางจระเข้ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ), หางตะเข้ (ภาคกลาง) เป็นต้น

             ต้นว่านหางจระเข้ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีความสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบหนาและยาว อวบน้ำ แผ่นใบมีสีเขียว มีจุดยาวสีขาวอ่อนออกเรียงเวียนรอบต้น โคนใบใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีหนามแหลมเล็ก ๆ สีขาวอยู่ห่างกัน ข้างในใบเป็นวุ้นสีเขียวอ่อน ส่วนดอกว่านหางจระเข้ ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ดอกมีสีแดงอมสีเหลือง ก้านช่อดอกยาว โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น เป็นรูปแตร ส่วนผลว่านหางจระเข้ เป็นผลแห้งคล้ายรูปกระสวย

อ้างอิงรูปภาพ : Medicinal Plants: The Aloe Vera — Hill Country Texas Master Gardeners (hillcountrymastergardeners.org)

 

วิธีการปลูกต้นว่านหางจระเข้ 

 

             ปลูกโดยการใช้หน่อ หากเป็นมือใหม่อาจต้องมีต้นทุนในการซื้อหน่อมาปลูก หน่อก็มีหลายราคาให้เลือก ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อ เริ่มต้นตั้งแต่ 10-100 บาท ถ้าหน่อใหญ่ระยะเวลาการปลูกให้ผลผลิตก็จะเร็วขึ้น ไถเตรียมแปลงปลูก

 

การปลูกไม่ยาก... มีการไถดินสองรอบ รอบแรกไถดะ รอบที่สองไถแปร หากพื้นที่ตรงไหนมีน้ำขังให้ชักร่องปลูกให้น้ำไหลออก เพราะว่านหางจระเข้เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำ หากพื้นที่ไหนมีน้ำขังรากจะเน่า

ควรเว้นระยะห่างระหว่างร่อง 1 เมตร ระหว่างต้น 1 ศอก ระยะนี้ถือเป็นระยะที่เหมาะสม เพราะถ้าปลูกถี่เกินไปเมื่อต้นโตกาบจะชนกัน ส่งผลทำให้การเจริญเติบไม่ดีเท่าที่ควร และหมั่นทำความสะอาดแปลง กำจัดวัชพืชอย่าให้ขึ้นสูง

รดน้ำตอนเย็น ด้วยระบบสปริงเกลอร์ ได้ผลดี

 

              ระบบน้ำ… ว่านหางจระเข้ เป็นพืชทนแล้ง ไม่ต้องการน้ำมาก 1 สัปดาห์ รดน้ำสัก 1 ครั้ง โดยการติดตั้งระบบน้ำสปริงเกลอร์เปิดรดช่วงตอนเย็น เพราะอากาศเย็นว่านหางจระเข้จะรับน้ำได้อย่างเต็มที่ หากรดช่วงที่อากาศร้อนจะทำให้ว่านหางจระเข้รากเน่า ระยะเวลาในการรดน้ำ 1 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงครึ่ง

 

              ปุ๋ย… ไม่ต้องใส่มาก ในระยะ 1-2 ปีแรกไม่ต้องใส่ปุ๋ย เพราะว่าช่วงปีแรกๆ ว่านหางจระเข้จะสมบูรณ์มาก ถ้าใส่ไปอาจทำให้เน่า แนะนำให้เริ่มใส่ปุ๋ยช่วงปีที่ 3 ใส่เพียงปีละครั้ง ใส่สูตร 21-0-0

แมลงศัตรูพืช…มีบ้าง แต่ไม่มีผลกับว่านหางจระเข้ อาจมีรอยที่ใบบ้าง แต่ไม่มีผลต่อเนื้อข้างใน

 

อ้างอิงรูปภาพ : Aloe Vera Gel ภาพสต็อก รูปภาพ และภาพถ่ายปลอดค่าลิขสิทธิ์ - iStock (istockphoto.com)

 

สรรพคุณของว่านหางจระเข้

 

1. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้น หรือจะทำเป็นน้ำปั่นว่านหางจระเข้มาดื่มก็ได้ ก็จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันโรคเบาหวานได้

2. ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการตัดใบสดของว่านหางจระเข้แล้วทาปูนแดงด้านหนึ่ง แล้วเอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (ใบ)

3. วุ้นว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันและลดการเกิดแผลในกระเพาะขณะท้องว่าง ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ

4. สรรพคุณว่านหางจระเข้ช่วยแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำมารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (เนื้อวุ้น)

5. ใช้เป็นถ่าย ยาระบาย ที่เปลือกของว่านหางจระเข้จะมีน้ำยางสีเหลือง ในน้ำยางจะมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากนำน้ำยางไปเคี่ยวให้น้ำระเหยออกแล้วทิ้งไว้ให้เย็น ก็จะได้สารสีน้ำตาลเกือบดำ หรือเรียกว่า "ยาดำ" ซึ่งยาดำนี้เองใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณที่ต้องการให้มีฤทธิ์เป็นยาระบายอยู่หลายตำรับ (ยางในใบ)

6. ช่วยรักษาอาการท้องผูก ด้วยการกรีดเอายางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด ทิ้งไว้ให้เย็นจะได้ก้อนยาสีดำ (ยาดำ) แล้วตักมาใช้ประมาณช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย แล้วคนจนละลาย โดยผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชาก่อนนอน แต่ถ้าเป็นเด็กให้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาก่อนนอน

7. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เนื้อวุ้นจากใบเหลาให้เป็นปลายแหลมเล็กน้อย และนำไปแช่ตู้เย็นหรือน้ำแข็งจนเนื้อแข็ง แล้วนำไปใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ควรหมั่นทำเป็นประจำวันละ 1-2 ครั้งจนกว่าจะหาย (เนื้อวุ่น)

8. ช่วยแก้หนองใน (ราก, เหง้า)

9. ช่วยแก้มุตกิดหรือระดูขาวของสตรี (ราก, เหง้า)

10. ทั้งต้นของว่านหางจระเข้มีรสเย็น ใช้ดองกับสุรานำมาดื่มช่วยขับน้ำคาวปลาได้ (ทั้งต้น)

11. ช่วยบรรเทาและแก้อาการปวดตามข้อ ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้นครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้งเป็นประจำ จะช่วยทำให้อาการปวดดีขึ้น (วุ้นจากใบ)

12. ใบว่านหางจระเข้มีรสเย็น นำมาตำผสมกับสุราใช้พอกรักษาฝีได้ (ใบ)

13. ช่วยรักษาแผลสด แผลจากของมีคม แผลที่ริมฝีปาก แก้ฝี แก้ตะมอย ด้วยการใช้วุ้นจากใบนำมาแปะบริเวณแผลให้มิดชิดและใช้ผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงตรงแผลให้ชุ่มอยู่เสมอ หรือจะเตรียมเป็นขี้ผึ้งก็ได้ (วุ้นจากใบ)

14. ช่วยรักษาแผลถลอกและแผลจากการถูกครูด (แผลพวกนี้จะเจ็บปวดมาก) ให้ใช้วุ้นว่านหางจระเข้นำมาทาแผลเบา ๆ ในวันแรกต้องทาบ่อย ๆ จะช่วยในการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น และทำให้ไม่เจ็บแผลมาก (วุ้นจากใบ)

15. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ช่วยดับพิษร้อนบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผล ด้วยการใช้วุ้นจากใบสดที่ล้างน้ำสะอาด แล้วฝานบาง ๆ นำมาทาหรือแปะไว้บริเวณแผลตลอดเวลา จะช่วยทำให้แผลหายเร็วมากขึ้นและอาจไม่เกิดรอยแผลเป็นด้วย (วุ้นจากใบ)

16. ช่วยขจัดรอยแผลเป็น ทำให้แผลเป็นจางลง ป้องกันการเกิดรอยแผลเป็น (วุ้นจากใบ)

17. ช่วยรักษาตาปลาและฮ่องกงฟุต ด้วยการใช้วุ้นจากใบที่ล้างสะอาดแล้ว นำมาปิดไว้บริเวณที่เป็นและหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ จนกว่าจะดีขึ้น (วุ้นจากใบ)

18. วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ด้วยการใช้วุ้นจากใบทาก่อนออกแดด หรือจะใช้ใบสดก็ได้ แต่ใบสดอาจทำให้ผิวหนังแห้ง เพราะใบมีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าต้องการลดการทำให้ผิวแห้ง ก็อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืชหรืออาจเตรียมเป็นโลชั่นก็ได้ (วุ้นจากใบ)

19. ช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด หรือไหม้เกรียมจากการฉายรังสี หรือแผลเรื้อรังจากการฉายรังสี โดยนำวุ้นของว่ายหางจระเข้มาทาผิวบ่อย ๆ ก็จะช่วยลดการอักเสบได้ แต่ถ้าไปนาน ๆระวังผิวแห้ง ควรผสมกับน้ำมันพืช เว้นแต่ว่าจะทำให้ผิวเปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลา (วุ้นจากใบ)

20. วุ้นจากใบใช้ทาเพื่อรักษาฝ้า (วุ้นจากใบ)

21. ช่วยรักษาโรคเรื้อนกวาง (โรคสะเก็ดเงิน) ช่วยลดการตกสะเก็ดและลดอาการคันของโรคเรื้อนกวาง ทำให้แผลดูดีขึ้น (วุ้นจากใบ)

 

 

 

 คำแนะนำในการใช้ว่านหางจระเข้
             

             การเลือกใช้ใบจากต้นว่านหางจระเข้ควรเลือกต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ขึ้นไป และให้เลือกใบล่างสุดเพราะจะอวบโตและมีวุ้นมากกว่าใบที่อยู่ด้านบน
เนื่องจากวุ้นของว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรปอกโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ Aseptic technique เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
การนำวุ้นมาใช้เพื่อรักษาแผลจำเป็นต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อป้องกันน้ำยางจากเปลือกที่มีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้
             ว่านหางจระเข้จะมีคุณภาพสูงสุดเมื่อตัดมาแล้วใช้ทันที และจะมีสรรพคุณทางยาที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป วุ้นของว่านหางจระเข้จะไม่คงตัวเท่าไหร่นัก ดังนั้นถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น หากนำว่านหางจระเข้ไปแช่ในตู้เย็นจนเย็นก่อนการนำมาใช้ จะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นเย็นสบายมากยิ่งขึ้นการใช้เพื่อใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ไม่ควรใช้กับหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงที่กำลังจะมีประจำเดือน รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวารด้วย การใช้วุ้นจากใบเพื่อใช้เป็นยาทาภายนอก สำหรับบางรายแล้วอาจจะเกิดอาการแพ้ได้ (จากงานวิจัยพบว่าไม่ถึง 1%) โดยลักษณะของอาการแพ้หลังจากหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงบาง ๆ หรืออาจมีอาการเจ็บแสบด้วย โดยอาการจะแสดงหลังจากทาไปแล้วประมาณ 2-3 นาที ถ้าคุณมีอาการแพ้หลังการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ก็ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเลิกใช้ทันที

 

สามารถนำไปปรับปรุงสถานการณ์ COVID-19

คือการนำว่านหางจระเข้ เป็นส่วนผสมในการทำเจลล้างมือ

 

อ้างอิง: https://youtu.be/4Bf7w5Lgik4

 

วิธีทำเจลล้างมือสูตรว่านหางจระเข้ สามารถทำเองได้ง่ายๆ ใช้ส่วนผสมแค่ 2 อย่างจากร้านสะดวกซื้อแถวบ้าน นอกจากจะช่วยทำความสะอาดมือแล้วยังมีส่วนช่วยบำรุงผิให้นุ่มชุ่มชื่นจากสารสกัดของว่านหางจระเข้อีกด้วย

สูตรนี้ใช้เจลว่านหางจระเข้ 5 ml ผสมกับแอลกอฮอล์ 100 ml. หรือจะใช้อัตราส่วน 1:10

หรือจะหาขวดสเปรย์มาแบ่งแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 70% มาใช้ก็ได้ แต่ฉีดบ่อยๆอาจทำให้มือแห้งได้

วิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันเชื้อโรคต่างๆคือเราต้องล้างมือบ่อยๆ ครับ

 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

-เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล, 

-ลาออกจากงานประจำ ปลูกว่านหางจระเข้ ส่งโรงงาน ต้นทุนหลักหมื่น เก็บขายได้หลักแสน มีเท่าไรก็ไม่พอขาย - เทคโนโลยีชาวบ้าน (technologychaoban.com) www.health.howstuffworks.comอ้างอิงรูปภาพ

 

----------------------------------------------------------------------------------------

                                                    จัดทำโดย

                        นาย กฤษฎา ฝ่ายรีย์ รหัสนักศึกษา 64115271117

สาขาวิชานวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 

หมายเลขบันทึก: 691762เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2021 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2021 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท